การบังคับจำนำ

มาตรา ๗๖๔ เมื่อจะบังคับจำนำ ผู้รับจำนำต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ก่อนว่า ให้ชำระหนี้และอุปกรณ์ภายในเวลาอันควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น
ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนำชอบที่จะเอาทรัพย์สินซึ่งจำนำออกขายได้ แต่ต้องขายทอดตลาด
อนึ่ง ผู้รับจำนำต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังผู้จำนำบอกเวลาและสถานที่ซึ่งจะขายทอดตลาดด้วย

มาตรา ๗๖๕ ถ้าไม่สามารถจะบอกกล่าวก่อนได้ ผู้รับจำนำจะเอาทรัพย์สินจำนำออกขายทอดตลาดเสียในเมื่อหนี้ค้างชำระมาล่วงเวลาเดือนหนึ่งแล้วก็ให้ทำได้

มาตรา ๗๖๖ ถ้าจำนำตั๋วเงิน ท่านให้ผู้รับจำนำเก็บเรียกเงินตามตั๋วเงินนั้นในวันถึงกำหนด ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวก่อน

มาตรา ๗๖๗ เมื่อบังคับจำนำได้เงินจำนวนสุทธิเท่าใด ท่านว่าผู้รับจำนำต้องจัดสรรชำระหนี้และอุปกรณ์เพื่อให้เสร็จสิ้นไป และถ้ายังมีเงินเหลือก็ต้องส่งคืนให้แก่ผู้จำนำ หรือแก่บุคคลผู้ควรจะได้เงินนั้น
ถ้าได้เงินน้อยกว่าจำนวนค้างชำระ ท่านว่าลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับใช้ในส่วนที่ขาดอยู่นั้น

มาตรา ๗๖๘ ถ้าจำนำทรัพย์สินหลายสิ่งเพื่อประกันหนี้แต่รายหนึ่งรายเดียว ท่านว่าผู้รับจำนำจะเลือกเอาทรัพย์สินสิ่งหนึ่งสิ่งใดออกขายก็ได้ แต่จะขายจนเกินกว่าที่จำเป็นเพื่อใช้เงินตามสิทธิแห่งตนนั้นหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5099/2548
จำเลยจำนำตั๋วแลกเงินเป็นประกันหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้รับจำนำโดยเป็นผู้ทรงที่ได้รับสลักหลังและรับมอบตั๋วแลกเงิน ไว้ในครอบครอง ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 926 และ 766 นั้น เมื่อมีการสลักหลังเพื่อจำนำตั๋วแลกเงิน ผู้ทรงย่อมใช้สิทธิทั้งปวงอันเกิดแต่ตั๋วนั้นได้ทั้งสิ้น และผู้รับจำนำตั๋วแลกเงินก็มีสิทธิเรียกเก็บเงินตามตั๋วนั้นในวันถึงกำหนด ได้โดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวบังคับจำนำ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินเฉพาะที่ถึงกำหนดนำเงินมาหัก ชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวบังคับจำนำแก่จำเลยที่ 1 ก่อน
ในกรณีจำนำทรัพย์สินตามปกติทั่วไปนั้น หากผู้รับจำนำจะบังคับจำนำก็ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ให้ชำระ หนี้และอุปกรณ์ในเวลาอันควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้นเสียก่อน ถ้าลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าวผู้รับจำนำจึงชอบที่จะนำทรัพย์สินซึ่ง จำนำออกขายทอดตลาดได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 764 วรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยหากมีการตกลงให้จัดการแก่ทรัพย์สินนั้นเป็นประการอื่นนอกจากบทบัญญัติว่า ด้วยการบังคับจำนำ ข้อตกลงเช่นนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 756 และแม้เฉพาะในกรณีการบังคับชำระหนี้จากตั๋วแลกเงินที่ผู้จำนำนำมาจำนำเป็น ประกันหนี้นั้น ผู้รับจำนำมีสิทธิเรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินนั้นได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าว บังคับจำนำก่อนก็ตาม แต่ก็ต้องเรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินในวันถึงกำหนดชำระเงินด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 766 การที่โจทก์ใช้วิธีการบังคับชำระหนี้จากตั๋วแลกเงินที่รับจำนำไว้ดังกล่าว โดยการนำไปไถ่ถอนก่อนครบกำหนดชำระเงินตามตั๋วแลกเงินนั้น ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ทั้งการไถ่ถอนหรือขอรับเงินตามตั๋วแลกเงินก่อนวันครบกำหนดชำระเงินตามตั๋ว นี้ ผู้จ่ายก็ชอบที่จะไม่จ่ายเงินได้จนกว่าจะถึงวันครบกำหนดชำระ แต่กรณีนี้ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินนั้นยอมจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินให้แก่ โจทก์ โดยมีการหักลดเงินตามตั๋วไว้ ทำให้ผู้จ่ายเงินได้ประโยชน์จากส่วนลดนั้น ขณะที่โจทก์ก็ได้ประโยชน์ได้รับเงินมาชำระหนี้ แต่จำเลยที่ 1 กลับเป็นฝ่ายต้องเสียประโยชน์จากการที่มีการนำเงินที่ได้จากการไถ่ถอนตั๋ว แลกเงินก่อนวันครบกำหนดน้อยกว่าจำนวนเงินตามตั๋วซึ่งนำไปหักชำระหนี้ได้น้อย ลง จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำอันมิชอบของโจทก์ดังกล่าว จึงมีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ใช้เงินส่วนที่ขาดไปนั้น หรือคิดหักชำระหนี้เสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5603/2544
การ จำนำเครื่องจักรโดยคู่สัญญาจำนำตกลงให้ ช. กรรมการของลูกหนี้เป็นผู้รักษาทรัพย์สินจำนำและลูกหนี้เป็นผู้ใช้ประโยชน์ จากทรัพย์สินจำนำในการประกอบธุรกิจของตนมาโดยตลอด ซึ่งเครื่องจักรนั้นผู้จำนำสั่งซื้อเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อผลิตสินค้าออก จำหน่ายสร้างรายได้และนำเงินชำระคืนแก่ผู้รับจำนำการจำนำเครื่องจักรจึงเป็น หนทางที่สะดวกและรวดเร็วกว่าการทำจำนอง แสดงให้เห็นถึงเจตนาของลูกหนี้ที่ต้องการใช้เครื่องจักรนำมาผลิตสินค้าเพื่อ ประโยชน์ของตนแต่เพียงฝ่ายเดียว แม้ว่าสัญญาจำนำจะมีข้อตกลงว่า แม้ผู้จำนำจะได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในเครื่องจักรที่จำนำก็ไม่ถือว่า เครื่องจักรกลับคืนไปสู่การครอบครองของผู้จำนำก็ตามก็เป็นการเขียนสัญญาไว้ เพื่อเลี่ยงกฎหมาย ซึ่งในการตีความการแสดงเจตนานั้นให้เพ่งเล็งถึงเจตนาที่แท้จริงยิ่งกว่าถ้อย คำสำนวนหรือตัวอักษรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 171 เมื่อเจตนาที่แท้จริงของลูกหนี้ต้องการใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรอันเป็น ทรัพย์สินที่จำนำ การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับจำนำเครื่องจักรยอมให้ลูกหนี้เข้าใช้ประโยชน์จากทรัพย์สิน จำนำ ย่อมเป็นการยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับคืนไปสู่ครอบครองของผู้จำนำตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 769(2) แล้ว สิทธิจำนำของผู้คัดค้านที่ 1 จึงระงับสิ้นไปผู้คัดค้านที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันตามสัญญาจำนำเครื่องจักรตาม กฎหมายล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9465/2544
การจำนำมิได้ผูกพันผู้รับจำนำให้ต้องบังคับจำนำเฉพาะแต่ทางเดียว ผู้รับจำนำอาจใช้สิทธิบังคับผู้จำนำอย่างหนี้สามัญโดยสละบุริมสิทธิที่ผู้ รับจำนำมีเหนือทรัพย์สินที่จำนำก็ย่อมทำได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2534
การ ที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนำให้จำเลยผู้จำนำเช่าเครื่องจักรอันเป็น ทรัพย์สินจำนำ ย่อมเป็นการยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับคืนไปสู่การครอบครองของผู้จำนำตามความ หมายของบทบัญญัติมาตรา 769(2) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิจำนำของผู้ร้องจึงระงับสิ้นไปตามมาตรา ดังกล่าว ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าหนี้ผู้รับจำนำที่จะร้องขอกันส่วนตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่งมาตรา 287 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2530
จำเลย ทำสัญญากู้เงินไปจากโจทก์ 200,000 บาท โดยมี ว.เป็นผู้ค้ำประกันและยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและ ว. ได้มอบใบฝากประจำจำนวนเงิน 500,000 บาท จำนำเป็นประกันไว้ด้วย สัญญาค้ำประกัน ข้อ 9 ระบุว่าในกรณีที่ผู้กู้ผิดนัด... ให้ผู้กู้มีสิทธิที่จะเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาดได้... โดยไม่ต้องบอกกล่าว หากไม่พอชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันยอมใช้ให้จนครบ ในบันทึกสลักหลังการจำนำใบฝากของ ว. มีความว่า เมื่อครบกำหนดเวลาชำระหนี้ หากลูกหนี้มีหนี้ค้างชำระอยู่เท่าไร ผู้จำนำยอมให้ธนาคารโจทก์ผู้รับจำนำหักเงินฝากที่จำนำนี้ชำระหนี้ต้นเงินและ ดอกเบี้ยจนครบโดยให้ถือบันทึกสลักหลังนี้เป็นการบอกกล่าวจำนำเช่นนี้ เงื่อนไขของข้อตกลงดังกล่าว เป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ที่จะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์ที่จำนำได้เท่านั้นตราบ ใดที่โจทก์ยังมิได้บังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนำ หนี้ตามสัญญากู้ที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ก็ยังคงมีอยู่ โจทก์ใช้สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญากู้นั้นได้โดยไม่ต้องบังคับจำนำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3697/2528
โจทก์(ผู้จำนำ)ย่อมมีสิทธิไถ่ถอนทรัพย์ที่จำนำได้เสมอตราบใดที่จำเลย(ผู้รับจำนำ)ยัง ไม่บังคับจำนำ ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิไถ่ถอนเพราะพ้นกำหนดตามสัญญาและไม่มีบท บัญญัติใดบัญญัติว่าถ้ายังไม่บังคับจำนำ ผู้จำนำมีสิทธิไถ่ถอนเมื่อพ้นกำหนดไถ่ถอนตามสัญญาแล้วนั้น เห็นว่าได้มีบทบัญญัติอยู่ว่า การตกลงก่อนหนี้ถึงกำหนดชำระว่าถ้าไม่ชำระหนี้ให้ผู้รับจำนำเป็นเจ้าของ ทรัพย์สินที่จำนำหรือจัดการแก่ทรัพย์สินนั้นเป็นประการอื่นนอกจากบทบัญญัติ ทั้งหลายว่าด้วยการบังคับจำนำ ข้อตกลงนั้นไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 756แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5099/2548
ในกรณีจำนำทรัพย์สินตามปกติทั่วไปนั้น หากผู้รับจำนำจะบังคับจำนำก็ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ให้ชำระ หนี้และอุปกรณ์ในเวลาอันควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้นเสียก่อน ถ้าลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าวผู้รับจำนำจึงชอบที่จะนำทรัพย์สินซึ่ง จำนำออกขายทอดตลาดได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 764 วรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยหากมีการตกลงให้จัดการแก่ทรัพย์สินนั้นเป็นประการอื่นนอกจากบทบัญญัติว่า ด้วยการบังคับจำนำ ข้อตกลงเช่นนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 756 และแม้เฉพาะในกรณีการบังคับชำระหนี้จากตั๋วแลกเงินที่ผู้จำนำนำมาจำนำเป็น ประกันหนี้นั้น ผู้รับจำนำมีสิทธิเรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินนั้นได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าว บังคับจำนำก่อนก็ตาม แต่ก็ต้องเรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินในวันถึงกำหนดชำระเงินด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 766 การที่โจทก์ใช้วิธีการบังคับชำระหนี้จากตั๋วแลกเงินที่รับจำนำไว้ดังกล่าว โดยการนำไปไถ่ถอนก่อนครบกำหนดชำระเงินตามตั๋วแลกเงินนั้น ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ทั้งการไถ่ถอนหรือขอรับเงินตามตั๋วแลกเงินก่อนวันครบกำหนดชำระเงินตามตั๋ว นี้ ผู้จ่ายก็ชอบที่จะไม่จ่ายเงินได้จนกว่าจะถึงวันครบกำหนดชำระ แต่กรณีนี้ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินนั้นยอมจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินให้แก่ โจทก์ โดยมีการหักลดเงินตามตั๋วไว้ ทำให้ผู้จ่ายเงินได้ประโยชน์จากส่วนลดนั้น ขณะที่โจทก์ก็ได้ประโยชน์ได้รับเงินมาชำระหนี้ แต่จำเลยที่ 1 กลับเป็นฝ่ายต้องเสียประโยชน์จากการที่มีการนำเงินที่ได้จากการไถ่ถอนตั๋ว แลกเงินก่อนวันครบกำหนดน้อยกว่าจำนวนเงินตามตั๋วซึ่งนำไปหักชำระหนี้ได้น้อย ลง จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำอันมิชอบของโจทก์ดังกล่าว จึงมีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ใช้เงินส่วนที่ขาดไปนั้น หรือคิดหักชำระหนี้เสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461/2530
จำเลย ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์ โจทก์สลักหลังจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้แก่จำเลยไว้เพื่อประกันหนี้ ค่าซื้อหุ้นที่ อ.และพ. สั่งให้จำเลยซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และปรากฏว่า อ.และพ. ยังเป็นหนี้ค่าซื้อขายหุ้นอยู่อีก โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกตั๋วสัญญาใช้เงินคืนจากจำเลยหรือเรียกร้องให้จำเลย ใช้เงินตามตั๋วนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2533
จำเลย ที่ 2 ทำสัญญาจำนำหุ้นเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์รวม 4 ฉบับ สัญญาจำนำ 3 ฉบับ กำหนดวงเงินจำนำค้ำประกันไว้ อีก 1 ฉบับ จำนำหุ้น 1,000 หุ้น โดยไม่ได้กรอกข้อความกำหนดวงเงินประกันไว้ สัญญาข้อ 3 กำหนดไว้ว่า "ผู้จำนำยินยอมให้ผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และผู้จำนำยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมอยู่ด้วย" มีความหมายเพียงว่า หากผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ยังต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อยู่ และจำเลยที่ 2 จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมภายในวงเงินที่นำทรัพย์สินมาจำนำเป็นประกันหนี้ เท่านั้น หาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากวงเงินที่กำหนดไว้ไม่สัญญาข้อ 5 กำหนดว่า"ถ้าขายทรัพย์สินจำนำได้เงินสุทธิต่ำกว่าต้นเงินจำนำและดอกเบี้ยที่ ค้างชำระผู้จำนำยอมรับชดใช้จำนวนเงินที่ยังขาดอีกจนครบ และถ้าหากขายทรัพย์สินที่จำนำได้เงินสุทธิเกินค่าจำนำมากน้อยเท่าใด ผู้จำนำยอมให้เอาไปหักใช้หนี้สินใด ๆ ที่ลูกหนี้ค้างชำระแก่ผู้จำนำอีกด้วยหากยังมีเงินเหลืออยู่อีก ผู้รับจำนำก็จะคืนให้แก่ผู้จำนำไป" สัญญาข้อนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเท่าราคาทรัพย์สินที่นำมาจำนำและชดใช้ให้ครบตามวงเงิน แม้สัญญาจำนำฉบับที่ไม่ได้กำหนดวงเงินไว้ก็มีความหมายเพียงว่า เมื่อบังคับจำนำแก่ทรัพย์สินที่จำนำแล้วต้องนำเงินที่ขายทรัพย์สินได้ทั้ง หมดมาชำระหนี้ เว้นแต่กรณีชำระหนี้แล้วมีเงินเหลือจึงจะคืนให้จำเลยที่ 2 เท่านั้นมิใช่คู่สัญญาประสงค์จะให้ผู้จำนำต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในหนี้ ทั้งหมดนอกเหนือจากทรัพย์จำนำ การแปลเจตนาในสัญญา อาจแปลได้โดยไม่ต้องนำพยานบุคคลมาสืบ จำเลยอุทธรณ์ ไม่จำต้องแก้อุทธรณ์ เพราะกฎหมายมิได้บังคับให้ทำเช่นนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2502
จำเลยกู้เงินโจทก์และในสัญญากู้มีข้อความด้วยว่า จำเลยได้นำโคมาจำนำไว้เมื่อทำสัญญากู้เงินกันแล้วโจทก์ได้ยินยอมมอบโคกลับ คืนไปสู่การครอบครองของจำเลยแม้จำเลยจะเคยนำกลับไปให้โจทก์บ้างเป็นครั้ง คราว แต่ผลที่สุดโจทก์ก็ยินยอมมอบคืนแก่จำเลยอีกเช่นนี้ ย่อมถือว่าจำเลยหาได้มอบโคไว้เป็นประกันการชำระหนี้ตามความหมายในลักษณะจำนำ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 349 ไม่