มาตรา ๖๕ นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
มาตรา ๖๖
นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย
ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
4554/2559
บริษัทมหาชนจำกัดเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น
และมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย จึงเป็นเจ้าของเงินที่ให้กู้ยืมไป
เมื่อมีผู้เบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าว ย่อมเป็นผู้เสียหายโดยตรงตาม ป.วิ.อ.
การพิจารณาความผิดอาญาตาม
พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ ย่อมกระทำโดยการพิจารณาและสืบพยานในศาล
ไม่ต้องผ่านการตรวจสอบโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ก่อน
ความรับผิดทางอาญาคือโทษ
ผู้กระทำความผิดย่อมได้รับเองเป็นรายบุคคลเฉพาะตัว แม้ตัวการถึงแก่ความตาย
ผู้ช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่ตัวการยังต้องรับผิดในการกระทำดังกล่าว
มาตรา ๖๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๖๖
นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา
เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น
มาตรา ๖๘
ภูมิลำเนาของนิติบุคคลได้แก่ถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือถิ่นอันเป็นที่ตั้งที่ทำการ
หรือถิ่นที่ได้เลือกเอาเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการตามข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2832/2559
ป.พ.พ. มาตรา 68 บัญญัติว่า
"ภูมิลำเนาของนิติบุคคลได้แก่ถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือถิ่นอันเป็นที่ตั้งที่ทำการ..."
และ ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "หมายเรียก
หนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรหรือหนังสืออื่นซึ่งมีถึงบุคคลใดตามลักษณะนี้
ให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือให้เจ้าพนักงานสรรพากรนำไปส่ง ณ
ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ หรือสำนักงานของบุคคลนั้น... ถ้าไม่พบผู้รับ ณ ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสำนักงานของผู้รับ
จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่หรือทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นของผู้รับนั้นก็ได้"
ตามหนังสือรับรองของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่ปี 2543 จนถึงปี 2553 จำเลยมิได้จดทะเบียนเลิกกิจการหรือเปลี่ยนแปลงที่ทำการ
จึงถือว่าจำเลยยังคงมีภูมิลำเนาอยู่ที่เดิม
เมื่อโจทก์ส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่จำเลยโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับภายในประเทศไปยังภูมิลำเนาของจำเลยและมีผู้ลงลายมือชื่อรับไว้ในฐานะเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
ซึ่งจำเลยนำสืบยอมรับว่ามีการจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัทจำเลยไว้
จึงต้องถือว่าจำเลยได้ทราบหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยชอบด้วยมาตรา 8 แล้ว
มาตรา ๖๙
ในกรณีที่นิติบุคคลมีที่ตั้งที่ทำการหลายแห่งหรือมีสำนักงานสาขา
ให้ถือว่าถิ่นอันเป็นที่ตั้งของที่ทำการหรือของสำนักงานสาขาเป็นภูมิลำเนาในส่วนกิจการอันได้กระทำ
ณ ที่นั้นด้วย
มาตรา ๗๐ นิติบุคคลต้องมีผู้แทนคนหนึ่งหรือหลายคน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมาย ข้อบังคับ
หรือตราสารจัดตั้งจะได้กำหนดไว้
ความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคล
มาตรา ๗๑ ในกรณีที่นิติบุคคลมีผู้แทนหลายคน
การดำเนินกิจการของนิติบุคคลให้เป็นไปตามเสียงข้างมากของผู้แทนของนิติบุคคลนั้น
เว้นแต่จะได้มีข้อกำหนดไว้เป็นประการอื่นในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง
มาตรา ๗๒ การเปลี่ยนตัวผู้แทนของนิติบุคคล
หรือการจำกัดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอำนาจของผู้แทนของนิติบุคคล
ให้มีผลต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งแล้ว
แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตมิได้
มาตรา ๗๓ ถ้ามีตำแหน่งว่างลงในจำนวนผู้แทนของนิติบุคคล
และมีเหตุอันควรเชื่อว่าการปล่อยตำแหน่งว่างไว้น่าจะเกิดความเสียหายขึ้นได้
เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอศาลจะแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวขึ้นก็ได้
มาตรา ๗๔
ถ้าประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนของนิติบุคคลในการอันใด
ผู้แทนของนิติบุคคลนั้นจะเป็นผู้แทนในการอันนั้นไม่ได้
มาตรา ๗๕ ถ้ากรณีตามมาตรา ๗๔
เป็นเหตุให้ไม่มีผู้แทนของนิติบุคคลเหลืออยู่
หรือผู้แทนของนิติบุคคลที่เหลืออยู่มีจำนวนไม่พอจะเป็นองค์ประชุม
หรือไม่พอจะกระทำการอันนั้นได้ หากกฎหมาย ข้อบังคับ
หรือตราสารจัดตั้งของนิติบุคคลนั้น มิได้มีข้อกำหนดในเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น
ให้นำความในมาตรา ๗๓ มาใช้บังคับเพื่อตั้งผู้แทนเฉพาะการโดยอนุโลม
มาตรา ๗๖
ถ้าการกระทำตามหน้าที่ของผู้แทนของนิติบุคคลหรือผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล
เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
นิติบุคคลนั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น
แต่ไม่สูญเสียสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้ก่อความเสียหาย
ถ้าความเสียหายแก่บุคคลอื่นเกิดจากการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์หรืออำนาจหน้าที่ของนิติบุคคล
บรรดาบุคคลดังกล่าวตามวรรคหนึ่งที่ได้เห็นชอบให้กระทำการนั้นหรือได้เป็นผู้กระทำการดังกล่าว
ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายนั้น
มาตรา ๗๗
ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนแห่งประมวลกฎหมายนี้
มาใช้บังคับแก่ความเกี่ยวพันระหว่างนิติบุคคลกับผู้แทนของนิติบุคคล
และระหว่างนิติบุคคล หรือผู้แทนของนิติบุคคลกับบุคคลภายนอก โดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
520/2559
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 65
นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นเท่านั้น
ดังนั้น คณะบุคคลหรือหน่วยงานใด
หากไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายรับรองสถานะว่ามีฐานะเป็นนิติบุคคล
ย่อมไม่อาจมีสภาพเป็นนิติบุคคลได้ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
พ.ศ.2550 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กร อยู่ในหมวดที่ 2
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยมาตรา 30 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า
"ให้มีสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ
มีฐานะเป็นนิติบุคคลและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
โดยมีประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด"
ส่วนบทบัญญัติในหมวด 1 คณะกรรมการการเลือกตั้ง
หาได้มีบทมาตราใดบัญญัติรับรองให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
5149/2554
ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11)
คำว่า คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล ฯลฯ
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลตามกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. ได้แก่
บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล สำหรับนิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตาม ป.พ.พ.
หรือกฎหมายอื่น ดังบัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 65
โจทก์เป็นคณะกรรมการสำนักสงฆ์วัดหนองเวียนโสภาศรัทธารามหรือวัดหนองเวียนวัฒนาราม
เป็นเพียงกลุ่มบุคคลซึ่งรวมตัวกันโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล
จึงไม่อาจเป็นคู่ความได้ เมื่อตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่ากรรมการโจทก์คนใดได้ฟ้องคดีในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้ครอบครองที่ดินพิพาท
โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
4338/2548
การที่บริษัทโจทก์เปลี่ยนชื่อไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงนิติบุคคล
โจทก์ยังคงมีสภาพเป็นนิติบุคคลดังเดิม แม้ไม่แจ้งการเปลี่ยนชื่อให้จำเลยที่ 2
ผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ลูกจ้างโจทก์ทราบ
ก็ไม่เป็นผลให้สัญญาค้ำประกันสิ้นสุดลง เมื่อจำเลยที่ 1
ทำละเมิดต่อโจทก์ในขณะทำงานให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
3901/2559
ธ.
ทำสัญญาขายหุ้นของบริษัทโจทก์ให้แก่บริษัท อ. ก่อนที่ ธ.
จะทำสัญญาจ้างแรงงานกับบริษัท พ. แม้บริษัท อ. จะควบรวมกิจการกับบริษัท จ.
กลายเป็นบริษัท พ. และถือว่าบริษัท พ. สวมสิทธิเป็นผู้ถือหุ้นที่ซื้อจาก ธ.
แทนบริษัท อ. ก็ตาม แต่บริษัท พ. เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์
จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นคู่สัญญาที่มีสิทธิยกเอาข้อตกลงตามสัญญาขายหุ้นดังกล่าวที่ห้าม
ธ.
ประกอบธุรกิจหรือให้ข้อมูลแก่บุคคลหรือหน่วยงานอื่นที่เป็นการแข่งขันทางธุรกิจกับโจทก์มากล่าวอ้างฟ้องร้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8077/2553
การประมูลแชร์เป็นวิธีการหารายได้อย่างหนึ่ง
เช่นเดียวกับการกู้ยืมเงินเพื่อเป็นทุนในการประกอบธุรกิจหรือการอื่นใดที่ต้องใช้เงิน
เป็นกิจทั่วไปที่ดำเนินการได้เพื่อให้กิจการตามวัตถุประสงค์ที่ระบุในหนังสือรับรองดำเนินไปได้
จึงมิใช่เรื่องนอกเหนือวัตถุประสงค์ของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10687/2551
แม้วัตถุประสงค์ของโจทก์และธนาคาร
ท. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ตามหนังสือรับรองจะมิได้มีข้อความว่า
โจทก์สามารถมอบอำนาจให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นฟ้องคดีหรือดำเนินคดีแทน
และธนาคาร ท.
สามารถเป็นผู้รับมอบอำนาจจากสถาบันการเงินอื่นหรือนิติบุคคลอื่นในการฟ้องคดีหรือดำเนินคดีแทนสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นได้ก็ตาม
แต่ทั้งโจทก์และธนาคาร ท. ต่างก็มีวัตถุประสงค์ฝากเงิน ให้กู้ยืมเงิน
ประกอบกิจการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน นายหน้า ตัวแทนเรียกเก็บหนี้ รับซื้อ
รับโอนลูกหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเช่นเดียวกัน
เมื่อจำเลยทั้งห้ากับพวกเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมมีอำนาจบังคับให้จำเลยทั้งห้ากับพวกชำระหนี้ตามคำพิพากษา
โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีล้มละลายนี้ได้ และย่อมมีอำนาจมอบอำนาจให้ธนาคาร ท.
ดำเนินคดีนี้และให้มีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ด้วย ธนาคาร ท.
ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1961/2545
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด
มีวัตถุประสงค์ให้เช่าซื้อและให้เช่าทรัพย์สิน ตามวัตถุประสงค์ข้อ (1) ถึง (4)
ในหนังสือรับรองของกรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1
เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจึงอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์
และธุรกิจของโจทก์หาใช่ธุรกิจการจัดหามาซึ่งเงินทุนและใช้เงินนั้นในการประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง
ดังบทนิยาม "ธุรกิจเงินทุน" ตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน
ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ไม่
การดำเนินธุรกิจของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะการประกอบธุรกิจเงินทุนอันจะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามมาตรา
8 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2832/2559
ป.พ.พ. มาตรา 68 บัญญัติว่า
"ภูมิลำเนาของนิติบุคคลได้แก่ถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือถิ่นอันเป็นที่ตั้งที่ทำการ..."
และ ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "หมายเรียก
หนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรหรือหนังสืออื่นซึ่งมีถึงบุคคลใดตามลักษณะนี้
ให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือให้เจ้าพนักงานสรรพากรนำไปส่ง ณ
ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ หรือสำนักงานของบุคคลนั้น... ถ้าไม่พบผู้รับ ณ
ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสำนักงานของผู้รับ
จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่หรือทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นของผู้รับนั้นก็ได้"
ตามหนังสือรับรองของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่ปี 2543 จนถึงปี 2553 จำเลยมิได้จดทะเบียนเลิกกิจการหรือเปลี่ยนแปลงที่ทำการ
จึงถือว่าจำเลยยังคงมีภูมิลำเนาอยู่ที่เดิม
เมื่อโจทก์ส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่จำเลยโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับภายในประเทศไปยังภูมิลำเนาของจำเลยและมีผู้ลงลายมือชื่อรับไว้ในฐานะเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
ซึ่งจำเลยนำสืบยอมรับว่ามีการจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัทจำเลยไว้
จึงต้องถือว่าจำเลยได้ทราบหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยชอบด้วยมาตรา 8 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
6062 - 6063/2551
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดซึ่งตาม
ป.พ.พ. มาตรา 68 บัญญัติให้ถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่เป็นภูมิลำเนาของบริษัท
โจทก์มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 162/18 หมู่ที่ 10 ตำบลหนองปรือ
อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี แม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ปิดกิจการไปตั้งแต่ปี 2540
แต่โจทก์ก็อ้างมาในฎีกาว่า โจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเลิกบริษัท
จึงถือว่าโจทก์ยังคงมีภูมิลำเนาอยู่ที่เดิม ดังนั้น
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปิดหมายนัดฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2
ที่บ้านหลังดังกล่าวจึงเป็นการส่งที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 74 (2) แล้ว
ศาลชั้นต้นหาจำต้องส่งหมายนัดฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2
ให้แก่กรรมการผู้จัดการของโจทก์และทนายโจทก์ด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
9131/2544
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด
ซึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 68
บัญญัติให้ถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่เป็นภูมิลำเนาของบริษัท
จำเลยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เลขที่ 385/1 ถนนสีลม แขวงสีลม บางรัก กรุงเทพฯ
ศาลชั้นต้นสั่งให้ปิดหมายเรียก สำเนาคำฟ้องและคำบังคับที่บ้านเลขที่ดังกล่าว
แม้พนักงานเดินหมายจะรายงานว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวปิดใส่กุญแจ
และเมื่อสอบถามบุคคลที่อยู่บ้านข้างเคียงก็ได้ความว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวปิดอยู่นานแล้วและไม่มีผู้ใดรู้จักบริษัทจำเลยก็ตาม
ก็ยังไม่ได้ความแน่ชัดว่าเป็นจริงตามนั้น
ดังนั้นในเบื้องต้นต้องถือว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
รวมทั้งการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยดังกล่าวเป็นการส่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1608/2552
แผ่นพับโฆษณาของจำเลยระบุว่า
สำนักงานขายของจำเลยอยู่เลขที่ 632/134 ถนนพระปิ่นเกล้า บางยี่ขัน บางกอกน้อย
กรุงเทพมหานคร หนังสือแจ้งนัดหมายโจทก์ตรวจรับห้องชุด
และหนังสือชี้แจงความคืบหน้าโครงการอาคารชุดก็ระบุว่าบริษัทจำเลยอยู่ที่บ้านเลขที่ดังกล่าวเช่นกัน
แสดงว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นสำนัก งานสาขาของจำเลย
จึงเป็นภูมิลำเนาในส่วนกิจการอันได้กระทำ ณ สถานที่นั้นด้วย ตามป.พ.พ. มาตรา 69
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
3776/2549
จำเลยจดทะเบียนสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัทจำเลยอยู่แห่งหนึ่ง
แต่ตามใบเสร็จรับเงินชั่วคราวที่จำเลยออกให้โจทก์ได้ระบุที่ตั้งที่ทำการจำเลยอยู่อีกแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานโครงการจำเลย
ถือได้ว่าจำเลยมีที่ตั้งที่ทำการหลายแห่ง
และที่ตั้งสำนักงานโครงการจำเลยถือเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในส่วนกิจการอันได้กระทำ ณ
ที่นั้นด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 69 โจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังสำนักงานโครงการซึ่งเป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
21764/2556
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด
ย่อมต้องแสดงออกโดยผู้แทนของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง อายุความ 1 ปี
จึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ผู้แทนของโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
มิใช่นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 5158/2546
ซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทว่า ร.
ต้องชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศแก่โจทก์หรือไม่
อันเป็นคนละประเด็นกับประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่
ทั้งคำพิพากษาคดีก่อนก็ไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองในคดีนี้ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาคดีก่อนเพียงแต่วินิจฉัยว่า ร.
ไม่ได้เป็นผู้ทำสัญญาการใช้บริการโทรศัพท์ตามฟ้องจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนี้
ถือไม่ได้ว่าในวันที่ศาลในคดีก่อนมีคำพิพากษา โจทก์ได้ทราบแล้วว่าจำเลยทั้งสองกระทำละเมิด
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์โดยรักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ฝ่ายบริหาร)
ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวจำเลยที่ 1 และที่ 2
ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนจากรายงานของกองนิติการเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2547
โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2548 จึงไม่เกิน 1 ปี
คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
17827/2556
จำเลยที่ 4
เป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งซึ่งรวมเข้าเป็นบริษัทจำเลยที่ 1 ฐานะของจำเลยที่ 4
จึงต้องอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 1015 คือ แยกต่างหากจากนิติบุคคลจำเลยที่ 1
ส่วนการที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1
ถูกพนักงานงานสอบสวนหมายเรียกให้ไปแก้ข้อกล่าวหาหรือถูกศาลหมายเรียกให้ไปต่อสู้คดีหลังจากจำเลยที่
1 ถูกฟ้องเป็นคดีอาญา ก็เป็นเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยที่ 4
ในฐานะผู้แทนนิติบุคคลตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง หาทำให้จำเลยที่ 4
ที่เป็นผู้แทนนิติบุคคลกลายเป็นบุคคลคนเดียวกับนิติบุคคลจำเลยที่ 1
อันเป็นการลบล้างหลักกฎหมายในมาตรา 1015 ไปได้ไม่ ดังนั้น
แม้ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 มีข้อเท็จจริงเดียวกันกับข้อเท็จจริงที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่
1 ในคดีก่อน แต่เมื่อจำเลยที่ 4 เป็นบุคคลแยกต่างหากจากนิติบุคคลจำเลยที่ 1
และไม่ใช่บุคคลที่ถูกโจทก์ฟ้องในคดีก่อน ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4
จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
3642/2554
จำเลยที่ 1
เป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นเพียงบุคคลสมมุติโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายจะดำเนินหรือปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ของบริษัทด้วยตนเองไม่ได้ต้องกระทำโดยผู้แทน
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1
จึงเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินหรือปฏิบัติงานของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2
ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้องว่า จำเลยที่ 2
ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยและการกระทำของจำเลยที่ 2
ก็ยังเป็นความผิดตลอดเวลาที่ยังไม่มีการปฏิบัติให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
พ.ศ.2522 แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่
28 พฤษภาคม 2547 อันเป็นเวลาหลังจากเกิดเหตุแล้วก็ตาม
แต่ก็หาเป็นเหตุให้มีผลลบล้างความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในขณะเกิดเหตุไม่
หากจำเลยที่ 2
ต้องเสียหายจากการที่ยังไม่มีการปฏิบัติให้ถูกต้องดังกล่าวหลังจากนั้นอย่างไรก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่
1 เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ดังนั้นจำเลยที่ 2
ต้องชำระค่าปรับตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
21166/2556
ตาม พ.ร.บ.สหกรณ์
พ.ศ.2542 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สหกรณ์มีคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน
และกรรมการอื่นอีกไม่เกินสิบสี่คนซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิก มาตรา 51
และข้อบังคับของโจทก์ ข้อ 65 วรรคหนึ่ง
กำหนดให้คณะกรรมการดำเนินการเป็นผู้ดำเนินกิจการและเป็นผู้แทนโจทก์ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอกและเพื่อการนี้คณะกรรมการดำเนินการจะมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนหรือผู้จัดการทำการแทนก็ได้
ประกอบกับ พ.ร.บ.สหกรณ์ฯ
และข้อบังคับของโจทก์มิได้กำหนดไว้ว่าโจทก์จะดำเนินกิจการใดๆ
ได้ต้องอาศัยความเห็นชอบของคณะกรรมการดำเนินการทุกคน
กรณีจึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปเกี่ยวกับนิติบุคคลตาม ป.พ.พ. มาบังคับใช้ ซึ่งตาม มาตรา
71 กำหนดให้เป็นไปตามเสียงข้างมากในหมู่ของคณะกรรมการดำเนินการ
แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลปกครองขอนแก่นให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของสหกรณ์จังหวัดขอนแก่นที่ไม่ตัดสิทธิการสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการดำเนินการสหกรณ์โจทก์ของ
บ. อันมีผลทำให้การสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการดำเนินการของ บ.
เป็นการไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย
แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการดำเนินการส่วนที่เหลืออีก 14 คน
ได้พ้นสภาพจากการเป็นคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ไปด้วย
คณะกรรมการดำเนินการส่วนที่เหลือจึงยังมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์
เมื่อคณะกรรมการดำเนินการส่วนที่เหลือทั้ง 14 คน
ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์มอบอำนาจให้ บ. และหรือ ส.
เป็นผู้มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ จึงเป็นเสียงข้างมากตามมาตรา 71 การมอบอำนาจของโจทก์ย่อมสมบูรณ์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
13140/2556
ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลปกครองขอนแก่นให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของสหกรณ์จังหวัดขอนแก่นที่ไม่ตัดสิทธิการสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการดำเนินการสหกรณ์โจทก์ของ
บ. ตามหนังสือสำนักงานสหกรณ์จังหวัดขอนแก่นที่ ขก 0010/022 ลงวันที่ 22 เมษายน
2547 อันมีผลทำให้การสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการของ บ.
เป็นการไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย
แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการดำเนินการส่วนที่เหลืออีก 14
คนได้พ้นสภาพจากการเป็นคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ไปด้วย
คณะกรรมการดำเนินการส่วนที่เหลือจึงยังมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์
เมื่อคณะกรรมการดำเนินการส่วนที่เหลือทั้งสิบสี่คนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์
มอบอำนาจให้ บ. และหรือ ส. เป็นผู้มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์
จึงเป็นเสียงข้างมากตามบทบัญญัติมาตรา 71 แห่ง ป.พ.พ. ดังกล่าว
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ย่อมสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
8565 - 8566/2558
แม้จำเลยที่ 6
จะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด แต่เมื่อจำเลยที่ 6
มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการจัดระบบแสง สี เสียง ภาพ ประกอบการแสดง เวทีการแสดงต่าง
ๆ การที่จำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 6
รับจ้างติดตั้งดอกไม้เพลิงในการทำฉากเอฟเฟกต์ในร้านเกิดเหตุตามขอบแห่งวัตถุประสงค์
ย่อมต้องถือว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 6 เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 7
เป็นความผิดอาญา แม้จะเป็นการกระทำโดยประมาท จำเลยที่ 6
ก็ต้องรับโทษทางอาญาด้วยเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1715/2551
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว
นิติบุคคลโจทก์ได้จัดให้มีการประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2549
โจทก์เปลี่ยนแปลงผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดจาก ป.มาเป็น ภ. และได้มีการจดทะเบียนแล้ว
ดังนี้ ภ. จึงอยู่ในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ แม้ ป.
ผู้จัดการนิติบุคคลคนเดิมเป็นผู้ยื่นอุทธรณ์และเป็นผู้ลงลายมือชื่อแต่งทนายความไว้ก็ตาม
แต่เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดมาเป็น ภ. แล้ว ภ.
ย่อมมีอำนาจถอนอุทธรณ์และถอนทนายความ หาใช่เป็นอำนาจของ ป. ไม่
และการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดเป็นไปตามมติที่ประชุมครั้งใหม่ภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว
มิได้อาศัยมติที่ประชุมที่ยังเป็นข้อพิพาทในคดี
อีกทั้งการถอนฟ้องหรือถอนอุทธรณ์เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกระทำได้
หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1733/2535
พระราชบัญญัติเทศบาล
พ.ศ. 2496 มาตรา 7 และมาตรา 39 กำหนดให้เทศบาลตำบลเมืองพลโจทก์เป็นทบวงการเมือง
มีคณะเทศมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย
โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า
โจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72
และนายกเทศมนตรีมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ตามที่กำหนดไว้ใน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 75
ที่จะแสดงให้ปรากฏซึ่งความประสงค์ของโจทก์ที่เป็นนิติบุคคล
การฟ้องคดีนั้นเป็นการบริหารกิจการของเทศบาลอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีบทบัญญัติใน
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 กำหนดไว้ในที่ใดว่าจะต้องมีการขออนุมัติผู้ใดก่อน
นายกเทศมนตรีจึงมีอำนาจเป็นผู้แทนโจทก์ที่จะฟ้องคดีจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
8579/2553
ผู้ร้องอ้างว่ากรรมการของบริษัท
ศ. ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เป็นเหตุให้ผู้ร้องในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้รับความเสียหายกรณีจึงไม่ใช่เป็นเรื่องมีตำแหน่งว่างลงในจำนวนผู้แทนนิติบุคคลและมีเหตุอันควรเชื่อว่าการปล่อยตำแหน่งว่างไว้น่าจะเกิดความเสียหายขึ้นได้ตามที่บัญญัติไว้ใน
ป.พ.พ. มาตรา 73
หรือเป็นเรื่องที่นิติบุคคลไม่สามารถดำเนินการได้อันเนื่องมาจากผู้แทนบางคนไม่ยอมปฏิบัติหน้าที่อันจะนำ
ป.พ.พ. มาบังคับใช้ในฐานะบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4
ประกอบมาตรา 73
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
15198/2551
ผู้ร้องคัดค้านได้ร่วมก่อตั้งบริษัท
อ. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัท ม. โดยผู้ร้องคัดค้านเป็นผู้ถือหุ้น
การที่ผู้ร้องคัดค้านซึ่งเป็นผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดไม่ดำเนินการใดๆ กับบริษัท
ม.ซึ่งค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางเป็นจำนวนมากนั้น
เนื่องจากคำนึงถึงผลกระทบที่จะมีต่อเครือญาติและตนเองในบริษัทดังกล่าว
อันเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อผลประโยชน์ของนิติบุคคลอาคารชุดมิลฟอร์ด
พาราไดซ์ คอนโดเทล
ถือได้ว่าประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนของนิติบุคคลในเรื่องดังกล่าว
เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่กรณีดังกล่าวได้
ทั้งไม่ปรากฏว่ามีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในกรณีเช่นนี้
จึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4
ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในอาคารชุดย่อมร้องขอให้ศาลแต่งตั้ง ธ.
เป็นผู้แทนเฉพาะการเพื่อดำเนินการในเรื่องการทวงถามค่าใช้จ่ายส่วนกลางตลอดจนการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องตามข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดมิลฟอร์ด
พาราไดซ์ คอนโดเทลได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 75
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2980/2550
การขอให้ศาลแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวของนิติบุคคลนั้นจะต้องเป็นกรณีที่ผู้แทนนิติบุคคลว่างลงตาม
ป.พ.พ. มาตรา 73 หรือผู้แทนนิติบุคคลไม่อาจทำหน้าที่ได้ตามมาตรา 75
และหากปล่อยให้ตำแหน่งว่างไว้น่าจะทำให้เกิดความเสียหายในการดำเนินกิจการของนิติบุคคลนั้นด้วย
กรณีตามคำร้องเป็นการขอให้ศาลตั้งผู้แทนเฉพาะการหรือผู้แทนชั่วคราวของนิติบุคคลเพื่อดำเนินคดีอาญาแก่กรรมการบริษัทเอง
ซึ่งหากผู้ร้องในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดทางอาญาของบริษัทก็สามารถดำเนินคดีอาญาแก่บุคคลที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายได้อยู่แล้วตามมาตรา
1169 กรณีตามคำร้องมิใช่กรณีที่ผู้แทนนิติบุคคลว่างลง หรือผู้แทนนิติบุคคลไม่อาจทำหน้าที่ได้อันน่าจะทำให้เกิดความเสียหายในการดำเนินกิจการของบริษัท
ทั้งไม่ใช่เป็นกรณีที่ประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนนิติบุคคลในการอันใดที่จะทำให้ผู้แทนของนิติบุคคลนั้นจะเป็นผู้แทนในการอันนั้นไม่ได้ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 74 ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอตั้งผู้แทนเฉพาะการหรือผู้แทนชั่วคราวนิติบุคคลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
3203/2558
กองทัพบกเป็นส่วนราชการ
สังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุด และกองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นส่วนราชการ
สังกัดกระทรวงกลาโหม ตาม พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2503 มาตรา 8
ซึ่งใช้บังคับในขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้
กระทรวงกลาโหมจึงมีอำนาจควบคุมดูแลกิจการในกองบัญชาการทหารสูงสุดตลอดไปถึงกิจการในกองทัพบก
สิบเอก ต. เป็นทหารสังกัดกองทัพบก
จึงถือว่าเป็นทหารในสังกัดของกองบัญชาการทหารสูงสุดซึ่งเป็นส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมจำเลยด้วย
เมื่อสิบเอก ต.
ขับรถบรรทุกน้ำคันเกิดเหตุตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยประมาทเลินเล่อ
เป็นเหตุให้เฉี่ยวชนกับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้
ซึ่งทั้งกองทัพบกและกระทรวงกลาโหมจำเลยต่างเป็นนิติบุคคล
โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องทั้งกองทัพบกซึ่งเป็นต้นสังกัดโดยตรง และฟ้องกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นต้นสังกัดในลำดับสูงขึ้นไปได้ด้วย
การที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องกระทรวงกลาโหมให้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่สิบเอก
ต. ซึ่งถือเป็นผู้แทนของจำเลยผู้กระทำละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 76 วรรคหนึ่ง
โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5093/2556
ในกรณีที่การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน
แม้คำพิพากษาจะกำหนดให้โจทก์กับจำเลยที่ 1
ผู้ทำละเมิดซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของโจทก์ร่วมกันรับผิดต่อผู้เสียหาย
แต่ก็เป็นความรับผิดในฐานะนิติบุคคลเพื่อเยียวยาแก่ผู้เสียหายไปก่อนแล้วจึงให้โจทก์ใช้สิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้แทนนิติบุคคลตาม
ป.พ.พ. มาตรา 76
เมื่อโจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีสิทธิไล่เบี้ยได้ตาม พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ.2539 ที่มีผลใช้บังคับก่อนเกิดเหตุคดีนี้จึงต้องบังคับตาม มาตรา 8 วรรคสี่
ที่มิให้นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสามผู้ทำละเมิดต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของโจทก์
จำเลยทั้งสามแต่ละคนจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เฉพาะส่วนของตนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2552
จำเลยเป็นนิติบุคคลตาม
พ.ร.บ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลฯ มาตรา 43 ซึ่งความประสงค์ของจำเลยย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของจำเลยตาม
ป.พ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง จำเลยออกประกาศสอบราคาซื้อรถยนต์
ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2544 โจทก์ยื่นคำเสนอราคารถยนต์เมื่อวันที่
9 สิงหาคม 2544 และทำสัญญาซื้อขายรถยนต์กับ
ส. ประธานกรรมการบริหารของจำเลย เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2544
ความเกี่ยวพันระหว่างโจทก์ จำเลย กับ ส.
ตัวแทนของจำเลยต้องพิจารณาตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม
ป.พ.พ. มาตรา 77 การออกประกาศซื้อรถยนต์ของจำเลยซึ่งเป็นตัวการโดย
ส. ซึ่งเป็นตัวแทน เป็นเรื่องที่อยู่ในขอบอำนาจที่ตัวแทนทำได้
แต่เมื่อมีมติที่ประชุมจำเลยยกเลิกความต้องการดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2544 ย่อมเป็นเรื่องที่ตัวแทนทำการอันเกินอำนาจตัวแทน
กรณีจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 ซึ่งสัญญาซื้อขายดังกล่าวจะใช้บังคับระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกกับจำเลยซึ่งเป็นตัวการได้หรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับว่าในทางปฏิบัติของจำเลยทำให้โจทก์มีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่าการซื้อขายรถยนต์คันพิพาทอยู่ในขอบอำนาจของ
ส. ตัวแทนของจำเลยหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15198/2551
ผู้ร้องคัดค้านได้ร่วมก่อตั้งบริษัท
อ. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัท ม. โดยผู้ร้องคัดค้านเป็นผู้ถือหุ้น
การที่ผู้ร้องคัดค้านซึ่งเป็นผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดไม่ดำเนินการใดๆ กับบริษัท
ม.ซึ่งค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางเป็นจำนวนมากนั้น
เนื่องจากคำนึงถึงผลกระทบที่จะมีต่อเครือญาติและตนเองในบริษัทดังกล่าว
อันเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อผลประโยชน์ของนิติบุคคลอาคารชุดมิลฟอร์ด
พาราไดซ์ คอนโดเทล
ถือได้ว่าประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนของ
นิติบุคคลในเรื่องดังกล่าว เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่กรณีดังกล่าวได้
ทั้งไม่ปรากฏว่ามีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในกรณีเช่นนี้
จึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4
ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในอาคารชุดย่อมร้องขอให้ศาลแต่งตั้ง ธ.
เป็นผู้แทนเฉพาะการเพื่อดำเนินการในเรื่องการทวงถามค่าใช้จ่ายส่วนกลางตลอด
จนการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องตามข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดมิลฟอร์ด
พาราไดซ์ คอนโดเทลได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2980/2550
การขอให้ศาลแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวของนิติบุคคลนั้นจะต้องเป็นกรณีที่ผู้แทน
นิติบุคคลว่างลงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 73 หรือผู้แทนนิติบุคคลไม่อาจทำหน้าที่ได้ตามมาตรา 75
และหากปล่อยให้ตำแหน่งว่างไว้น่าจะทำให้เกิดความเสียหายในการดำเนินกิจการ
ของนิติบุคคลนั้นด้วย
กรณีตามคำร้องเป็นการขอให้ศาลตั้งผู้แทนเฉพาะการหรือผู้แทนชั่วคราวของ
นิติบุคคลเพื่อดำเนินคดีอาญาแก่กรรมการบริษัทเอง
ซึ่งหากผู้ร้องในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทได้รับความเสียหายจากการกระทำความ
ผิดทางอาญาของบริษัทก็สามารถดำเนินคดีอาญาแก่บุคคลที่ทำให้ผู้ร้องได้รับ
ความเสียหายได้อยู่แล้วตามมาตรา 1169
กรณีตามคำร้องมิใช่กรณีที่ผู้แทนนิติบุคคลว่างลง หรือผู้แทนนิติบุคคลไม่อาจทำหน้าที่ได้อันน่าจะทำให้เกิดความเสียหายในการ
ดำเนินกิจการของบริษัท
ทั้งไม่ใช่เป็นกรณีที่ประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของ
ผู้แทนนิติบุคคลในการอันใดที่จะทำให้ผู้แทนของนิติบุคคลนั้นจะเป็นผู้แทนใน
การอันนั้นไม่ได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 74
ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอตั้งผู้แทนเฉพาะการหรือผู้แทนชั่วคราว นิติบุคคลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2550
การ ที่ น.
ขับรถยนต์จากกรุงเทพมหานครไปที่จังหวัดชัยนาทตามคำสั่งของ พ.
ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท พ. และเป็นนายจ้างของ น. เพื่อพา พ.
ไปเจรจาเพื่อชดใช้ความเสียหายกรณีที่ พ.
เคยขับรถยนต์ชนกับรถยนต์ของบุคคลอื่นในระหว่างการทำตามหน้าที่ของผู้แทน บริษัท พ.
เป็นการไปเพื่อตกลงชดใช้ค่าเสียหายประนีประนอมยอมความหมายตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850, 852
สำหรับการทำละเมิดของ พ. ที่บริษัท พ. อาจต้องรับผิดในความเสียหายด้วยตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 77, 425, 427
การไปเจรจาเพื่อชดใช้ความเสียหายของ พ.
เป็นการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่บริษัท พ. ดังนั้น แม้ น.
จะไม่ได้ป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างแต่ก็ได้ทำงานตามคำสั่งของนาย จ้าง
แต่ในระหว่างการเดินทางก่อนการเจรจาเรื่องค่าเสียหาย มีคนร้ายใช้อาวุธปืนยิง น.
และ พ. ถึงแก่ความตายโดยไม่ปรากฏสาเหตุการถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงไม่ได้เกิดใน
ระหว่างการเจรจาหรือสืบเนื่องมาจากการเจรจาเรื่องค่าเสียหาย
ทั้งไม่ใช่เหตุที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นได้จากการเดินทาง
จึงมิใช่ผลโดยตรงจากการทำงาน หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง
หรือตามคำสั่งของนายจ้าง การที่ น. และ พ.
ถึงแก่ความตายจึงถือไม่ได้ว่าเนื่องจากการทำงาน
หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่บริษัท พ. ซึ่งเป็นนายจ้าง น. จึงไม่ได้ประสบอันตรายตามความในมาตรา
5 แห่ง พระราชบัญญัติกองทุนเงินทดแทน พ.ศ. 2537
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6281/2550
ตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1164
กรรมการจะมอบอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใดของตนให้แก่ผู้จัดการ
หรือให้แก่อนุกรรมการซึ่งตั้งขึ้นจากผู้ที่เป็นกรรมการด้วยกันก็ได้ โดยผู้รับมอบอำนาจต้องทำตามคำสั่งหรือข้อบังคับซึ่งกรรมการทั้งหลายได้กำหนดให้เป็นการแบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติงานที่อยู่ในอำนาจของกรรมการให้แก่ผู้จัดการหรืออนุกรรมการไปจัดการแทนในฐานะผู้แทนนิติบุคคลเป็นการภายในอย่างหนึ่งเท่านั้น
ส่วนการที่นิติบุคคลจะฟ้องคดีย่อมเป็นอำนาจของนิติบุคคลนั้นเองที่จะกระทำโดยกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนนิติบุคคล
หากไม่ทำการฟ้องคดีเอง ก็ย่อมมีอำนาจตั้งตัวแทนให้จัดการฟ้องคดีแทนนิติบุคคลได้
ในกรณีเช่นนี้ความเกี่ยวพันระหว่างนิติบุคคล
กรรมการและผู้ได้รับการแต่งตั้งดังกล่าว ต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยลักษณะตัวแทน
ซึ่งไม่มีบทบัญญัติใดบังคับให้นิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด
จะต้องแต่งตั้งตัวแทนจากบุคคลที่เป็นผู้จัดการหรืออนุกรรมการของบริษัทเท่านั้น
ตัวการจึงมีอำนาจที่จะแต่งตั้งบุคคลใดก็ได้ให้เป็นตัวแทนดำเนินการฟ้องคดีแทนตน
จำเลยทำสัญญากู้และสัญญาจำนำกับธนาคารโจทก์เนื่องมาจากจำเลยบริหารงานในบริษัท
ส.
ผิดพลาดและขาดทุนจนต้องขอร้องให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวเข้ามาดำเนินการแก้ไข
โดยมีข้อตกลงให้จำเลยนำเงินส่วนตัวมาชำระหนี้ให้แก่บริษัทที่จำเลยบริหารงานผิดพลาด
ดังนี้
แม้จะมีการบีบบังคับหรือข่มขู่จากโจทก์ว่าจะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยหรือจะปิดบริษัท
หากจำเลยไม่ยอมทำสัญญากู้เงินและสัญญาจำนำกับโจทก์ก็เป็นเพียงการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยมตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคหนึ่ง
ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ตามกฎหมายที่จะทำให้สัญญากู้เงินและสัญญาจำนำระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นโมฆียะ
การที่จำเลยยินยอมให้ธนาคารโจทก์นำเงินที่จำเลยกู้ยืมจากโจทก์ไปชำระหนี้ของจำเลยให้แก่บริษัท
ส. เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยเอง
ซึ่งจำเลยก็ยอมรับโดยได้ผ่อนชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินให้แก่โจทก์หลังจากทำสัญญากู้เงินจึงต้องถือว่าจำเลยได้รับเงินที่กู้ยืมจากโจทก์
โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานการรับเงินของจำเลยมาแสดงอีกเพราะจำเลยให้การรับแล้วว่าโจทก์นำเงินกู้ดังกล่าวไปชำระหนี้ของจำเลยให้แก่บริษัท
ส. จำเลยไม่อาจกล่าวอ้างหรือนำสืบหรือฎีกาได้อีกว่า โจทก์ไม่ได้นำเงินที่จำเลยกู้ยืมไปชำระให้แก่บริษัทดังกล่าว
เพราะเป็นการแตกต่างไปจากข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้
ข้อกล่าวอ้างและฎีกาดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การที่ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีโดยถือว่าจำเลยได้รับเงินที่กู้ยืมไปจากโจทก์ตามที่จำเลยยอมรับ
โดยโจทก์ไม่จำต้องมีหลักฐานการรับเงินของจำเลยมาแสดงอีก
เป็นการวินิจฉัยคดีโดยมิได้นำเอกสารที่โจทก์ยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติมมารับฟังด้วย
แม้การยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของโจทก์จะเป็นการขัดต่อ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87 และ 88 หรือไม่ก็ไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีของศาลฎีกาดังกล่าวข้างต้นเปลี่ยนแปลงไป
ฎีกาข้อกฎหมายในเรื่องนี้ของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามมาตรา
249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5259/2549
ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีต้องพิเคราะห์จากคำฟ้องและคำให้การ
มิใช่จากข้อเท็จจริงและการนำสืบพยานหลักฐานในชั้นพิจารณา
แม้จำเลยทั้งสองจะได้ถามค้านพยานโจทก์ไว้ว่าลูกจ้างโจทก์เป็นผู้ทำหนังสือชื่อผลไม้พิพาทจนเป็นเหตุให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องด้วยเหตุผลว่าลูกจ้างโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์งาน
ลูกจ้างโจทก์จึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ให้การว่า
โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างให้ลูกจ้างสร้างสรรค์งาน
ลิขสิทธิ์จึงเป็นของลูกจ้าง โดยจำเลยที่ 2
ให้การเพียงว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากโจทก์เป็นนิติบุคคลโดยสถานภาพของโจทก์ไม่สามารถมีความคิดริเริ่มได้
โจทก์จึงไม่อาจสร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ได้ ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า
โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์เป็นนิติบุคคลไม่สามารถสร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์ด้วยตนเองได้หรือไม่
ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะลูกจ้างโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์งาน
ลูกจ้างโจทก์จึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท
และมิใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์เป็นนิติบุคคล
แต่โจทก์ก็มีผู้แทนนิติบุคคลเป็นผู้ทำการแทนนิติบุคคล ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 70 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า
ความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคลและมาตรา 67 บัญญัติว่านิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา
เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น
ประกอบกับ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 8 วรรคสอง ก็บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย
ถ้าผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล
นิติบุคคลนั้นต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจึงเป็นผู้สร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์ได้
โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์ได้
โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์ได้
โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์งานด้วยตนเองตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2537 มาตรา 18 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นผู้ทำหรือก่อให้เกิดหนังสือชื่อผลไม้ชุดที่ 1
ด้วยตนเอง
โดยใช้ความรู้ความสามารถในฐานะสำนักพิมพ์สร้างสรรค์งานด้วยการทุ่มเทความรู้
วิจารณญาณ ฝีมือ แรงงาน
โดยขั้นตอนถ่ายรูปผลไม้ต้องคัดสรรผลไม้ที่มีผลสมบูรณ์จากจังหวัดระยองและจันทบุรีมาทำความสะอาด
จัดวางตำแหน่งผลไม้จากนั้นมีทีมงานช่างถ่ายภาพรูปลงในฟิล์มใหญ่แล้วนำภาพไปสแกนโดยระบบคอมพิวเตอร์เสร็จแล้วมีข้อมูลอธิบายเกี่ยวกับผลไม้ประกอบรูปผลไม้
จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะในการจัดทำหนังสือผลไม้ชุดที่ 1 แล้วภาพถ่ายรูปผลไม้จึงเป็นงานศิลปกรรมประเภทงานภาพถ่าย
ส่วนข้อมูลอธิบายผลไม้เป็นงานวรรณกรรมประเภทสร้างสรรค์อันมีลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 6 โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดหาหรือออกแบบรูปผลไม้โดยจำเลยที่ 1
ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเข้าไปสั่งการให้จำเลยที่ 2
ทำซ้ำหรือดัดแปลงรูปภาพผลไม้จากหนังสือของโจทก์ จำเลยที่ 1
จึงมิได้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์
ภาพผลไม้ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคม
2545 ของปฏิทินที่จำเลยที่ 2
ทำขึ้นเป็นการทำซ้ำและดัดแปลงมาจากหนังสือผลไม้ชุดที่ 1
จึงละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพถ่ายของโจทก์
ส่วนข้อมูลอธิบายผลไม้อันเป็นงานวรรณกรรมของโจทก์เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลในปฏิทินกับในหนังสือแล้วแตกต่างกัน
จำเลยที่ 2 จึงมิได้ละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์
โจทก์จัดทำหนังสือชื่อผลไม้ชุดที่
1 แล้วยังพิมพ์งานปฏิทินชุดผลไม้ให้แก่ลูกค้าต่างประเทศ การที่จำเลยที่ 2 นำไปดัดแปลงย่อมทำให้โจทก์ขาดรายได้ การที่จำเลยที่ 2
แจกจ่ายให้ลูกค้าแม้จะมิได้ขายก็ก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่โจทก์และมิใช่เป็นการใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือบุคคลในครอบครัวกับไม่เข้าข้อยกเว้นกรณีอื่นตาม
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 32
วรรคสอง
ทั้งยังขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา
32 วรรคแรก การกระทำของจำเลยที่ 2
จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ตามมาตรา 27 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5527/2548
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมในฟ้องข้อ
ข. ว่า "หลังจากจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกระทำผิดดังกล่าวตามฟ้องข้อ ก. แล้ว
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2
ได้บังอาจนำเอกสารราชการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันทำปลอมขึ้นดังกล่าว
อ้างแสดงต่อองค์การบริหารส่วนตำบลกกโก เพื่อหลอกลวง..." คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวบรรยายถึงข้อเท็จจริงที่จำเลยที่
1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลโดยจำเลยที่ 2
ในฐานะผู้แทนนิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม
โจทก์มิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2
ในฐานะส่วนตัวเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมด้วย
การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2ในความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม
จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7391/2547
การเป็นนิติบุคคลประเภทหุ้นส่วนบริษัทและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคลนั้น
นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้จดทะเบียนส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือว่าเป็นอันรู้แก่บุคคลทั่วไปตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1021 และ 1022 จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัดหรือไม่
และ บ. มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือไม่ จำเลยไม่ทราบ ไม่รับรอง
และหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องมิได้ระบุให้ จ.
มีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลในคดีนี้เท่านั้น เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง
ไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องนำพยานมาสืบ
ทั้งยังฝ่าฝืนข้อสันนิษฐานเด็ดขาดตามกฎหมายอีกด้วย เมื่อหนังสือมอบอำนาจระบุว่า จ.
มีอำนาจยื่นฟ้องและดำเนินคดีใด ๆ ซึ่งสาขามีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้องอยู่
และจำเลยมีหนี้สินค้างชำระอยู่แก่โจทก์ จ.
ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยแทนโจทก์โดยโจทก์หาจำต้องระบุชื่อผู้ที่จะถูกฟ้องและศาลที่จะยื่นฟ้องในหนังสือมอบอำนาจด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2547
การที่บุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ได้นั้น
จะต้องมีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนว่าเป็นกรณีจำเป็นต้องร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ด้วย
การที่ผู้ร้องเห็นว่าผู้ร้องซึ่งได้รับมอบอำนาจจากผู้แทนนิติบุคคลมีสิทธิที่จะว่าความอย่างทนายความได้ในคดีก่อนตามบทบัญญัติของ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคหนึ่ง และ
พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
แต่ศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีนั้นไม่อนุญาตให้ผู้ร้องว่าความอย่างทนายความ
ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องดำเนินการต่อไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ
ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตเป็นอีกคดีหนึ่งเช่นนี้หาได้ไม่
เพราะกรณีของผู้ร้องไม่มีกฎหมายสารบัญญัติบทใดสนับสนุนให้ผู้ร้องมาใช้สิทธิทางศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3883/2546
ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสอง
พระเทพปัญญามุนีไม่ใช่ผู้แทนของวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพระลูกวัดและมีพรรษาอาวุโสสูงสุดของวัดจำเลยที่ 1 จึงต้องทำหน้าที่รักษาการแทนเจ้าอาวาสคำฟ้องโจทก์ที่ระบุว่าฟ้องจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 รักษาการแทนเจ้าอาวาส
จึงเป็นคำฟ้องที่ถูกต้อง
ทั้งการฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลยโดยมิได้ระบุชื่อผู้แทนของนิติบุคคลมาด้วยหรือระบุชื่อผู้แทนนิติบุคคลผิดตัว
ก็ไม่ทำให้กลายเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ใช่เป็นการฟ้องจำเลยผิดตัว
ขณะที่วัดจำเลยที่ 1 บุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อสร้างกุฏิ ศาลาและสิ่งปลูกสร้าง
ในเขตอุทยานแห่งชาติ อันไม่ใช่เขตพื้นที่ของวัดจำเลยที่ 1
ตามที่ได้รับอนุญาต จำเลยที่ 2
เป็นผู้ดูแลรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดจำเลยที่ 1
ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้แทนของวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2
ย่อมมีส่วนให้ความเห็นชอบหรือเป็นผู้กระทำการดังกล่าว
เมื่อเป็นการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์หรืออำนาจหน้าที่ของวัดจำเลยที่ 1 และก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐจำเลยที่ 2
จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1
รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่กรมป่าไม้โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6064/2545
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด
ความประสงค์หรือเจตนาแสดงออกโดยผู้แทนนิติบุคคล คือจำเลยที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการของจำเลยที่ 1
ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1
ออกเช็คทั้งสองฉบับเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้า
ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1 จึงเห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 2
กระทำทั้งฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 เป็นการร่วมกันกระทำผิด จำเลยที่ 2
ไม่อาจอ้างได้ว่าไม่มีเจตนาออกเช็คพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2545
จำเลยปลอมลายมือชื่อของ
ช. กรรมการผู้จัดการบริษัท น. ในคำขอจดทะเบียนบริษัท แล้วนำคำขอนั้นไปยื่นต่อนายทะเบียนเพื่อให้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทดังกล่าว
โดยถอนชื่อผู้ร้องซึ่งเป็นกรรมการบริษัท น. ออกจากตำแหน่ง
อันทำให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อสถานะและความเป็นผู้แทนนิติบุคคลของผู้ร้อง
ผู้ร้องจึงเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยเฉพาะในความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 268 และเป็นผู้เสียหายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)
มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6837/2544
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2
กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนได้นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้เป็นหลักฐานในการเครดิตภาษีจำเลยที่
1 จึงต้องมีความผิดตามฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 2
ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนและเป็นผู้ใช้ใบกำกับภาษีปลอมในนามของจำเลยที่
1 จึงเป็นตัวการร่วมกระทำผิดอันจะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 83 อยู่แล้ว กรณีไม่จำต้องอาศัยความในมาตรา 90/5 แห่งประมวลรัษฎากร
ซึ่งเป็นบทสันนิษฐานให้กรรมการหรือผู้แทนนิติบุคคลต้องรับโทษฐานนั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4207/2543
แม้ความประสงค์ของจำเลยที่
1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลจะแสดงออกโดยผู้แทนนิติบุคคลก็ตาม
แต่กรณีที่นิติบุคคลมีผู้แทนหลายคน
การดำเนินกิจการของนิติบุคคลกฎหมายกำหนดให้เป็นไปตามเสียงข้างมากตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71
และปรากฏตามหนังสือรับรองว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นกรรมการซึ่งมีอำนาจจัดการบริษัทโดยการกระทำให้มีผลผูกพันบริษัท
ต้องมีกรรมการสองในห้าคนนี้ลงชื่อร่วมกันและประทับตราบริษัท
และในบรรดากรรมการดังกล่าวมีเพียงจำเลยที่ 4
ที่รู้ข้อเท็จจริงว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของโจทก์ แต่จำเลยที่ 4 กลับปกปิดไว้โดยอ้างว่าเครื่องหมายการค้านี้เป็นของตนมาแต่แรก จึงมีเหตุให้น่าเชื่อว่าจำเลยที่
2 ที่ 3 ที่ 5
และที่ 6 ซึ่งต่อมาได้เป็นกรรมการบริษัทร่วมกับจำเลยที่ 4 ไม่รู้ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นของโจทก์ ดังนี้ การที่จำเลยที่ 4 กรรมการคนหนึ่งของจำเลยที่ 1
ซึ่งโดยลำพังไม่มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1
ได้ทราบว่าเครื่องหมายการค้าเป็นของโจทก์ ก็ยังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ทราบข้อเท็จจริงนั้น การกระทำของจำเลยที่ 1
รวมทั้งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ดังกล่าว
ย่อมถือได้ว่าขาดเจตนาอันจะเป็นมูลความผิดทางอาญาฐานร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าและจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6558/2541
ในกรณีความผิดอาญาซึ่งกระทำต่อนิติบุคคลนั้น
ผู้จัดการ หรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลมีอำนาจร้องทุกข์แทนนิติบุคคลได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3 และมาตรา 5 แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติการมอบอำนาจให้ผู้แทนนิติบุคคลไว้เป็นการเฉพาะ
จึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้เท่าที่ พอจะใช้บังคับได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสาม
บัญญัติเกี่ยวกับใบมอบอำนาจที่ได้ทำใน ต่างประเทศ
ซึ่งถ้าเป็นต่างประเทศที่มีกงสุลสยาม ต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน
แต่ถ้าได้ทำในเมืองต่างประเทศ ที่ไม่มีกงสุลสยาม
ต้องให้เจ้าพนักงานโนตารีปับลิกหรือแมยิสเตร็ดหรือบุคคลอื่น
ซึ่งกฎหมายแห่งท้องถิ่นตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจเป็นพยานในเอกสารเช่นว่านี้และต้องมีใบสำคัญ
ของรัฐบาล ต่างประเทศแสดงว่าบุคคลที่เป็นพยานนั้นเป็น ผู้มีอำนาจกระทำการได้
โดยไม่ปรากฏว่าผู้รับมอบอำนาจจะต้อง ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจแต่อย่างใดไม่
ดังนั้น เมื่อหนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ลงนาม
โดยมีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล และมีพยานตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ลงลายมือชื่อไว้
หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายผู้รับมอบอำนาจจากนิติบุคคลผู้เสียหาย
ย่อมมีอำนาจมอบอำนาจ ช่วงให้แจ้งความร้องทุกข์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2541
การเป็นนิติบุคคลและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคลนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1021 และ 1022หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ระบุว่าจำเลยที่
1เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2
เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงเป็นเอกสารมหาชน
ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 127
อันนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่คดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เมื่อจำเลยที่ 2 อ้างว่ามิได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2
ที่ถูกเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบถึงความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารเมื่อพยานหลักฐานที่จำเลยที่
2 นำสืบไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว
ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่
1 โดยชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1
เด็ดขาดแล้วโจทก์ย่อมขอให้จำเลยที่ 2
ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1
และเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้สินของจำเลยที่ 1
เป็นหนี้สินของจำเลยที่ 2หรือไม่
และไม่ต้องคำนึงด้วยว่ากรณีของจำเลยที่ 2
ต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(9) ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ 2
มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เพราะเมื่อจำเลยที่ 1
ผิดนัดชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมต้องรับผิดในหนี้สินดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1070 และ 1077
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2540
แม้ว่าจำเลยทั้งสามจะทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของ
ธ.และ ม. ลูกหนี้โจทก์เนื่องจากโจทก์ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ต้องการเข้าโครงการ4 เมษายน เพื่อรับสิทธิรับสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารแห่งประเทศไทย
มิได้มีเจตนาผูกพันตามที่แสดงออกมาก็ตาม ก็ปรากฏว่าขณะทำสัญญาค้ำประกันจำเลยทั้งสามเป็นผู้แทนโจทก์
โดยจำเลยที่ 1 เป็นประธานกรรมการจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการและจำเลยที่ 3
เป็นกรรมการซึ่งถือว่าประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนนิติบุคคล
จึงถือว่าความรู้ของจำเลยทั้งสามเป็นความรู้ของโจทก์ไม่ได้ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 74 ส่วนจำเลยที่ 2ก็ไม่ปรากฏว่ามีกรรมการคนอื่นของโจทก์รู้เห็นด้วยเมื่อธ.และม.เป็นหนี้โจทก์จริง
และจำเลยทั้งสามได้ทำสัญญาค้ำประกันบุคคลทั้งสองไว้ต่อโจทก์เช่นนี้สัญญาค้ำประกันก็ไม่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 154
จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4049/2540
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1151
จะกำหนดให้เฉพาะที่ประชุมใหญ่เท่านั้นที่จะตั้งหรือถอนกรรมการบริษัทได้ก็ตาม
แต่ก็มิได้ตัดอำนาจของศาลที่จะถอนผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราวที่ศาลตั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา
73
ถึงแม้ว่าจะไม่มีบทบัญญัติโดยตรงให้ศาลถอนผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราวก็ตาม
แต่ศาลก็มีอำนาจที่จะสั่งถอนผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราวที่ศาลตั้งได้หากมีเหตุอันสมควร
ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าหากกฎหมายประสงค์จะให้ศาลมีอำนาจถอนผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราวที่ศาลตั้งขึ้นก็ย่อมจะบัญญัติไว้แต่ไม่ปรากฏว่าได้บัญญัติเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใดนั้น
จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7030/2539
แม้ใบแต่งทนายความของจำเลยจะลงชื่อ
ส.หุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยเพียงคนเดียว ไม่เป็นไปตามข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการที่ระบุให้
ส.ลงลายมือชื่อร่วมกับ ค.
และประทับตราห้างจำเลยตามหนังสือรับรองนิติบุคคลซึ่งทำให้อำนาจของผู้แทนนิติบุคคลในการดำเนินคดีของจำเลยบกพร่องก็ตาม
แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้ใช้อำนาจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 66
ให้ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องโดยการร้องขอต่อศาลตั้งผู้แทนชั่วคราวตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 73
และให้จัดทำใบแต่งทนายความขึ้นมาใหม่
ซึ่งเป็นอำนาจที่ศาลอุทธรณ์กระทำได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจให้แก้ไขข้อบกพร่องนี้ได้เมื่อพบเห็นเอง
ส่วนการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง
ส.เป็นผู้แทนชั่วคราวของจำเลยตามที่จำเลยยื่นคำร้องขอมา โดย
ค.ยังเป็นหุ้นส่วนของจำเลยผู้มีอำนาจลงชื่อร่วมกับ ส.ในการทำนิติกรรมต่าง ๆ
ของห้างอยู่ แต่ปรากฏว่า ค.แสดงตนเป็นปฏิปักษ์กับจำเลย ไม่ยอมลงชื่อในใบแต่งทนายความร่วมกับ
ส.ตามข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ
พฤติการณ์เช่นนี้ย่อมเกิดความเสียหายแก่จำเลยได้ และไม่มีทางใดที่จะบังคับ ค.ได้
เพื่อรักษาผลประโยชน์ของจำเลย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง
ส.เป็นผู้แทนชั่วคราวของจำเลยและจำเลยได้เสนอใบแต่งทนายความฉบับใหม่ตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์แล้วย่อมทำให้อำนาจฟ้องที่บกพร่องนั้นเป็นอำนาจฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมายมาตั้งแต่เริ่มแรก
จำเลยจึงมีอำนาจให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6615/2538
แม้คำร้องของผู้ร้องจะใช้คำว่าผู้แทนเฉพาะคดีต่างจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 73
ที่ใช้คำว่าผู้แทนชั่วคราวก็ตามแต่ก็พึงเห็นได้ว่าผู้ร้องประสงค์จะให้ศาลตั้งผู้ร้องให้มีอำนาจเข้าไปแก้ไขอุปสรรค์ข้อบกพร่องของจำเลยในการที่จะยื่นคำให้การต่อสู้คดีกับโจทก์เพียงแต่ผู้ร้องใช้ถ้อยคำในคำร้องผิดจากถ้อยคำในกฎหมายเท่านั้นชอบที่ศาลจะปรับบทกฎหมายให้เข้ากับข้อเท็จจริงตามคำร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2956/2538
กองทัพบกเป็นนิติบุคคลมีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้แทนและเป็นผู้แสดงเจตนาอันเป็นความประสงค์ของนิติบุคคลแม้จะมีการรายงานถึงเหตุการณ์และความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่อายุความจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้บัญชาการทหารบกหรือผู้ทำการแทนทราบว่าจะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากบุคคลใด