หนี้เกลื่อนกลืนกัน

มาตรา 353 ถ้าสิทธิและความรับผิดในหนี้รายใดตกอยู่แก่บุคคล คนเดียวกัน ท่านว่าหนี้รายนั้นเป็นอันระงับสิ้นไป เว้นแต่เมื่อหนี้นั้น ตกไปอยู่ในบังคับแห่งสิทธิของบุคคลภายนอก หรือเมื่อสลักหลังตั๋ว เงินกลับคืนตามความใน มาตรา 917 วรรค 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2546
ตาม ป.พ.พ. หนี้ระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้มีการปลดหนี้การหักกลบลบหนี้ การแปลงหนี้ใหม่ หรือการที่หนี้เกลื่อนกลืนกัน ผู้ตายทำสัญญากู้เงินกับจำเลย 2 ครั้ง โดยผู้ตายยังชำระหนี้แก่โจทก์ไม่ครบถ้วน และไม่ปรากฏเหตุอย่างอื่นที่จะทำให้หนี้เงินกู้ดังกล่าวระงับ หนี้เงินกู้ที่ผู้ตายจะต้องรับผิดต่อโจทก์จึงยังไม่ระงับ การจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์จึงยังไม่ระงับสิ้นไป
โจทก์รับโอนกิจการจากธนาคาร ม. มาเป็นของโจทก์ โจทก์จึงต้องรับโอนทั้งสิทธิและหน้าที่ของธนาคาร ม. เมื่อธนาคาร ม. เจ้าหนี้รู้ถึงการตายของผู้ตายตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2539 ต้องถือว่าโจทก์ได้รู้แล้วด้วย เมื่อนับถึงวันฟ้องวันที่ 28 มีนาคม 2543 เกินกำหนด 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความและเป็นเหตุให้หนี้อุปกรณ์คือผู้ค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 ได้ทำไว้ต่อโจทก์หลุดพ้นไปด้วย แต่เนื่องจากสัญญากู้เงินรายนี้มีการนำทรัพย์สินมาจำนองเป็นประกันไว้ แม้หนี้สินตามสัญญากู้เงินอันเป็นหนี้ประธานจะขาดอายุความ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ด้วยการรับโอนสิทธิมาจากเจ้าหนี้เดิมย่อมใช้สิทธิบังคับเอาจากทรัพย์สินที่จำนองได้ตามบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสาม ประกอบมาตรา 193/27 และคงบังคับได้แต่เฉพาะทรัพย์สินที่จำนองเท่านั้น หาอาจบังคับถึงทรัพย์สินอื่นของผู้ตายได้ด้วยไม่ แม้สัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันจะมีข้อความระบุให้เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้มาชำระหนี้ได้ในกรณีที่ทรัพย์สินที่จำนองไม่พอชำระก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5758/2539
ตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่าหากผู้เช่าประสงค์จะซื้อที่ดินแปลงที่ เช่านี้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเวลาใดที่สัญญาเช่านี้ยังมีผลบังคับผู้ให้เช่า ยินยอมขายที่ดินดังกล่าวให้ผู้เช่าในราคายุติธรรมซึ่งจะได้เจรจาทำความตกลง กันแต่ราคาที่ดินตามโฉนดทั้งแปลงต้องไม่สูงกว่ายี่สิบห้าล้านบาทถ้วนและ สัญญาให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่าหากผู้ใช้ประสงค์จะ ซื้อที่ดินแปลงทำสัญญานี้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเวลาใดที่สัญญานี้ยังมีผล บังคับผู้ให้เช่ายินยอมขายที่ดินดังกล่าวให้ผู้ใช้ในราคายุติธรรมซึ่งจะได้ เจรจาทำความตกลงกันแต่ราคาที่ดินจะต้องเป็นไปตามสัญญาเช่าที่ดินข้อความดัง กล่าวมีลักษณะเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวที่จำเลยได้แสดงเจตนาผูกมัดตนเองว่าจะ ขายที่พิพาทกันให้แก่โจทก์การแสดงเจตนาของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะแน่นอนไม่มี เงื่อนไขหรือทางเลือกสำหรับจำเลยที่จะบิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตามเจตนาที่แสดงไว้ จึงมีผลเป็นคำมั่นผูกพันจำเลยที่จะต้องขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ในราคาไม่สูงก ว่า 25,000,000 บาท เมื่อโจทก์แสดงเจตนาจะซื้อที่พิพาทไปถึงจำเลยจึงก่อให้เกิดเป็นสัญญาผูกพันจำเลยที่จะต้องขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิขอ ให้บังคับจำเลยโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ได้ แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขายแต่โจทก์ก็ได้แนบสัญญาดังกล่าวมาท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องและในชั้นชี้ สองสถานศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทด้วยว่าจำเลยต้องผูกพันตามสัญญาเช่าและสัญญา ให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินในอันที่จะต้องขายที่ดินให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใด การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยถูกผูกพันที่จะต้องขายที่พิพาทให้แก่ โจทก์ตามสัญญาดังกล่าวเพราะสัญญาดังกล่าวเป็นคำมั่นของจำเลยที่จะขายที่ พิพาทให้แก่โจทก์จึงหาใช่เป็นการพิพากษานอกเหนือคำฟ้องไม่ เมื่อสัญญาเช่าและสัญญาให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินระหว่างโจทก์จำเลยเป็นคำมั่น ในการซื้อขายทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคสองและ โจทก์ก็ได้แสดงเจตนาจะซื้อที่พิพาทไปถึงจำเลยเป็นผลให้เกิดสัญญาผูกพันจำเลย ที่จะต้องโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และเมื่อกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโอนไปเป็น ของโจทก์แล้วโจทก์ย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ซึ่งรวมทั้งสิทธิที่จะ เก็บค่าเช่าด้วยบุคคลหาอาจเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ของตนเองได้ไม่กรณี เช่นนี้กฎหมายให้ถือว่าหนี้เป็นอันระงับด้วยเกลื่อนกลืนกันไปตามมาตรา 353 โดย โจทก์และจำเลยไม่ต้องมีการตกลงกันหรือแสดงเจตนาต่อกันเมื่อคำมั่นในการซื้อ ขายเกิดเป็นสัญญาและสิทธิจะเก็บค่าเช่าจากที่พิพาทของจำเลยระงับแล้วจึงไม่ มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าคำมั่นในการซื้อขายขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 569 และตกเป็นโมฆะ คำมั่นจะขายที่ดินพิพาทกำหนดราคาซื้อขายกัน 25,000,000 บาทโดยไม่มีข้อความ ระบุว่าการจดทะเบียนการโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์จะต้องติดจำนองไปด้วยหรือไม่ ดังนั้นการที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์จำเลยมีข้อตกลงให้โอนที่พิพาทโดยไม่ติดจำนองจึงเป็นการนำสืบว่ามีข้อตกลงในเรื่องการโอนที่พิพาทต่างหากจากคำมั่นจะ ขายอีกส่วนหนึ่งถือไม่ได้ว่าเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมหรือแก้ไข คำมั่นจะซื้อขายที่พิพาท