มาตรา ๓๗ ภูมิลำเนาของบุคคลธรรมดา
ได้แก่ถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
7608/2550
ตาม
พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 มาตรา 4, 33
บัญญัติให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายออกของผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านซึ่งไปอยู่ที่อื่นเกิน
180 วัน และเจ้าบ้านไม่ทราบว่าผู้นั้นไปอยู่ที่ใด
ต่อมานายทะเบียนโดยระบุว่าไม่ทราบที่อยู่
ให้นายทะเบียนผู้รับแจ้งเพิ่มชื่อและรายการผู้นั้นในทะเบียนบ้านกลางซึ่งนายทะเบียนบ้านกลางกำหนดให้จัดทำขึ้นสำหรับลงรายการบุคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้าน
ไม่ปรากฏว่าก่อนหน้าที่จำเลยมีชื่อในทะเบียนบ้านกลางจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด
พนักงานเดินหมายส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายที่บ้านเลขที่ทะเบียนบ้านกลาง
317 ซึ่งเป็นสำนักงานเขตดุสิต ไม่ใช่ถิ่นที่อยู่อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตาม
ป.พ.พ. มาตรา 37 จึงไม่ใช่การปิดคำคู่ความ ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย
เป็นการส่งที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคหนึ่ง
ทำให้กระบวนพิจารณาของศาลนับแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ปัญหาเรื่องการส่งหมายและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยไม่ชอบเป็นกรณีมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม
ชอบที่จะเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2983/2550
ภูมิลำเนาของผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย
ได้แก่ เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว
การที่จำเลยต้องคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและต้องอยู่ที่เรือนจำพิเศษมีนบุรีนั้น
เมื่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นยังไม่ถึงที่สุดเพราะโจทก์อุทธรณ์
เรือนจำพิเศษมีนบุรีจึงหาใช่ภูมิลำเนาของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 47 ไม่
ทั้งการที่จำเลยต้องอยู่ที่เรือนจำพิเศษมีนบุรีก็มิใช่เป็นการย้ายถิ่นที่อยู่ของจำเลยด้วยเจตนาปรากฏชัดแจ้งว่าจะเปลี่ยนภูมิลำเนาตาม
ป.พ.พ. มาตรา 41 ด้วย
และกรณีของจำเลยก็ไม่ต้องด้วยการที่บุคคลใดเลือกเอาถิ่นใดโดยมีเจตนาปรากฏชัดแจ้งว่าจะให้เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการเพื่อทำการใดอันจะถือว่าเรือนจำพิเศษมีนบุรีเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการสำหรับการนั้นตาม
ป.พ.พ. มาตรา 42 อีกเช่นกัน ดังนั้น
การที่ศาลชั้นต้นส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้จำเลยตามภูมิลำเนาของจำเลยที่ปรากฏในทะเบียนราษฎร์นั้น
จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้แก่จำเลยอันมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญตาม
ป.พ.พ. มาตรา 37 การส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้แก่จำเลยดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2516/2549
แม้จำเลยที่ 1
จะออกจากบ้านตามภูมิลำเนาโดยไม่มีผู้ใดทราบข่าวคราวก็ตาม แต่ขณะที่เจ้าพนักงานศาลนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้แก่จำเลยที่
1 โดยการปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องนั้น
ศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1
เป็นผู้ไม่อยู่และตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ หรือมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1
เป็นคนสาบสูญแต่อย่างใด ทั้งจำเลยที่ 1 ได้อาศัยอยู่กับจำเลยที่ 2
และยังมีชื่อปรากฏอยู่ในทะเบียนบ้านตามที่อยู่ในคำฟ้อง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1
เป็นผู้ไม่มีที่อยู่ปกติเป็นหลักแหล่ง ดังนั้น
ที่อยู่ตามคำฟ้องจึงเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.
มาตรา 37
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 โดยการปิดหมาย ณ
ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
3585/2548
ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่
3 แต่ละครั้งนั้นจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี
เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ดำเนินการขายทอดตลาดต้องแจ้งประกาศการขายให้จำเลยที่
3 ทราบ เพื่อจำเลยที่ 3 จะได้มีโอกาสมาดูแลการขายรักษาผลประโยชน์ของตน
ปรากฏว่ามีการประกาศขายทรัพย์ของจำเลยที่ 3 รวม 9 ครั้ง
ทุกครั้งส่งประกาศให้จำเลยที่ 3 ที่บ้านเลขที่ 17/2 ตำบลปากเพรียว
อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยที่
3 หลังจากที่บ้านเลขที่ 17/2 ดังกล่าวถูกขายทอดตลาดไปแล้วจำเลยที่ 3 ย้ายที่อยู่
แม้จำเลยที่ 3
มีหน้าที่ต้องแจ้งการย้ายที่อยู่และที่อยู่ใหม่ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบตาม
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 67 (3) หากฝ่าฝืนมีโทษทางอาญาก็ตาม
ก็ไม่ได้หมายความว่าการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวจะทำให้จำเลยที่ 3
ยังคงมีภูมิลำเนาตามเดิมตลอดไป ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 3 ต้องเป็นไปตามหลักใน ป.พ.พ.
ว่าด้วยภูมิลำเนา เมื่อการส่งประกาศการขายทอดตลาดทรัพย์กระทำเมื่อจำเลยที่ 3
ย้ายถิ่นที่อยู่ไปแล้ว และจำเลยที่ 3 ไม่ได้เป็นคนรับประกาศ และไม่ปรากฏว่าหลังจากการย้ายทะเบียนบ้านแล้วจำเลยที่
3 ยึดถือบ้านเลขที่ 17/2 ดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการในเรื่องใด
ดังนั้นขณะที่ปิดประกาศขายทอดตลาดทรัพย์เพื่อให้จำเลยที่ 3 ทราบ ณ บ้านเลขที่ 17/2
นั้น จำเลยที่ 3 ไม่มีภูมิลำเนา ณ บ้านดังกล่าวแล้ว
จึงเป็นการปิดประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ ณ สถานที่ซึ่งมิใช่ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 3
ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 79 ประกอบกับ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 153 (เดิม)
มาตรา ๓๘
ถ้าบุคคลธรรมดามีถิ่นที่อยู่หลายแห่งซึ่งอยู่สับเปลี่ยนกันไปหรือมีหลักแหล่งที่ทำการงานเป็นปกติหลายแห่ง
ให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2680/2551
จำเลยอยู่กับครอบครัวที่บ้านเลขที่
44/16 ส่วนบ้านเลขที่ 62/2 เป็นที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์เขต 10
ท้องที่อำเภอปากพนัง ซึ่งจำเลยได้แจ้งย้ายเข้าไปอยู่เพื่อสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ปี
2529 จนบัดนี้ยังไม่แจ้งย้ายไปอยู่แห่งใหม่ โดยจำเลยอยู่ที่บ้านเลขที่ 62/2
ในวันเสาร์ อาทิตย์ และจันทร์
ที่ทำการพรรคดังกล่าวเป็นที่ทำการของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคฯ
มีเจ้าหน้าที่หมุนเวียนประจำอยู่ จำเลยได้แจ้งที่อยู่ดังกล่าวให้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นที่อยู่ที่สะดวกแก่การติดต่อ
ดังนี้ บ้านเลขที่ 62/2
จึงเป็นทั้งภูมิลำเนาและเป็นหลักแหล่งที่ทำการตามปกติของจำเลย
ถือได้ว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หลายแห่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 38
การที่โจทก์มีหนังสือให้จำเลยส่งตัวผู้ต้องหาแก่โจทก์ โดยส่งไปยังบ้านเลขที่ 62/2
จึงเป็นการส่งตามภูมิลำเนาของจำเลยแล้ว เมื่อมีผู้รับหนังสือแทนโดยชอบ
จำเลยไม่ส่งผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัด จำเลยจึงผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
661/2550
พระภิกษุ พ.
มีถิ่นที่อยู่ 2 แห่ง คือที่วัดหัวป่าและวัดผู้คัดค้าน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 38
ให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น
จึงต้องถือว่าวัดหัวป่าเป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุเพิ่มแห่งหนึ่งด้วย
ผู้ร้องในฐานะเป็นพนักงานอัยการย่อมมีสิทธิร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลชั้นต้น
ซึ่งเป็นศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตายตาม ป.วิ.พ.
มาตรา 4 จัตวา วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2734/2549
ผู้ร้องเบิกความเป็นพยานในสำนวนร้องขัดทรัพย์สำนวนแรกว่า
มีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 18 หมู่ที่ 5 ตำบลไสหร้า สำนวนที่สองว่า มีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 5 ตำบลไสหร้า และจากแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร์ว่าผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่
100 หมู่ที่ 5 ตำบลไสหร้า
จึงฟังได้ว่าผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ดังกล่าวทั้งสองแห่ง
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศขายทอดตลาดให้ผู้ร้องทราบ ณ บ้านเลขที่ 100
หมู่ที่ 5 ตำบลไสหร้า
ถือว่าได้แจ้งประกาศขายทอดตลาดให้ผู้ร้องทราบแล้ว
มาตรา ๓๙ ถ้าภูมิลำเนาไม่ปรากฏ
ให้ถือว่าถิ่นที่อยู่เป็นภูมิลำเนา
มาตรา ๔๐
บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้ไม่มีที่อยู่ปกติเป็นหลักแหล่ง
หรือเป็นผู้ครองชีพในการเดินทางไปมาปราศจากหลักแหล่งที่ทำการงาน
พบตัวในถิ่นไหนให้ถือว่าถิ่นนั้นเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
6068/2538
ทนายโจทก์ได้ย้ายไปจากภูมิลำเนาเดิมแล้วก่อนวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ดังนั้นการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่ทนายโจทก์ตามภูมิลำเนาเดิมของทนายโจทก์โดยวิธีปิดหมาย
จึงเป็นการไม่ชอบย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยชอบ
ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะมีคำสั่งให้นัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังใหม่ได้
มาตรา ๔๑ ภูมิลำเนาย่อมเปลี่ยนไปด้วยการย้ายถิ่นที่อยู่
พร้อมด้วยเจตนาปรากฏชัดแจ้งว่าจะเปลี่ยนภูมิลำเนา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
4655/2553
จำเลยที่ 1
ย้ายภูมิลำเนาไปที่อื่นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2539
ก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ปิดหมาย
นอกจากนี้ยังปรากฏว่าคดีหลักของคดีนี้ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งมีการอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่
22 พฤศจิกายน 2538 กรณีจึงไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 1
จะต้องดำเนินการแจ้งย้ายภูมิลำเนาในคดีหลักให้ศาลทราบอีกต่อไป
และไม่อาจถือได้ว่าภูมิลำเนาในคดีหลักยังเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการในการดำเนินคดีนี้ของจำเลยที่
1
เพราะภูมิลำเนาของบุคคลย่อมเปลี่ยนไปด้วยการย้ายถิ่นที่อยู่พร้อมด้วยเจตนาชัดแจ้งว่าจะเปลี่ยนภูมิลำเนาตาม
ป.พ.พ. มาตรา 41
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2983/2550
ภูมิลำเนาของผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย
ได้แก่ เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว
การที่จำเลยต้องคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและต้องอยู่ที่เรือนจำพิเศษมีนบุรีนั้น
เมื่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นยังไม่ถึงที่สุดเพราะโจทก์อุทธรณ์
เรือนจำพิเศษมีนบุรีจึงหาใช่ภูมิลำเนาของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 47 ไม่
ทั้งการที่จำเลยต้องอยู่ที่เรือนจำพิเศษมีนบุรีก็มิใช่เป็นการย้ายถิ่นที่อยู่ของจำเลยด้วยเจตนาปรากฏชัดแจ้งว่าจะเปลี่ยนภูมิลำเนาตาม
ป.พ.พ. มาตรา 41 ด้วย
และกรณีของจำเลยก็ไม่ต้องด้วยการที่บุคคลใดเลือกเอาถิ่นใดโดยมีเจตนาปรากฏชัดแจ้งว่าจะให้เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการเพื่อทำการใดอันจะถือว่าเรือนจำพิเศษมีนบุรีเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการสำหรับการนั้นตาม
ป.พ.พ. มาตรา 42 อีกเช่นกัน ดังนั้น
การที่ศาลชั้นต้นส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้จำเลยตามภูมิลำเนาของจำเลยที่ปรากฏในทะเบียนราษฎร์นั้น
จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้แก่จำเลยอันมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญตาม
ป.พ.พ. มาตรา 37 การส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้แก่จำเลยดังกล่าวจึงชอบแล้ว
มาตรา ๔๒ ถ้าบุคคลใดได้เลือกเอาถิ่นใด
โดยมีเจตนาปรากฏชัดแจ้งว่าจะให้เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการเพื่อทำการใด
ให้ถือว่าถิ่นนั้นเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการสำหรับการนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
5845/2558
คำร้องขอของผู้ร้องระบุแต่แรกว่า
ผู้ร้องอยู่บ้านเลขที่ 46/10 ถนนสุขุมวิท 105 ซอยลาซาล 14 (วงค์สวัสดิ์ 1)
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว
ทายาทหลายคนส่งจดหมายไปที่บ้านดังกล่าว
ทั้งคดียักยอกทรัพย์มรดกที่ผู้ร้องเป็นโจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดก ผู้ร้องยืนยันที่อยู่บ้านเลขที่
46/10 ประกอบกับผู้คัดค้านเบิกความตอบทนายผู้ร้องถามค้านรับว่า
ผู้คัดค้านทราบว่าผู้ร้องอยู่ที่บ้านดังกล่าว พฤติการณ์ดังกล่าว
แสดงว่าผู้ร้องเลือกเอาบ้านเลขที่ 46/10
เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการสำหรับการดำเนินคดีของผู้ร้อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 42 ดังนั้น
การที่พนักงานเดินหมายปิดหมายนัดและสำเนาคำร้องขอของผู้คัดค้านเพื่อแจ้งกำหนดวันนัดไต่สวนตามทะเบียนราษฎร์ที่มีชื่อผู้ร้อง
โดยผู้คัดค้านไม่ได้ส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องของผู้คัดค้านไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการของผู้ร้อง
การปิดหมายนัดและสำเนาคำร้องไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 74 (2), 77 และมาตรา 79 ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องทราบนัดไต่สวนแล้ว
เมื่อกรณีมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการส่งคำคู่ความ
และทำให้กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงชอบที่จะสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมด
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
และเมื่อวินิจฉัยให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่การส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอของผู้คัดค้านแล้ว
กรณีต้องย้อนไปดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวใหม่ให้ถูกต้องตามที่กฎหมายบังคับ
มาตรา ๔๓ ภูมิลำเนาของสามีและภริยา
ได้แก่ถิ่นที่อยู่ที่สามีและภริยาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
เว้นแต่สามีหรือภริยาได้แสดงเจตนาให้ปรากฏว่ามีภูมิลำเนาแยกต่างหากจากกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
5698/2541
จำเลยทั้งสองได้ย้ายไปจากบ้านเลขที่
252 ไปมีภูมิลำเนา อยู่ที่อื่นแล้ว บ้านเลขที่ดังกล่าวจึงมิใช่ภูมิลำเนาของ
จำเลยทั้งสอง โดยมิพักต้องคำนึงว่าจำเลยทั้งสองย้ายไป อยู่ที่อื่นด้วยเหตุผลใด
และการที่ยังมีชื่อของจำเลยทั้งสอง
ในทะเบียนบ้านดังกล่าวด้วยเหตุผลเพียงไม่ได้แจ้งย้ายชื่อ
ออกไปเพียงอย่างเดียวย่อมไม่ทำให้บ้านหลังดังกล่าวยังคง เป็นภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสอง
เหตุนี้การส่งหมายเรียก
และสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานของโจทก์ให้แก่จำเลยทั้งสองที่บ้านเลขที่ 252
จึงเป็นการไม่ชอบ และย่อมไม่มีทางที่จำเลยทั้งสองจะทราบว่าตนได้ถูกโจทก์ฟ้อง
การที่จำเลยทั้งสองไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีและไม่ได้มาศาลในวันนัดสืบพยาน
จะถือว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือจงใจขาดนัดพิจารณาย่อมไม่ได้
เมื่อคดีไม่ปรากฏว่าก่อนที่จำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องขอให้พิจารณา
คดีใหม่นั้นได้มีการออกคำบังคับและส่งคำบังคับให้แก่
จำเลยทั้งสองให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา จึงยังไม่มีวันเริ่มต้น
และวันสิ้นสุดที่จะนับกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอ
ให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208
จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอ ให้พิจารณาใหม่ได้
คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองอ้างว่าจำเลยทั้งสองมีทางชนะคดีโจทก์
เพราะความจริงจำเลยทั้งสองเป็นผู้ซื้อที่ดินตามที่โจทก์ฟ้องแต่เพียงฝ่ายเดียว
โจทก์มิได้เกี่ยวข้อง จำเลยทั้งสองมิได้เป็นตัวแทนของโจทก์
โจทก์และจำเลยทั้งสองมิได้มี นิติสัมพันธ์ใด ๆ ต่อกัน และได้แสดงเหตุผลต่าง ๆ ว่า
ข้อเท็จจริงมิได้เป็นไปตามที่โจทก์ฟ้อง และปรากฏตามสำเนา
หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินท้ายฟ้องของโจทก์ว่ามีแต่เฉพาะ
จำเลยทั้งสองเพียงฝ่ายเดียวที่เป็นฝ่ายซื้อที่ดิน ตามที่โจทก์ฟ้อง
ไม่ปรากฏชื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อด้วยเลยถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงเหตุ
ที่จำเลยทั้งสองจะชนะคดีโจทก์หรืออีกนัยหนึ่งเท่ากับ จำเลยทั้งสองคัดค้านว่า
คำพิพากษาของศาลที่ให้โจทก์ ชนะคดีจำเลยทั้งสองโดยฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์
เป็นการไม่ถูกต้องนั้นเอง คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่
ของจำเลยทั้งสองจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208
มาตรา ๔๔ ภูมิลำเนาของผู้เยาว์
ได้แก่ภูมิลำเนาของผู้แทนโดยชอบธรรมซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครอง
ในกรณีที่ผู้เยาว์อยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา
ถ้าบิดาและมารดามีภูมิลำเนาแยกต่างหากจากกัน
ภูมิลำเนาของผู้เยาว์ได้แก่ภูมิลำเนาของบิดาหรือมารดาซึ่งตนอยู่ด้วย
มาตรา ๔๕ ภูมิลำเนาของคนไร้ความสามารถ
ได้แก่ภูมิลำเนาของผู้อนุบาล
มาตรา ๔๖
ภูมิลำเนาของข้าราชการ ได้แก่ถิ่นอันเป็นที่ทำการตามตำแหน่งหน้าที่
หากมิใช่เป็นตำแหน่งหน้าที่ชั่วคราวชั่วระยะเวลาหรือเป็นเพียงแต่งตั้งไปเฉพาะการครั้งเดียวคราวเดียว
มาตรา ๔๗
ภูมิลำเนาของผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย
ได้แก่เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่ จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2552
โจทก์รับราชการตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย
ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรง
สถานที่ทำการตามตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์คือ วิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรงวิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรงจึงเป็นภูมิลำเนาของโจทก์
ซึ่งเป็นข้าราชการตาม ป.พ.พ. มาตรา 46
ผู้อำนวยการกองการศึกษาอาชีพมีหนังสือถึงโจทก์ให้ชี้แจงข้อเท็จจริงพร้อมกับ
แนบหนังสือร้องขอความเป็นธรรมของจำเลยที่ 2
อันมีข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ไปให้โจทก์ทราบด้วย หนังสือดังกล่าวได้ส่งถึงวิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรงเมื่อวันที่
23 กุมภาพันธ์ 2542
โดยมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับหนังสือไว้แทนโจทก์
และได้ทำบันทึกนำเสนอโจทก์พร้อมลงวันที่กำกับในวันเดียวกัน
โจทก์ไม่นำสืบว่าวันนั้นโจทก์ยังไม่ได้รับหนังสือตามที่เจ้าหน้าที่เสนอ
และไม่นำสืบว่าเหตุใดจึงเพิ่งเกษียณส่งหนังสือในวันที่ 2
มีนาคม 2542
แม้โจทก์ลงลายมือชื่อรับทราบและสั่งการให้ดำเนินการชี้แจงข้อเท็จจริงในวัน ที่ 2 มีนาคม 2542
ก็เป็นวิธีการดำเนินการตามระบบราชการเท่านั้น
ถือได้ว่าโจทก์รับหนังสือดังกล่าวในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2542 และโจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดในวันเดียวกัน
คดีนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์และฟ้องคดีนี้ภายใน 3 เดือน คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7608/2550
ตาม
พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 มาตรา 4, 33
บัญญัติให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายออกของผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านซึ่งไปอยู่ที่อื่นเกิน
180 วัน และเจ้าบ้านไม่ทราบว่าผู้นั้นไปอยู่ที่ใด
ต่อมานายทะเบียนโดยระบุว่าไม่ทราบที่อยู่
ให้นายทะเบียนผู้รับแจ้งเพิ่มชื่อและรายการผู้นั้นในทะเบียนบ้านกลางซึ่งนายทะเบียนบ้านกลางกำหนดให้จัดทำขึ้นสำหรับลงรายการบุคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้าน
ไม่ปรากฏว่าก่อนหน้าที่จำเลยมีชื่อในทะเบียนบ้านกลางจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด
พนักงานเดินหมายส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายที่บ้านเลขที่ทะเบียนบ้านกลาง
317 ซึ่งเป็นสำนักงานเขตดุสิต
ไม่ใช่ถิ่นที่อยู่อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 37 จึงไม่ใช่การปิดคำคู่ความ ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย
เป็นการส่งที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคหนึ่ง
ทำให้กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางนับแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ปัญหาเรื่องการส่งหมายและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยไม่ชอบเป็นกรณีมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม
ชอบที่จะเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ
พ.ร.บงจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2550
การที่เจ้าหน้าที่ส่งหมายนำสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ไปส่งให้แก่จำเลย
ณ ภูมิลำเนาของจำเลยตรงตามฟ้อง แล้วเจ้าหน้าที่รายงานผลการส่งหมายว่า
ส่งไม่ได้เพราะไม่พบภูมิลำเนา ค้นหาบริเวณใกล้เคียง และสอบถามผู้พักอาศัยบริเวณดังกล่าว
ไม่มีผู้ใดพบบ้านเลขที่ซึ่งฟ้องระบุเป็นภูมิลำเนาจำเลย
แต่กลับปรากฏข้อเท็จจริงในสำนวนตามรายงานผลการส่งหมายให้แก่จำเลยในครั้งก่อนๆ ว่า
เจ้าหน้าที่เคยนำหมายนัดไต่สวนมูลฟ้องไปส่งให้แก่จำเลย 2 ครั้ง และส่งหมายเรียกคดีอาญาให้แก่จำเลยอีก 1
ครั้งได้โดยวิธีปิดหมายที่ภูมิลำเนาเดียวกันนี้
และในการไต่สวนมูลฟ้องจำเลยได้แต่งตั้งทนายความเข้ามาด้วย
แสดงว่าที่เจ้าหน้าที่ส่งหมายนำสำเนาอุทธรณ์ไปส่งให้แก่จำเลยในครั้งนี้แล้วรายงานว่าไม่พบภูมิลำเนา
อาจเป็นเพราะเสาะหาไม่ทั่วถึง จึงถือไม่ได้ว่าการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยไม่ได้เป็นเพราะหาตัวจำเลยไม่พบ
หรือจำเลยหลบหนีหรือจำเลยจงใจไม่รับสำเนาอุทธรณ์
อันศาลชั้นต้นจะต้องรีบส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1
เพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไป ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 201 แต่เป็นกรณีที่ยังไม่มีการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแก้ตามที่บัญญัติไว้ใน
ป.วิ.อ. มาตรา 200 ดังนั้น
การที่ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1
โดยไม่ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแก้ก่อน
ย่อมทำให้จำเลยเสียสิทธิตามกฎหมายในการทำคำแก้อุทธรณ์ และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาคดีโดยมิได้มีการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแก้ก่อน จึงไม่ชอบด้วย
ป.วิ.อ. มาตรา 200 ประกอบ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาคดีอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
ต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นดำเนินการในเรื่องส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแก้ก่อน
แล้วส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2550
พระภิกษุ พ.
มีถิ่นที่อยู่ 2 แห่ง คือที่วัดหัวป่าและวัดผู้คัดค้าน
ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 38
ให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น
จึงต้องถือว่าวัดหัวป่าเป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุเพิ่มแห่งหนึ่งด้วย
ผู้ร้องในฐานะเป็นพนักงานอัยการย่อมมีสิทธิร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลชั้นต้น
ซึ่งเป็นศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตายตาม ป.วิ.พ.
มาตรา 4 จัตวา วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5944/2549
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า
คดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแล้วก็ย่อมที่จะพิพากษายกฟ้องได้
ไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นเพราะไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมฯ
มาตรา 19 วรรคหนึ่ง
เมื่อพิจารณาใบสมัครสมาชิกบัตรเครดิตที่ระบุว่า
สถานที่ส่งใบเรียกเก็บเงินคือที่ทำงานของจำเลยซึ่งตั้งอยู่ที่เขตบางรัก
กรุงเทพมหานคร และอยู่ในเขตศาลชั้นต้นแสดงว่าจำเลยได้เลือกเอาที่ทำงานของจำเลยโดยมีเจตนาชัดแจ้งว่าจะให้เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการสำหรับการนั้นตาม
ป.พ.พ. มาตรา 42
โจทก์จึงมีอำนาจยื่นคำฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2734/2549
ผู้ร้องเบิกความเป็นพยานในสำนวนร้องขัดทรัพย์สำนวนแรกว่า
มีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 18 หมู่ที่ 5 ตำบลไสหร้า สำนวนที่สองว่า มีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 5 ตำบลไสหร้า
และจากแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร์ว่าผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 5 ตำบลไสหร้า
จึงฟังได้ว่าผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ดังกล่าวทั้งสองแห่ง
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศขายทอดตลาดให้ผู้ร้องทราบ ณ บ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 5 ตำบลไสหร้า
ถือว่าได้แจ้งประกาศขายทอดตลาดให้ผู้ร้องทราบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2549
แม้จำเลยที่ 1 จะออกจากบ้านตามภูมิลำเนาโดยไม่มีผู้ใดทราบข่าวคราวก็ตาม
แต่ขณะที่เจ้าพนักงานศาลนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้แก่จำเลยที่ 1 โดยการปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1
ตามคำฟ้องนั้น ศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1
เป็นผู้ไม่อยู่และตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ หรือมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนสาบสูญแต่อย่างใด ทั้งจำเลยที่ 1
ได้อาศัยอยู่กับจำเลยที่ 2
และยังมีชื่อปรากฏอยู่ในทะเบียนบ้านตามที่อยู่ในคำฟ้อง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ไม่มีที่อยู่ปกติเป็นหลักแหล่ง ดังนั้น
ที่อยู่ตามคำฟ้องจึงเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.
มาตรา 37 การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 โดยการปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1
จึงชอบด้วยกฎหมาย
ธ.
เพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ผู้ไม่อยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 48 วรรคสอง เมื่อวันที่
14 พฤษภาคม 2544 ดังนั้น ขณะที่ ธ.
ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การแทนจำเลยที่ 1 ในวันที่ 4 สิงหาคม 2543 ธ. ยังไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 การยื่นคำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบ
ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา
246 และ 247
โดยศาลฎีกาเห็นควรเพิกถอนคำสั่งรับคำร้องตลอดจนกระบวนพิจารณาและคำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การแทนจำเลยที่
1 ของ ธ. เสีย และมีคำสั่งไม่รับคำร้องดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1965/2549
เรือนจำกลางนครศรีธรรมราชเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 47
ย่อมถือได้ว่าจำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจศาล ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 22 (1) แต่บทกฎหมายดังกล่าวมิได้เป็นบทบังคับให้ศาลชั้นต้นที่จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจต้องรับชำระคดีที่โจทก์ฟ้อง
จึงใช้ดุลพินิจที่จะรับชำระคดีเช่นว่านั้นหรือไม่ก็ได้ แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 22
(1) ไม่ได้บัญญัติให้ศาลท้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่หยิบยกเหตุเรื่องความไม่สะดวกของศาลที่รับชำระคดีมาเป็นเหตุไม่รับฟ้องหรือไม่ชำระคดี
แต่การใช้ดุลพินิจที่จะรับชำระคดีหรือไม่ก็ต้องคำนึงถึงความสะดวกในการพิจารณาคดีด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7454/2548
การที่โจทก์ส่งหนังสือทวงถามให้จำเลยที่
1 ชำระหนี้ถึง 2 ครั้ง
โดยส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1
ครั้งแรกได้รับแจ้งว่าจำเลยที่ 1
ย้ายที่อยู่ไม่ทราบที่อยู่ใหม่
และครั้งหลังมีการระบุเหตุขัดข้องว่าไม่มีเลขที่บ้านตามจ่าหน้า
ทั้งในชั้นส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1
ที่บ้านเลขที่ดังกล่าวปรากฏในรายงานของพนักงานเดินหมายว่ามีลักษณะเป็นบ้านร้าง
ไม่มีผู้อยู่อาศัยเป็นเวลานานแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1
เป็นการปิดสถานประกอบธุรกิจเพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้
กรณีต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 8 (4) (ข)
ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3906/2548
ป. รัษฎากร มาตรา 8 บัญญัติให้ส่งหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ณ
ภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ หรือสำนักงานของบุคคลนั้น เจ้าพนักงานของจำเลยส่งหนังสือแจ้งการประเมินให้แก่โจทก์โดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามที่อยู่ที่จ่าหน้าซองจดหมายซึ่งเป็นสำนักงานของโจทก์
เป็นการปฏิบัติตามที่มาตรา 8 กำหนดไว้แล้ว
แต่การที่เจ้าพนักงานไปรษณีย์นำหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรไปส่งที่สำนักงานเทศบาลตำบลหัวสะพานซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการของโจกท์เคยทำงานเป็นนายกเทศมนตรี
ไม่ตรงกับที่อยู่ที่จ่าหน้าซองจดหมายไว้
ถือได้ว่าเป็นการส่งหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรไม่ตรงกับภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่
หรือสำนักงานของบุคคลนั้น อย่างไรก็ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 8
เป็นบทบัญญัติที่มุ่งประสงค์ป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการเอารัดเอาเปรียบในการส่งหนังสือแจ้งให้เสียภาษีและเพื่อให้ถึงตัวผู้รับโดยถูกต้อง
เมื่อได้ความว่าหลังจากเจ้าพนักงานไปรษณีย์นำหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรไปส่งให้แก่โจทก์ที่สำนักงานเทศบาลตำบลหัวสะพานแล้ว
มีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเทศบาลลงลายมือชื่อรับไว้แทน
และได้ฝากส่งต่อไปให้แก่หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์จนมีการยื่นอุทธรณ์การประเมินภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว
แสดงว่าโจทก์ได้รับทราบข้อความในหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรดังกล่าวและได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว
แม้การส่งหนังสือแจ้งให้เสียภาษีจะส่งไม่ตรงกับสถานที่ที่กำหนดไว้ใน ป. รัษฎากร
มาตรา 8 ก็หาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะเหตุนี้ไม่
การส่งหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2548
แม้เรือนจำกลางบางขวางเป็นภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 47
ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดนนทบุรีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 22 (1) แต่บทกฎหมายดังกล่าวไม่เป็นบทบังคับให้ศาลจังหวัดนนทบุรีที่จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจต้องรับชำระคดีที่โจทก์ฟ้อง
ศาลจังหวัดนนทบุรีจึงใช้ดุลพินิจที่จะรับชำระคดีเช่นว่านั้นหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น
เมื่อเหตุคดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดภูเก็ตและพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองภูเก็ตเป็นผู้สอบสวนคดี
ไม่ได้ความว่าหากมีการชำระคดีที่ศาลจังหวัดนนทบุรีแล้วจะสะดวกยิ่งกว่าการชำระคดีที่ศาลจังหวัดภูเก็ต
ที่โจทก์อ้างว่าการย้ายจำเลยทั้งสองไปดำเนินคดีที่ศาลจังหวัดภูเก็ตจะไม่ปลอดภัยในการควบคุมและอาจเกิดความเสียหายในระหว่างการย้ายนั้น
เป็นเพียงปัญหาในทางปฏิบัติของกรมราชทัณฑ์ที่อาจป้องกันและแก้ไขได้
กรณียังไม่มีเหตุสมควรให้ศาลจังหวัดนนทบุรีรับชำระคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1702/2547
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจำหน่ายทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อไปคือ การจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ -
จ่าย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 316 และการจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ตามมาตรา 318 ซึ่งหากมีเงินสุทธิเหลืออยู่ต้องจ่ายในส่วนที่เหลือนั้นให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วยตามมาตรา
322 วรรคสอง
และหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในการจ่ายเงินที่เหลือแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษานี้
เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย
และแจ้งให้ลูกหนี้มารับเงินคืนด้วย หากยังปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวไม่เสร็จสิ้น
เงินส่วนที่เหลือนั้นก็ยังไม่เป็นเงินค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกร้องเอาภายใน
5 ปี และยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323
เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ศาลส่งหมายแจ้งให้
ลูกหนี้ตามคำพิพากษามารับเงินโดยวิธีปิดหมายที่ภูมิลำเนาของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่
24 ตุลาคม 2535 และวันที่ 16 พฤษภาคม 2536 แต่ขณะนั้นลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่แล้ว
โดยไม่มีใครรู้เห็นว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่
จนต่อมาศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นคนสาบสูญและมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
และปรากฏว่าผู้ร้องทราบว่ามีเงินส่วนที่เหลือที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิได้รับคืน
เมื่อเดือนตุลาคม 2542 ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอรับเงินดังกล่าวเมื่อวันที่
30 มิถุนายน 2543 จึงยังไม่พ้นระยะเวลา
5 ปี ย่อมมีสิทธิขอรับเงินนี้ได้
เงินจำนวนนี้ยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323