การประนีประนอมยอมความ

มาตรา ๘๕๐ อันว่าประนีประนอมยอมความนั้น คือสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน

มาตรา ๘๕๑ อันสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

มาตรา ๘๕๒ ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8443/2559
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2554 โจทก์จ่ายค่ารักษาพยาบาล พ. อันเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มิใช่เรื่องการรับช่วงสิทธิ ส่วนค่าเสียหายจำนวน 40,000 บาท ที่จำเลยตกลงจ่ายแก่ พ. ตามบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีนั้นเป็นข้อตกลงที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่โจทก์จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแล้ว ค่าเสียหายที่จำเลยตกลงจ่ายแก่ พ. จึงเป็นค่าสินไหมทดแทนนอกเหนือจากค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์จ่ายไป ถือเป็นค่าเสียหายเพิ่มเติมในทางแพ่งที่ พ. มีสิทธิเรียกจากจำเลยผู้ทำละเมิดได้อีกส่วนหนึ่งต่างหาก ตามมาตรา 22 ไม่ทำให้ค่าเสียหายเบื้องต้นที่โจทก์จ่ายแทนไปก่อนระงับไป โจทก์จึงมีสิทธิไล่เบี้ยค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นคืนจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6980/2559
วันที่ 3 ธันวาคม 2546 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในวงเงินคนละ 250,000 บาท วันที่ 4 กรกฎาคม 2551 ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง พ.ศ.2551 มีผลใช้บังคับ ซึ่งกำหนดให้นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานด้วยการค้ำประกันด้วยบุคคลไม่เกิน 60 เท่า ของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ย หากมีการค้ำประกันเกินกำหนดดังกล่าวให้นายจ้างดำเนินการให้มีหลักประกันใหม่ไม่เกินจำนวนตามที่กำหนด ต่อมาโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันการทำงาน วันที่ 19 พฤศจิกายน 2552 ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลแรงงานกลางโจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยอมชำระหนี้ให้โจทก์คนละ 250,000 บาท ศาลแรงงานกลางพิพากษาตามยอม การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามสัญญาค้ำประกันการทำงานระงับสิ้นไป และทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850, 852 สัญญาประนีประนอมยอมความทำขึ้นหลังจากที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 1 แล้ว ไม่มีลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 สัญญาประนีประนอมยอมความจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง พ.ศ.2551

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2298/2559
ข้อตกลงตามที่ระบุไว้ในรายงานเจ้าหน้าที่ที่เสนอต่อผู้พิพากษา ปรากฏว่าคู่ความมิได้ลงลายมือชื่อไว้จึงถือไม่ได้ว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดที่โจทก์จะอ้างมาเป็นหลักฐานในการฟ้องร้องให้บังคับแก่จำเลยทั้งห้าได้ ส่วนรายงานกระบวนพิจารณา แม้โจทก์ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 และทนายจำเลยทั้งห้าลงลายมือชื่อไว้ แต่ความตกลงยังหาได้ยุติไม่ เพราะยังจะต้องดำเนินการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินกันอยู่อีก กรณีจึงไม่ใช่เรื่องตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ หรือที่จะมีขึ้นนั้นให้เสร็จสิ้นไปในทันทีด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน และรายงานเจ้าหน้าที่กับรายงานกระบวนพิจารณาไม่อาจนำมาประกอบกันแล้วถือว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1899/2559
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกัน ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินค่าทดแทน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท จำเลยที่ 1 ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ 200 บาท โดยจำเลยที่ 1 เห็นว่าประเด็นหย่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์โดยไม่ได้วางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งศาลชั้นต้นสั่งให้ใช้แทน จำเลยที่ 2 ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ 2,000 บาท และจำเลยที่ 2 เห็นว่ารับผิดในค่าธรรมเนียมแทนโจทก์เพียงกึ่งหนึ่งจึงวางเงินเพียง 3,260 บาท ซึ่งไม่ถูกต้อง เห็นว่าศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์มาโดยไม่ได้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลเพิ่มเติม เมื่อ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ให้ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เข้าใจผิดว่าตนปฏิบัติตามกฎหมายถูกต้องแล้ว แสดงว่าไม่จงใจจะกระทำฝ่าฝืนกฎหมาย สมควรให้โอกาสจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลให้ถูกต้องครบถ้วนต่อไป โจทก์ฟ้องขอหย่ากับจำเลยที่ 1 และขอให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าทดแทนที่ล่วงเกินจำเลยที่ 1 ในทางชู้สาวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง จำเลยที่ 1 ให้การว่า ไม่ได้เป็นชู้กับจำเลยที่ 2 แต่ถูกจำเลยที่ 2 ข่มขืน จำเลยที่ 2 ให้การว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันวางแผนทำลายชื่อเสียงจำเลยที่ 2 ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่าโจทก์เข้าใจเกี่ยวกับตัวจำเลยที่ 1 เป็นอย่างดีแล้วว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีพฤติกรรมไปในทางชู้สาวกับจำเลยที่ 2 และมิได้เป็นผู้ประพฤติชั่วและจะขออยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา ไม่ประสงค์จะหย่าขาดจากกัน สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย และไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรูปคดีของจำเลยที่ 2 ประเด็นฟ้องหย่าจึงพิพากษาให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ และเห็นควรหยิบยกปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชำระค่าทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง แก่โจทก์หรือไม่ด้วย ซึ่งการกระทำในทำนองชู้สาวต้องมีผู้กระทำสองฝ่าย เมื่อฝ่ายหญิงคือ จำเลยที่ 1 ไม่มีพฤติกรรมในทางชู้สาวกับจำเลยที่ 2 แล้ว ย่อมแสดงว่าฝ่ายชายคือจำเลยที่ 2 ไม่มีการกระทำในทำนองชู้สาวกับจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าทดแทนแก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2559
ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นกรณีที่โจทก์ จำเลยมุ่งระงับข้อพิพาทระหว่างกันและมิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดอย่างคดีธรรมดาที่จะต้องพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์ จำเลยแล้วพิพากษาชี้ขาดประเด็นข้อพิพาท ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงอาจมีผลไม่ตรงหรือไม่เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องได้ ถ้าข้อตกลงนั้นเกี่ยวพันกับประเด็นแห่งคดีและไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพราะเป็นไปตามข้อตกลงที่คู่ความต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นไกล่เกลี่ยแล้วคู่ความในคดีรวมทั้ง ก. และ น. ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย แม้จะมี ก. และ น. เข้าร่วมตกลงด้วย การที่โจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสอง ก. และ น. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาตามยอม สัญญาประนีประนอมยอมความจึงชอบด้วยกฎหมาย ผูกพันคู่สัญญาทุกฝ่ายในสัญญาประนีประนอมยอมความ ส่วนคำพิพากษาตามยอมซึ่งพิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดตามสัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันเฉพาะคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ไม่ผูกพันบุคคลภายนอกซึ่งมิได้เป็นคู่ความเว้นแต่ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 142 (1), 245 และ 274 และในข้อยกเว้นตามมาตรา 145 วรรคสอง (1) (2) เมื่อ ก. ประพฤติผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิขอบังคับคดีแก่ ก. โดยอาศัยสัญญาประนีประนอมและคำพิพากษาตามยอมคดีนี้ แต่เป็นกรณีที่โจทก์ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ ก. เป็นคดีต่างหาก แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 11 ระบุว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดข้อตกลงในสัญญายอมข้อใดข้อหนึ่งให้บังคับคดีไปตามสัญญายอมนี้ได้ทันที โดยให้ถือเอาคำพิพากษาตามยอมของศาลเป็นการแสดงเจตนา พร้อมให้ชำระเงิน 2,000,000 บาท แก่คู่ความอีกฝ่ายด้วย ก็มีความหมายเพียงว่า ถ้าคู่สัญญาคนใดในสัญญาประนีประนอมยอมความผิดสัญญาข้อใดก็ให้บังคับคดีเอาแก่คู่สัญญานั้นตามสัญญาแต่ละข้อเท่านั้น เพราะในสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าวมิได้มีข้อตกลงให้โจทก์ทั้งสองกับ ก. ต้องรับผิดร่วมกันในการชำระหนี้แก่จำเลยทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมิได้ประพฤติผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเอาแก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15721/2558
ตามบันทึกถ้อยคำไม่รับมรดกที่โจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสอง และ ก. ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินมีใจความสำคัญว่า ที่ดินพิพาทที่มีชื่อ ว. เจ้ามรดกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ อ. สามีของ ว. ได้มายื่นเรื่องราวขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้ของ ว. ซึ่งโจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสอง และ ก. ทายาทของ ว. ไม่ประสงค์จะขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้ และยินยอมให้ อ. เป็นผู้ขอรับมรดกแต่เพียงผู้เดียว ต่อมา อ. จดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยทั้งสอง ดังนี้ ไม่ใช่การสละมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612, 1613 เพราะการสละมรดกต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด แต่บันทึกถ้อยคำดังกล่าวมีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความมีผลบังคับได้ตามมาตรา 850, 852 และ 1750 วรรคสอง โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ ว. จึงไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13552/2558
บุคคลที่มีข้อพิพาทซึ่งอาจใช้สิทธิทางศาลต่อกัน อาจตกลงระงับข้อพิพาทดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ด้วยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ อันมีผลทำให้หนี้เดิมระงับตามมาตรา 852 แล้วผูกพันกันตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว แต่บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในข้อที่ 1 ระบุว่า "ส่วนเรื่องหย่าและสินสมรสนั้นจะได้ตกลงกันในภายหลัง" แล้วตกลงกันเพียงว่า จำเลยที่ 1 จะส่งค่าเลี้ยงดูให้โจทก์เดือนละ 20,000 บาท ทั้งๆ ที่ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองเกิดจากจำเลยที่ 1 มีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 จนมีบุตร ทั้งจำเลยทั้งสองอยู่กินด้วยกัน อันเป็นการยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาซึ่งมีผลให้โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 และการหย่ายังทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพจากจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1526 นอกจากนี้การที่จำเลยทั้งสองมีความสัมพันธ์กันฉันชู้สาว ทำให้โจทก์เรียกค่าทดแทนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 ข้อพิพาทที่ทำให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ทั้งสามประการมิได้มีการตกลงเพื่อระงับกันให้เสร็จไปแต่อย่างใด บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ และตามพฤติการณ์ที่มีการระบุไว้ว่าจะมีการตกลงเรื่องหย่าและสินสมรสกันในภายหลังนั้นแสดงว่าโจทก์ไม่ได้ให้อภัยแก่จำเลยที่ 1 อันจะเป็นเหตุให้สิทธิฟ้องหย่า ระงับสิ้นไป การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกร้องตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่จึงชอบแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่อาจอ้างบันทึกข้อตกลงดังกล่าว มาเป็นข้อต่อสู้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10008/2558
จำเลยที่ 1 ผู้เยาว์บุตรจำเลยที่ 2 ที่ 3 ขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนรถยนต์ที่ อ. ขับซึ่งเอาประกันภัยไว้กับโจทก์ เป็นเหตุให้รถยนต์ได้รับความเสียหาย พนักงานสอบสวนทำบันทึกตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า อ. ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด โดยคู่กรณีลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน จึงเป็นการระงับข้อพิพาทให้เสร็จไป มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 เป็นผลให้ อ. ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้อีก ที่โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายให้ อ. เป็นการปฏิบัติตามข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัย ข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยไม่ได้จำกัดสิทธิ์ อ. หรือผู้เสียหายที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยเนื่องจากมูลหนี้ละเมิดระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4888/2558
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำละเมิดต่อโจทก์และเป็นผู้เอาประกันภัยโดยทำสัญญาประกันภัยค้ำจุนกับจำเลยที่ 2 เพื่อคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกรวมถึงความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยและทรัพย์สิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "อันว่าประกันภัยค้ำจุนนั้นคือสัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่งและซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ" และวรรคสอง บัญญัติว่า "บุคคลผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตนควรจะได้นั้นจากผู้รับประกันภัยโดยตรง แต่ค่าสินไหมทดแทนเช่นว่านี้หาอาจจะคิดเกินไปกว่าจำนวนอันผู้รับประกันภัยจะพึงต้องใช้ตามสัญญานั้นได้ไม่..." มีความหมายว่าบุคคลผู้ต้องเสียหายมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่ตนจากผู้รับประกันภัยโดยตรงและเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบฐานละเมิด คือจำนวนค่าเสียหายทั้งหมดที่โจทก์ได้รับ และมาตรา 877 บัญญัติว่า "ผู้รับประกันภัยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ (1) เพื่อจำนวนวินาศภัยแท้จริง..." คำว่า "วินาศภัยอันเกิดขึ้นและซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ" จึงหมายความว่า เมื่อเกิดวินาศภัยขึ้น ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นเพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริงแต่ไม่เกินจำนวนเงินที่ระบุในกรมธรรม์ ส่วนผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนในหนี้ละเมิดทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ประกอบมาตรา 438 กรณีที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้หนี้ละเมิดระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ระงับเกิดเป็นหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และ 852 เป็นเรื่องระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญา เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่สัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงยังต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยที่มีอยู่ก่อนแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 รับผิดค่าเสียหายที่โจทก์ควรได้รับในส่วนที่เหลือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4037/2558
ข้อตกลงที่ระบุไว้ในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี มีข้อความสรุปว่า ความเสียหายของรถยนต์พิพาทนั้น พ. ผู้ครอบครองรถยนต์จะใช้สิทธิการซ่อมตามประกันภัยของตน ส่วนความเสียหายจากเหตุประมาทได้เรียกร้องจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 15,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มอบเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ พ. แล้ว ไม่ติดใจดำเนินคดีกับฝ่ายจำเลยที่ 1 แสดงว่า พ. ผู้ครอบครองรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ประสงค์ที่จะให้โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบค่าซ่อมรถยนต์ให้อยู่ในสภาพดีดังเดิมตามสัญญาประกันภัย ส่วนความเสียหายจากเหตุประมาทที่เรียกร้องจากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 15,000 บาทนั้น เป็นกรณีที่ พ. เรียกร้องค่าเสียหายอื่น ๆ นอกเหนือจากค่าสินไหมทดแทนในการซ่อมรถยนต์ ดังนั้น ข้อตกลงดังกล่าวไม่ทำให้สิทธิในการเรียกร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสิ้นสุดลงอันเป็นการระงับข้อพิพาทตามลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จัดการซ่อมแซมรถยนต์พิพาท โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2905/2558
จำเลยที่ 1 ตกลงชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อแก่โจทก์เป็นเงิน 90,543 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โดยจะชำระเงิน 5,000 บาท ภายในวันที่ 10 ตุลาคม 2541 ส่วนที่เหลือชำระเป็นรายเดือน เดือนละไม่ต่ำกว่า 4,000 บาท จนกว่าจะครบภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี หากจำเลยที่ 1 ชำระโดยไม่ผิดนัดจนครบจำนวนเงิน 50,000 บาท โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องหนี้ส่วนที่เหลืออีกต่อไป ข้อตกลงดังกล่าวมีการลดค่าเสียหายจาก 90,543 บาท เหลือเพียง 50,000 บาท และกำหนดจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระกับระยะเวลาชำระเสร็จขึ้นใหม่แตกต่างจากข้อตกลงและจำนวนค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อเดิมซึ่งโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาไปแล้ว นอกจากนี้ยังได้ตกลงกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้ากรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลงให้ครบ 50,000 บาท ภายใน 1 ปี ด้วย จึงเป็นกรณีที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 มิใช่หนังสือรับสภาพหนี้ และผลของสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้หนี้เดิมตามสัญญาเช่าซื้อระงับไป และก่อให้เกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 สิทธิเรียกร้องของโจทก์อันเนื่องมาจากการผิดสัญญาเช่าซื้อจึงระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17838/2557
เดิมโจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการครูฟ้องร้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการครูและผู้ใต้บังคับบัญชาโจทก์ ในความผิดทางอาญาฐานเบิกความเท็จ นำสืบแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ และความผิดทางแพ่งในมูลละเมิดเรียกค่าเสียหาย ในคดีแพ่งคู่ความสามารถตกลงกันได้โดยจะไปดำเนินการถอนเรื่องที่ยื่นฟ้องกันไว้ที่ศาลปกครองทั้งหมด รวมถึงคดีแพ่งและคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นนี้ โดยจะไม่นำมาฟ้องร้องอีกเว้นแต่จะเกิดการกระทำขึ้นใหม่ ต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 1 ถอนฟ้องและถอนอุทธรณ์ในคดีอาญา แต่จำเลยทั้งสองไม่ถอนฟ้องคดีที่ฟ้องโจทก์ต่อศาลปกครองขอนแก่น เนื่องจากโจทก์มิได้เพิกถอนคำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนจำเลยทั้งสองและคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ การที่ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาในส่วนของข้อตกลงที่ให้ไปถอนเรื่องที่อยู่ในระหว่างดำเนินการทั้งหมดรวมทั้งเรื่องที่ยื่นฟ้องคดีที่ศาลปกครองขอนแก่น ระบุเพียงว่า โจทก์จำเลย (หมายถึงจำเลยที่ 1 ในคดีนี้) เท่านั้น โดยมิได้ระบุให้จำเลยที่ 2 ในคดีนี้ (ซึ่งอยู่ในห้องพิจารณาด้วย) ไปยื่นคำร้องขอถอนเรื่องด้วย ข้อตกลงตามรายงานดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 และย่อมไม่ถือว่าจำเลยที่ 2 ผิดสัญญาต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 แต่สำหรับจำเลยที่ 1 เมื่อไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงย่อมตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์ ส่วนความรับผิดในค่าเสียหาย เมื่อจำเลยที่ 1 ถอนอุทธรณ์คดีที่ฟ้องโจทก์แล้วย่อมไม่ทำให้โจทก์เสียหายมากนัก เห็นควรไม่กำหนดค่าเสียหายในกรณีที่โจทก์ได้ถอนฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาแล้ว ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีที่ศาลปกครองนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ยังมีสิทธิฟ้องโจทก์ต่อศาลปกครองขอนแก่น โจทก์จึงยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีที่ศาลดังกล่าวเช่นเดิม การที่โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีต่อไปฟังไม่ได้ว่าเป็นความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 ส่วนค่าเสียหายเกี่ยวกับชื่อเสียงเกียรติยศของโจทก์ โจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยชัดแจ้งว่าประสงค์จะเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จึงไม่อาจกำหนดได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13706/2557
การที่โจทก์ จำเลยและทายาททำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดการมรดกของทายาทตระกูล อ. ว่าจำเลยเพียงผู้เดียวจะรับผิดในหนี้สินที่มีอยู่กับธนาคาร โดยทายาทยินยอมยกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย และให้กิจการขายรถจักรยานยนต์บริษัท บ. จำกัด พร้อมหนี้สินทั้งหมดที่มีอยู่เกี่ยวกับกิจการดังกล่าวให้จำเลยเป็นผู้รับผิดชอบเพียงผู้เดียว โดยให้กิจการเป็นของจำเลย ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกและหนี้สินเพื่อระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 เมื่อจำเลยชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเสร็จสิ้น จำเลยย่อมมีสิทธิในที่ดินตามบันทึกข้อตกลง ฟ้องเดิมของโจทก์เป็นเรื่องที่ว่า โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของ จ. ขอแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. โดยโจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 39247 ซึ่งเป็นมรดกของ จ. ให้แก่บุคคลภายนอกในราคา 1,113,900 บาท และได้แบ่งปันให้ทายาทโดยธรรมบางส่วนแล้วยกเว้นจำเลยกับทายาทบางคนยังไม่ได้รับส่วนแบ่ง และมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์และทายาทโดยธรรมทุกคนในอัตราส่วนคนละเท่า ๆ กัน ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยขอให้โจทก์แบ่งทรัพย์มรดกคือที่ดินโฉนดเลขที่ 39247 ที่โจทก์ขายไปและกล่าวไว้ในฟ้องเดิมว่ายังไม่ได้แบ่งให้จำเลย การที่จำเลยฟ้องแย้งขอแบ่งทรัพย์มรดกรายเดียวกันกับที่โจทก์กล่าวไว้ในฟ้องเดิม จึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ชอบที่จะว่ากล่าวให้เสร็จสิ้นในคดีเดียวกัน จำเลยไม่จำต้องแยกไปฟ้องเป็นคดีต่างหากตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13357/2557
เมื่อพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความโดยตลอดแล้ว แสดงให้เห็นเจตนาว่าโจทก์ประสงค์จะนำที่ดินทั้งหมดกลับมาขายด้วยตนเอง แต่ใช้วิธีทยอยไถ่ถอนที่ดินจากธนาคารทีละจำนวน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า คู่ความทั้งสองฝ่ายผ่อนผันเวลาให้แก่กันเช่นนี้ จะอ้างว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้ หากจำเลยทั้งสามผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ชอบที่จะบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ แต่โจทก์หาได้ดำเนินการไม่ และการที่จำเลยทั้งสามโอนที่ดินให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ซึ่งที่ดินดังกล่าวถือเป็นสาระสำคัญของข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้การชำระหนี้ของจำเลยทั้งสามเป็นการพ้นวิสัยไปด้วย คู่ความทั้งสองฝ่ายจึงไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาได้ และสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมตกไปไม่มีผลบังคับ เช่นนี้ คู่ความทั้งสองฝ่ายต่างต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12939/2557
นิติกรรมใดจะไม่มีผลบังคับตามกฎหมายต้องเป็นไปตามหลักโมฆะกรรมหรือโมฆียะกรรมในบรรพ 1 ลักษณะ 4 หมวดที่ 1 และที่ 2 แห่ง ป.พ.พ. ส่วนความไม่เข้าใจถึงผลของสัญญาประนีประนอมยอมความว่าเป็นการระงับข้อพิพาท ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นโมฆะหรือโมฆียะ ต. อยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ที่ 1 มาประมาณ 30 ปี และอาศัยอยู่ด้วยกันกับโจทก์ที่ 2 ที่บ้านเกิดเหตุจากสภาพโจทก์ที่ 1 ย่อมทราบถึงการซ่อมรถและซ่อมบ้านที่บริษัท ว. เป็นผู้จัดการให้เป็นอย่างดีเมื่อซ่อมบ้านเสร็จ ต. รับมอบงาน โจทก์ที่ 1 ก็ไม่คัดค้าน ครั้นซ่อมรถเสร็จ ต. กับโจทก์ที่ 2 เป็นคนลงชื่อรับค่าซ่อมในสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ที่ 1 ก็ไม่โต้แย้งคัดค้านว่า ต. และโจทก์ที่ 2 ไม่มีอำนาจกระทำการแทนตน พฤติการณ์ย่อมฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 รู้แล้วยอมให้ ต. และโจทก์ที่ 2 เชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนในการรับค่าซ่อมบ้านและซ่อมรถตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การเป็นตัวแทนเชิดนั้นไม่อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 798 ที่ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือเหมือนการตั้งตัวแทนทั่วไป สัญญาประนีประนอมยอมความจึงมีผลบังคับถึงโจทก์ที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7068/2557
ป.พ.พ. มาตรา 1613 บัญญัติว่า การสละมรดกนั้นจะทำแต่เพียงบางส่วนหรือทำโดยมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาไม่ได้ สัญญาประนีประนอมแบ่งมรดกระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุว่า จำเลยตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกบ้าน 4 หลังซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินที่เช่าจากวัดกับเงินอีก 10,000 บาท ให้โจทก์ โจทก์ยอมรับส่วนแบ่งดังกล่าว ไม่ติดใจเรียกร้องทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดจากจำเลยอีก เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นอกจากบ้าน 4 หลังดังกล่าวแล้ว ยังมีบ้านอีก 7 หลังซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินที่เช่าจากวัดกับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่ง แต่สัญญาดังกล่าวไม่ได้กล่าวถึง หากเป็นการสละมรดกก็เป็นการสละเพียงบางส่วน จึงถือไม่ได้ว่าสัญญาประนีประนอมแบ่งมรดกดังกล่าวเป็นการสละมรดก และโจทก์มิได้สละสิทธิในที่ดินพิพาท อย่างไรก็ดีข้อเท็จจริงได้ความว่า หลังจากจำเลยไปยื่นคำขอรับโอนทรัพย์มรดกบ้าน 7 หลังแล้วได้ยื่นคำขอจดทะเบียนรับโอนทรัพย์มรดกที่ดินพิพาท โดยโจทก์แสดงเจตนาให้ความยินยอมแก่จำเลยในการรับโอนทรัพย์มรดกที่ดินพิพาทดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน พฤติการณ์ดังกล่าวเท่ากับเป็นการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในการสละมรดกถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 ตอนท้าย และมาตรา 850 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3664/2557
ตามบันทึกข้อตกลงมีข้อความระบุไว้แต่เพียงว่า ช. และจำเลยต่างยืนยันว่าไม่ติดใจที่จะเรียกร้องค่าเสียหายหรือดำเนินคดีอย่างใดซึ่งกันและกัน ค่าเสียหายที่เกิดจากรถเฉี่ยวชนกันดังกล่าวมีทั้งค่าซ่อมรถ ค่ารถยก และค่ารักษาพยาบาลของผู้ที่บาดเจ็บ แต่ตามบันทึกดังกล่าวไม่มีรายละเอียดหรือข้อตกลงที่ชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทโดยยอมสละข้อเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยสิ้นเชิงแต่อย่างใด อีกทั้งข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้เอาประกันรถยนต์กระบะคือ ธ. มิใช่ ช. สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเป็นค่าซ่อมรถหรือค่ายกรถจึงเป็นสิทธิของ ธ. ไม่ใช่สิทธิของ ช. ทั้งไม่ปรากฏว่า ธ. ได้มอบอำนาจให้ ช. ดำเนินการตกลงกับคู่กรณีแต่อย่างใด บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันจะทำให้หนี้ในมูลละเมิดครั้งนี้ระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ถึง 852

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20920/2556
สิทธิในการเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของ ส. และของโจทก์ซึ่งเป็นบิดาและมารดาของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคท้าย ถือเป็นสิทธิเฉพาะตัว มิใช่เป็นสิทธิร่วมกันที่กฎหมายกำหนดให้บิดาหรือมารดาคนหนึ่งคนใดสามารถใช้สิทธิเรียกร้องได้เพียงคนเดียว เมื่อโจทก์มิได้มอบอำนาจให้ ส. ทำแทนโจทก์ การที่ ส. บิดาผู้ตาย ทำบันทึกข้อตกลงกับ ท. พนักงานขับรถของจำเลยจากการที่ ท. ทำละเมิดต่อผู้ตายและต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าจะไม่นำคดีไปฟ้องร้องไม่ว่าทางแพ่งหรือทางอาญา อันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 มีผลทำให้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจาก ท. และจำเลย ระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 จึงไม่ผูกพันโจทก์ สิทธิของโจทก์จึงไม่ระงับสิ้นไป โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6870/2556
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การต่อสู้ว่าข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 เป็นการตกลงแบ่งทรัพย์สินในลักษณะเจ้าของรวม แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะอุทธรณ์อ้างว่าต้องนำบทกฎหมายว่าด้วยหุ้นส่วนมาใช้บังคับก็เป็นข้อที่คู่ความหยิบยกเอาข้อกฎหมายมาปรับใช้แก่ข้อเท็จจริงในคดีอันเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลโดยเฉพาะ และหากศาลเห็นว่าข้อกฎหมายที่คู่ความอ้างมาไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะปรับบทกฎหมายไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนเองได้ อุทธรณ์ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวแล้วในศาลชั้นต้น แม้ทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ได้มาในระหว่างสมรสกับโจทก์จะเป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์รวมกับบุคคลอื่นก็ต้องถือว่าในส่วนที่จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพราะสินสมรสไม่จำต้องเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองเป็นฝ่ายร่วมกันทำมาหาได้ หากแต่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาก็ย่อมมีผลให้เป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) โดยไม่จำต้องมีข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมก่อนจึงจะเป็นสินสมรส การที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับการแบ่งทรัพย์สินซึ่งส่วนของจำเลยที่ 1 เป็นสินสมรสจึงมิใช่เป็นการแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมตามปกติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 หากแต่มีลักษณะเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และเป็นการจัดการสินสมรส ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 (6) วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ต้องจัดการร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อโจทก์มิได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยที่ 1 ในการทำนิติกรรมดังกล่าว โจทก์ชอบที่จะฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมแบ่งทรัพย์สินได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาททั้งแปลงไปขายให้แก่จำเลยที่ 3 เพราะการจำหน่ายตัวทรัพย์สินจะกระทำได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 3 ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 3 จึงกระทำการโดยไม่สุจริตและไม่มีสิทธิดีไปกว่าจำเลยที่ 2 โจทก์ขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 เฉพาะทรัพย์ส่วนที่เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2556
โจทก์สมัครใจลงลายมือชื่อในช่องผู้รับเงินในใบรับเงินที่มีข้อความว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์และได้จ่ายเงินเดือน ค่าเสียหายแทนการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า กับค่าชดเชย ซึ่งโจทก์ได้รับเงินจำนวนดังกล่าวเรียบร้อยแล้วและไม่ติดใจเรียกร้องสิทธิประโยชน์ใดจากจำเลยอีก ใบรับเงินฉบับนี้มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ มีผลผูกพันโจทก์ว่าหลังจากโจทก์ได้รับเงินทั้งสามจำนวนอันเป็นเงินตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานแล้ว โจทก์สละสิทธิที่จะเรียกเงินอื่นใดตามกฎหมายซึ่งมีความหมายรวมทั้งค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมอันไม่ใช่เงินตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานที่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10872/2555
การที่โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาล และศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว โจทก์และจำเลยทั้งสองย่อมมีเจตนาตรงกันที่จะให้สัญญาประนีประนอมยอมความสำเร็จลงสมประสงค์ของทั้งสองฝ่าย ข้อความสำคัญของสัญญาประนีประนอมในข้อ 2 คือ จำเลยทั้งสองจะชำระเงินจำนวน 3,900,000 บาท แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2541 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ หากจำเลยทั้งสองปฏิบัติการชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์แล้ว ย่อมเป็นอันบรรลุวัตถุประสงค์ตามสัญญาข้อ 2 นั้น ส่วนที่มีข้อความว่า โดยจำเลยทั้งสองจะชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองสามารถขายที่ดินโฉนดเลขที่ 6244 เรียบร้อยแล้ว หากผิดนัดยอมให้โจทก์บังคับคดีทันทีนั้นเป็นเพียงการอธิบายขยายความวิธีการชำระหนี้ของจำเลยทั้งสองว่ามีวิธีการหาเงินมาชำระหนี้โดยการขายที่ดิน ข้อความดังกล่าวมิใช่เงื่อนไขการชำระหนี้ และเป็นสัญญาที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ไว้ จำเลยทั้งสองต้องชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความภายในระยะเวลาอันสมควร การที่จำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจนเวลาล่วงเลยไปนานถึง 7 ปี นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมเป็นเวลาที่นานเกินสมควร และถือได้ว่าจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นเหตุให้โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีได้โดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5704/2555
ป.พ.พ. มาตรา 851 บัญญัติว่า อันสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ หมายความว่า สัญญาประนีประนอมยอมความอาจทำขึ้นได้โดยไม่ต้องมีแบบของสัญญา แต่หากทำขึ้นโดยไม่มีลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดแล้ว ฝ่ายที่ได้รับประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความก็ไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับคดีตามสัญญาได้ สัญญาประนีประนอมมีข้อความระบุความเสียหายทั้งหมดว่ามีประมาณ 12,000,000 บาท แต่เพื่อเป็นการระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ให้เสร็จสิ้นไป ก. ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารโกดังที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ตกลงยอมรับเงินจากจำเลยที่ 2 จำนวน 3,000,000 บาท และขอสละสิทธิเรียกร้องในค่าเสียหายใดๆ ทั้งทางแพ่งและทางอาญาต่อจำเลยทั้งสอง ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาซึ่งทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 850 เมื่อจำเลยที่ 2 ชำระเงินให้ ก. ครบถ้วนแล้ว ถือว่า ก. ได้สละสิทธิเรียกร้องใดๆ ที่มีต่อจำเลยทั้งสองในเหตุเพลิงไหม้ครั้งนี้ไปแล้ว แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความก็มีผลเพียงทำให้ ก. ไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่จำเลยที่ 2 ได้ตามมาตรา 851 เท่านั้น แต่ก็มิได้ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกันขึ้นเสียไป เมื่อ ก. ผู้เอาประกันภัยทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ แก่จำเลยที่ 2 แล้ว จึงมีผลทำให้โจทก์ผู้รับประกันภัยไม่อาจรับช่วงสิทธิจาก ก. มาฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2555
โจทก์และจำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จำเลยทั้งสามยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องและตกลงร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยทั้งสามตกลงชำระหนี้โจทก์โดยนำทรัพย์จำนองจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ภายใน 30 วัน หากผิดนัด ยินยอมให้โจทก์ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้ทันทีเพียงประการเดียว ไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่ามีการตกลงกันให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ได้สองวิธีคือ นำทรัพย์จำนองตีราคาชำระหนี้ หรือนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ การที่สัญญาระบุว่าจำเลยทั้งสามรับว่าเป็นหนี้และตกลงร่วมกันหรือแทนกันชำระหนี้ก็เป็นเพียงการยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้มูลหนี้เดิมระงับ โจทก์และจำเลยทั้งสามต้องผูกพันกันตามมูลหนี้ใหม่โจทก์ชอบที่จะบังคับคดีโดยถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย โจทก์หามีสิทธิเลือกบังคับคดีด้วยวิธีการยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาชำระหนี้ตามมูลหนี้เดิมแก่โจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2554
ป.พ.พ. มาตรา 761 มิได้บังคับให้เจ้าหนี้ต้องนำดอกผลนิตินัยอันเกิดจากทรัพย์ที่จำนำไปหักจากจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ เพียงแต่หากเจ้าหนี้ใช้สิทธิดังกล่าว จะต้องนำดอกผลนิตินัยไปหักออกจากหนี้ตามลำดับที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น โจทก์ชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 ในวันที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีหนังสือแจ้งการปลดหนี้และหลักประกัน และในท้ายหนังสือฉบับนี้ยังระบุว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามซึ่งข้อกำหนดในสัญญารับสภาพหนี้และสัญญาปลดหนี้ โดยมีเงื่อนไขครบถ้วนทุกประการ จึงต้องถือว่าหนี้ทั้งหมดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ระงับไปแล้วโดยการประนีประนอมยอมความ ทั้งในสัญญาประนีประนอมยอมความก็มิได้ระบุว่าให้นำเงินปันผลที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับเป็นอีกส่วนหนึ่งที่โจทก์จะต้องนำมาชำระให้แก่จำเลยที่ 1 อีกด้วย และในการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท ล. ในวันที่ 27 เมษายน 2544 ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 6 บาท ดังนั้น ดอกผลนิตินัยอันเกิดจากหุ้นที่โจทก์จำนำไว้แก่จำเลยที่ 1 จึงเกิดขึ้นภายหลังจากหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ระงับไปทั้งหมดแล้ว รวมทั้งหลักประกันต่างๆ ที่จำเลยที่ 1 เคยมีสิทธิบังคับเอาแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิที่จะนำเงินปันผลมาชำระหนี้ได้อีก จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินปันผลที่รับไว้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2554
การประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 นั้น คือ สัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่ หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน แต่สำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมีใจความเพียงว่า "ค่าเสียหายในการนี้ คู่กรณีทั้งสองตกลงกันเองได้และจะนำไปซ่อมกันเอง" ไม่มีสาระสำคัญแสดงว่าจำเลยเจรจาตกลงกับ ส. คนขับรถบรรทุกหกล้อที่โจทก์รับประกันภัยไว้ในเรื่องการชำระค่าเสียหายให้ชัดแจ้งแต่อย่างใด จึงไม่มีผลเป็นการประนีประนอมยอมความตามกฎหมาย มูลหนี้ละเมิดจึงไม่ระงับสิ้นไปเมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยนำรถยนต์บรรทุกหกล้อคันดังกล่าวไปซ่อมจนมีสภาพดีดังเดิม โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยเรียกร้องให้จำเลยผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14381/2553
กรณีที่จะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 850 กล่าวคือ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน แต่ตามบันทึกการเจรจาตกลงชดใช้ชำระหนี้ค่าปรับที่นามีความว่า เมื่อเดือนมกราคม 2541 โจทก์ได้รับจ้างใช้รถแทรกเตอร์ปรับที่นาให้จำเลยในราคา 20,000 บาท จำเลยชำระเงินให้โจทก์บางส่วนแล้ว ในวันทำบันทึกจำเลยชำระเงินให้โจทก์อีก 2,000 บาท ส่วนที่ค้างชำระ 12,000 บาท จำเลยขอผ่อนชำระเป็น 2 งวด งวดที่ 1 ในวันที่ 30 เมษายน 2542 เป็นเงิน 6,000 บาท และงวดที่ 2 ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2542 เป็นเงิน 6,000 บาท ดังนี้จะเห็นได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์เพียงฝ่ายเดียวยอมผ่อนผันให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ซึ่งถึงกำหนดชำระแล้วได้ อันเป็นการที่โจทก์สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาของโจทก์เองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 192 วรรคสอง บันทึกดังกล่าวจึงหาใช่สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ หากแต่เป็นเพียงกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาจ้างทำของตามมาตรา 193/14 (1) อันเป็นผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเท่านั้น โจทก์ในฐานะผู้รับจ้างต้องเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับภายในกำหนด 2 ปี ตามมาตรา 193/14 (7) โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเกินกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ค่าจ้างค้างชำระแต่ละงวดถึงกำหนด คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12039 - 12042/2553
สิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เป็นสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แต่เมื่อโจทก์ทั้งสี่สมัครใจทำข้อตกลงสละสิทธิเรียกร้องในเงินจำนวนดังกล่าวภายหลังจากที่จำเลยเลิกจ้าง ซึ่งในขณะนั้นโจทก์ทั้งสี่พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยและมีอิสระที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของตนเองได้ เพราะพ้นพันธกรณีและอำนาจบังคับบัญชาจากจำเลยไปแล้ว ข้อตกลงอันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยจึงมีผลสมบูรณ์ หาได้ขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะส่งผลให้เป็น โมฆะแต่อย่างใดไม่ โจทก์ทั้งสี่จึงต้องผูกพันและปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10022/2553
ตามหนังสือรับชดใช้สินค้าขาดบัญชีไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง นับแต่วันผิดนัดซึ่งหนังสือรับชดใช้สินค้าขาดบัญชีดังกล่าวให้ชดใช้เป็นรายเดือน กำหนดชำระเสร็จใน 12 เดือน เริ่มชดใช้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2545 เป็นต้นไป อันเป็นการผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์เป็นงวด แม้ไม่ได้ระบุว่าผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามเวลาที่ตกลงไว้แม้แต่งวดหนึ่งงวดใดก็ตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาทั้งหมดนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545 ไม่ใช่ผิดนัดเฉพาะเพียงงวดนั้นแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2553
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมกำหนดไว้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ หนี้เบิกเงินเกินบัญชีและหนี้เงินกู้รวม 36,130,856.01 บาทพร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 2 ตกลงร่วมรับผิดในหนี้ 27,265,664.86 บาท โจทก์ตกลงลดยอดหนี้ให้จำเลยทั้งสามเหลือจำนวน 19,152,000 บาท โดยให้ผ่อนชำระเป็นงวดรายเดือน หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งยอมให้โจทก์บังคับคดีในยอดหนี้เต็มจำนวนและยึดทรัพย์จำนองตามฟ้องได้ทันที โดยไม่มีข้อความว่า หากบังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ก็ให้โจทก์บังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นได้ด้วย แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์จำนองเท่านั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามได้อีก และไม่อาจนำหนี้ที่เหลือมาฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2553
ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีข้อความว่า จำเลยจะชำระเงินให้แก่โจทก์จำนวนเต็มตามฟ้องโดยผ่อนชำระเป็นรายเดือนจนกว่าจะครบถ้วนให้เสร็จสิ้นภายใน 3 ปี หากโจทก์ได้รับชำระครบถ้วนแล้ว โจทก์จะถอนฟ้องคดีนั้น เป็นข้อตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามเช็คเท่านั้น และตามข้อตกลงดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในทันที จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ทำให้มูลหนี้เดิมตามเช็คระงับไปแล้วเกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้งไม่มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้เดิมระงับไปแต่อย่างใด เมื่อจำเลยมิได้ใช้เงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์ และหนี้ที่ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นก็ไม่สิ้นผลผูกพันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 คดีจึงไม่เลิกกัน สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องจึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3779/2553
แม้จะมีข้อความในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่ร้อยตำรวจโท ม. บันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า จำเลยที่ 1 ยอมรับผิดและยอมชดใช้ค่าเสียหายให้กับรถของ น. รถของ ค. และรถของ ส. ทุกประการ ในส่วนของความเสียหายจะไปตรวจสอบอีกครั้งและคู่กรณีแจ้งว่าจะไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายกันเอง แต่ข้อความดังกล่าวก็ได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับผิดว่าเป็นผู้ก่อใหเกิดความเสียหายและตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเท่านั้น โดยไม่มีรายละเอียดหรือข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงินที่ต้องชำระ วิธีการชำระ ตลอดจนกำหนดเวลาชำระที่แน่นอนอันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก นอกจากนี้บันทึกข้อตกลงดังกล่าวหาได้มีข้อความโดยชัดแจ้งว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทโดยยอมสละข้อเรียกร้องอื่นทั้งสิ้นแต่อย่างใด ดังนี้ ข้อความในเอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันจะทำให้หนี้ในมูลละเมิดระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ถึง 852

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2553
สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีสาระสำคัญเพียงว่า จำเลยที่ 1 มีภาระหนี้สินกับโจทก์ตามสัญญากู้และตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยการเปลี่ยนแปลงการชำระหนี้เท่านั้น ไม่มีการตกลงเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ต้องการระงับข้อพิพาทเดิมโดยต่างยอมผ่อนผันแก่กันและกำหนดหนี้ขึ้นใหม่ ตามความหมายของคำว่าประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 จึงไม่ทำให้หนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 ระงับไป ดังนั้นสัญญาจำนองที่ ว. ทำไว้กับโจทก์เป็นประกันการชำระเงินตามสัญญากู้เงินของจำเลยที่ 1 จึงมีผลผูกพันอยู่ จำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ว. ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236/2553
ก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ 1 เดือนเศษ โจทก์แถลงขอส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.9 ต่อศาลและให้ฝ่ายจำเลย ศาลชั้นต้นอนุญาต โดยจำเลยทั้งสองได้รับสำเนาแล้ว ต่อมาโจทก์สืบพยานและอ้างส่งต้นฉบับเอกสารดังกล่าวต่อศาล แล้วแถลงหมดพยานถือว่าโจทก์สืบพยานเอกสารเสร็จแล้ว แต่จำเลยทั้งสองซึ่งโจทก์อ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานยันตน มิได้คัดค้านว่าเอกสารนั้นเป็นเอกสารปลอม ก่อนที่โจทก์จะสืบพยานเอกสารดังกล่าวเสร็จ ทั้งมิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตคัดค้านการอ้างเอกสารดังกล่าวก่อนศาลชั้นตั้นพิพากษา ถือว่าจำเลยทั้งสองมิได้คัดค้านความแท้จริงหรือความถูกต้องของเอกสารฉบับนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 วรรคหนึ่งและวรรคสองจึงต้องห้ามมิให้คัดค้านความแท้จริงหรือความถูกต้องของเอกสารนั้นตาม

ป.วิ.พ. มาตรา 125 วรรคสาม ตามรายการประจำนวนเกี่ยวกับคดีระบุข้อความว่า จำเลยที่ 1 ยอมรับว่าได้กู้เงินโจทก์เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2545 จำนวน 260,000 บาท จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์แล้ว 50,000 บาท เป็นต้นเงิน 40,000 บาท ดอกเบี้ย 10,000 บาท ส่วนเงินที่ค้างชำระ 225,000 บาท จำเลยที่ 1 จะชำระให้โจทก์หลังจากนำที่ดินไปจำนองกับธนาคารแล้ว ข้อความดังกล่าวมีลักษณะเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ มิใช่เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่จะระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่เป็นการประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9106/2552
ข้อตกลงในรายงานกระบวนพิจารณาที่โจทก์และจำเลยทั้งห้าเคยตกลงกันว่าโจทก์ตกลงลดหย่อนต้นเงินและลดต้นเงินเหลือ 10,000,000 บาท หากจำเลยทั้งห้าชำระครบถ้วน โจทก์จะถอนฟ้องให้ เป็นเพียงข้อตกลงที่โจทก์ยอมลดยอดหนี้และยอมให้จำเลยทั้งห้าผ่อนชำระหนี้เท่านั้น โดยจำเลยทั้งห้าจะต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์อันเป็นเงื่อนไขที่จำเลยทั้งห้าต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนเสียก่อน โจทก์จึงถอนฟ้องให้หากจำเลยทั้งห้าไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลง โจทก์ไม่มีความผูกพันที่จะต้องถอนฟ้องกรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่โจทก์และจำเลยทั้งห้าตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่หรือที่จะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปในทันทีด้วยต่างผ่อนผันให้แก่กัน อันจะถือเป็นการประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7802/2552
เมื่อเกิดเหตุรถชนกัน ส. ไปเจรจาค่าเสียหายกับโจทก์โดยมอบใบมอบอำนาจที่มี จ. กรรมการของจำเลยลงลายมือชื่อโจทก์ พร้อมหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทของจำเลยให้ร้อยตำรวจเอก พ. เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่า จ. กระทำในนามของจำเลย แม้ จ. มิได้ประทับตราสำคัญของจำเลยลงในหนังสือมอบอำนาจ แต่การที่ ส. เจรจาค่าเสียหายกับโจทก์ยอมชำระค่ารักษาพยาบาลให้แก่โจทก์ 70,000 บาท และรับรถกระบะของโจทก์เพื่อนำไปซ่อม ทั้งยังนำรถบรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุคืนไปจากพนักงานสอบสวน และไม่ปรากฏว่าจำเลยมิได้รับรถคันดังกล่าวไว้ พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าจำเลยเชิด จ. เป็นตัวแทนในการตกลงค่าเสียหายกับโจทก์ แม้ จ. จะมิได้กระทำด้วยตนเอง แต่มอบอำนาจให้ ส. กระทำการแทนก็ตาม จำเลยจึงต้องรับผิดตามบันทึกตกลงค่าเสียหาย บันทึกตกลงค่าเสียหายไม่มีข้อความระบุชัดแจ้งว่าฝ่ายจำเลยจะชำระค่าซ่อมรถยนต์เป็นเงินเท่าใด และหากฝ่ายจำเลยไม่ซ่อม โจทก์จะเรียกร้องได้เพียงใด ไม่ชัดแจ้งที่จะเป็นการระงับข้อพิพาท จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ที่จะทำให้มูลหนี้ละเมิดระงับไป จำเลยจึงยังต้องรับผิดในการกระทำละเมิดของลูกจ้างจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5573/2552
ตามสัญญาระบุว่า จำเลยที่ 3 ยินดีที่จะให้การช่วยเหลือโจทก์ที่ได้เสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพและอาการป่วยจากการติดเชื้อเอชไอวีในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาประมาณ 5 ปี เป็นเงินจำนวนหนึ่งไม่เกิน 500,000 บาท โดยจำเลยที่ 3 จะนำเรื่องนี้ไปปรึกษาคณะกรรมการบริหารของจำเลยที่ 1 ก่อนและจะแจ้งผลให้ทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญญาฉบับนี้ แสดงว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขว่าต้องให้จำเลยที่ 3 นำไปปรึกษาคณะกรรมการบริหารของจำเลยที่ 1 ก่อน ซึ่งยังไม่แน่ว่าคณะกรรมการบริหารของจำเลยที่ 1 จะเห็นชอบและตกลงทำสัญญาดังกล่าวหรือไม่ ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงยังไม่ระงับไปตามสัญญา สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 อันมีผลเป็นการรับสภาพความรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/35 การใช้สิทธิเรียกร้องในค่าเสียหายแต่ละมูลละเมิดของโจทก์จึงต้องใช้ภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือเดือนพฤษภาคม 2539 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 26 กรกฎาคม 2543 จึงล่วงพ้นเวลา 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4921/2552
การ สละมรดกมี ป.พ.พ. มาตรา 1612 บัญญัติให้กระทำได้ 2 แบบคือ แสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ คำว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 หมายถึง ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอหรือหัวหน้ากิ่งอำเภอและหมายรวมถึงบุคคลที่กระทำ หน้าที่แทนด้วย ดังนั้น การที่บุตรทั้งเจ็ดของเจ้ามรดกไปให้ถ้อยคำและทำบันทึกหลักฐานเป็นหนังสือ ระบุชัดแจ้งว่าไม่ขอรับโอนมรดกที่ดินไว้ต่อเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอ ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการประจำสำนักงานที่ดินอำเภอสวี ในฐานะเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินปฏิบัติราชการแทนนายอำเภอ ซึ่งนายอำเภอมีอำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 38 (10) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นที่จะมอบอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการที่ประจำอยู่ใน อำเภอปฏิบัติราชการแทนได้ จึงเป็นการแสดงเจตนาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายแล้ว แต่การที่บุตรทั้งเจ็ดระบุว่า ไม่ประสงค์ขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้และยินยอมให้จำเลยรับมรดกแปลงนี้แต่ผู้ เดียว ไม่ใช่การสละมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 เพราะเป็นการสละมรดกโดยมีเงื่อนไข ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1613 อย่างไรก็ตามบันทึกดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลใช้ บังคับผูกพันบุตรทั้งเจ็ดกับจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850, 852 และ 1750

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2551
ฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ได้นำคดีมาฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ ส. ถึงแก่ความตาย คดีของโจทก์ทั้งสี่จึงขาดอายุความ เป็นการฎีกาในทำนองว่าคดีของโจทก์ทั้งสี่ขาดอายุความในเรื่องมรดก ซึ่งจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ คงให้การต่อสู้ไว้เฉพาะอายุความในเรื่องสัญญา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บันทึกหลังทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ส. ที่ระบุว่าบ้านพร้อมกับที่ดินปลูกสร้างบ้านยกให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 บุตรทั้ง 3 คน เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และมาตรา 374 โจทก์ที่ 1 ในฐานะคู่สัญญามีสิทธิเรียกให้ ส. ลูกหนี้ชำระหนี้ด้วยการโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุตรทั้งสามได้และสิทธิเรียก ร้องอันเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความกฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดย เฉพาะจึงตกอยู่ในบังคับของมาตรา 193/30 มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ


โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นบุคคลภายนอกที่จะได้รับประโยชน์จากสัญญาระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ส. ซึ่งสิทธิเรียกร้องของบุคคลภายนอกดังกล่าวกฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้ โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และสิทธิของบุคคลภายนอกย่อมเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่า จะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตามมาตรา 374 วรรคสอง เมื่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 แสดงเจตนาต่อ ส. ผู้เป็นลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาโดยให้โอนที่ดินพร้อมบ้านตาม สัญญาให้ตนเมื่อต้นปี 2534 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงอาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ ส. โอนที่ดินพร้อมบ้านตามสัญญานับแต่เวลาที่แสดงเจตนาดังกล่าวซึ่งนับถึงวัน ฟ้องวันที่ 9 เมษายน 2542 ยังไม่เกิน 10 ปี


โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ได้แสดงเจตนาต่อ ส. ผู้เป็นลูกหนี้ตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกแล้ว ส. ไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในภายหลังได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 375 ส. จึงไม่มีสิทธิยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนให้โดยเสน่หาระหว่าง ส. กับจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2551
บันทึก หลังทะเบียนการหย่า ที่ระบุว่าบ้านเลขที่ 11/1 ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง พร้อมกับที่ดินปลูกสร้างบ้านยกให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 บุตรทั้ง 3 คน นั้น เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และมาตรา 374 โจทก์ที่ 1 ในฐานะคู่สัญญามีสิทธิเรียกให้ ส. ลูกหนี้ชำระหนี้ด้วยการโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุตรทั้งสามได้และสิทธิเรียก ร้องอันเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความกฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดย เฉพาะจึงตกอยู่ในบังคับของมาตรา 193/30 แห่ง ป.พ.พ. มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ ส. เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2531 นับถึงวันฟ้องวันที่ 9 เมษายน 2542 เกิน 10 ปี คดีของโจทก์ที่ 1 จึงขาดอายุความ ส่วนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นบุคคลภายนอกที่จะได้รับประโยชน์จากสัญญาระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ส. เป็นกรณีสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกซึ่งสิทธิเรียกร้องของบุคคลภายนอกดัง กล่าวกฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และสิทธิของบุคคลภายนอกย่อมเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่า จะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 แสดงเจตนาต่อ ส. ผู้เป็นลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาโดยให้โอนที่ดินพร้อมบ้านตาม สัญญาให้ตนเมื่อต้นปี 2534 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงอาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ ส. โอนที่ดินพร้อมบ้านตามสัญญานับแต่เวลาที่แสดงเจตนาดังกล่าวซึ่งนับถึงวัน ฟ้องวันที่ 9 เมษยน 2542 ยังไม่เกิน 10 ปี คดีของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่ขาดอายุความ ส. ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามสัญญาไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในภายหลังได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 375 ส. จึงไม่มีสิทธิยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ขอให้เพิกถอนการโอนให้โดยเสน่หาระหว่าง ส. กับจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2551
บริษัท ร. นำเช็คพิพาทไปขายลดแก่โจทก์โดยลงลายมือชื่อสลักหลัง โจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายและบริษัท ร. ผู้สลักหลังจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 914 และมาตรา 967 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 989 อันถือได้ว่าเป็นความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ดังนั้น เมื่อโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งถือได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่อีก ประการหนึ่ง โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้บริษัท ร. ชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้บริษัท ร. รับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องต่อจำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายให้รับผิดต่อโจทก์ใน มูลหนี้ตามเช็คพิพาทย่อมหมดสิ้นไปด้วย ทั้งนี้เพราะสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทของโจทก์ได้ระงับสิ้นไป แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2551
กรณีจะ เป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 นั้น คู่ความทั้งสองคดีต้องเป็นคู่ความเดียวกัน เมื่อคดีก่อน ก. เป็นโจทก์มีโจทก์คดีนี้เป็นผู้ฟ้องแทนในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของ ก. ผู้เยาว์ แต่คดีโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัวในฐานะเป็นคู่สัญญาตามสัญญาประนีประนอมยอม ความ มิใช่คู่ความเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ


บันทึกข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยกระทำละเมิดต่ออำนาจปกครองของโจทก์โดย พรากผู้เยาว์ไปจากโจทก์ ไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าคู่กรณีประสงค์จะระงับคดีอาญาที่เป็นความผิดต่อ แผ่นดิน สัญญาประนีประนอมยอมความตามบันทึกดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย มิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบ ร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2551
บันทึก ข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 ผู้กระทำละเมิดยอมรับผิดต่อ น.ซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ว่าจะนำรถยนต์ที่ได้รับ ความเสียหายไปซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีดังเดิม แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะยอมรับผิดชอบในค่ารักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บด้วย แต่ก็ไม่มีข้อตกลงที่เป็นการสละสิทธิเรียกร้องในค่าเสียหายส่วนอื่นที่เจ้า ของรถยนต์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ได้อีก ข้อตกลงดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่ หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850


จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุไปติดต่อธุรกิจการค้าให้แก่จำเลยที่ 2 การกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2


โจทก์นำรถยนต์คันเกิดเหตุไปซ่อมจนรถอยู่ในสภาพเดิม และโจทก์ออกใบสั่งจ่ายค่าสินไหมทดแทนรถยนต์กับใบเสร็จรับเงินและปลดหนี้ให้ แก่ผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุรับเงินไปเรียบร้อยแล้ว ถือว่าโจทก์ได้ชำระเงินค่าซ่อมรถให้แก่อู่ซ่อมรถแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้รับช่วงสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8388/2550
ข้อ ตกลงที่มีข้อความว่า หากโจทก์ได้รับเงินจำนวนตามที่ระบุไว้ครบถ้วน โจทก์ก็ไม่ติดใจเรียกร้องไม่ว่าทางแพ่งหรือทางอาญาหรือไม่ติดใจเอาความอีก และจำเลยต้องนำข้อตกลงนี้ไปเสนอต่อกรรมการของจำเลยร่วมก่อน ข้อตกลงดังกล่าวย่อมไม่ได้ระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไปทีเดียว จึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ


ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เอกสารหมาย จ.9 มีผลบังคับใช้เช่นเดียวกับสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้สิทธิที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดจากจำเลยที่ 2 ระงับ พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีไปฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ (เอกสารหมาย จ.9) แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ว่า เอกสารหมาย จ.9 ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า เอกสารหมาย จ.9 ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ ความรับผิดในมูลละเมิดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ยังคงมีอยู่ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีไปฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความใหม่ไม่ชอบ ปัญหาว่าเอกสารหมาย จ.9 เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่จึงเกี่ยวกับอำนาจฟ้องที่โจทก์จะนำคดีไป ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีใหม่โดยอาศัยเอกสารหมาย จ.9 ได้หรือไม่ จึงเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6549/2550
การ ที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยกับพวกต่อศาลแรงงานภาค 5 เป็นการฟ้องเนื่องจากจำเลยกับพวกซึ่งเป็นลูกจ้างได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นนายจ้างอันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่ง สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลยกับพวกจึงเป็นสัญญาประนี ประนอมยอมความในคดีแพ่งซึ่งไม่มีข้อตกลงว่าโจทก์ร่วมไม่ติดใจดำเนินคดีแก่ จำเลยในทางอาญา ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการ "ยอมความกัน" สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5387 - 5388/2550
ข้อ ตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยมีเงื่อนไขในลักษณะที่โจทก์มีเจตนาจะให้จำเลยทำงาน ให้โจทก์แล้วเสร็จก่อน แล้วจึงหักหนี้ค่าก่อสร้างกับมูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทคดีนี้ภายหลัง เมื่อจำเลยก่อสร้างหรือชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วน โจทก์จึงจะถอนฟ้องคดีนี้ให้ ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ตกลงระงับข้อพิพาทหรือสละสิทธิในการดำเนินคดี อาญาแก่จำเลยทันทีแต่อย่างใด จึงมิใช่การยอมความเพื่อให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)


ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์ฝ่ายเดียวผ่อนผันการชำระหนี้ให้แก่จำเลย มิใช่ต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ทำให้มูลหนี้เดิมตามเช็คระงับไป แล้วเกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความทั้งไม่มีการเปลี่ยนแปลงสิ่ง ซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้เดิม ระงับไปแต่อย่างใด เมื่อจำเลยมิได้ใช้เงินตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับให้โจทก์ และหนี้ที่ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นก็ไม่สิ้นผลผูกพันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 คดีจึงไม่เลิกกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306/2550
จำเลย ที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร แต่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดอันเนื่องมาจากการเป็นตัวการตัวแทน จึงเป็นกรณีที่มูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และจำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นต่อศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 5


การที่จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ชักชวนบุคคลทั่วไปให้มาทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 ทั้งมีหน้าที่รับเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 ด้วย ย่อมเป็นการทำให้บุคคลทั่วไปซึ่งรวมทั้งโจทก์เข้าใจและเชื่อว่าสิ่งที่จำเลย ที่ 2 พูดหรือกระทำนั้นเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ผู้เป็นตัวแทน แม้การที่จำเลยที่ 2 รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าจะเป็นการกระทำนอกขอบอำนาจของการเป็นตัว แทน จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 ประกอบมาตรา 820 โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 1 จะได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าดังกล่าวหรือไม่
การที่จำเลยที่ 1 มิได้มีระเบียบให้ตัวแทนรับเบี้ยประกันภัยล่วงหน้า และในการสั่งจ่ายเช็คชำระค่าเบี้ยประกันภัยโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ ระบุไว้ในใบรับเงินชั่วคราว แต่จำเลยที่ 1 จะมีระเบียบในเรื่องการรับชำระเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าหรือไม่ ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ไม่อาจยกเรื่องนี้ขึ้นเป็นข้อปฏิเสธความรับผิดได้


ข้อตกลงที่โจทก์ทำกับจำเลยที่ 2 มิได้ระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไปทีเดียว แต่ยังมีเงื่อนไขว่าโจทก์จะไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามข้อตกลงข้ออื่นๆ ครบถ้วนแล้ว ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและไม่ทำให้หนี้ เดิมระงับ จำเลยที่ 1 จึงยังผูกพันที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2550
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญารับผิดชดใช้ความเสียหายของ ก. ต่อโจทก์ แต่เมื่อโจทก์และ ก. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเสียหายที่ ก. จะต้องรับผิด ความรับผิดของ ก. ที่เกิดจากสัญญารับผิดชดใช้ความเสียหายและความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำ ประกันจึงระงับสิ้นไป และทำให้ ก. ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และ 852 เมื่อความรับผิดของ ก. ต่อโจทก์เปลี่ยนเป็นความรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วยเนื่องจากหนี้ของ ก. ตามสัญญารับผิดชดใช้ความเสียหายระงับสิ้นไปแล้วตามมาตรา 698

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2550
การที่โจทก์และห้างหุ้นส่วนจำกัด ม. กับ ว. คู่ความในคดีเดิมทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่ สุดแล้ว ข้อพิพาทที่ว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่ จึงเป็นอันระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 ทางพิพาทจึงไม่ใช้ทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์อีกต่อไปแต่โจทก์ก็ยังมี สิทธิใช้ถนนในที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด ม. ออกสู่ถนนสายบางนา-ตราด ได้ตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้โจทก์จะใช้เกินกว่า 10 ปี แล้วก็ไม่ตกเป็นทางภาระจำยอมโดยอายุความตามมาตรา 1401

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2550
โจทก์ ที่ 2 มีหนังสือถึง ส. ผู้จัดการธนาคารจำเลย สาขาปักธงชัยว่า โจทก์ที่ 2 ขอรับผิดชอบสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ 2 เพียงผู้เดียว ขอให้ผู้จัดการอย่าได้ลงโทษ ร. ถึงขั้นรุนแรง โจทก์ที่ 2 ไม่ติดใจเอาความแก่จำเลยทั้งทางแพ่งและทางอาญา เป็นเพียงคำรับรองว่าโจทก์ที่ 2 ไม่ติดใจเรียกร้องทางแพ่งและทางอาญาแก่จำเลย โดยจำเลยมิได้เข้าเป็นคู่สัญญาตกลงด้วยในอันที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์ ที่ 2 กับจำเลยให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2550
การ ที่ น. ขับรถยนต์จากกรุงเทพมหานครไปที่จังหวัดชัยนาทตามคำสั่งของ พ. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท พ. และเป็นนายจ้างของ น. เพื่อพา พ. ไปเจรจาเพื่อชดใช้ความเสียหายกรณีที่ พ. เคยขับรถยนต์ชนกับรถยนต์ของบุคคลอื่นในระหว่างการทำตามหน้าที่ของผู้แทน บริษัท พ. เป็นการไปเพื่อตกลงชดใช้ค่าเสียหายประนีประนอมยอมความหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 850, 852 สำหรับการทำละเมิดของ พ. ที่บริษัท พ. อาจต้องรับผิดในความเสียหายด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 77, 425, 427 การไปเจรจาเพื่อชดใช้ความเสียหายของ พ. เป็นการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่บริษัท พ. ดังนั้น แม้ น. จะไม่ได้ป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างแต่ก็ได้ทำงานตามคำสั่งของนาย จ้าง แต่ในระหว่างการเดินทางก่อนการเจรจาเรื่องค่าเสียหาย มีคนร้ายใช้อาวุธปืนยิง น. และ พ. ถึงแก่ความตายโดยไม่ปรากฏสาเหตุการถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงไม่ได้เกิดใน ระหว่างการเจรจาหรือสืบเนื่องมาจากการเจรจาเรื่องค่าเสียหาย ทั้งไม่ใช่เหตุที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นได้จากการเดินทาง จึงมิใช่ผลโดยตรงจากการทำงาน หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง หรือตามคำสั่งของนายจ้าง การที่ น. และ พ. ถึงแก่ความตายจึงถือไม่ได้ว่าเนื่องจากการทำงาน หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่บริษัท พ. ซึ่งเป็นนายจ้าง น. จึงไม่ได้ประสบอันตรายตามความในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8231/2549
ในคดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูตามบันทึกข้อตกลงเป็นเงิน 11,000 บาท และจ่ายจากเงินบำนาญครึ่งหนึ่ง หรือให้โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของร่วมกันรับเงินบำเหน็จ เมื่อจำเลยเกษียณอายุราชการแล้ว ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่เต็มคำขอโดยตกลงว่า จำเลยยินยอมจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่โจทก์ 11,000 บาท และโจทก์จำเลยไม่ติดใจว่ากล่าวคดีสืบต่อไป ย่อมหมายความว่าโจทก์พอใจที่จะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยเป็นเงิน 11,000 บาท โดยไม่ติดใจที่จะเรียกให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกต่อไป ดังนี้ ที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ขอให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ แม้ในคดีก่อนโจทก์จะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยอาศัยบันทึกข้อตกลงแต่มูล เหตุของการทำบันทึกข้อตกลงเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาของโจทก์ จำเลยตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1461 วรรคสอง นั่นเอง แม้ในคดีก่อนโจทก์จะไม่อ้างบันทึกข้อตกลงโจทก์ก็มีสิทธิฟ้องจำเลยเรียกค่า อุปการะเลี้ยงดูได้อยู่แล้ว ประเด็นแห่งคดีนี้กับคดีก่อนจึงเป็นประเด็นและเหตุเดียวกัน คือ การเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูตาม ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคสอง ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8141/2549
ก่อนที่จะมีการบันทึกข้อตกลงเลิกสัญญาจ้างต่อกัน โจทก์และจำเลยมีข้อพิพาทกันหลายเรื่องได้มีการเจรจากันหลายครั้งก่อนหน้านี้ และโจทก์เป็นผู้คิดคำนวณเรียกร้องเงินช่วยเหลือจากจำเลยเองโดยมีจำนวนเงิน สูงกว่าสิทธิที่โจทก์ควรจะได้รับโดยรวมเงินค่าจ้างค้างและเงินค่าตำแหน่งไว้ แล้ว และตามบันทึกข้อตกลงเลิกสัญญาจ้าง ข้อ 3 ระบุว่าโจทก์พอใจในข้อตกลงตามบันทึกดังกล่าวโดยไม่ติดใจเรียกร้องสิ่งอื่นใด ๆ อีกต่อไป เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้สละสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินค่าจ้างค้างชำระและ เงินค่าตำแหน่งเพราะได้นำไปรวมไว้ในเงินช่วยเหลือตามบันทึกข้อตกลงแล้ว บันทึกข้อตกลงเลิกสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 850

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6002/2549
แม้ข้อความที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ตกลงกับโจทก์จะระบุว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม แต่เมื่อสัญญาดังกล่าวมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 1 ยอมรับว่า ได้เรียกเก็บเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยไว้แล้วมิได้นำส่งให้ โจทก์เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 446,855.47 บาท ขอยอมรับผิดชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนโจทก์ และขอผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์โดยสั่งจ่ายเช็คชำระหนี้รวม 6 งวด งวดแรกชำระในวันรุ่งขึ้น ส่วนที่เหลือชำระในเดือนต่อๆ ไป โดยไม่มีข้อความที่แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 กับโจทก์ที่จะตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ อันจะทำให้หนี้ตามสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และ 852 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ตามสัญญาตัวแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4948/2549
การที่โจทก์และ ก. หย่ากันโดยทำข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินตามใบยอมความและได้กระทำต่อหน้าเจ้า พนักงาน มีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าทั้งสองฝ่ายยินยอมที่จะขอจดทะเบียนหย่าขาดจากการ เป็นสามีภริยาโดยความสมัครใจและตกลงแบ่งทรัพย์สินกัน รวมทั้งสวนยางพาราที่ดิน ส.ค.1 ตามฟ้อง เห็นได้ว่าโจทก์และ ก. ประสงค์จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินที่มีอยู่หรือที่จะมีขึ้นต่อไปภาย หน้าให้เสร็จไปด้วยต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันอันเป็นสัญญาประนีประนอม ยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 เมื่อใบยอมความเป็นข้อตกลงกันในเรื่องเกี่ยวกับสินสมรส จึงเป็นผลให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับสินสมรสระงับไป โจทก์คงได้สิทธิใหม่ตามที่แสดงไว้ในใบยอมความดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 เท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์สินตามฟ้องอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 574/2549
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินให้โจทก์ แต่จำเลยทั้งสองไม่ชำระ โจทก์ขอให้บังคับคดี จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องว่านอกจากคดีนี้แล้วโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาและได้มีการ ตกลงประนีประนอมยอมความกัน ขอให้งดการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ไว้จนกว่าจะได้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงประนีประนอมยอมความ ตามคำแถลงของโจทก์และจำเลยที่ 2 ที่แถลงต่อศาลชั้นต้นในคดีอาญามีเงื่อนไขว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงจะไม่ติดใจเรียกร้องเอากับจำเลยที่ 2 อีกต่อไป แต่โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ได้ตกลงกันว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์หรือชำระหนี้ไม่ครบถ้วนแล้วโจทก์จะยินยอมให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากความรับผิดไปหรือไม่ คำแถลงดังกล่าวเป็นเพียงเหตุผลในการขอเลื่อนการนัดฟังคำพิพากษาออกไปอีกนัด หนึ่งเท่านั้น ไม่มีลักษณะที่โจทก์จำเลยที่ 2 ได้ตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ระหว่างกันให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้ แก่กัน จึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิในการบังคับของโจทก์จึงไม่ระงับสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6639/2548
บันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ชำระค่าเสียหายเป็นการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 จึงยอมรับว่าโจทก์เสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อ และยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ 100,000 บาท ผ่อนชำระ 12 งวด และโจทก์ตกลงตามบันทึกดังกล่าวข้อ 4 ว่าหากจำเลยที่ 1 ชำระหนี้โดยไม่ผิดนัดครบยอดเงิน 100,000 บาท โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องส่วนที่เหลือ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งมีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมให้เสร็จไปโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และผลของสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายยอมสละระงับ สิ้นไป และได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นว่าเป็นของตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมจึงระงับไป เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันตามมูลหนี้ในสัญญาเช่าซื้อเดิมไม่ได้ตกลงในบันทึกข้อตกลงดัง กล่าวด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2547
หนังสือ รับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำกับ ส. ระบุว่า จำเลยที่ 1 ได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป จึงตกลงคืนเงินที่ยักยอกไปให้แก่ ส. นั้น เป็นเพียงหนังสือที่จำเลยที่ 1 รับว่าเป็นหนี้ ส. และยอมชำระหนี้แก่ ส. ไม่มีข้อความที่จำเลยที่ 1 กับ ส. ตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ อันจะทำให้หนี้จากมูลละเมิดระงับสิ้นไป


โจทก์เป็นธนาคารซึ่งได้รับฝากเงินของ ส. ผู้เป็นลูกค้า ย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ ส. ฝากไว้เมื่อ ส. ทวงถาม การที่จำเลยที่ 1 ได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป ทำให้เงินในบัญชีเงินฝากของ ส. ขาดหายไป โจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ขาดหายไปให้แก่ ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 การที่โจทก์คืนเงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกไปให้แก่ ส. จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้ว่าไม่มีหนี้ต้องชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่ ส. ไปแล้ว ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเงินที่ชำระไปได้ตามมาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5644/2546
โจทก์ ฟ้องขอบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้หนี้เดิมจะมาจากมูลหนี้การกู้ยืมเงิน แต่โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืม โจทก์จึงไม่จำต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ มาแสดงต่อศาล


หนี้ตามต้นเงินที่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยและเบี้ย ปรับ เป็นหนี้จากมูลสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่หนี้กู้ยืมจึงไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้โจทก์เรียกหรือคิดดอกเบี้ยเกิน กว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7849/2543
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงตาม เอกสารหมาย จ.2 ข้อความว่า โจทก์และจำเลยพร้อมกันจะไปยังสำนักงานที่ดินจังหวัดลพบุรี ในวันที่ 16 กันยายน 2537 เวลา 10 นาฬิกา และตกลงกันว่าถ้าดำเนินการรังวัดตาม ส.ค.1 แล้ว ที่ดินโดยการครอบครองของโจทก์อยู่ใน ส.ค.1 จำนวนเท่าใด ก็ให้เป็นของโจทก์จำนวนเท่านั้น จำเลยให้การเกี่ยวกับเอกสารหมาย จ. 2 เพียงว่า เอกสารหมาย จ.2 ไม่ปรากฏข้อตกลงว่าให้ร่วมกันร้องขอออกโฉนดที่ดินแต่อย่างใด ถือว่าจำเลยมิได้โต้แย้งปฏิเสธว่ามิได้ทำบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.2 จึงฟังได้ว่าจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.2 จริง เมื่อบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.2 เป็นสัญญาซึ่งคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาท ซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน อันเป็นการประนีประนอมยอมความตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 850 ซึ่งได้มีหลักฐานเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีตามสัญญาได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 851 จำเลยย่อมต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8744/2542
บันทึก ฉบับพิพาทมีข้อความว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ได้รับต้นฉบับหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารคืนไป จากจำเลยเป็นการเรียบร้อยแล้ว และห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องอย่างใด ๆ ในทุก ๆ กรณี เอาจากจำเลยทั้งสิ้น โดยหุ้นส่วนผู้จัดการผู้แทนตามกฎหมายของห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ลงชื่อพร้อม ทั้งประทับตราโจทก์ไว้บันทึกดังกล่าวทำขึ้นหลังจากจำเลยชำระเงินค่าซื้อขาย แพขนานยนต์จำนวน 3 ลำ ให้แก่โจทก์โดยหักเงินค่าปรับตามสัญญาออกแล้วแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์โดย ชัดแจ้งว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องเรื่องเงินค่าปรับและค่าเสียหายจากจำเลยใน ทุกกรณี อันมีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายแพขนานยนต์ซึ่งมีอยู่ หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงเป็นสัญญาประนี ประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850,851, และ 852 ย่อมมีผลผูกพันโจทก์