การอาวัลตั๋วแลกเงิน

มาตรา ๙๓๘ ตั๋วแลกเงินจะมีผู้ค้ำประกันรับประกันการใช้เงินทั้งจำนวนหรือแต่บางส่วนก็ได้ ซึ่งท่านเรียกว่า “อาวัล”
อันอาวัลนั้นบุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่งจะเป็นผู้รับ หรือแม้คู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้รับก็ได้

มาตรา ๙๓๙ อันการรับอาวัลย่อมทำให้กันด้วยเขียนลงในตั๋วเงินนั้นเอง หรือที่ใบประจำต่อ
ในการนี้พึงใช้ถ้อยคำสำนวนว่า “ใช้ได้เป็นอาวัล” หรือสำนวนอื่นใดทำนองเดียวกันนั้น และลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล
อนึ่ง เพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัลในด้านหน้าแห่งตั๋วเงิน ท่านก็จัดว่าเป็นคำรับอาวัลแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่เป็นลายมือชื่อของผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย
ในคำรับอาวัลต้องระบุว่ารับประกันผู้ใด หากมิได้ระบุ ท่านให้ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย

มาตรา ๙๔๐ ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน
แม้ถึงว่าความรับผิดใช้เงินอันผู้รับอาวัลได้ประกันอยู่นั้นจะตกเป็นใช้ไม่ได้ด้วยเหตุใด ๆ นอกจากเพราะทำผิดแบบระเบียบ ท่านว่าข้อที่สัญญารับอาวัลนั้นก็ยังคงสมบูรณ์
เมื่อผู้รับอาวัลได้ใช้เงินไปตามตั๋วแลกเงินแล้ว ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลซึ่งตนได้ประกันไว้ กับทั้งบุคคลทั้งหลายผู้รับผิดแทนตัวผู้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2550
ธนาคาร น. ในฐานะผู้รับอาวัลได้ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่สำนักงานพระคลังข้าง ที่แล้ว ธนาคาร น. ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลที่ตนได้ประกันไว้ ตามป.พ.พ. มาตรา 940 วรรคสาม ประกอบด้วย มาตรา 985 และเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 เมื่อเจ้าหนี้ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินดัง กล่าวมาจากธนาคาร น. เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวภายในอายุความข้าง ต้นเช่นกัน
ธนาคาร น. ผู้รับอาวัลใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแทนลูกหนี้ไปเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2540 อันเป็นวันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วดังกล่าว การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินต่อเจ้า พนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2545 ยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2548
โจทก์ ยอมอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินให้จำเลยที่ 1 จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกัน (อาวัล) จำเลยที่ 1 ในการใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่ผู้ทรงและโจทก์ต้องผูกพันรับผิดต่อ ผู้ทรงเป็นอย่างเดียวกันกับจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ได้ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่ผู้ทรงแทนจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ย่อมใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 940 วรรคท้าย จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินคืนแก่โจทก์
จำเลยที่ 2 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อนำไปจำนำไว้แก่โจทก์เป็นประกันการที่โจทก์ยอมอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินให้ จำเลยที่ 1 ซึ่งตามสัญญาจำนำมีข้อตกลงว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ต่อโจทก์ยอมให้โจทก์เรียกเก็บเงินจากตั๋วสัญญาใช้เงินของ จำเลยที่ 2 ได้ทันที แม้ว่าจำเลยที่ 2 จะถูกองค์การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) มีคำสั่งห้ามมิให้จำเลยที่ 2 จ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ ก็เป็นเรื่องความรับผิดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ตามสัญญาจำนำ เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 2 ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่รับจำนำไว้ หนี้ตามสัญญาใช้เงินที่โจทก์อาวัลยังไม่ระงับ จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 1 พ้นจากความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5050/2547
โจทก์รับรองการจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตั๋วในฐานะผู้รับอาวัลเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ได้ทำคำขอให้รับรองตั๋วเงินไว้ต่อโจทก์ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนซึ่งเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ประสงค์มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างกันตามคำขอให้รับรองตั๋ว เงินด้วย และถือได้ว่าเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งมีผลผูกพันสามารถบังคับกันได้ตาม กฎหมายแยกต่างหากจากความผูกพันที่โจทก์ยอมตกเป็นผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้ เงินพิพาทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตั๋ว ดังนั้น เมื่อตั๋วถึงกำหนดใช้เงินโจทก์ได้ใช้เงินไปตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นให้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. แล้วมาใช้สิทธิไล่เบี้ยแก่จำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามคำขอให้รับรองตั๋วเงินดังกล่าว แม้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อพ้นกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่วันตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทถึงกำหนดอันเป็นเหตุให้สิทธิเรียกร้องของ โจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1001 แล้ว แต่สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 รับผิดในหนี้อันเกิดจากคำขอให้รับรองตั๋วเงินที่จำเลยที่ 1 ทำกันไว้แก่โจทก์ก็ยังคงมีอยู่ และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในกรณีเช่นว่านี้ ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดเวลาสิบปี คดีจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2542
เช็ค เป็นตราสารเปลี่ยนมือที่ต้องการความเชื่อถือในระหว่างผู้สั่งจ่ายและผู้ทรง ทั้งหลายว่า เมื่อนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแล้วจะมีการจ่ายเงินตามเช็ค ดังนั้นข้อกำหนดเงื่อนไขใด ๆ อันเป็นการห้ามหรือจำกัดการจ่ายเงินจะพึงมีได้ จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย การที่จำเลยออกเช็คพิพาทโดยขีดเส้นสีดำในช่องวันที่ไว้ เมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้อำนาจไว้ว่ากระทำได้ ข้อความดังกล่าวจึงไม่เป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เช็คนั้นตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์มาตรา 899 กรณีถือว่าจำเลยออกเช็คโดยมิได้ลงวันออกเช็คไว้ เมื่อโจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาและนำเข้าบัญชี โจทก์หรือเจ้าหน้าที่ธนาคารย่อมลงวันที่ในเช็คได้ตามมาตรา 910 วรรคท้ายประกอบ มาตรา 989 จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายระบุชื่อ บ. เป็นผู้รับเงิน แต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออกแม้จำเลยอ้างว่าประสงค์จะออกเช็คระบุชื่อ แต่ด้วยความไม่สันทัดของจำเลยจึงมิได้ ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออกก็ตาม ก็ต้องถือว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ โจทก์ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือ มีผลเป็นการประกัน หรืออาวัลผู้สั่งจ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989ซึ่งเป็นการอาวัลตามผลของกฎหมาย มิใช่การอาวัลตามมาตรา 939 จึงไม่ต้องมีการเขียน ข้อความระบุว่า ใช้ได้เป็นอาวัลอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4872/2533
จำเลย ที่ 2 ปฏิเสธว่าลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาทมิใช่ของตนโจทก์นำสืบพยานบุคคลว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาท และในสำนวนมีลายมือชื่อแท้จริงของจำเลยที่ 2 ในสัญญาจำนอง ใบแต่งทนาย และคำให้การ เมื่อเป็นพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับประเด็นโดยตรง ศาลมีอำนาจอาศัยลายมือชื่อดังกล่าวตรวจเปรียบเทียบ เพื่อชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานว่า เพียงพอให้เชื่อฟังได้หรือไม่ มูลหนี้คดีนี้เป็นหนี้กู้ยืมเงิน 1,000,000 บาท มิได้ทำสัญญากู้กันไว้ แต่มีการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันและให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานใน การกู้ยืมเงิน หลังจากนั้นจำเลยที่ 1สั่งจ่ายเช็คพิพาทเป็นเงิน 1,000,000 บาท มอบให้โจทก์อีกโดยตกลงว่าเพื่อเป็นประกัน เช็คพิพาทจึงออกเพื่อประกันการกู้ยืมเงินด้วย โจทก์มีสิทธิฟ้องได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวบังคับจำนองก่อน การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังเช็คที่สั่งจ่ายระบุชื่อ โจทก์ขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออก และมุม ซ้ายบนของด้านหน้ามีข้อความว่าเข้าบัญชีผู้รับเงินเท่านั้นห้ามเปลี่ยนมือ และในเช็คไม่ปรากฏว่ามีถ้อยคำสำนวนว่าใช้ได้เป็นอาวัล หรือสำนวนอื่นใดทำนองเดียวกัน จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับอาวัลแต่การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คที่จำเลยที่ 1เป็นผู้สั่งจ่ายโดยระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินและจำเลยทั้งสองนำเช็คไปมอบ ให้โจทก์ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คด้วยความสมัครใจที่จะผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง ในอันที่จะรับผิดตามข้อความในเช็คอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายด้วยการลงลายมือชื่อของตนในเช็คตามมาตรา 900 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2534
ตาม บันทึกการกู้ยืมเงินมีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้เงินโจทก์ได้ออกเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อเป็นประกันเงินกู้แต่ เมื่อบันทึกดังกล่าวจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังอาวัลเช็คพิพาทมิได้เข้าเป็นคู่สัญญาด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจเอาข้อตกลงตามบันทึกที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้มาเป็นเจตนาของจำเลยที่ 2 ได้เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามบันทึกกู้ยืมให้โจทก์เสร็จสิ้น จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ว่า โจทก์เติมวันเดือนปีที่สั่งจ่ายเช็คพิพาทเอง มิได้ทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามสัญญากู้ จำเลยที่ 2 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในประเด็นดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4872/2533
จำเลย ที่ 2 ปฏิเสธว่าลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาทมิใช่ของตนโจทก์นำสืบพยานบุคคลว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาท และในสำนวนมีลายมือชื่อแท้จริงของจำเลยที่ 2 ในสัญญาจำนอง ใบแต่งทนาย และคำให้การ เมื่อเป็นพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับประเด็นโดยตรง ศาลมีอำนาจอาศัยลายมือชื่อดังกล่าวตรวจเปรียบเทียบ เพื่อชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานว่า เพียงพอให้เชื่อฟังได้หรือไม่ มูลหนี้คดีนี้เป็นหนี้กู้ยืมเงิน 1,000,000 บาท มิได้ทำสัญญากู้กันไว้ แต่มีการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันและให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานใน การกู้ยืมเงิน หลังจากนั้นจำเลยที่ 1สั่งจ่ายเช็คพิพาทเป็นเงิน 1,000,000 บาท มอบให้โจทก์อีกโดยตกลงว่าเพื่อเป็นประกัน เช็คพิพาทจึงออกเพื่อประกันการกู้ยืมเงินด้วย โจทก์มีสิทธิฟ้องได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวบังคับจำนองก่อน การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังเช็คที่สั่งจ่ายระบุชื่อ โจทก์ขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออก และมุม ซ้ายบนของด้านหน้ามีข้อความว่าเข้าบัญชีผู้รับเงินเท่านั้นห้ามเปลี่ยนมือ และในเช็คไม่ปรากฏว่ามีถ้อยคำสำนวนว่าใช้ได้เป็นอาวัล หรือสำนวนอื่นใดทำนองเดียวกัน จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับอาวัลแต่การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คที่จำเลยที่ 1เป็นผู้สั่งจ่ายโดยระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินและจำเลยทั้งสองนำเช็คไปมอบ ให้โจทก์ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คด้วยความสมัครใจที่จะผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง ในอันที่จะรับผิดตามข้อความในเช็คอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายด้วยการลงลายมือชื่อของตนในเช็คตามมาตรา 900 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ย คำขอให้โจทก์ทั้งสองชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์จนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ เห็นได้ว่าเป็นการพิมพ์ผิดเพราะโจทก์มีเพียงคนเดียวจะขอให้โจทก์ชำระ ดอกเบี้ยให้โจทก์ย่อมไม่ได้ ทั้งในที่อื่นตามฟ้องทั้งหมดได้ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ขอให้ชำระดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง ศาลมีอำนาจพิพากษาให้จนถึงวันที่ชำระเสร็จตามคำพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2533
โจทก์ ได้เข้าอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัท ว. ออกให้แก่บริษัท ท. โดยจำเลยในฐานะผู้จัดการของบริษัท ว. ได้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ว่า หากโจทก์ได้ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว จำเลยยอมชดใช้เงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ต่อมาเมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนด บริษัท ว. ขอยืดเวลาการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาต่อบริษัท ท. ผู้ทรงออกไปรวม 2 ครั้งโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ใหม่ทั้งสองครั้ง โจทก์ได้เข้าอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับนั้นตามคำขอร้อง ของ บริษัท ว.ครั้นตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับหลังสุดถึงกำหนด โจทก์ได้ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นให้แก่บริษัท ท. ตามที่ได้รับการทวงถามดังนี้ เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับที่ออกใหม่มีมูลหนี้มาจากตั๋วสัญญาใช้เงิน ฉบับแรก และตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์มีใจความว่า จำเลยยอมรับผิดชดใช้เงินที่โจทก์จ่ายไปในการที่โจทก์อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน ของบริษัท ว. ในวงเงินที่กำหนดเท่านั้น หาได้ระบุวันออกตั๋วและวันถึงกำหนดใช้เงินไว้ไม่ อีกทั้งสัญญาค้ำประกันก็ระบุว่าหากโจทก์ผ่อนผันเวลาการชำระหนี้ให้แก่ผู้ออก ตั๋วสัญญาใช้เงินจำเลยตกลงด้วยในการผ่อนผันเวลาทุกครั้ง โดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อน จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในการที่โจทก์เข้ารับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับ หลังสุดด้วย