บัญชีเดินสะพัด

มาตรา ๘๕๖ อันว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลสองคนตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไป หรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างเขาทั้งสองนั้นหักกลบลบกัน และคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค

มาตรา ๘๕๗ การนำตั๋วเงินลงเป็นรายการในบัญชีเดินสะพัดนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าได้ลงด้วยเงื่อนไขว่าจะมีผู้ชำระเงินตามตั๋วนั้นถ้าและตั๋วนั้นมิได้ชำระเงินไซร้ จะเพิกถอนรายการอันนั้นเสียก็ได้

มาตรา ๘๕๘ ถ้าคู่สัญญามิได้กำหนดกันไว้ว่าให้หักทอนบัญชีโดยระยะเวลาอย่างไรไซร้ ท่านให้ถือเอาเป็นกำหนดหกเดือน

มาตรา ๘๕๙ คู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้

มาตรา ๘๖๐ เงินส่วนที่ผิดกันอยู่นั้นถ้ายังมิได้ชำระ ท่านให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่หักทอนบัญชีเสร็จเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2560
แม้จำเลยที่ 3 มีจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการ และจำเลยที่ 1 เจตนากู้ยืมเงินมาใช้ในกิจการของจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 3 ก็เป็นนิติบุคคลซึ่งถือเป็นคนละคนกับจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 3 จะมีสิทธิเรียกร้องหรือเป็นเจ้าหนี้ธนาคาร ก. ผู้โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิที่จะนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ เพราะหนี้ค่าจ้างระหว่างธนาคาร ก. กับจำเลยที่ 3 เป็นความผูกพันระหว่างธนาคารกับจำเลยที่ 3 ทั้งมิใช่หนี้ด้อยคุณภาพที่ธนาคารโอนสิทธิมาให้แก่โจทก์ ความรับผิดตามสัญญาว่าจ้างจึงคงอยู่กับธนาคาร ก. ไม่ได้โอนมาเป็นของโจทก์ เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ต้องไปว่ากล่าวเอากับธนาคารผู้เป็นคู่สัญญา
 
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยจากยอดเงินที่ปรากฏอยู่ในบัญชีเดินสะพัด หากภายหลังวันทำสัญญามีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่ประกาศโดยผู้ให้กู้หรือธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ผู้ให้กู้พึงเรียกเก็บได้จากลูกค้าสูงกว่าอัตราตามสัญญา ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีอำนาจที่จะปรับดอกเบี้ยตามสัญญาให้สูงขึ้นได้ตามที่ผู้ให้กู้เห็นสมควรในทันที โดยมิต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบ และถือว่าผู้กู้ได้ให้ความยินยอมในการปรับอัตราดอกเบี้ยนับแต่วันที่ผู้ให้กู้กำหนดทุกครั้งไป การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมิได้อาศัยเหตุที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้หรือผิดเงื่อนไข การปรับดอกเบี้ยให้สูงขึ้นในกรณีนี้จึงไม่มีลักษณะเป็นทำนองเบี้ยปรับ ศาลจึงไม่มีอำนาจปรับลดลงมาได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดในดอกเบี้ยเพียงอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดสูงสุดที่มิใช่กรณีลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้หรือผิดเงื่อนไขตามประกาศของธนาคาร ก. ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 14.5 ต่อปี
 
อนึ่ง จำเลยที่ 2 ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่สี่ ทั้งมีการจำนำสิทธิที่จะถอนเงินฝากจากบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 3 ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่หก ทั้งมีการจำนำสิทธิที่จะถอนเงินฝากจากบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 3 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้นำเงินฝากในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 และที่ 3 มาหักชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีวันที่มีการหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย ส่งผลให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 สิ้นความผูกพันที่จะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวอีกต่อไป แต่เมื่อนำเงินฝากไปหักชำระหนี้แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากบัญชีเงินฝากนับแต่วันหักชำระหนี้ แต่ปรากฏว่าหลังวันที่มีการนำเงินฝากไปหักชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ได้รับดอกเบี้ย 2 ครั้ง จำเลยที่ 3 ได้รับดอกเบี้ย 5 ครั้ง จึงให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดชำระเงินดังกล่าวแก่ธนาคารพร้อมดอกเบี้ย เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่สี่และที่หกตามลำดับ ซึ่งศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 สิ้นความผูกพันที่จะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ศาลชั้นต้นย่อมไม่อาจวินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 มารับผิดในดอกเบี้ยเงินฝากซึ่งมิใช่มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอาความกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นคดีเรื่องอื่น การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดในดอกเบี้ยเงินฝากจึงเป็นการพิพากษานอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) นอกจากนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่าให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เงินทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยตามจำนวนที่ธนาคารจ่ายไปพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ธนาคารชำระแทนเป็นต้นไป โดยคำนวณดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นเงิน 1,704.09 บาท รวมเป็นเงิน 15,812.71 บาท แต่ในตอนพิพากษากลับไม่มีการระบุถึงดอกเบี้ยของหนี้เงินทดรองจ่ายนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลฎีกาเห็นสมควรระบุให้ครบถ้วนตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14778/2558
จำเลยเปิดบัญชีเดินสะพัดไว้กับธนาคารและระบุเงื่อนไขการสั่งจ่ายเช็คว่า ว. กรรมการของจำเลยจะลงลายมือชื่อในเช็คและประทับตราสำคัญของจำเลย ซึ่งตรงกับการกระทำของผู้แทนนิติบุคคลที่จะผูกพันจำเลยได้จะต้องลงลายมือชื่อ ว. กรรมการกับประทับตราสำคัญตามหนังสือรับรองบริษัท แต่ ว. ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทโดยไม่ประทับตราสำคัญ เมื่อเช็คพิพาทสั่งจ่ายเงินจากบัญชีของจำเลยและด้านหน้าก็พิมพ์ชื่อจำเลยไว้ บุคคลที่รับเช็คย่อมเข้าใจว่าเป็นเช็คของจำเลย การที่ ว. กรรมการจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท ถือได้ว่าจำเลยเชิด ว. แสดงออกเป็นตัวแทนของตน จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 ที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า ว. สั่งจ่ายเช็คพิพาทในนามของตนเอง จึงรับฟังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13730/2557
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้อำนาจธนาคารพาณิชย์ประกาศอัตราดอกเบี้ยส่วนต่างสูงสุดที่จะใช้บวกกับอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดีหรือ อัตรา เอ็ม.โอ.อาร์. เป็นอัตราสูงสุดที่จะเรียกจากลูกค้าทั่วไป หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์สามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้แตกต่างระหว่างลูกค้ารายย่อยชั้นดีกับลูกค้าทั่วไปด้วยวิธีบวกส่วนต่างเข้ากับอัตราดอกเบี้ยที่จะเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี แต่ทั้งนี้เมื่อรวมอัตราดอกเบี้ยทั้งหมดแล้วต้องไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่จะเรียกเก็บจากลูกค้าทั่วไป มิใช่ธนาคารพาณิชย์จะกำหนด "ส่วนต่างที่จะใช้บวก" ได้โดยไม่มีหลักเกณฑ์กำกับ
 
ดอกเบี้ยที่กำหนดในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเขียนเป็นตัวอักษรว่า คิดในอัตราร้อยละ เอ็ม.โอ.อาร์ บวก 1.25 ต่อปี แต่เขียนเป็นตัวเลขอัตราร้อยละ 14.75 ต่อปี แตกต่างกันเพราะอัตราดอกเบี้ย เอ็ม.โอ.อาร์ ตามประกาศโจทก์ในขณะนั้นเท่ากับอัตราร้อยละ 12 ต่อปี เมื่อคิดตามตัวอักษรจะต้องเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 13.25 ต่อปี เมื่อตัวอักษรกับตัวเลขไม่ตรงกันและมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้ จึงต้องถือเอาอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้เป็นตัวอักษร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 12 และ 13 

เมื่อต้องมีการคำนวณหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีกันใหม่โดยใช้ดอกเบี้ยตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนด จึงต้องนำเงินที่จำเลยนำเข้าชำระรวมทั้งสิ้น 7 ครั้งไปหักออกจากหนี้ที่ค้างชำระด้วย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้พิพากษาให้หักเงินดังกล่าวออกไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4563/2557
จำเลยทั้งสองไม่ได้ยกอายุความเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระเกินห้าปีขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) หรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาอายุความขึ้นแล้ววินิจฉัยให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ก่อนฟ้องไม่เกินห้าปีจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 183 ถือไม่ได้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ แม้ปัญหานี้โจทก์มิได้ยกขึ้นโต้แย้งในฎีกาโดยตรง แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
 
แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดจนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2536 จากนั้นไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่าธนาคารยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีอีก คงมีแต่ในวันที่ 31 ธันวาคม 2540 ธนาคารได้นำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 มาหักชำระหนี้เท่านั้น โดยมีการหักทอนบัญชีกันตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2536 แสดงให้เห็นเจตนาของธนาคารและจำเลยที่ 1 ว่าไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป สัญญาจึงเลิกกันโดยปริยายเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2536 

สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้ระบุข้อตกลงไว้ชัดแจ้งว่าหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้หรือผิดเงื่อนไขตามสัญญายอมเสียดอกเบี้ยอัตราผิดนัด แม้สัญญาจะระบุให้ธนาคารเพิ่มอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญาได้ไม่เกินอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยก็หมายความถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกได้จากลูกค้าที่มิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญา แม้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยจะระบุให้คิดอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อผิดนัดชำระหนี้หรือผิดสัญญาก็เป็นการให้สิทธิแก่ธนาคารพาณิชย์ที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่าที่คิดตามปกติเท่านั้น ส่วนจะปรับได้หรือไม่ ต้องพิจารณาจากสัญญานั้นว่ามีข้อตกลงดังกล่าวหรือไม่ ทั้งการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยในกรณีดังกล่าวเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าหนี้จึงต้องตีความข้อตกลงในสัญญาอย่างเคร่งครัด เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ได้ระบุข้อตกลงไว้ชัดแจ้งว่าหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้หรือผิดเงื่อนไขตามสัญญายอมเสียดอกเบี้ยอัตราผิดนัด โจทก์ไม่อาจคิดดอกเบี้ยผิดนัดได้ คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้สูงสุดในอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับลูกค้าประเภทกู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ไม่ผิดนัดเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21819/2556
หนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น อันเป็นเอกสารมหาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้และถูกต้อง เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 5 ที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันจะต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร
 
จำเลยที่ 5 ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์หากโจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากการค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความในข้อ 1 ระบุว่า ตามที่จำเลยที่ 1 ได้ขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันต่อบุคคลหรือนิติบุคคลต่าง ๆ ไม่ว่าจะออกหนังสือค้ำประกันฉบับเดียวหรือหลายฉบับในเวลานี้หรือเวลาหนึ่งเวลาใดในภายหน้า... เป็นเงินรวมกันไม่เกิน 14,700,000 บาท ซึ่งถ้าหากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือเงื่อนไขที่ขอให้โจทก์ค้ำประกัน และโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่เจ้าหนี้ ...จำเลยที่ 5 ตกลงยินยอมชดใช้เงินตามจำนวนที่โจทก์ได้ชดใช้แทนไปนั้น คำว่า ในเวลานี้ในสัญญาดังกล่าว ย่อมหมายถึง การที่จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกัน เป็นประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่แล้วในขณะทำสัญญา ดังนี้ สัญญาที่จำเลยที่ 5 ทำไว้กับโจทก์ดังกล่าวจึงครอบคลุมถึงหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาค้ำประกันด้วย มิใช่จำเลยที่ 5 ยอมรับผิดเฉพาะหนี้ที่เกิดขึ้นนับแต่วันทำสัญญาดังกล่าวเท่านั้น แม้คำขอให้ออกหนังสือรับรองและค้ำประกันได้ระบุหลักประกันอื่นโดยมิได้ระบุถึงจำเลยที่ 5 ไว้ก็มิได้ทำให้จำเลยที่ 5 หลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วย
 
การที่จำเลยที่ 5 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าวโดยมีข้อความระบุไว้ในข้อ 8 ว่า เพื่อประกันการชำระหนี้ตามสัญญานี้ทั้งหมด จำเลยที่ 5 ตกลงจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 447 พร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้กับโจทก์ และในวันเดียวกันจำเลยที่ 5 ทำสัญญาจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 447 ไว้กับโจทก์ โดยระบุในสัญญาจำนองว่า เพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 5 และหรือจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่กับผู้รับจำนอง ในวงเงิน 11,800,000 บาท ก็เป็นการที่จำเลยที่ 5 ทำสัญญาจำนองเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันการชำระหนี้ค่าสินค้าของจำเลยที่ 1 เท่านั้น จำเลยที่ 5 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองในต้นเงินไม่เกิน 14,700,000 บาท เท่านั้น มิใช่ต้องรับผิดในวงเงินตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองรวมกันแต่อย่างใด
 
สำหรับความรับผิดตามสัญญาจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีนั้น เมื่อสัญญาจำนองฉบับนี้ระบุว่า จำนองเป็นประกันหนี้ที่ผู้จำนองและหรือจำเลยที่ 1 มีอยู่กับผู้รับจำนองทุกลักษณะในเวลานี้หรือเวลาหนึ่งเวลาใดในภายหน้า ทั้งนี้ให้รวมถึงหนี้ที่จะก่อให้เกิดขึ้นใหม่ทุกลักษณะเป็นจำนวน 14,000,000 บาท ดังนั้น คำว่า ประกันหนี้ในเวลานี้ จึงมีความหมายว่า เป็นประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ธนาคารโจทก์อยู่แล้วในขณะทำสัญญา ดังนั้นสัญญาจำนองหนี้เบิกเงินเกินบัญชีนี้จึงครอบคลุมถึงหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาจำนอง จำเลยที่ 5 จึงต้องรับผิดในหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ก่อนทำสัญญาจำนองด้วย และจำเลยที่ 5 คงต้องรับผิดตามสัญญาจำนองที่จำกัดวงเงินไม่เกิน 14,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและหนี้อุปกรณ์เท่านั้น เพราะจำเลยที่ 5 จำนองที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 39209 โดยจำกัดวงเงินไม่เกิน 14,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและหนี้อุปกรณ์เท่านั้น แม้จะมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองว่า การกำหนดต้นเงินตามสัญญาจำนองไม่เป็นการตัดสิทธิผู้รับจำนองที่จะบังคับจำนองสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินตามสัญญาจำนองไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ นั้นเป็นข้อตกลงที่ทำให้สัญญาจำนองไม่มีจำนวนเงินที่แน่นอน หรือไม่มีจำนวนขั้นสูงสุดที่ได้เอาทรัพย์จำนองตราไว้เป็นประกัน จึงฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 708 และเป็นช่องทางให้หลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจำนอง จึงตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับ ดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิบังคับจำนองสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินที่กำหนดไว้เฉพาะกรณีมีดอกเบี้ยหรือหนี้อุปกรณ์รวมกันเกินวงเงินจำนองเท่านั้น จำเลยที่ 5 ในฐานะผู้จำนองประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในวงเงิน 14,000,000 บาท จึงต้องร่วมรับผิดตามสัญญาจำนองดังกล่าว ในวงเงิน 14,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเท่านั้น
 
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นเอกสารที่จำเลยทั้งห้าทำขึ้นให้ไว้แก่โจทก์ โดยจำเลยทั้งห้าแต่ฝ่ายเดียวต่างลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน จึงเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เบิกเงินบัญชีและผู้ค้ำประกันเท่านั้น มิใช่หนังสือสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และมิใช่หนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ ตามความมุ่งหมายแห่ง ป.รัษฎากร มาตรา 103, 104 และ 118 

การบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นการแสดงเจตนาต่อบุคคลผู้ซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า เมื่อการแสดงเจตนาส่งไปถึงภูมิลำเนาของจำเลยที่ 5 แล้ว แม้จะไม่มีผู้รับ ก็ถือว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21063/2556
พ. และโจทก์ทำสัญญาใช้บัตรเครดิตวีซ่าชฎาทองของจำเลยที่ 1 โดย พ. ถือบัตรหลัก โจทก์ถือบัตรเสริม ตามสัญญาการใช้บัตรเครดิตดังกล่าวระบุไว้ว่า ในกรณีที่ธนาคารจำเลยที่ 1 อนุมัติให้ออกบัตรเสริมแก่ผู้ถือบัตรหลักรายใดแล้ว ผู้ถือบัตรหลักและผู้ถือบัตรเสริมจะต้องร่วมกันรับผิดชอบชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรนั้นอย่างลูกหนี้ร่วม ซึ่งโจทก์ลงลายมือชื่อไว้ตอนท้ายสัญญาในช่องผู้ให้สัญญา ย่อมเป็นการตกลงเข้าร่วมรับผิดกับ พ. ในการใช้บัตรหลักด้วยอย่างลูกหนี้ร่วมโดยไม่อาจแบ่งแยกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 297 

แม้สัญญาการใช้บัตรเครดิตมีข้อตกลงกันว่า กรณีการเรียกเก็บเงินจากการใช้บัตรเครดิต พ. ยินยอมให้จำเลยที่ 1 หักเงินจากบัญชีกระแสรายวันของ พ. แต่พฤติการณ์ที่ พ. ขอเปิดบัญชีกระแสรายวันในวันเดียวกับที่สมัครขอเป็นผู้ถือบัตรเครดิต และจำเลยที่ 1 ให้ พ. เปิดบัญชีกระแสรายวันโดยไม่มีการใช้เช็คเพื่อเบิกถอนเงิน แสดงว่าเป็นบัญชีกระแสรายวันใช้เฉพาะเพื่อชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิต จึงไม่ใช่สัญญาบัญชีเดินสะพัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7942/2556
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดฐานละเมิดที่เปิดบัญชีกระแสรายวันกับโจทก์ หลังจากจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดที่อำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยตกแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามกฎหมาย จำเลยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีอำนาจดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย แต่กลับเปิดบัญชีกระแสรายวันและเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้โจทก์ชำระเงินที่จำเลยชำระหนี้โจทก์ คืนแก่กองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลาย ถือว่า ณ วันที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีชำระหนี้แก่โจทก์ยังมิใช่เป็นวันละเมิด อายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 ยังไม่เริ่มนับ เพราะการกระทำของจำเลยกรณีนี้ จะถือเป็นการละเมิดโจทก์ต่อเมื่อโจทก์ต้องคืนเงินให้แก่กองทรัพย์สินของจำเลยแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เมื่อโจทก์จำต้องคืนเงินให้แก่กองทรัพย์สินของจำเลยตามคำสั่งศาล ซึ่งศาลมีคำสั่งในวันที่ 14 ธันวาคม 2549 จึงถือว่า โจทก์ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าว โจทก์ฟ้อง วันที่ 7 มิถุนายน 2550 ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13098/2555
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 368 บัญญัติว่า สัญญานั้นท่านให้ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย นอกจากนี้ในการตีความการแสดงเจตนายังต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรตาม ป.พ.พ. มาตรา 171 ด้วย
 
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างบริษัท ม. กับโจทก์ ระบุให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์สำหรับจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีอัตราร้อยละ 9 ต่อปี เมื่อทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 ระบุให้โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อปี และ 15 ต่อปี โดยอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามวงเงิน ครั้นเมื่อทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเพิ่มเติม ครั้งที่ 2 ระบุให้โจทก์คิดดอกเบี้ยร้อยละ 9.25 ต่อปี 12.5 ต่อปี และ 13 ต่อปี โดยอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามวงเงิน การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ดังกล่าวเป็นไปตามประเพณีของธนาคารตามข้อตกลงระหว่างคู่สัญญา การที่โจทก์ไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเพิ่มเติม ครั้งที่ 3 จะถือว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจะคิดดอกเบี้ยแก่บริษัท ม. หาได้ไม่ เพราะสัญญาข้อ 2 ระบุว่า เงื่อนไขข้ออื่น ๆ ที่ได้ระบุไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเพิ่มเติม รวมทั้งข้อตกลงต่อท้ายสัญญาให้มีผลบังคับตลอดไปด้วยทุกประการ จึงมีความหมายว่า เรื่องดอกเบี้ยที่ไม่ได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่นจะต้องบังคับตามเงื่อนไขในสัญญาฉบับก่อน คือสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเพิ่มเติม ครั้งที่ 2 การที่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเพิ่มเติม ครั้งที่ 3 มิได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้หาทำให้โจทก์หมดสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยจากบริษัท ม. ไม่ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามอัตราที่ระบุไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเพิ่มเติม ครั้งที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3386/2555
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามบัญชี พี.เอ็น.มาร์จิน และบัญชีแคชมาร์จิน ตามสัญญาให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และบัญชีเดินสะพัด กับบันทึกข้อตกลงในการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์โดยมีหลักทรัพย์มาวางเป็นประกัน
 
บทบัญญัติในการตัดพยานเอกสารในคดีแพ่งตามมาตรา 118 แห่ง ป.รัษฎากรนั้น ต้องตีความโดยเคร่งครัด เอกสารที่ถูกห้ามเป็นพยานจึงต้องเป็นเอกสารที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรเท่านั้น ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 5 ระบุว่า "5. กู้ยืมเงิน หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท ทุกจำนวน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งยอดเงินที่กู้ยืมหรือตกลงให้เบิกเกินบัญชี" ตามบทบัญญัติดังกล่าวระบุเอกสารไว้เพียง 2 ประเภท คือ สัญญากู้เงินกับสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร สัญญากู้เงินแตกต่างจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี เนื่องจากการกู้เงินคู่สัญญาย่อมทราบจำนวนเงินอันมีวัตถุประสงค์ของสัญญาได้ทันที และสามารถปิดอากรแสตมป์ไปตามจำนวนดังกล่าวได้ แต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแม้ในทางปฏิบัติจะเรียกว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี แต่ก็มิใช่สัญญากู้ทั่วไป เนื่องจากขณะทำสัญญาเป็นเพียงกำหนดวงเงินที่ลูกหนี้จะทำการก่อหนี้ได้เท่านั้น ส่วนลูกหนี้จะขอกู้และเป็นหนี้จำนวนเท่าใดยังไม่ทราบแน่ชัดในขณะทำสัญญา ด้วยเหตุนี้บัญชีอัตราอากรแสตมป์จึงระบุไว้ให้ถือเอาวงเงินที่ตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นจำนวนที่จะคำนวณค่าอากรแสตมป์ หาใช่จำนวนที่เป็นหนี้กันจริงไม่
 
สัญญาให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และบัญชีเดินสะพัดมีวัตถุประสงค์ให้บริษัทตัวแทนจ่ายเงินทดรองอันถือเป็นเงินกู้ยืมเพื่อชำระราคาค่าซื้อหลักทรัพย์ที่ลูกค้าสั่งซื้อ หรือออกค่าใช้จ่ายไปตามความจำเป็นเพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ โดยมีการหักทอนบัญชีเป็นครั้งคราว เช่นเดียวกับบันทึกข้อตกลงในการกู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์โดยมีหลักทรัพย์นั้นมาวางเป็นประกัน ที่มีวัตถุประสงค์และวิธีการปฏิบัติทำนองเดียวกัน แสดงว่าในขณะทำสัญญายังไม่ทราบจำนวนยอดเงินที่เป็นหนี้คงทราบแต่เพียงวงเงินที่อนุมัติไว้หนี้ตามวงเงินจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ยังไม่แน่ชัด อยู่ที่การสั่งซื้อของลูกค้าและการหักทอนบัญชีอันจะมีระหว่างคู่สัญญา กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการกู้ตามความประสงค์ของข้อ 5 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ คงมีลักษณะเป็นเพียงการกำหนดวงเงินเพื่อหักทอนบัญชีเดินสะพัด แต่ข้อ 5 แห่งบัญชีดังกล่าวกำหนดให้การตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารเท่านั้นที่จะเสียค่าอากรแสตมป์ตามยอดที่ตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชี หาได้รวมถึงสัญญาที่กำหนดวงเงินกู้ซื้อหลักทรัพย์ประเภท พี.เอ็น.มาร์จิน และแคชมาร์จิน ด้วยไม่ กรณีไม่อาจตีความให้คลุมถึงได้ จึงต้องถือว่าสัญญาให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และบัญชีเดินสะพัด และบันทึกข้อตกลงในการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์โดยมีหลักทรัพย์เป็นประกันมิใช่เอกสารที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เอกสารดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติมาตรา 118 แห่ง ป.รัษฎากร ศาลชอบที่จะรับและฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3120/2555
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 5 ท้ายประมวลรัษฎากรระบุว่า "5. กู้ยืมเงิน หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารค่าอาการแสตมป์ 1 บาท ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งยอดเงินที่กู้ยืมหรือตกลงให้เบิกเกินบัญชี" ตามบทบัญญัติดังกล่าวระบุเอกสารไว้เพียง 2 ประเภท คือสัญญากู้เงินกับสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร สัญญากู้เงินมีความแตกต่างจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี เนื่องจากการกู้เงินคู่สัญญาย่อมจะทราบจำนวนเงินอันเป็นวัตถุประสงค์ของสัญญาได้ทันที และสามารถปิดอากรแสตมป์ไปตามจำนวนดังกล่าวได้ แต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแม้ในทางปฏิบัติจะเรียกว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี แต่ก็มิใช่สัญญากู้เงินทั่วไป เนื่องจากขณะทำสัญญาเป็นเพียงการกำหนดวงเงินที่ลูกหนี้จะทำการก่อหนี้ได้เท่านั้น ส่วนลูกหนี้จะขอกู้และเป็นหนี้ในจำนวนใดยังไม่ทราบแน่ชัดในขณะทำสัญญา บัญชีอัตราอากรแสตมป์จึงระบุไว้ให้ถือเอาวงเงินที่ตกลงให้เบิกเกินบัญชีเป็นจำนวนที่จะคำนวณค่าอากรแสตมป์ หาใช่จำนวนที่เป็นหนี้กันจริงไม่ เมื่อพิจารณาถึงสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์และบัญชีเดินสะพัด ที่กำหนดวัตถุประสงค์ให้บริษัทตัวแทนจ่ายเงินทดรองอันถือเป็นเงินกู้ยืมเพื่อชำระค่าหลักทรัพย์ที่ลูกค้าสั่งซื้อ โดยให้มีการหักทอนบัญชีกันเป็นครั้งคราว หรือบันทึกข้อตกลงในการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์โดยมีหลักทรัพย์นั้นมาวางเป็นประกัน แสดงว่าในขณะทำสัญญายังไม่ทราบจำนวนยอดเงินที่เป็นหนี้ควรทราบแต่เพียงวงเงินที่อนุมัติไว้ตามใบคำขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ตามวงเงินจะบังเกิดมีขึ้นหรือไม่ก็ไม่เป็นที่แน่ชัด อยู่ที่การสั่งซื้อของลูกค้าและการหักทอนบัญชีอันจะมีระหว่างคู่สัญญา กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการกู้ตามความประสงค์ของข้อ 5. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ คงมีลักษณะเป็นเพียงการกำหนดวงเงินเพื่อหักทอนบัญชีเดินสะพัด แต่ข้อ 5 แห่งบัญชีดังกล่าวกำหนดให้การตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารเท่านั้นที่จะเสียค่าอากรแสตมป์ตามยอดที่ตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชี หาได้บัญญัติรวมมาถึงสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์และบัญชีเดินสะพัด ดังที่ปรากฏในคดีนี้ด้วยไม่ และกรณีไม่อาจตีความหมายที่กำหนดไว้ให้ครอบคลุมถึงได้ จึงต้องถือว่าสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์และบัญชีเดินสะพัดมิใช่เอกสารที่มีการระบุไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร แม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ศาลชอบที่จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้
 
จำเลยต่อสู้คดีโดยเริ่มจากคำให้การ การนำสืบพยานจำเลย อุทธรณ์และฎีกาขึ้นมาโดยตลอดว่า สภาพแห่งข้อหาที่โจทก์ฟ้อง เป็นเรื่องบริษัทหลักทรัพย์และตัวแทนนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ต้องปฏิบัติและเป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษโดยเฉพาะ แต่ไม่ปรากฏในทางนำสืบของจำเลยว่า บทกฎหมายพิเศษที่จำเลยยกขึ้นกล่าวอ้างได้บัญญัติให้การสั่งซื้อหรือการบังคับขายหลักทรัพย์จะต้องจัดทำเป็นหนังสือ ในทางตรงกันข้ามกลับปรากฏจากสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์และบัญชีเดินสะพัด ซึ่งจำเลยทำไว้ต่อโจทก์ ในข้อ 1 "...คำว่า "คำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ ให้หมายความรวมถึง คำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยวาจา โดยโทรสาร โทรพิมพ์ หรือโดยวิธีอื่นใด" จึงเห็นได้ว่า คำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือเสมอไป ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานและวินิจฉัยคดีมานั้น จึงหาเป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ผิดกฎหมายดังที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้อฎีกาไม่
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9043/2554
ลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 เป็นสัญญาที่คู่ความแต่ละฝ่ายต่างต้องเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ต่อกัน ฝ่ายที่เป็นหนี้ค้างชำระมากกว่าจะต้องชำระหนี้ในส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลยภาคเมื่อตัดทอนบัญชี หากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้แต่เพียงฝ่ายเดียวแม้จะมีบัญชีคิดหนี้สินกัน สัญญานั้นก็หาเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่ สัญญาให้สินเชื่อที่จำเลยทำกับโจทก์มีข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการชำระหนี้โดยให้จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันไว้กับโจทก์เพื่อการหักทอนคิดจำนวนเงินที่จำเลยยังคงเป็นหนี้ค้างชำระแก่โจทก์เท่านั้น ไม่มีลักษณะของการตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลยหักกลบลบกันแต่อย่างใด สัญญาให้สินเชื่อจึงไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด
 
การเบิกถอนเงินจำเลยอาจกระทำได้หลายวิธีตามที่กำหนดไว้ในสัญญา นอกจากใช้บัตรซิตี้การ์ดกับเลขรหัสประจำตัวเบิกถอนเงินจากพนักงานของโจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์หรือจากเครื่องฝากและถอนเงินอัตโนมัติ (เอทีเอ็ม) แล้ว จำเลยอาจใช้วิธีออกเช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีกระแสรายวัน หรือมีคำสั่งผ่านทางบริการซิตี้โฟนแบงก์กิ้งให้โจทก์จ่ายเงินแก่จำเลยหรือบุคคลภายนอก หรือโดยวิธีการอื่นๆ ที่โจทก์ให้บริการ ทั้งนี้เงินที่จำเลยเบิกถอนไปไม่ว่าด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งตามสัญญาข้อ 6 ระบุให้ถือว่าเป็นต้นเงินกู้ที่จำเลยได้รับไปจากโจทก์ การที่โจทก์ออกบัตรซิตี้การ์ดให้แก่จำเลยไว้เพื่อใช้เบิกถอนเงินสดจึงเป็นเพียงการอำนวยความสะดวกแก่จำเลยในการเบิกถอนเงินวิธีหนึ่งในจำนวนหลายวิธีที่โจทก์กับจำเลยตกลงกันไว้เท่านั้น จำเลยอาจเลือกใช้วิธีอื่นในการเบิกถอนเงินโดยไม่ใช้บัตรซิตี้การ์ดที่โจทก์ออกให้เลยก็ย่อมกระทำได้ เงินที่โจทก์ยอมให้จำเลยเบิกถอนไปแต่ละครั้ง จึงไม่มีลักษณะเป็นเงินที่โจทก์ได้ออกทดรองแทนไปก่อน แต่เป็นเงินที่จำเลยได้รับไปจากโจทก์ตามวงเงินสินเชื่อที่จำเลยได้ทำสัญญาไว้กับโจทก์ แม้โจทก์เก็บค่าสมาชิกจากจำเลยเป็นรายปี ก็เป็นเพียงค่าตอบแทนอย่างหนึ่งที่โจทก์เรียกเก็บเท่านั้น กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปดังที่จำเลยฎีกา สิทธิเรียกร้องของโจทก์เช่นนี้กฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6477/2554
จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ มีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรจากการให้บริการทำธุรกรรมทางด้านการเงินและรับฝากเงิน เงินที่จำเลยที่ 1 รับฝากไว้จากโจทก์ จำเลยที่ 1 สามารถที่จะนำเงินออกไปใช้แสวงหาประโยชน์อย่างไรก็ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือขอความเห็นชอบจากผู้ฝาก เพียงแต่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องคืนเงินดังกล่าวให้ครบจำนวนตามกำหนดเวลาเท่านั้น และมีอำนาจหรือสิทธิตัดสินใจในการบริหารเงินที่รับฝากไว้ตามกิจการของตนเองได้โดยลำพัง จำเลยที่ 1 จึงมิได้มีฐานะเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของโจทก์ตามความหมายแห่ง ป.อ. มาตรา 353 ดังนั้น หากโจทก์มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเงินฝากกับจำเลยที่ 1 ก็เป็นเรื่องข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมทางด้านการเงิน ซึ่งถือเป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง โจทก์ชอบที่จะไปว่ากล่าวเอากับจำเลยที่ 1 ในทางแพ่งเท่านั้น
 
ข้อหาการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 12 (9) บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทำการใดๆ อันก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศหรือประโยชน์ของประชาชน หรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรม... เป็นบทบัญญัติที่กำหนดขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและระบบการเงินของประเทศ อีกทั้งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม อันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2738/2554
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้แล้วว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเป็นลายมือปลอม จำเลยจึงไม่อาจอ้างเช็คพิพาทเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่โจทก์ได้ เว้นแต่โจทก์จะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 

การที่ อ. พนักงานจำเลยรับรองให้จ่ายเงินตามเช็คพิพาทเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ถือว่าจำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาทและหักบัญชีกระแสรายวันเอาแก่โจทก์โดยละเมิด แม้จะมีข้อตกลงตามคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดในการจ่ายเงินตามเช็คในกรณีที่โจทก์ประมาทเลินเล่อในการเก็บรักษาเช็คเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้เช็คไปและมีผู้ปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายมาเบิกเงินจากจำเลยก็ตาม จำเลยก็จะยกข้อตกลงดังกล่าวขึ้นอ้างเป็นข้อยกเว้นว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทปลอมเป็นข้อต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 วรรคหนึ่งตอนท้าย เพื่อให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิดฐานละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่
 
การกำหนดค่าสินไหมทดแทนในหนี้ที่เกิดจากการละเมิดแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญคือความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรตาม ป.พ.พ. มาตรา 223, 438 และ 442 การที่ ธ. พนักงานโจทก์ ทราบว่ามีคนร้ายงัดลิ้นชักโต๊ะทำงานที่มีสมุดเช็คอยู่ในลิ้นชักแต่มิได้ตรวจสอบสมุดเช็คที่ตนมีหน้าที่เก็บรักษา นับว่า ธ. มิได้ใช้ความระมัดระวังในการเก็บรักษาเช็คเท่าที่ควร ทำให้ไม่สามารถระงับความเสียหายได้ทันที เป็นเหตุให้ผู้ที่ได้เช็คพิพาทที่ถูกลักไปสามารถนำเช็คพิพาทซึ่งมีการปลอมลายมือชื่อและประทับตราปลอมไปเบิกเงินจากจำเลยได้ ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายไม่ยิ่งหย่อนกว่าจำเลย เห็นสมควรกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวน 100,000 บาท (ต้นเงินตามเช็ค 200,000 บาท)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2554
สัญญาซิตี้แบงก์แชร์เพาเวอร์เอกสารหมาย จ.1 ระบุให้โจทก์เปิด "บัญชีทดรองจ่าย" ให้แก่จำเลย และทดรองจ่าย "เงินทดรอง" แทนจำเลยในการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ในสัญญาข้อ 5 ข้อ 9 และข้อ 10 จำเลยตกลงให้สิทธิแก่โจทก์ในการนำเงินค่าขายหลักทรัพย์และดอกผลของหลักทรัพย์ที่จำเลยมีสิทธิได้รับไปหักทอนบัญชีหรือหักกลบลบหนี้เพื่อชำระหนี้ได้ทุกครั้ง ข้อตกลงซึ่งโจทก์จำเลยแสดงต่อกันเช่นนี้จึงต้องด้วยลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ส่วน "บัญชีทดรองจ่าย" และการทดรองจ่าย "เงินทดรอง" ในการซื้อขายหลักทรัพย์ของจำเลยผ่านบริษัทหลักทรัพย์ อ. เป็นเพียงวิธีการตามที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้บรรลุตามเจตนาของจำเลยที่มุ่งประสงค์จะทำธุรกรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น หาเกี่ยวกับข้อตกลงตามสัญญาซึ่งต้องด้วยลักษณะของบัญชีเดินสะพัดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2553
ป.พ.พ. มาตรา 1249 บัญญัติว่า "ห้างหุ้นส่วนก็ดี บริษัทก็ดี แม้จะได้เลิกกันแล้ว ก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี" กับมาตรา 1250 บัญญัติว่า "หน้าที่ของผู้ชำระบัญชี คือ ชำระสะสางการงานของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นให้เสร็จไป กับจัดการใช้หนี้เงินและแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น" บทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวชี้ชัดถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งประสงค์ให้นิติบุคคลซึ่งเป็นบุคคลสมมุติจะเลิกได้นั้นจะต้องมีการชำระบัญชีเพื่อมีการชำระหนี้เงินให้แก่เจ้าหนี้ และแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของนิติบุคคลนั้นแล้วแต่กรณี จึงได้กำหนดหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีไว้ชัดแจ้ง เพื่อคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้และบังคับให้ผู้ชำระบัญชีต้องปฏิบัติอันจะส่งผลก่อเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่มีนิติสัมพันธ์กับนิติบุคคล ยิ่งไปกว่านั้นรัฐยังได้ตรา พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ.2499 ซึ่งมีโทษทางอาญากำกับไว้อีกด้วย โดยมาตรา 32 บัญญัติระวางโทษปรับไม่เกินแปดหมื่นบาทแก่ผู้ชำระบัญชีที่ไม่กระทำตาม ป.พ.พ. มาตรา 1253 ซึ่งกำหนดหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีจะต้องกระทำ เช่น ต้องส่งคำบอกกล่าวว่านิติบุคคลนั้นได้เลิกกันแล้วเป็นจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังเจ้าหนี้ทั้งหลายทุกๆ คน บรรดามีชื่อปรากฏในสมุดบัญชีหรือเอกสารของห้างหรือบริษัทนั้น ในการชำระบัญชีจำเลยที่ 1 ผู้ชำระบัญชีจำเลยที่ 1 คือจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และร่วมเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์จงใจไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดโดยไม่ส่งคำบอกกล่าวการเลิกบริษัทแก่โจทก์เพื่อโจทก์จะได้ใช้สิทธิยื่นคำทวงหนี้แก่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีและตามพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 2 ดำเนินการชำระบัญชีโดยไม่สุจริต มีเจตนาฉ้อฉลต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ จึงต้องถือว่าการชำระบัญชียังไม่สำเร็จลงตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1270 วรรคหนึ่ง การที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนการชำระบัญชีไม่ว่าจะโดยสมรู้กับจำเลยที่ 2 หรือเป็นการหลงผิดก็ไม่ถือว่าการชำระบัญชีจำเลยที่ 1 ได้ถึงที่สุดแล้ว แต่ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตามมาตรา 1249 อายุความสองปีตามมาตรา 1272 จึงยังไม่เริ่มนับ คดีโจทก์ย่อมไม่ขาดอายุความตามบทบัญญัตินี้ โจทก์หาจำต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสั่งให้นายทะเบียนจดชื่อจำเลยที่ 1 กลับคืนเข้าสู่ทะเบียนนิติบุคคลตามมาตรา 1246 (6) (มาตรา 1273/4 ตามที่แก้ไขใหม่) ทั้งนี้เพราะกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องนายทะเบียนบริษัทมีมูลเหตุอันสมควรเชื่อว่าบริษัทใดมิได้ทำการค้าขายหรือประกอบการงานแล้ว บทบัญญัติในมาตรา 1246 (1) (มาตรา 1273/1 ตามที่แก้ไขใหม่) จึงต้องกำหนดให้นายทะเบียนมีจดหมายไต่ถามไปยังบริษัทนั้น ซึ่งต่างกับเหตุในคดีนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายแสดงเจตนาเลิกบริษัทเอง
 
แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ แต่จำเลยที่ 1 มิได้เดินสะพัดบัญชีเป็นเวลานาน โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินชอบที่จะใช้สิทธิทวงถามหรือบอกเลิกสัญญาโดยให้เวลาพอสมควรแก่จำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้ใช้สิทธิแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาโดยตรงต่อจำเลยที่ 1 แต่พฤติการณ์ที่โจทก์เพิกเฉยมิได้ดำเนินการอย่างใดในการที่จำเลยที่ 1 มิได้เดินสะพัดบัญชี จึงมีเหตุผลเพียงพอให้รับฟังได้ว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 มีเจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกันโดยปริยายตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2538 ซึ่งมีการหักทอนบัญชีตามสัญญาเป็นครั้งสุดท้าย
 
โจทก์ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเป็นระยะๆ โดยใช้อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมมาตรฐานทั่วไป (จีแอลอาร์) บวกอัตราส่วนต่างสูงสุดของลูกค้าทั่วไปของประกาศโจทก์ จึงเห็นสมควรแก้ไขโดยกำหนดให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินในอัตราลอยตัว คือ ในอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมมาตรฐานทั่วไป (จีแอลอาร์) บวกอัตราส่วนต่างสูงสุดของลูกค้าทั่วไป ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามภาวะตลาดการเงินตามประกาศโจทก์และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกตามความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 (ที่ใช้บังคับในขณะนั้น) ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10442/2551
โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องมาด้วยว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาการใช้บัตรเครดิตที่จำเลยได้สมัครเป็นสมาชิกขอใช้บัตรเครดิตและได้รับอนุญาตให้ใช้บัตรเครดิตจากโจทก์แล้วและระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้บัตรเครดิต การชำระหนี้ระยะเวลาชำระหนี้ ตลอดจนการคำนวณหนี้และดอกเบี้ยกันอย่างไร จำเลยเป็นหนี้ตามสัญญาการใช้บัตรเครดิตกับโจทก์ด้วยวิธีการใดและเป็นหนี้จำนวนเท่าใด ซึ่งเห็นได้ชัดว่าหนี้ตามสัญญาการใช้บัตรเครดิตย่อมต้องมีข้อตกลงต่างหากจากสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้ เท่ากับโจทก์ไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยเป็นหนี้ตามสัญญาการใช้บัตรเครดิตต่อโจทก์และคำขอบังคับมาในคำฟ้อง จึงต้องพิพากษายกฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ฟ้องใหม่ภายในอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2312/2550
จำเลยทำคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีการทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือมีหลักประกันใดๆ ให้ไว้ต่อโจทก์ และเบิกเงินเกินบัญชีหลังจากยื่นคำขอเปิดบัญชีเพียง 3 วัน การที่ธนาคารโจทก์ยอมให้จำเลยใช้เช็คถอนเงินเกินบัญชีจากธนาคารโจทก์ได้ ทั้งๆ ที่ไม่ปรากฏว่าเคยรู้จักกันเป็นอย่างดีหรือจำเลยเป็นบุคคลพิเศษ แสดงว่าจำเลยมีความผูกพันกับ ช. ผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรง ที่เป็นคนเซ็นอนุมัติให้จำเลยถอนเงินเกินบัญชีได้ เจือสมกับข้อต่อสู้ของจำเลยว่าจำเลยทำสัญญารับเหมาก่อสร้างบ้านให้ ช. หลังจากเปิดบัญชีแล้วจำเลยสั่งจ่ายเช็ครับเงินไม่เกินจำนวนเงินค่าจ้างรับ เหมาก่อสร้างบ้านให้ ช. หลังจากนั้นจำเลยก็หยุดใช้เช็คเบิกถอนเงินอีก และน่าเชื่อว่า ช. เป็นคนนำเงินเข้าบัญชีให้แก่จำเลยเป็นการชำระหนี้ค่าจ้างรับเหมาก่อสร้าง บ้าน ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวก็เพื่อให้ ช. ผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรงนำเงินค่างวดในการจ้างเหมาก่อสร้างบ้านชำระ หนี้แก่จำเลยโดยนำเงินเข้าบัญชีให้ และจำเลยจะใช้เช็คเบิกถอนเงินค่าจ้างรับเหมาก่อสร้างบ้านตามงวด จำเลยไม่มีเจตนาที่จะทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ ดังนั้น หาก ช. ไม่นำเงินเข้าบัญชีให้จำเลยเพื่อชำระหนี้ แสดงว่า ช. ผิดนัดชำระหนี้จำเลยย่อมจะใช้เช็คถอนเงินไม่ได้โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องจ่าย เงินให้จำเลยแทน ช. แต่อย่างใด แต่การที่ ช. ยอมอนุมัติจ่ายเงินตามเช็คให้จำเลยจึงเป็นเรื่องที่จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่า เป็นการรับเงินค่างวดที่ ช. นำเงินค่าจ้างก่อสร้างบ้านเข้าบัญชีให้เพื่อชำระหนี้ จำเลยไม่มีเจตนาที่จะเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ หาก ช. ไม่ใช่ผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรง จำเลยก็ย่อมไม่สามารถจะใช้เช็คถอนเงินตามที่ปรากฏในคดีนี้ได้ และหากเงินในบัญชีไม่มี ธนาคารก็ต้องปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยจะได้รีบดำเนินการทวงถามหรือ ระงับการก่อสร้างบ้านตามสัญญาให้แก่ ช. ทันท่วงที หรือดำเนินการฟ้องร้องเรียกเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างจาก ช. โดยเร็ว ในขณะที่พยานหลักฐานยังอยู่ครบถ้วน การกระทำของ ช. ถือได้ว่าเป็นการใช้ตำแหน่งหน้าที่ในฐานะผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรงโดย ไม่ชอบ โจทก์ในฐานะตัวการจึงต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวแทนของตน การที่จำเลยรับเงินไปจากธนาคารโจทก์โดยสำคัญผิดว่าเป็นเงินค่างวดที่จำเลยมี สิทธิได้รับ จำเลยจึงไม่มีเจตนาที่จะผูกนิติสัมพันธ์ทำนิติกรรมเบิกเงินเกินบัญชีกับ โจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินจากจำเลยในฐานะเป็นลูกหนี้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  667/2549
แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีรวมทั้งสัญญาเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งต้องด้วยลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะไม่มีกำหนดเวลา แต่สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นเอกเทศสัญญาที่มีลักษณะเฉพาะ โดยสัญญาจะคงสภาพอยู่ต่อไปได้ก็จะต้องมีการสะพัดทางบัญชีอย่างต่อเนื่องและ ภายในระยะเวลาอันสมควร ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ภ. ได้นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนอันเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2526 แล้วไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันอีกเลย นับถึงวันที่ ภ. สิ้นพระชนม์เป็นเวลานานเกือบ 12 ปี แสดงว่า ภ. มีเจตนาเลิกสัญญากับโจทก์โดยปริยายแล้ว โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีหน้าที่ต้องตรวจตราบัญชีของลูกค้าอยู่ตลอดเวลาว่า มีการเคลื่อนไหวอย่างไร เมื่อปรากฏว่า ภ. ซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ไม่มีการเคลื่อนไหวทางบัญชี โจทก์ย่อมจะต้องทวงถามหรือบอกเลิกสัญญาในเวลาอันสมควร มิใช่ถือโอกาสใช้สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในระยะเวลายาวนานเกินสมควรเช่นนี้ ถือได้ว่าการใช้สิทธิของโจทก์มิได้กระทำโดยสุจริต โดยถือว่าสัญญาเลิกกันตั้งแต่วันที่ ภ. มีเจตนาเลิกสัญญากับโจทก์โดยปริยายคือวันที่ 14 มีนาคม 2526 อันเป็นวันที่ ภ. เดินสะพัดทางบัญชีเป็นครั้งสุดท้าย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นนับแต่นั้น สิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 10 ปี โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2539 พ้นกำหนด 10 ปี หนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงขาดอายุความ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อปรากฏว่า ภ. ได้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาจดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ดังกล่าว ในวงเงิน 5,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โดยมีข้อตกลงว่าหากโจทก์บังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ยอมให้บังคับเอาจาก ทรัพย์สินอื่นจนกว่าจะครบ ดังนี้ แม้หนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวจะขาดอายุความ แต่กรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 193/27 และมาตรา 745 กล่าวคือ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนองจะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองแม้เมื่อหนี้ ที่จำนองเป็นประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังเกินกว่าห้าปีไม่ได้ และคงบังคับได้แต่เฉพาะทรัพย์สินที่ ภ. จำนองไว้เท่านั้น จะบังคับจากทรัพย์สินอื่นอีกหาได้ไม่ ถึงแม้ว่าตามสัญญาจำนองจะกำหนดให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นจนกว่าจะครบหากบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ก็ตาม
(
ประชุมใหญ่ครั้งที่3/2548)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8117/2548
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้คิดดอกเบี้ยทุกวัน และกำหนดส่งเป็นรายเดือนทุกวันปิดบัญชีสิ้นเดือนของโจทก์ทุก ๆ เดือน ทั้งยังระบุให้โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติไปตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคาร ดังนั้น การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ทุกวันและกำหนดส่งเป็นรายเดือนทุกวันปิดบัญชีสิ้น เดือน จึงเป็นไปตามประเพณีของธนาคารตามข้อตกลงระหว่างคู่สัญญา อันเป็นการกำหนดการนับระยะเวลาโดยนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/1 แม้วันสิ้นเดือนเป็นวันหยุดทำการ โจทก์ก็คิดหักทอนบัญชีเมื่อสิ้นเดือนได้โดยไม่ถือเอาวันเปิดทำการถัดไปเป็น วันปิดบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584/2548
ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและสัญญาเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีเฉพาะสิน เชื่อธนวัฏบัตรเครดิต ระบุไว้ชัดเจนว่า มีความมุ่งหมายเพื่อการชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ อันเกิดจากใช้บัตรเครดิต รวมทั้งเพื่อถอนเงินสดจากบัญชีเงินฝากผ่านเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ ซึ่งล้วนเป็นธุรกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับการใช้บัตรเครดิตทั้งสิ้น การเปิดบัญชีกระแสรายวันจึงมิใช้เป็นการเปิดเพื่อให้มีการเบิกถอนเงินตาม ปกติ หากแต่เป็นบัญชีกระแสรายวันที่ใช้เพื่อให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้ บัตรเครดิตแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยเฉพาะ มิใช่กรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกันโดยให้ตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการใน ระหว่างโจทก์จำเลยนั้นหักกลบลบกัน และคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลืออันเป็นลักษณะสำคัญของสัญญาบัญชีเดิน สะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 หนี้ที่เกิดขึ้นจึงหาใช่หนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือหนี้ตามสัญญาบัญชี เดินสะพัดไม่ การที่โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยไปก่อน หรือการที่โจทก์ยอมให้จำเลยนำบัตรเครดิตไปถอนเงินสดจากเครื่องฝากถอนเงิน อัตโนมัติแล้วจึงเรียกเก็บจากจำเลยในภายหลังย่อมถือว่าได้ว่าโจทก์เป็นผู้ ประกอบกิจการในการรับทำการงานต่างๆ เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปก่อนตามลักษณะของการประกอบธุรกิจประเภทบัตร เครดิต จึงมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (7)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 708/2548
ประกาศธนาคารโจทก์ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 ซึ่งใช้บังคับขณะทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลย กำหนดให้โจทก์เรียกเก็บดอกเบี้ยและส่วนลดในกรณีลูกค้าเบิกเงินเกินวงเงิน หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระในอัตราไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี และเรียกจากลูกค้าทั่วไปกรณีอยู่ภายในวงเงินและไม่ผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระ ในอัตราที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) คืออัตราร้อยละ 13.75 ต่อปี บวกร้อยละ 2 ต่อปี รวมเป็นอัตราร้อยละ 15.75 ต่อปี การที่โจทก์กำหนดดอกเบี้ยที่จะเรียกจากจำเลยที่ 1 ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีไว้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ให้เรียกเก็บกรณีเบิกเงินเกินวงเงินหรือผิด เงื่อนไขในการผ่อนชำระ มิใช่อัตราดอกเบี้ยทั่วไปที่จะเรียกจากลูกค้าได้นับแต่วันทำสัญญาเช่นนี้ จึงเป็นการกำหนดดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศของโจทก์ ไม่เป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดไว้ และเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงขัดต่อ พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 อันเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) การกำหนดดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์คงคิดดอกเบี้ยจากหนี้เงินได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น และกรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้รับแจ้งรายการบัญชีเดินสะพัดแล้วไม่โต้แย้งความถูกต้องและดอกเบี้ยที่คิด ภายหลังทำสัญญาในบางช่วงเวลารวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่ขอมาท้ายฟ้องไม่ถึง อัตราร้อยละ 19 ต่อปี ก็ไม่อาจบังคับได้ตามขอสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดิน สะพัดต่อกัน การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้คงเหลือ ดังนั้น หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดอยู่ต่อไป ก็ยังไม่ถือว่ามีการผิดนัดกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2877/2547
จำเลย ที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด วันที่ 13 กรกฎาคม 2536 จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีวันที่ 20 เมษายน 2537 ทำให้จำเลยที่ 1 สิ้นสภาพนิติบุคคล ไม่มีอำนาจดำเนินการต่อไปตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงต้องสิ้นสุดลงและหักทอนบัญชีกัน จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจำนวนเงินประมาณ 2,132,418 บาท แม้ต่อมาจะมีการถอนเงินออกจากบัญชีและมีการนำเงินเข้าฝากในบัญชีอีก แต่เมื่อจำเลยที่ 1 สิ้นสภาพนิติบุคคลแล้วย่อมไม่มีอำนาจถอนเงิน ออกจากบัญชีอันเป็นการก่อหนี้ได้ การถอนเงินดังกล่าวจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ส่วนการนำเงินเข้าฝากคือการที่โจทก์รับฝากเงินจึงเป็นหนี้ที่โจทก์จะต้อง ชำระ ดังนั้นจึงต้องนำเงินฝากหลังจากวันที่ 20 เมษายน 2537 มาชำระหนี้ของจำเลยที่ 1ที่มีต่อโจทก์ ซึ่งปรากฏตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันว่าถึงวันที่ 11 มีนาคม 2539 มีการนำเงินเข้าฝากหลายครั้งรวม 3,928,691.69 บาท ส่วนจำนวนหนี้ของจำเลยที่ 1 ต้นเงินประมาณ 2,132,418 บาท คำนวณดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19.75 ต่อปีแบบไม่ทบต้นตามที่โจทก์ขอมา นับแต่วันที่ 20 เมษายน 2537 ถึงวันที่ 11 มีนาคม 2539 เป็นเงินประมาณ 794,340.52 บาท รวมเป็นเงินประมาณ 2,926,758.52 บาท น้อยกว่าจำนวนเงินที่มีการนำเข้าฝากในบัญชี จึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ในฐานผู้ค้ำประกันและผู้จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7080/2546
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด โดยตกลงว่าจำเลยจะเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันโดยใช้เช็ค การที่โจทก์นำสืบว่า ยอดหนี้ในบัญชีกระแสรายวันซึ่งใช้เป็นบัญชีเดินสะพัดที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลย รับผิดเกิดจากจำเลยเป็นร้านค้าสมาชิกรับบัตรเครดิตของโจทก์แล้วจำเลยนำเซลส์ สลิปที่ พ. ซื้อสินค้าจากจำเลยโดยใช้บัตรเครดิตของโจทก์ไปเรียกเก็บเงินจากโจทก์ โจทก์นำเงินจำนวนดังกล่าวฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของจำเลยและจำเลยใช้เช็ค เบิกถอนเงินไปแล้ว ต่อมาโจทก์เรียกเก็บเงินจาก พ. ไม่ได้ โจทก์จึงนำจำนวนเงินดังกล่าวมาหักออกจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยนั้น เป็นการนำสืบที่มาของหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันที่โจทก์และจำเลยใช้เป็นบัญชี เดินสะพัดว่าเพราะเหตุใดจำเลยจึงเป็นหนี้โจทก์ โดยโจทก์ยังคงขอให้บังคับจำเลยตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่โจทก์ฟ้อง มิได้ขอให้บังคับจำเลยตามสัญญาอื่นแต่อย่างใด ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5296/2546
คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันมีข้อตกลงว่า เป็นการเปิดบัญชีกระแสรายวันเพื่อใช้เป็นบัญชีเดินสะพัด ถ้าเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายตามเช็ค ตามปกติโจทก์จะปฏิเสธการจ่ายเงินโดยสิ้นเชิง แต่ถ้าโจทก์ยอมผ่อนผันจ่ายไป จำเลยยอมรับผูกพันตนที่จ่ายเงินส่วนที่เกินคืนโจทก์เสมือนหนึ่งได้ร้องขอ เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับโจทก์ การคิดดอกเบี้ยเงินส่วนที่เกินบัญชีดังกล่าวมีข้อตกลงว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศ ไทยกำหนดให้เรียกเก็บได้ ซึ่งขณะทำคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันมีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราตามประกาศของ ธนาคาร โจทก์ได้ออกประกาศของโจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกหนี้ประเภท ต่าง ๆ และออกประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยอีกหลายครั้ง โดยในกรณีของจำเลย เมื่อพิจารณาจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลย บันทึกการคิดอัตราดอกเบี้ย และประกาศของโจทก์แล้วเห็นได้ว่า โจทก์เรียกเก็บดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราเดียวกับลูกค้าประเภทเบิกเงินเกิน บัญชีเกินวงเงินและลูกค้าประเภทเบิกเงินเกินบัญชีโดยไม่มีวงเงิน ซึ่งโจทก์จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับลูกค้าทั่วไปที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราดังกล่าวโดยอาศัยข้อตกลงในการขอเปิด บัญชีกระแสรายวัน ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศของโจทก์จึงทำได้โดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2546
หนังสือมอบอำนาจทั่วไป มิได้มุ่งหมายให้ตัวแทนกระทำกิจการใดโดยเฉพาะเจาะจง ทั้งการฟ้องคดีก็มิได้ระบุตัวบุคคลผู้เป็นลูกหนี้หรือบุคคลที่จะถูกฟ้องว่า เป็นบุคคลใด ย่อมมีผลเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้ง เดียว โจทก์จึงใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวฟ้องลูกหนี้ของโจทก์ได้ทุกคดีโดยไม่มี จำกัดจำนวนคดีและตัวบุคคล แม้โจทก์จะเคยใช้หนังสือมอบอำนาจฟ้องจำเลยมาแล้ว โจทก์ก็มีอำนาจใช้หนังสือมอบอำนาจฉบับเดิมมาฟ้องจำเลยในคดีนี้อีก

โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงินรวม1,500,000 บาท โดยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และมีการจำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้ หลังจากนั้นมีการสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีเรื่อยมา ระยะหลังจำเลยเบิกเงินจากบัญชีจำนวนมากแต่นำเงินเข้าหักทอนบัญชีจำนวนน้อย โจทก์จึงบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบังคับจำนอง โจทก์คำนวณหนี้คิดเพียงวันที่ 12 เมษายน 2539 ซึ่งเป็นวันเลิกบัญชีเดินสะพัด จำเลยเป็นหนี้โจทก์1,877,571.48 บาท ตามบันทึกการคำนวณดอกเบี้ยเอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ถือว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาพอให้จำเลยเข้าใจได้แล้ว ส่วนขั้นตอนของการคำนวณดอกเบี้ยแต่ละเดือนและยอดสรุปของหนี้แต่ละเดือนเป็น อย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

แม้ในคดีแรกโจทก์เคยฟ้องจำเลยในมูลหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนอง ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่ายอดหนี้สำหรับหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีคำนวณไม่ถูก ต้องจึงให้ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้ แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีในส่วนนี้มาฟ้องใหม่ภายในกำหนดอายุความ และต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีที่สองในมูลหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีรายเดียว กันอีก ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ฟ้องโดยคำนวณดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ศาล กำหนดไว้ โจทก์ฟ้องและนำสืบในประเด็นเดิม จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ซึ่งคดีทั้งสองดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าได้มีคำพิพากษาชี้ขาดประเด็นแห่งคดี แล้ว การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุ อย่างเดียวกัน ทั้งคดีนี้โจทก์ได้คำนวณดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ในคดี ก่อนแล้ว จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัย ชี้ขาดมาแล้วในคดีเดิม ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2546
คดีที่ยื่นฟ้องต่อศาลนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2)ให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่ง และมาตรา 148(3) เป็นข้อยกเว้นในเรื่องฟ้องซ้ำกรณีเมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้ยกคำฟ้อง เสียโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและขอให้ บังคับจำนองแก่ที่ดินอันเป็นหลักประกัน ซึ่งจำเลยให้การต่อสู้หลายประการ ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะทำคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวินิจฉัยชี้ขาดไปตามประเด็น แห่งคดีตามมาตรา 131(2) ได้ โดยคำพิพากษาในประเด็นแห่งคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ตัด สิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่นั้นมีประเด็นเฉพาะเรื่องดอกเบี้ยเพียงว่าโจทก์ มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเพียงใด หาได้มีประเด็นว่าต้นเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีเพียงใดไม่ การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ไม่ได้อ้างส่งรายการบัญชีกระแสรายวันในวันที่ ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงทำให้ไม่ทราบว่าวันดัง กล่าวจำเลยมีหนี้ต้นเงินค้างชำระอยู่เพียงใด จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่นั้น ก็เพื่อให้โจทก์คิดดอกเบี้ยให้ถูกต้องตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่ได้ ซึ่งย่อมเป็นธรรมแก่คู่ความทั้งสองฝ่ายหาได้ทำให้จำเลยเสียเปรียบแต่อย่างใด ไม่ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2546
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ย่อมมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงไม่ตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และโจทก์ย่อมมีอำนาจปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยได้ แต่ต้องอยู่ภายในกรอบแห่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยของโจทก์ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อประกาศธนาคาร แห่งประเทศไทยย่อมเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย มิใช่ข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรมหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน อันจะเป็นผลทำให้ข้อตกลงดังกล่าวตกเป็นโมฆะ

ระยะเวลาในการหักทอนบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 858 กับสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะสิ้นสุดลงเมื่อใด เป็นคนละเรื่องกัน สำหรับกรณีแรกไม่ว่าจะกำหนดอายุแห่งสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันไว้หรือไม่ หากไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการหักทอนบัญชีกันไว้กฎหมายให้ถือกำหนดหกเดือนเป็น กำหนดหักทอนบัญชี ส่วนในกรณีที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดเวลาหรืออายุแห่งสัญญานั้นอาจจะ มีกำหนดระยะเวลาในการหักทอนบัญชีก็ได้เช่นให้หักทอนกันทุกวันสิ้นเดือน

ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงแต่ว่าคู่สัญญาอาจบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชีในเวลาใดก็ได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 จึงเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาเมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2541 และครบกำหนดตามระยะเวลาที่บอกกล่าวในวันที่ 12กรกฎาคม 2541 สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว มิใช่ต้องสิ้นสุดลงภายใน 6 เดือนตามระยะเวลาที่ต้องหักทอนบัญชีตามมาตรา858

จำนวนวงเงินที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นคนละเรื่องกับโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจาก จำเลยหรือไม่ และจะคิดทบต้นอย่างไร เมื่อตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงในเรื่องอัตราดอกเบี้ยและยอมให้ นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินดังว่านี้กลายเป็นต้นเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องเสียดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ ดังนั้น ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังคงมีอยู่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยและนำมาทบเป็นต้นเงินแม้เมื่อรวมกันแล้วจะเกินวงเงินที่ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2546
สัญญา เบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดแล้ว โจทก์ยังยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินจากบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปอีก และโจทก์ก็มิได้บอกเลิกสัญญาถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดออกไปโดยไม่มีกำหนดเวลา แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม2534 แล้ว หลังจากนั้นไม่ปรากฏรายการเดินสะพัด คงมีแต่การคิดดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1ค้างชำระในแต่ละเดือนทบเป็นต้นเงิน โดยมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 30 ธันวาคม2534 แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ว่าไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเป็นอันเลิกกันในวันที่ 30 ธันวาคม2534 อันเป็นวันหักทอนบัญชีกันครั้งสุดท้าย หาได้เลิกกันในวันที่ 30 กันยายน 2536 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์หักเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ค้างชำระของจำเลยที่ 1 ไม่ ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2534 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1

แม้ตามหนังสือยินยอมมอบเงินฝากเป็นประกันหนี้ของผู้อื่นซึ่งจำเลยที่ 2 ทำกับโจทก์ โจทก์จะสามารถนำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 หักทอนบัญชีหักลบกลบหนี้กับยอดเงินเบิกเกินบัญชีได้เมื่อใดก็ตาม แต่สิทธิและอำนาจนี้โจทก์ต้องดำเนินการในระหว่างสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี มีผลใช้บังคับ เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงในวันที่30 ธันวาคม 2534 และจำเลยทั้งสองมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธินำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 มาหักโอนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทันที หลังจากนั้นหากจำเลยที่ 1 ยังค้างชำระหนี้อยู่จำนวนเท่าใด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินดังกล่าวแบบไม่ทบต้นจนกว่าจะชำระ เสร็จ เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงโจทก์จะคิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ พึงเรียกเก็บได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์ซึ่ง ปรับเปลี่ยนอีกต่อไปไม่ได้ คงเรียกได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีคือ อัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี อันเป็นสิทธิตามสัญญาที่พึงได้โดยชอบมาแต่เดิมเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7040/2542
ตาม ข้อตกลงในการต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีไม่มีข้อความว่าให้สัญญาบัญชี เดินสะพัดสิ้นสุดลงเมื่อใด เมื่อปรากฏว่าหลังจากครบกำหนดระยะเวลาตามหนังสือต่ออายุสัญญาดังกล่าว เจ้าหนี้และบริษัท พ. ยังคงมีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา เมื่อบริษัท พ. นำเงินเข้าฝากในรูปตั๋วเงินและกู้เงินโดยผ่านบัญชีเงินฝากกระแสรายวันครั้ง สุดท้ายเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2531 หลังจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไป คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยทบต้นเท่านั้น และเจ้าหนี้คิดหักทอนบัญชีกับบริษัท พ. ในวันที่ 31 มกราคม 2533 ซึ่งถือได้ว่าเป็นการหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดิน สะพัดทางบัญชีต่อกัน แสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้น สุดลงในวันที่ 31 มกราคม 2533 ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 และ 859 สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ซึ่งมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2538 เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องภายในกำหนด 10 ปี หนี้ดังกล่าวไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5035/2528
ข้อ สัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันระหว่างโจทก์จำเลยมีว่า การสั่งจ่ายเช็คต้องลงลายมือชื่อสั่งจ่ายโดย ฉ. และ จ. ร่วมกันพร้อมทั้ง ประทับตราบริษัทโจทก์เป็นสำคัญ เช็คพิพาททั้งสองฉบับปรากฏว่า ลายมือชื่อจ.เป็นลายมือปลอมเช็คนั้นจึงเป็นอันใช้ไม่ได้เลย เพราะมีแต่ฉ.ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายแต่ผู้เดียวจำเลยจ่ายเงินตามเช็ค ดังกล่าวย่อมไม่ทำให้เช็คนั้นหลุดพ้นและยังเป็นการผิดสัญญา เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวด้วย การที่ ฉ. ลง ลายมือชื่อแท้จริงในเช็คไว้ก็ไม่ทำให้โจทก์อยู่ในฐานเป็น ผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ทั้งกรณีไม่ต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1006 การที่จำเลยจ่ายเงินตามเช็ค ที่มีลายมือชื่อโจทก์ผู้สั่งจ่ายปลอม โดยที่จำเลยไม่นำสืบพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า โจทก์ได้ทำปลอมหรือได้ร่วมกระทำปลอมแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธินำจำนวนเงินที่จ่ายไปตามเช็คมาลงบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ว่าโจทก์ เป็นลูกหนี้จำเลยและโจทก์มีสิทธิให้จำเลยเพิกถอนรายการนั้นเสียได้

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและให้ จำเลยคืนเงินที่จำเลยจ่ายไปตามเช็คซึ่งลายมือชื่อโจทก์ผู้สั่งจ่ายเป็น ลายมือชื่อปลอม แล้วนำจำนวนเงินนั้นมาลงบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน แสดงว่าโจทก์เป็นลูกหนี้ กรณีดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น อายุความจึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 โจทก์ทราบเรื่องเมื่อเดือนธันวาคม 2518 และฟ้องคดีนี้ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2525 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ