ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาจำนอง

มาตรา ๗๔๔ อันจำนองย่อมระงับสิ้นไป
(๑) เมื่อหนี้ที่ประกันระงับสิ้นไปด้วยเหตุประการอื่นใดมิใช่เหตุอายุความ
(๒) เมื่อปลดจำนองให้แก่ผู้จำนองด้วยหนังสือเป็นสำคัญ
(๓) เมื่อผู้จำนองหลุดพ้น
(๔) เมื่อถอนจำนอง
(๕) เมื่อขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองตามคำสั่งศาลอันเนื่องมาแต่การบังคับจำนองหรือถอนจำนอง หรือเมื่อมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามมาตรา ๗๒๙/๑
(๖) เมื่อเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้นหลุด

มาตรา ๗๔๕ ผู้รับจำนองจะบังคับจำนองแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้

มาตรา ๗๔๖ การชำระหนี้ไม่ว่าครั้งใด ๆ สิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนก็ดี การระงับหนี้อย่างใด ๆ ก็ดี การตกลงกันแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนองหรือหนี้อันจำนองเป็นประกันนั้นเป็นประการใดก็ดี ท่านว่าต้องนำความไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในเมื่อมีคำขอร้องของผู้มีส่วนได้เสีย มิฉะนั้นท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5831/2553
ผู้ร้องกับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้าศาลโดยจำเลยยอมรับว่าเป็น หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินต่อผู้ร้องตามคำฟ้องและขอผ่อนชำระหนี้ หากผิดนัดยอมให้ผู้ร้องยึดทรัพย์จำนองและทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอด ตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องจนครบถ้วน และศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว การที่จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินต่อผู้ร้องหนี้ประธานจึง ยังไม่ระงับไปและจำเลยยังตกลงว่าหากจำเลยผิดนัด ให้ผู้ร้องยึดทรัพย์จำนองอันเป็นประกันหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินออกขายทอด ตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้อง เป็นการที่จำเลยยอมรับผิดตามสัญญาจำนองอันเป็นหนี้อุปกรณ์ด้วย ดังนี้ เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินอันจำนองเป็นประกันยังไม่ระงับสิ้นไป หนี้ตามสัญญาจำนองจึงยังไม่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 ผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองมีสิทธิขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้ก่อนเจ้าหนี้อื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2552
มาตรา 8 ของพ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 418) พ.ศ.2547 ววรคหนึ่ง บัญญัติว่า ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 2 และส่วน 3 หมวด 3 ภาษีธุรกิจเฉพาะตามหมวด 5 และอากรแสตมป์ตามหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ลูกหนี้สถาบันการเงิน สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นที่เป็นสถาบัน การเงิน และสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว โดยลูกหนี้ของสถาบันการเงินต้องนำเงินได้นั้นไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็น สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้าง หนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชำระอยู่กับสถาบันการเงินหรือมีภาระ ผูกพันตามสัญญาประกันหนี้สถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด และวรรคสอง บัญญัติว่า การโอนอสังหาริมทรัพย์และการกระทำตราสารตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นการกระทำในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2547 และต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ลูกหนี้นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการ เงินอยู่ก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 โจทก์ต้องปฏิบัติตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2515 ข้อ 12 ซึ่งกำหนดให้โจทก์ผู้ขอทำการจัดสรรที่ดินที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์แต่มีภาระ ผูกพันอยู่ ต้องจัดการที่ดินที่ขอจัดสรรปราศจากภาระผูกพันใดๆ คณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินจึงจะอนุญาตให้ทำการจัดสรรได้ โจทก์และธนาคารได้ทำการบันทึกข้อตกลงเป็นหนังสือให้ที่ดินที่จำนองเป็น ประกันพ้นจากการจำนอง และได้จดทะเบียนปลดจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมแล้ว แม้โจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้แก่ธนาคารก็เป็นการที่ธนาคารปลดจำนองด้วยหนังสือ เป็นเหตุให้จำนองระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 (2) การขายอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ให้แก่ น. เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่มีการจำนองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงิน อยู่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์จากการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีส่วนท้องถิ่นสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการ โอนอสังหาริมทรัพย์ให้ น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2551
หนี้ ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาตามยอมของศาลที่ ถึงสุดแล้ว จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี และเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 ประกอบมาตรา 193/12 เมื่อลูกหนี้ทั้งสองผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมตั้งแต่งวดแรกวันที่ 8 กรกฎาคม 2537 เจ้าหนี้จึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาตามยอมได้นับแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2537 การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสองเมื่อ วันที่ 22 ธันวาคม 2547 จึงพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นได้ จึงขาดอายุความแล้ว
การที่ลูกหนี้ที่ 1 เคยยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายขอให้ที่ประชุมเจ้า หนี้พิจารณาลดยอดหนี้เพื่อให้ลูกหนี้ที่ 1 สามารถไถ่ถอนทรัพย์จำนอง เป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้ และเจ้าหนี้ได้ดำเนินการบังคับคดีโดยมีการยึดทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ภายในกำหนดระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แล้ว มิใช่เป็นกรณีที่ลูกหนี้ที่ 1 รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง ทั้งมิใช่เป็นการกระทำอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และ (5) ที่จะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง
เจ้าหนี้เป็นเจ้าหนี้มีประกันในทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองไว้ในคดีแพ่ง และได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใต้เงื่อนไขตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) แล้ว แม้หนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความเจ้าหนี้ก็ยังคงมีทรัพย์สิทธิบังคับชำระ หนี้จากราคาทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ภายในวงเงินจำนอง แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ ทรัพญ์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดเกินกว่าห้าปีไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/27 ประกอบมาตรา 745

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2551
โจทก์ ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนอง และขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 รับผิดในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินโดยจำนองติดไปซึ่งผู้รับจำนองยังมีสิทธิได้ รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองโดยการบังคับจำนองเอาแก่ผู้รับโอนทรัพย์สิน ที่จำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 735 มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ ต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) เมื่อจำเลยที่ 2 ยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระเกินห้าปีขึ้นต่อสู้ จึงมีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วย
ป.พ.พ. มาตรา 745 บัญญัติว่า "ผู้รับจำนองจะบังคับจำนอง แม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้" ซึ่งหมายความว่า ผู้รับจำนองสามารถบังคับจำนองได้ไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความแล้วหรือ ไม่ แต่ห้ามมิให้บังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีเท่านั้น ดังนั้น แม้หนี้ประธานยังไม่ขาดอายุความ โจทก์ก็คงมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ที่ค้างชำระได้ไม่เกินห้าปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6221/2550
สัญญา จำนองข้อ 1 ระบุว่า ผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้และภาระผูกพันใดๆ ของ อ. ที่มีต่อธนาคาร ก. ผู้ร้องจำนอง ทั้งที่มีอยู่แล้วและที่จะมีขึ้นในภายหน้าทุกลักษณะ ทุกประเภทหนี้ เป็นจำนวนเงิน 500,000 บาท และตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนอง ข้อ 2 ระบุว่า หนี้สินและภาระผูกพันใดๆ ที่จำนองเป็นประกัน ได้แก่ หนี้สินและภาระผูกพันทุกประเภท ทุกอย่าง ที่มีต่อผู้รับจำนองแล้วในเวลานี้และที่จะมีต่อไปในภายหน้า เมื่อหนี้สินและภาระผูกพันประเภทใดประเภทหนึ่ง หรืออย่างใดอย่างหนึ่งระงับสิ้นไป แต่หนี้สินและภาระผูกพันประเภทอื่นยังมีอยู่หรือจะมีต่อไปในภายหน้าสัญญา จำนองไม่ระงับสิ้นไปคงผูกพันเป็นประกันต่อไป เห็นได้ว่า สัญญาจำนองที่ดินดังกล่าวนอกจากจะเพื่อเป็นประกันเงินที่โจทก์กู้จากจำเลย ตามสัญญากู้ยืมเงินแล้ว ยังเป็นประกันหนี้ทุกประเภทที่โจทก์จะต้องรับผิดต่อจำเลยอีกด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังมีหนี้ค้างชำระแก่จำเลยที่สาขารังสิต จังหวัดปทุมธานี แม้จะเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการทำนิติกรรมกับจำเลยต่างสาขากัน แต่เป็นหนี้ที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยเช่นกันถือได้ว่า โจทก์ยังมีหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อจำเลยตามสัญญาจำนองรายนี้อยู่ แม้โจทก์จะได้ชำระหนี้ที่โจทก์กู้จากจำเลย สาขาสามพราน ครบถ้วนแล้ว สัญญาจำนองก็ไม่ระงับสิ้นไป จำเลยมีสิทธิที่จะไม่จดทะเบียนไถ่ถอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3496/2549
โจทก์ จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ในสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2.10 กำหนดให้จำเลยโอนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ หากจำเลยไม่ยอมโอนให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนา แต่ในขณะที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันนั้น จำเลยได้โอนที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2.10 ให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว จำเลยจึงไม่อาจโอนให้แก่โจทก์ได้ อันเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้ระบุให้จำเลยต้องใช้ราคาที่ดินหากจำเลยไม่ อาจโอนได้ แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 6 จะระบุว่า หากจำเลยผิดนัดไม่ว่าข้อใดข้อหนึ่ง จำเลยยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที ก็ไม่ได้หมายความว่าหากจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินทั้งสิบแปลงตามสัญญาประนี ประนอมยอมความข้อ 2 ซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2.10 ให้แก่โจทก์ได้จำเลยจะต้องชำระราคาที่ดินให้แก่โจทก์ ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลมีคำสั่งขายทอดตลาดที่ดินทั้งสิบแปลงมาชำระเป็นราคา ที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2.10 ได้ หากจำเลยผิดสัญญาอย่างใด โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอากับจำเลยอีกต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2549
อ. จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อเป็นประกันหนี้ซึ่งโจทก์และ/หรือ อ. มีต่อจำเลย หนี้ของโจทก์และ อ. ที่จำนองเป็นประกันจึงแยกกันเป็นคนละส่วน การที่โจทก์ชำระหนี้ในส่วนของโจทก์ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการรวมชำระหนี้ในส่วน ของ อ. ด้วย และคงมีผลทำให้ภาระจำนองที่เป็นประกันหนี้ในส่วนของโจทก์ระงับสิ้นไปเท่า นั้น แต่ภาระจำนองที่เป็นประกันหนี้ในส่วนของ อ. ยังคงมีอยู่ต่อไปตามสัญญาจำนอง การที่โจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำนองมาจาก อ. ไม่ทำให้โจทก์มีความรับผิดในฐานะเป็นผู้จำนอง ฐานะของโจทก์เป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองซึ่งมีสิทธิที่จะไถ่ถอน จำนองที่ยังคงมีภาระเหลืออยู่นั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 736 และมาตรา 738 ซึ่งหากผู้รับจำนองยอมรับจำนองก็เป็นอันระงับสิ้นไปตามมาตรา 744 (4) เมื่อโจทก์เพียงแต่ชำระหนี้ที่มีต่อจำเลยตามหนังสือรับสภาพหนี้ โดยโจทก์ยังมิได้ไถ่ถอนจำนอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2549
แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีรวมทั้งสัญญาเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่ง ต้องด้วยลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะไม่มีกำหนดเวลา แต่สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นเอกเทศสัญญาที่มีลักษณะเฉพาะ โดยสัญญาจะคงสภาพอยู่ต่อไปได้ก็จะต้องมีการสะพัดทางบัญชีอย่างต่อเนื่องและ ภายในระยะเวลาอันสมควร ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ภ. ได้นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนอันเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2526 แล้วไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันอีกเลย นับถึงวันที่ ภ. สิ้นพระชนม์เป็นเวลานานเกือบ 12 ปี แสดงว่า ภ. มีเจตนาเลิกสัญญากับโจทก์โดยปริยายแล้ว โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีหน้าที่ต้องตรวจตราบัญชีของลูกค้าอยู่ตลอดเวลาว่า มีการเคลื่อนไหวอย่างไร เมื่อปรากฏว่า ภ. ซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ไม่มีการเคลื่อนไหวทางบัญชี โจทก์ย่อมจะต้องทวงถามหรือบอกเลิกสัญญาในเวลาอันสมควร มิใช่ถือโอกาสใช้สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในระยะเวลายาวนานเกินสมควรเช่นนี้ ถือได้ว่าการใช้สิทธิของโจทก์มิได้กระทำโดยสุจริต โดยถือว่าสัญญาเลิกกันตั้งแต่วันที่ ภ. มีเจตนาเลิกสัญญากับโจทก์โดยปริยายคือวันที่ 14 มีนาคม 2526 อันเป็นวันที่ ภ. เดินสะพัดทางบัญชีเป็นครั้งสุดท้าย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นนับแต่นั้น สิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 10 ปี โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2539 พ้นกำหนด 10 ปี หนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงขาดอายุความ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อปรากฏว่า ภ. ได้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาจดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ดังกล่าว ในวงเงิน 5,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โดยมีข้อตกลงว่าหากโจทก์บังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ยอมให้บังคับเอาจาก ทรัพย์สินอื่นจนกว่าจะครบ ดังนี้ แม้หนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวจะขาดอายุความ แต่กรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 193/27 และมาตรา 745 กล่าวคือ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนองจะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองแม้เมื่อหนี้ ที่จำนองเป็นประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังเกินกว่าห้าปีไม่ได้ และคงบังคับได้แต่เฉพาะทรัพย์สินที่ ภ. จำนองไว้เท่านั้น จะบังคับจากทรัพย์สินอื่นอีกหาได้ไม่ ถึงแม้ว่าตามสัญญาจำนองจะกำหนดให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นจนกว่าจะครบ หากบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ก็ตาม
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2548)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7539/2548
จำเลย เป็นหนี้โจทก์ผู้รับจำนองที่ดินจำนวน 10 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่ง เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ดังกล่าวโจทก์ได้ขอศาลออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์จำนอง ของจำเลยออกขายทอดตลาดไปแล้ว จำนวน 8 แปลง และมีการไถ่ถอนที่ดินทรัพย์จำนองของจำเลยอีกจำนวน 2 แปลง สัญญาจำนองจึงเป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 เมื่อโจทก์นำหนี้ดังกล่าวที่ยังค้างชำระมายื่นฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายภาย หลังจากสิทธิตามสัญญาจำนองของโจทก์ระงับสิ้นไปแล้ว โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทาง จำนองในขณะยื่นฟ้องคดีล้มละลายที่จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 10 (2) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2548
ว. ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารจำเลยสาขาบางบอนโดยมี ส. จำนองที่ดินเป็นประกัน ต่อมาโจทก์ที่ 1 กับ ว. กู้ยืมเงินจากธนาคารจำเลยสาขาบางแค โดยมีโจทก์ทั้งสองจำนองที่ดินเป็นประกัน หนี้ประธานทั้งสองจำนวนเกิดขึ้นต่างสาขากัน และโจทก์ทั้งสองได้ทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันเต็มจำนวนหนี้ที่มีอยู่แต่ ละสัญญาแล้ว สัญญาจำนองประกันหนี้ที่มีอยู่แก่จำเลยสาขาบางแค จึงแยกต่างหากจากหนี้ที่มีอยู่แก่จำเลยสาขาบางบอน ไม่มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน ดังนั้น ข้อความที่ว่าเป็นประกันหนี้ทุกประเภททุกอย่างในข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนอง ที่โจทก์ทั้งสองทำกับจำเลยสาขาบางบอนจึงหมายถึงหนี้ประกันแต่ละสัญญา มิรวมถึงหนี้คนละประเภทและคนละสาขากัน เมื่อโจทก์ที่ 1 และ ว. ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินแก่จำเลยสาขาบางแค อันทำให้หนี้ประธานระงับสิ้นไปแล้ว หนี้ตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์จึงระงับไปด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 (1) แม้ ว. ยังเป็นหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่มีอยู่ต่อจำเลยสาขาบางบอนก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8160/2547
โจทก์ และ ศ. ร่วมกันทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับจำเลยโดยโจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดิน ของโจทก์ไว้กับจำเลยเพื่อประกันหนี้โดยสัญญาจำนองระบุว่า โจทก์ตกลงจำนองที่ดินทั้งแปลงเพื่อประกันหนี้และภาระผูกพันใดๆ ของโจทก์และหรือ ศ. ที่มีต่อจำเลยผู้รับจำนอง ทั้งที่มีอยู่แล้วในขณะนี้และที่จะมีขึ้นในภายหน้าทุกลักษณะทุกประเภทหนี้ ดังนี้ เมื่อข้อพิพาทนี้เป็นเรื่องการบังคับตามสัญญาจำนองไม่ใช่ข้อพิพาทกันใน เรื่องการชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จึงต้องพิจารณาบังคับตามสัญญาจำนองเป็นสำคัญ แม้โจทก์จะชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีให้แก่จำเลยจนครบถ้วนแล้ว แต่เมื่อ ศ. ยังคงเป็นหนี้จำเลยอยู่อีกและหนี้ของ ศ. เป็นหนี้ที่อยู่ในบังคับของสัญญาจำนองที่ดินที่โจทก์ทำกับจำเลย ภาระจำนองในที่ดินที่เป็นประกันจึงยังไม่ถูกล้างหรือระงับสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3987/2546
โจทก์ ทำสัญญากู้เงินไปจากจำเลย โดยจำนองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกัน การชำระหนี้ และตกลงทำหนังสือสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง ระบุว่า ผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ทุกประเภทที่ผู้ จำนองเป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือจะเป็นหนี้ต่อไปในภายหน้าก็ตาม? ดังนี้ ข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายอย่างชัดแจ้งว่าสัญญาจำนองที่ดินดังกล่าวนอกจาก จะเพื่อเป็นประกันเงินที่โจทก์กู้จากจำเลยแล้ว ยังเป็นประกันหนี้ทุกประเภทที่โจทก์จะต้องรับผิดต่อจำเลยอีก เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังค้างชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายตั๋วสัญญาใช้เงินแก่จำเลย ถือได้ว่าโจทก์ยังมีหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อจำเลยตามสัญญาจำนองรายนี้อยู่ แม้โจทก์จะชำระหนี้ที่โจทก์กู้จากจำเลยครบถ้วนแล้ว สัญญาจำนองก็ยังไม่ระงับสิ้นไป จำเลยมีสิทธิที่จะไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2546
ตาม สัญญาจำนองที่ดินทั้งสองฉบับ เป็นการจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ของโจทก์และหรือ ถ. ต่างระบุว่าจำนองเป็นประกันหนี้ที่มีอยู่แล้วในขณะทำสัญญาจำนองหรือในเวลาใด เวลาหนึ่งในภายหน้าทุกลักษณะหนี้ นอกจากนั้นข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองทั้งสองฉบับนี้ ซึ่งสัญญาจำนองให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจำนองต่างระบุไว้เช่นเดียวกันว่า "เนื่องจากทรัพย์จำนองเป็นประกันหนี้ในขณะทำสัญญาจำนองและหนี้ต่อไปในภาย หน้าด้วย ผู้จำนองและผู้รับจำนองจึงตกลงกันว่าตราบใดที่ผู้จำนองยังมิได้ทำการจด ทะเบียนไถ่ถอนจำนองไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็ตามผู้จำนองและผู้รับจำนองยังคงตกลงให้ถือว่าสัญญาจำนองคงมีผลบังคับอยู่ เพื่อประกันหนี้ที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าของลูกหนี้ดังกล่าวกับผู้รับจำนอง" ส่วนบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองที่ดินก็ระบุว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามสัญญาจำนองฉบับเดิมทุกประการดังนี้ เมื่อหนี้เบิกเงินบัญชีของ ถ. กับหนี้บัตรเครดิตของ ถ. กับโจทก์เป็นหนี้ที่มีขึ้นภายหลังจากการจำนองในขณะที่ยังมิได้ทำการจด ทะเบียนไถ่ถอนจำนอง การจำนองย่อมเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีและหนี้บัตรเครดิตดังกล่าวด้วย ตามข้อตกลงในสัญญาจำนอง การที่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและคำขอใช้บัตรเครดิตมิได้ระบุให้เอาที่ดินตาม สัญญาจำนองเป็นประกันหาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดตามข้อตกลงในสัญญา จำนองไม่ แม้โจทก์จะได้ชำระหนี้ที่โจทก์และ ถ. กู้ยืมไปครบถ้วนแล้ว ก็ยังไม่ทำให้โจทก์หลุดพ้นจากหนี้จำนอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและส่งมอบโฉนดที่ดินกับ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่จำนอง รวมทั้งไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2546
การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยซึ่งเป็นทายาทผู้ตายชำระหนี้ บอกกล่าวบังคับจำนองและบอกเลิกสัญญากู้เงินที่ผู้ตายทำไว้มิใช่กรณีที่หนี้ เงินกู้ที่ผู้ตายจะต้องรับผิดต่อโจทก์ระงับสิ้นไปการจำนองซึ่งเป็นหนี้ อุปกรณ์จึงยังไม่ระงับ
โจทก์รับโอนกิจการจากธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) มาเป็นของโจทก์ โจทก์จึงต้องรับโอนทั้งสิทธิและหน้าที่ของธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) เมื่อธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) เจ้าหนี้รู้ถึงการตายของลูกหนี้ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม2539 จึงต้องถือว่าโจทก์ได้รู้แล้วด้วย โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 28 มีนาคม 2543 จึงเกินกำหนด 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความและเป็นเหตุให้หนี้อุปกรณ์คือผู้ค้ำประกันที่จำเลย ที่ 1 ได้ทำไว้ต่อโจทก์หลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วย แต่สัญญากู้เงินมีการจำนองเป็นประกันไว้ด้วย ดังนี้ แม้หนี้สินตามสัญญากู้เงินอันเป็นหนี้ประธานจะขาดอายุความ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ด้วยการรับโอนสิทธิมาจากเจ้าหนี้เดิมย่อมใช้สิทธิ บังคับเอาจากทรัพย์สินที่จำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม ประกอบมาตรา 193/27 และคงบังคับได้แต่เฉพาะทรัพย์สินที่จำนองเท่านั้นหาอาจบังคับถึงทรัพย์สิน อื่นของผู้ตายได้ด้วยไม่ แม้สัญญาจำนองจะมีข้อความระบุให้เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ มาชำระหนี้ได้ในกรณีที่ทรัพย์สินที่จำนองไม่พอชำระหนี้ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5218/2545
แม้ ด. ซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริตและได้โอนขายให้ แก่ผู้ร้องโดยสุจริต แต่สิทธิของ ด. และผู้ร้องได้มาภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองต่อโจทก์ไว้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว การจำนองจึงยังคงมีอยู่ไม่ระงับสิ้นไป โจทก์มีสิทธิจะบังคับจำนองเอาแก่ที่ดินพิพาทของผู้ร้องได้ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 และมาตรา 702 วรรคสอง การที่ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาภายหลังจากที่โจทก์ได้รับจำนอง ไว้แล้ว แม้จะได้มาโดยสุจริตและได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330แต่ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่เดิมเสียไป ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4709/2545
จำเลย เป็นตัวแทนมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ซึ่งเป็นตัวการจำเลย ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนอง แต่การไถ่ถอนจำนอง จำเลยผู้จำนองจะต้องนำเงินไปชำระหนี้ให้แก่ผู้รับจำนองจนครบถ้วน ที่ดินพิพาทจึงจะปลอดจำนอง หากจำเลยไม่ปฏิบัติดังกล่าวก็ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีให้เป็นตามลำดับต่อไป ได้ จึงเป็นกรณีสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ที่ศาลพิพากษาให้จำเลยไถ่ถอนจำนอง หากจำเลยไม่ไถ่ถอนจำนองให้โจทก์ไถ่ถอนจำนองได้เองโดยจำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้ จ่ายทั้งสิ้นนั้นไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3232/2545
หนังสือ บอกกล่าวแจ้งความประสงค์ขอชำระหนี้เพื่อไถ่ถอนจำนองของจำเลยที่ 2 กับหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ของโจทก์ ระบุยอดหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องชำระไม่ตรงกัน หากจำเลยที่ 2 ยังประสงค์จะชำระหนี้ในยอดหนี้ที่เห็นว่าถูกต้องตามภาระความรับผิดของตนและ เห็นว่ายอดหนี้ที่โจทก์แจ้งมิใช่ยอดหนี้ที่แท้จริง ก็ชอบที่จำเลยที่ 2 จะต้องโต้แย้งไปยังโจทก์โดยแสดงเจตนาขอปฏิบัติการชำระหนี้ที่ถูกต้อง ลำพังหนังสือแจ้งความประสงค์ขอชำระหนี้ดังกล่าว จึงยังถือมิได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้และโจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้อันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 701 , 727 , 744 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1592/2545
แม้ ในสัญญาจำนองที่ดินจะระบุข้อความว่า จำนองเป็นประกันหนี้ซึ่งจำเลยผู้จำนองมีต่อธนาคารโจทก์ผู้รับจำนองในเวลานี้ หรือที่จะมีขึ้นใหม่ในภายหน้าก็ตามแต่เมื่อหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็น หนี้ประธานที่มีการจำนองเป็นประกันได้ระงับสิ้นไปโดยจำเลยชำระเงินกู้ให้ โจทก์ครบถ้วนแล้ว สัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อมระงับไปด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 744(1) ทั้งในการทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีโจทก์และจำเลยก็มิได้ระบุไว้ในสัญญาดัง กล่าวว่ามีการจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชี การตีความถึงเจตนาของคู่สัญญาในกรณีมีข้อสงสัยเช่นนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 ให้ตีความในทางที่เป็นคุณแก่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น กรณีต้องฟังว่าโจทก์และจำเลยมิได้ตกลงให้นำสัญญาจำนองที่ดินมาเป็นประกัน หนี้เบิกเงินเกินบัญชี โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับจำนองที่ดินเพื่อชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3467/2543
สัญญา จำนองและบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกันเอกสารหมาย จ.16 และ จ.17 จำเลยที่ 2 ทำขึ้นเพื่อเป็นประกันหนี้กู้ยืมที่จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์ไปเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน2529 ตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่า เพื่อเป็นประกันหนี้เงินเบิกเกินบัญชีหนี้เงินกู้แล้ว ยังจำนองเป็นประกันหนี้สินอื่นใดบรรดาที่ผู้จำนองและหรือจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่แล้วในขณะทำสัญญานี้และหรือที่จะเกิดขึ้นต่อไปในภาย หน้าและตามบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกันระบุว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาจำนองเดิมทุกประการดังนั้น สัญญาจำนองและบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกันของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว นอกจากจะประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ขณะทำสัญญาจำนองแล้ว ยังประกันหนี้ของจำเลยที่ 1ที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าหรือหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย การที่จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์เพิ่มเติมอีก ถือเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นในภายหน้า สัญญาจำนองและบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกัน จึงมีผลผูกพันเป็นประกันหนี้ตามสัญญากู้เงินดังกล่าวในทันทีโดยไม่จำต้องจด ทะเบียนจำนองหรือขึ้นเงินจำนองอีก
ตามสัญญากู้เงินโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี การคิดดอกเบี้ยดังกล่าวเข้าลักษณะดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสาม แม้ในครั้งแรกโจทก์จะคิดดอกเบี้ยแก่จำเลยไม่ถึงร้อยละ 18.5 ต่อปี ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญาซึ่ง โจทก์มีสิทธิที่จะไม่ยอมให้ประโยชน์แก่จำเลยอีกต่อไป โดยกลับไปคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี ตามข้อตกลงในสัญญาได้ กรณีหาใช่เรื่องลูกหนี้สัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้เป็นเบี้ยปรับเมื่อตน ไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องอันจะถือว่าเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ไม่
(วรรคสองวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2543)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2542
แม้ ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดในสัญญาแล้ว ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้เป็น รายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอก เบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดชำระอย่างเดียวกันกับที่ระบุในสัญญาข้อ 2(ภายในวันสิ้นเดือน) และสัญญาดังกล่าวไม่ได้มีกำหนดเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิก สัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตามแต่เมื่อจำเลยได้ ทำบันทึกข้อตกลงแก้ไขสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งที่ห้าและขอลดวงเงินกู้ เบิกเงินเกินบัญชีลงจากวงเงินเดิมคงเหลือวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวง เงิน 1,700,000 บาท แล้วจำเลยเบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายโดยวิธีถอนเงินสดบริการเงินด่วนเพียงครั้ง เดียว หลังจากนั้นก็มีเพียงรายการที่จำเลยนำเงินสดเข้าฝาก และรายการที่โจทก์ คิดดอกเบี้ยแล้วนำไปทบกับต้นเงินในวันสิ้นเดือนเพื่อให้ เป็นต้นเงินต่อไป จากนั้นก็ไม่มีการถอนเงินออกจากบัญชีอีกเลย และมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2537 ซึ่งปรากฏว่า จำเลยเป็นหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์ 1,696,182.61 บาท ใกล้เคียงกับวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี 1,700,000 บาทแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าไม่ประสงค์จะให้มี การสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป และตาม สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์และจำเลยกำหนดหักทอนบัญชีกัน ทุกวันสิ้นสุดของเดือน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึง เป็นอันเลิกกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2537 หาได้สิ้นสุด ในวันที่ 7 เมษายน 2538 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์ บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดจำนวนต้นเงินต่ำกว่าที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อเป็นผลจากการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากำหนดระยะเวลาที่ โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้สั้นลงกว่าที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยไม่ชอบ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ จำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีนี้เพียงแต่เป็นผู้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จากจำเลยที่ 1ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์และโจทก์ชอบที่จะ ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิ พักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยัง บุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับไป ทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 อันมีต่อโจทก์เฉพาะที่ เกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งจำนองในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง เท่านั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกตกลงขึ้นเงินจำนอง เป็นประกันครั้งที่สามอีกเป็นเงิน 56,000 บาท ทำให้ ยอดหนี้จำนองรวมเป็นเงิน 1,700,000 บาท ก็เป็นการจดทะเบียน เปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้อันจำนองเป็นประกันเพื่อให้ยกขึ้น เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ โดยจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะ เป็นผู้มีส่วนได้เสีย คือเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 746 ยอมขึ้นเงินจำนอง ในทรัพย์สินซึ่งจำนองอีกเพียง 56,000 บาท หาทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือลูกหนี้จำนอง โดยตรงในหนี้จำนองทั้งหมด แม้บันทึกขึ้นเงินจำนองครั้งที่สาม จะมีข้อความว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตาม หนังสือสัญญาจำนองเดิมทุกประการ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2ต้องรับผิดในหนี้ที่ขาดจำนวน หากบังคับจำนองแล้วได้เงิน ไม่พอชำระหนี้ตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนอง ที่จำเลยที่ 1 ผู้จำนองทำไว้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5328/2542
สัญญา จำนองที่ดินเป็นประกันและหนังสือต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นประกันระบุไว้ชัดแจ้ง ว่า จำเลยที่ 2 จำนองที่ดินไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันหนี้การกู้ยืมเงินและหนี้สินอื่นซึ่ง จำเลยที่ 2 และหรือจำเลยที่ 1 มีอยู่ต่อโจทก์ทั้งในเวลาที่ทำสัญญาและต่อไปในภายหน้า จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ประกันด้วยทรัพย์คือ จำนอง สัญญาประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จะยกเลิกเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงหลักประกันอย่างไรก็ได้
โจทก์และจำเลยที่ 2 ทำบันทึกข้อตกลงระงับจำนอง (ปลดจำนอง) ระบุไว้ชัดว่าทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้ที่ดินที่จำนองไว้พ้นจากการจำนองไปเพื่อ นำไปยื่นขอรับใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน ทั้ง ๆ ที่โจทก์ยังมิได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 2 ดังนั้น ภาระหนี้สินที่จำเลยที่ 2 มีต่อโจทก์จึงยังคงมีอยู่ตามเดิมตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันและ หนังสือต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นประกัน โดยข้อตกลงแม้จะเป็นการปลดจำนอง ก็มีผลเพียงแต่ทำให้โจทก์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินที่จำเลยที่ 2 นำมาจำนองเป็นประกันได้เท่านั้น แต่ภาระหนี้ในการประกันจำเลยที่ 2 และที่ 1 ยังคงมีอยู่ ซึ่งเป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่จำเลยที่ 2 ต้องผูกพันชำระหนี้ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 177/2521
ผู้ จำนองชำระหนี้ครบถ้วนตามสัญญาจำนองแล้วผู้รับจำนองจะยึดโฉนดไว้ไม่จดทะเบียน รับไถ่และคืนโฉนดแก่ผู้จำนองไม่ได้การที่ผู้รับจำนองเป็นเจ้าหนี้เจ้าของ ร่วมคนอื่นในหนี้รายอื่น ไม่ทำให้มีสิทธิ ยึดหน่วงโฉนดไว้ได้ผู้จำนองฟ้องบังคับให้จดทะเบียนไถ่จำนองและ เรียกโฉนดคืนได้