สิทธิและหน้าที่ของผู้รับจำนองและผู้จำนอง

มาตรา ๗๒๒ ถ้าทรัพย์สินได้จำนองแล้ว และภายหลังที่จดทะเบียนจำนองมีจดทะเบียนภาระจำยอมหรือทรัพยสิทธิอย่างอื่น โดยผู้รับจำนองมิได้ยินยอมด้วยไซร้ ท่านว่าสิทธิจำนองย่อมเป็นใหญ่กว่าภาระจำยอมหรือทรัพยสิทธิอย่างอื่นนั้น หากว่าเป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของผู้รับจำนองในเวลาบังคับจำนองก็ให้ลบสิทธิที่กล่าวหลังนั้นเสียจากทะเบียน

มาตรา ๗๒๓ ถ้าทรัพย์สินซึ่งจำนองบุบสลาย หรือถ้าทรัพย์สินซึ่งจำนองแต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งสูญหายหรือบุบสลาย เป็นเหตุให้ไม่เพียงพอแก่การประกันไซร้ ท่านว่าผู้รับจำนองจะบังคับจำนองเสียในทันทีก็ได้ เว้นแต่เมื่อเหตุนั้นมิได้เป็นเพราะความผิดของผู้จำนอง และผู้จำนองก็เสนอจะจำนองทรัพย์สินอื่นแทนให้มีราคาเพียงพอหรือเสนอจะรับซ่อมแซมแก้ไขความบุบสลายนั้นภายในเวลาอันสมควรแก่เหตุ

มาตรา ๗๒๔ ผู้จำนองใดได้จำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระแล้วและเข้าชำระหนี้เสียเองแทนลูกหนี้เพื่อจะปัดป้องมิให้ต้องบังคับจำนอง ท่านว่าผู้จำนองนั้นชอบที่จะได้รับเงินใช้คืนจากลูกหนี้ตามจำนวนที่ตนได้ชำระไป
ถ้าว่าต้องบังคับจำนอง ท่านว่าผู้จำนองชอบที่จะได้รับเงินใช้คืนจากลูกหนี้ตามจำนวนซึ่งผู้รับจำนองจะได้รับใช้หนี้จากการบังคับจำนองนั้น

มาตรา ๗๒๕ เมื่อบุคคลสองคนหรือกว่านั้นต่างได้จำนองทรัพย์สินแห่งตนเพื่อประกันหนี้แต่รายหนึ่งรายเดียวอันบุคคลอื่นจะต้องชำระและมิได้ระบุลำดับไว้ไซร้ ท่านว่าผู้จำนองซึ่งได้เป็นผู้ชำระหนี้ หรือเป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งต้องบังคับจำนองนั้นหามีสิทธิจะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้จำนองอื่น ๆ ต่อไปได้ไม่

มาตรา ๗๒๖
เมื่อบุคคลหลายคนต่างได้จำนองทรัพย์สินแห่งตนเพื่อประกันหนี้แต่รายหนึ่งรายเดียวอันบุคคลอื่นจะต้องชำระและได้ระบุลำดับไว้ด้วยไซร้ ท่านว่าการที่ผู้รับจำนองยอมปลดหนี้ให้แก่ผู้จำนองคนหนึ่งนั้น ย่อมทำให้ผู้จำนองคนหลัง ๆ ได้หลุดพ้นด้วยเพียงขนาดที่เขาต้องรับความเสียหายแต่การนั้น

มาตรา ๗๒๗ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๖๙๑ มาตรา ๖๙๗ มาตรา ๗๐๐ และมาตรา ๗๐๑ มาใช้บังคับกับกรณีที่บุคคลจำนองทรัพย์สินเพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระด้วยโดยอนุโลม


มาตรา ๗๒๗/๑ ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ผู้จำนองซึ่งทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นต้องชำระ ไม่ต้องรับผิดในหนี้นั้นเกินราคาทรัพย์สินที่จำนองในเวลาที่บังคับจำนองหรือเอาทรัพย์จำนองหลุด
ข้อตกลงใดอันมีผลให้ผู้จำนองต้องรับผิดเกินที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง หรือให้ผู้จำนองรับผิดอย่างผู้ค้ำประกัน ข้อตกลงนั้นให้เป็นโมฆะ ทั้งนี้ ไม่ว่าข้อตกลงนั้นจะมีอยู่ในสัญญาจำนองหรือทำเป็นข้อตกลงต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10532/2551
จำเลย ที่ 1 นำที่ดินโฉนดเลขที่ 12844 ไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 2 ภายหลังจำเลยที่ 1 ตกลงยินยอมจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 2 มิได้รู้เห็นยินยอม ซึ่งการจะจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าวได้ต้องไม่ทำให้เป็นที่เสื่อม เสียสิทธิของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับจำนองในเวลาบังคับจำนอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 722 ข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่ดินดังกล่าวเมื่อมีการบังคับคดีขายทอดตลาดถึง 9 ครั้ง ไม่สามารถขายได้ ทั้งๆ ที่ยังไม่มีการจดทะเบียนภาระจำยอมให้โจทก์ หากมีการจดทะเบียนภาระจำยอมทำให้ราคาทรัพย์จำนองลดลงเป็นที่เสื่อมเสียสิทธิ ของจำเลยที่ 2 ในเวลาบังคับจำนอง สิทธิจำนองของจำเลยที่ 2 ที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนย่อมเป็นใหญ่กว่าภาระจำยอมของโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องส่งมอบที่ดินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสระบุรี สาขาหนองแค เพื่อทำการจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3232/2545
หนังสือ ฉบับลงวันที่ 25 ตุลาคม 2538 ซึ่งจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันมีไปยังโจทก์ เพื่อขอชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองได้ระบุยอดหนี้ตามสัญญาคือ 250,000บาท จำเลยที่ 2 ขอให้โจทก์ตรวจสอบแล้วคำนวณดอกเบี้ยจากยอดเงินดังกล่าว แล้วแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบภายใน 1 เดือน เพื่อจำเลยที่ 2 จะได้ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง โดยมิได้ระบุวันที่โจทก์ต้องเริ่มคำนวณดอกเบี้ย ต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้จำนวน 819,685.54 บาท ระบุเป็นยอดหนี้ ณ วันที่ 28 กรกฎาคม2536 เมื่อยอดหนี้ที่แต่ละฝ่ายกล่าวอ้างไม่ตรงกัน และวันที่เริ่มต้นคิดดอกเบี้ยก็ไม่ปรากฏว่าจะเริ่มจากวันใด ตรงกันหรือไม่ ดังนี้ หากจำเลยที่ 2 ยังประสงค์จะชำระหนี้ในยอดหนี้ที่เห็นว่าถูกต้อง ก็ชอบที่จะต้องโต้แย้งไปยังโจทก์โดยขอปฏิบัติการชำระหนี้ที่ถูกต้องคือยอด หนี้ 250,000 บาท ตามสัญญาพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 มีต่อโจทก์เลิกกัน คือวันที่ 9 พฤศจิกายน 2533 แต่จำเลยที่ 2 หาได้กระทำไม่ ฉะนั้น จึงยังถือไม่ว่าจำเลยที่ 2 ได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ และโจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้อันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 701,727 และ 744(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2536
โจทก์ บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซื้อผลิตภัณฑ์ขวดแก้วและยืมลังไม้ใส่ขวดแก้วจากโจทก์หลายคราวติดต่อกัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ถึงพ.ศ. 2522 เมื่อได้มีการคิดบัญชีกันปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ส่งลังไม้คืนโจทก์จำนวน 54,788 ลัง เป็นเงิน 687,551 บาท จำเลยที่ 1 เคยชำระค่าลังไม้ให้โจทก์เกินไป 4 บาท จึงเหลือเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายเป็นค่าลังไม้แก่โจทก์ 687,547 บาท ดังนี้เป็นคำฟ้องที่เข้าใจชัดแจ้งแล้วไม่เคลือบคลุม ส่วนเรื่องจำนวนลังไม้ที่ว่าต่างราคากันและชนิดของลังไม้ที่จำเลยที่ 1 รับไปเมื่อใดต้องคืนเมื่อใด เหลือเท่าใดนั้นเป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 649 เป็นเรื่องความรับผิดเพื่อเสียค่าทดแทนเกี่ยวกับการยืมใช้คงรูป แต่ตามคำฟ้องโจทก์เป็นการฟ้องเรียกคืนลังไม้หรือราคาลังไม้ซึ่งจำเลยที่ 1 ยืมไปพร้อมผลิตภัณฑ์ขวดแก้ว ซึ่งโจทก์ขายให้จำเลยที่ 1 ตามสัญญาซื้อขาย และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติกับโจทก์ตลอดมาตั้งแต่มีการซื้อขายกันจึงนำมาตรา 649 มาบังคับหาได้ไม่ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 สัญญาจำนองระบุเพียงว่า จำเลยที่ 2 ผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินทั้งแปลงแก่ผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันในการซื้อขาย ผลิตภัณฑ์ขวดแก้วของบริษัท อ. จำเลยที่ 1 แม้ขณะทำสัญญาจำนองจำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์ทั้งค่าผลิตภัณฑ์ขวดแก้วและค่าลังไม้ แต่เมื่อไม่ได้ระบุในสัญญาจำนองว่าเป็นการประกัน การชำระหนี้ค่าลังไม้ด้วยและเป็นที่เห็นได้ชัดว่าลังไม้ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ขวด แก้ว จำเลยที่ 2เป็นแต่เพียงผู้ทำสัญญาจำนองประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1เท่านั้นทั้งไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 มีตำแหน่งหรือเกี่ยวข้องอะไรกับจำเลยที่ 1 กรณีเช่นนี้จึงต้องถือว่าเจตนาของคู่สัญญาจำนองยังเป็นที่สงสัยอยู่ จำต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายจะต้องเสียเปรียบในมูลหนี้นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 11 ตามสัญญาจำนองที่จำเลยที่ 3 จำนองที่ดินเป็นการประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ในการซื้อผลิตภัณฑ์ขวดแก้วจากโจทก์ในวันเดียวกับวันที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองระบุเพียงว่าผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินเพื่อเป็นประกันในการสั่ง ซื้อผลิตภัณฑ์ขวดแก้วของจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับที่ระบุในสัญญาจำนองที่จำเลยที่ 2 ทำไว้การจำนองที่ดินของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการจำนองเพื่อประกันหนี้รายเดียวกันนี้ ซึ่งเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้จำนองหนี้รายนี้ไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 3 ผู้จำนองหนี้ดังกล่าวก็ไม่ต้องรับผิดด้วย แม้จำเลยที่ 3 จะมิได้อุทธรณ์และฎีกา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วย มาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9156/2538
จำเลย ที่2และที่3ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับผู้ร้องโดยมีก. ทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและจำเลยที่2ที่3และก. ได้จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำเลยที่2ที่3และก.ถือกรรมสิทธิ์ร่วม กันเป็นประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีด้วยกรณีนี้จำเลยที่2ที่3และก. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์ที่จำนองได้ร่วมกันเอาทรัพย์สินจำนองไว้ แก่ผู้ร้องเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 2และที่3โดยจำเลยที่2และที่3เป็นลูกหนี้ชั้นต้นส่วนก. เป็นเพียงลูกหนี้ชั้นที่สองตามสัญญาค้ำประกันและจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ เท่านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา724มิได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่ 2และที่3ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ก. ซึ่งเป็นผู้จำนองได้และแม้ว่าก. จะทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่2และที่3อย่างลูกหนี้ร่วมก็ มีความหมายเพียงว่าก. ยอมเข้ารับผิดร่วมกับจำเลยที่2และที่3หาได้หมายความว่าก. จะมีฐานะกลายเป็นลูกหนี้ชั้นต้นเช่นเดียวกับจำเลยที่2และที่3ไปด้วยไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา693หาได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่2และที่3ที่จะ ไล่เบี้ยเอาจากก. ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันไม่ก. และจำเลยที่2และที่3ต่างไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ต่อกันอันจะทำให้มีการหัก กลบลบหนี้กันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา341ดังนั้นเมื่อผู้คัด ค้านได้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่วนของจำเลยที่ 2และที่3ในคดีนี้ชำระหนี้จำนวน9,429,863บาทให้แก่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มี ประกันก่อนเจ้าหนี้อื่นแล้วผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินจำนวน 3,143,287.66บาทไปขอหักกลบลบหนี้กับเงินส่วนของก.ที่จะได้รับจากการขายทอด ตลาดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2537
ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ลูกค้าโจทก์ ไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่า นับแต่วันสิ้นสุดของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ขอเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวหรือโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกแม้ภายหลังครบกำหนดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1ได้นำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน 2 ครั้งก็ตาม แต่ก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปเพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดิน สะพัดทางบัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมเลิกกันนับแต่วัน ครบกำหนดตามสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 ฉะนั้น โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันสิ้นสุดของสัญญาดังกล่าว และโจทก์ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นตลอดไปจนกว่าจะมีการชำระหนี้ราย นี้เสร็จแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของ จำเลยที่ 1 ที่ทำไว้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงิน 400,000 บาท หรือไม่เกิน 400,000 บาท แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกิน บัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 400,000 บาทเท่านั้น แม้จะปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงิน 400,000 บาท ก็เป็นการผูกพันกันระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 กับโจทก์เท่านั้น หามีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ด้วยไม่ ดังนั้น เมื่อครบกำหนดตามสัญญาจำเลยที่ 3 มีหนังสือขอชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จำนวน400,000 บาท แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย จึงเป็นการขอชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เมื่อหนี้นั้นถึงกำหนดโดยชอบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701 วรรคแรก แล้ว เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 ดังกล่าว ย่อมทำให้จำเลยที่ 3ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในการชำระหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701,727 ประกอบด้วยมาตรา 744(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3880/2535
จำเลย ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ท. โดยโจทก์จำนองที่ดินเป็นประกัน ต่อมาจำเลยไม่ชำระหนี้แก่ธนาคาร ท.โจทก์ได้ชำระแทนจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยให้จำเลยใช้เงินคืนตามจำนวนที่โจทก์ได้ชำระให้แก่ ธนาคารไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 724แต่โจทก์มิได้ใช้สิทธิไล่เบี้ยดังกล่าว กลับตกลงกับจำเลยทำหนังสือสัญญาไว้ต่อกันมีข้อความว่า จำเลยเป็นหนี้เงินกู้ศ. และโจทก์มีการมอบเช็คไว้เป็นประกันเงินกู้ และตกลงจะผ่อนชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวทุกเดือนจนกว่าจะครบ กรณีดังกล่าวถือได้ว่ามีหนี้ใหม่เกิดขึ้นตามเอกสารที่ทำต่อกันเป็นการ เปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ มีผลทำให้หนี้เดิมระงับไป ดังนั้น โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับจำเลยตามมูลหนี้ใหม่ในเอกสารนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5783/2533
ผู้ ร้องเช่าซื้อที่พิพาท เมื่อชำระค่าเช่าซื้อครบได้รับโอนกรรมสิทธิ์มาเป็นของผู้ร้อง โดยใส่ชื่อ ลูกหนี้ที่ 1 ไว้ในโฉนด แทนเพื่อให้ลูกหนี้ที่ 1 นำโฉนด ไปเป็นหลักประกันในการหาเงินมาทำการค้าโดยลูกหนี้ที่ 1 ทำหนังสือยืนยันมอบไว้แก่ผู้ร้องว่ากรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเป็นของผู้ร้อง และจะไถ่ถอนจำนองโอนคืนผู้ร้องภายใน 1 ปีจึงถือได้ว่า ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง ลูกหนี้ที่ 1 เป็นเพียงผู้มีชื่อ ในโฉนด ในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน แม้ลูกหนี้ที่ 1 จะเอาที่พิพาทไปจำนองแล้วไม่ไถ่ถอน ผู้ร้องในฐานะเจ้าของทรัพย์สินที่จำนองก็มีสิทธิจะไถ่ถอนจำนองเองได้ หากไถ่ถอนจำนองเองก็ชอบจะเรียกให้ลูกหนี้ที่ 1 ชดใช้ค่าไถ่ถอนจำนองได้ เมื่อผู้ร้องไถ่ถอนจำนองแล้วจำนองก็ย่อมระงับไปจะบังคับให้ลูกหนี้ที่ 1 ทำการไถ่ถอนจำนองซ้ำอีกไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4230/2528
ผู้ รับจำนองฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมสัญญาเช่าทรัพย์ ซึ่งผู้จำนองสมคบร่วมกับผู้เช่ากระทำลงโดยรู้อยู่ว่าเป็นการผิดสัญญาจำนอง และข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนอง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการบังคับคดีของผู้รับจำนองเอาแก่ทรัพย์สินที่ จำนอง กรณีเช่นนี้ไม่อาจนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 722 มาใช้ปรับแก่คดีได้ เพราะสัญญาเช่าทรัพย์เป็นบุคคลสิทธิไม่ใช่ภาระจำยอมหรือทรัพย์สิทธิอย่าง อื่น จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 มาใช้ปรับแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2517
ใน กรณีที่จำนองทรัพย์สินของตนเป็นประกันหนี้ของบุคคลอื่นนั้น ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในลักษณะจำนอง ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติให้นำมาตรา 689 ในลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับผู้จำนองจึงจะขอให้บังคับการชำระหนี้เอาจาก ทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนไม่ได้และจะขอให้บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของ ผู้ค้ำประกันก่อนก็ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427/2518
แม้ โจทก์มิได้นำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. บอกกล่าวบังคับจำนองมาแสดงต่อศาล แต่เมื่อ ส. บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์ และโจทก์ยอมรับเอาการบังคับจำนองที่ ส. บอกกล่าวแล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 และถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยผู้จำนองแล้ว(อ้างฎีกาที่ 795/2495)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2516
การ ที่อำเภอได้ออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)ในที่พิพาทให้เจ้าของที่ดิน จนกระทั่งสำนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินที่พิพาทให้เจ้าของที่ดินไปแล้ว ดังนี้ถือได้ว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับเดิมเป็นอันยกเลิกแล้วตาม ความในมาตรา 63 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ต่อมาเจ้าของที่ดินได้นำต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวไปจำนอง ไว้กับโจทก์ โดยจดทะเบียนการจำนอง ณ ที่ว่าการอำเภอ แล้วต่อมาเจ้าของที่ดินได้นำที่ดินแปลงเดียวกันนี้พร้อมโฉนดไปขายฝากให้บุตร จำเลยโดยจดทะเบียนการขายฝากที่สำนักงานที่ดินจังหวัด แล้วไม่ไถ่คืนภายในกำหนด ดังนี้ แม้โจทก์จะรับจำนองไว้โดยจดทะเบียนถูกต้องและสุจริตก็ตามก็หามีผลบังคับแก่ ที่ดินแปลงพิพาทไม่ โจทก์ผู้รับจำนองไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลย (ผู้รับโอนมรดกที่พิพาท) ไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจากโจทก์
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1536/2511
การ บังคับคดีต้องอาศัยคำพิพากษาเป็นหลัก เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันหนี้ด้วยทรัพย์ที่จำนองไว้กับโจทก์ และโจทก์ก็ได้ฟ้องบังคับจำนองกับจำเลยที่ 2 ด้วย ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินแก่โจทก์ ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ ก็ให้จำเลยที่ 2 ไถ่จำนองเต็มจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระ และหากบังคับจำนองขายทรัพย์ที่จำนองได้ไม่พอชำระหนี้ก็ให้โจทก์ยึดทรัพย์ อื่นของจำเลยที่ 1 ขายใช้หนี้ได้จนครบ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ผู้จำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงต้องไถ่จำนองเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อปัดป้องมิให้ตนต้องถูกบังคับ จำนอง และเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้ หรือไม่ไถ่จำนอง ก็ต้องถูกบังคับจำนองขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองตามคำพิพากษา โจทก์จึงมีสิทธิยึดทรัพย์ที่จำนองเพื่อขายทอดตลาดได้ จำเลยที่ 2 จะอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688,689,690 ว่าด้วยค้ำประกันมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนหาได้ไม่ มิฉะนั้นแล้วบทบัญญัติในลักษณะจำนองดังกล่าวแล้วก็จะไร้ผลและผิดหลักการ จำนองเป็นประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระ