มาตรา ๗๗๐
อันว่านายคลังสินค้านั้น
คือบุคคลผู้รับทำการเก็บรักษาสินค้าเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของตน
มาตรา ๗๗๑
บทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยฝากทรัพย์นั้นท่านให้นำมาใช้บังคับแก่การเก็บของในคลังสินค้าด้วยเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติในลักษณะนี้
มาตรา ๗๗๒ บทบัญญัติมาตรา ๖๑๖, ๖๑๙, ๖๒๓, ๖๒๕, ๖๓๐, ๖๓๑ และ ๖๓๒ อันว่าด้วยการรับขนนั้น
ท่านให้นำมาใช้บังคับแก่การเก็บของในคลังสินค้า อนุโลมตามควรแก่บท
มาตรา ๗๗๓
นายคลังสินค้าจำต้องยอมให้ผู้ทรงใบรับของคลังสินค้า
หรือผู้ทรงประทวนสินค้าตรวจสินค้าและเอาตัวอย่างไปได้ในเวลาอันควรระหว่างเวลาทำงานทุกเมื่อ
มาตรา ๗๗๔ นายคลังสินค้าจะเรียกให้ผู้ฝากถอนสินค้าไปก่อนสิ้นระยะเวลาที่ตกลงกันไว้นั้น
ท่านว่าหาอาจทำได้ไม่ ถ้าไม่มีกำหนดเวลาส่งคืนสินค้า
นายคลังสินค้าจะส่งคืนได้ต่อเมื่อบอกกล่าวให้ผู้ฝากทราบล่วงหน้าเดือนหนึ่ง
แต่ท่านมิให้ผู้ฝากต้องถูกบังคับให้ถอนสินค้าไปก่อนเวลาล่วงแล้วสองเดือน
นับแต่วันที่ได้ส่งมอบฝากไว้
หมวด ๒
ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า
มาตรา ๗๗๕ ถ้าผู้ฝากต้องการไซร้
นายคลังสินค้าต้องส่งมอบเอกสารซึ่งเอาออกจากทะเบียนมีต้นขั้วเฉพาะการอันมีใบรับของคลังสินค้าฉบับหนึ่ง
และประทวนสินค้าฉบับหนึ่งให้แก่ผู้ฝาก
มาตรา ๗๗๖ อันใบรับของคลังสินค้านั้น ย่อมให้สิทธิแก่ผู้ฝากที่จะสลักหลังโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าไปเป็นของผู้อื่นได้
มาตรา ๗๗๗ อันประทวนสินค้านั้น
ย่อมให้สิทธิแก่ผู้ฝากที่จะสลักหลังจำนำสินค้าซึ่งจดแจ้งไว้ในประทวนได้
โดยไม่ต้องส่งมอบสินค้านั้นแก่ผู้รับสลักหลัง
แต่ว่าเมื่อผู้ฝากประสงค์จะจำนำสินค้า
ต้องแยกประทวนออกเสียจากใบรับของคลังสินค้า
และส่งมอบประทวนนั้นให้แก่ผู้รับสลักหลัง
มาตรา ๗๗๘ ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า
ต้องมีเลขลำดับตรงกันกับเลขในต้นขั้ว และลงลายมือชื่อของนายคลังสินค้า
อนึ่ง
ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้านั้น ท่านให้มีรายละเอียดดังกล่าวต่อไปนี้ คือ
(๑) ชื่อหรือยี่ห้อ
และสำนักของผู้ฝาก
(๒) ที่ตั้งคลังสินค้า
(๓)
ค่าบำเหน็จสำหรับเก็บรักษา
(๔)
สภาพของสินค้าที่เก็บรักษา และน้ำหนักหรือขนาดแห่งสินค้านั้น กับทั้งสภาพ จำนวน
และเครื่องหมายหีบห่อ
(๕)
สถานที่และวันออกใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้านั้น
(๖)
ถ้าได้กำหนดกันไว้ว่าให้เก็บสินค้าไว้ชั่วเวลาเท่าใดให้แจ้งกำหนดนั้นด้วย
(๗)
ถ้าของที่เก็บรักษามีประกันภัย ให้แสดงจำนวนเงินที่ประกันภัยกำหนดเวลาที่ประกันภัย
และชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับประกันภัยด้วย
อนึ่ง
นายคลังสินค้าต้องจดรายละเอียดทั้งนี้ลงไว้ในต้นขั้วด้วย
มาตรา ๗๗๙ อันใบรับของคลังสินค้าก็ดี ประทวนสินค้าก็ดี
ท่านว่าหาอาจออกให้หรือสลักหลังให้แก่ผู้ถือได้ไม่
มาตรา ๗๘๐
เมื่อใดผู้ฝากสลักหลังประทวนสินค้าให้แก่ผู้รับจำนำ
คู่สัญญาต้องจดแจ้งการที่สลักหลังนั้นลงไว้ในใบรับของคลังสินค้าด้วย
ถ้ามิได้จดแจ้งไว้ดังนั้น
ท่านว่าการจำนำนั้นหาอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ผู้ซื้อสินค้าสืบไปนั้นได้ไม่
มาตรา ๗๘๑
เมื่อประทวนสินค้าได้สลักหลังและส่งมอบแก่ผู้รับจำนำแล้ว
ให้ผู้ฝากกับผู้รับจำนำจดลงไว้ในประทวนสินค้าเป็นสำคัญ
ว่าได้จดข้อความตามที่บัญญัติในมาตราก่อนไว้ในใบรับของคลังสินค้าแล้ว
มาตรา ๗๘๒
เมื่อใดผู้ฝากจำนำสินค้าและส่งมอบประทวนสินค้าแก่ผู้รับสลักหลังแล้ว
ผู้รับสลักหลังเช่นนั้นต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่นายคลังสินค้าให้ทราบจำนวนหนี้ซึ่งจำนำสินค้านั้นเป็นประกัน
ทั้งจำนวนดอกเบี้ยและวันอันหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระ เมื่อนายคลังสินค้าได้รับคำบอกกล่าวเช่นนั้นแล้วต้องจดรายการทั้งนั้นลงในต้นขั้ว
ถ้าและมิได้จดในต้นขั้วเช่นนั้น
ท่านว่าการจำนำนั้นหาอาจจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ทั้งหลายของผู้ฝากได้ไม่
มาตรา ๗๘๓
ผู้ทรงเอกสารอันมีทั้งใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้านั้น
จะให้นายคลังสินค้าแยกสินค้าที่เก็บรักษาไว้ออกเป็นหลายส่วนและให้ส่งมอบเอกสารแก่ตนส่วนละใบก็ได้
ในกรณีเช่นนี้ผู้ทรงเอกสารต้องคืนเอกสารเดิมแก่นายคลังสินค้า
อนึ่ง
ค่าใช้จ่ายในการแยกสินค้าและการส่งมอบเอกสารใหม่นั้น ผู้ทรงเอกสารต้องรับใช้
มาตรา ๗๘๔ กรรมสิทธิ์ในสินค้าที่เก็บรักษาไว้นั้น
ท่านว่าอาจโอนได้แต่ด้วยสลักหลังใบรับของคลังสินค้าเท่านั้น
มาตรา ๗๘๕
สินค้าซึ่งเก็บรักษาไว้นั้นอาจจำนำได้แต่ด้วยสลักหลังประทวนสินค้า
เมื่อประทวนสินค้าได้สลักหลังแล้ว สินค้านั้นจะจำนำแก่ผู้อื่นอีกชั้นหนึ่งด้วยสลักหลังใบรับของคลังสินค้าอย่างเดียวกับสลักหลังประทวนสินค้านั้นก็ได้
มาตรา ๗๘๖ ตราบใดสินค้าที่เก็บรักษาไว้ไม่ได้จำนำ
ท่านว่าจะโอนใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้าไปต่างหากจากกันไม่ได้อยู่ตราบนั้น
มาตรา ๗๘๗ ในการสลักหลังลงในประทวนสินค้าครั้งแรกนั้น
ต้องจดแจ้งจำนวนหนี้ที่จำนำสินค้าเป็นประกัน
ทั้งจำนวนดอกเบี้ยที่จะต้องชำระและวันที่หนี้จะถึงกำหนดชำระด้วย
มาตรา ๗๘๘ อันสินค้าที่เก็บรักษาไว้ในคลังนั้น
จะรับเอาไปได้แต่เมื่อเวนคืนใบรับของคลังสินค้า
มาตรา ๗๘๙ ถ้าได้แยกประทวนสินค้าออกสลักหลังจำนำแล้ว
จะรับเอาสินค้าได้แต่เมื่อเวนคืนทั้งใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า
แต่ว่าผู้ทรงใบรับของคลังสินค้าอาจให้คืนสินค้าแก่ตนได้ในเวลาใด
ๆ เมื่อวางเงินแก่นายคลังสินค้าเต็มจำนวนหนี้ซึ่งลงไว้ในประทวนสินค้า
กับทั้งดอกเบี้ยจนถึงวันกำหนดชำระหนี้นั้นด้วย
อนึ่ง
จำนวนเงินที่วางเช่นนี้นายคลังสินค้าต้องชำระแก่ผู้ทรงประทวนสินค้าในเมื่อเขาเวนคืนประทวนนั้น
มาตรา ๗๙๐
ถ้าหนี้ซึ่งสินค้าจำนำเป็นประกันมิได้ชำระเมื่อวันถึงกำหนดไซร้
ผู้ทรงประทวนสินค้าเมื่อได้ยื่นคำคัดค้านตามระเบียบแล้ว
ชอบที่จะให้นายคลังสินค้าขายทอดตลาดสินค้านั้นได้ แต่ท่านห้ามมิให้ขายทอดตลาดก่อนแปดวันนับแต่วันคัดค้าน
มาตรา ๗๙๑
ผู้ทรงประทวนสินค้าต้องมีจดหมายบอกกล่าวให้ผู้ฝากทราบเวลาและสถานที่จะขายทอดตลาด
มาตรา ๗๙๒
นายคลังสินค้าต้องหักเงินที่ค้างชำระแก่ตนเนื่องด้วยการเก็บรักษาสินค้านั้นจากจำนวนเงินสุทธิที่ขายทอดตลาดได้
และเมื่อผู้ทรงประทวนสินค้านำประทวนมาเวนคืน
ต้องเอาเงินที่เหลือนั้นให้ตามจำนวนที่ค้างชำระแก่เขา
ถ้ามีเงินเหลือเท่าใด
ต้องใช้แก่ผู้รับจำนำคนหลังเมื่อเขาเวนคืนใบรับของคลังสินค้าหรือถ้าไม่มีผู้รับจำนำคนหลัง
หรือผู้รับจำนำคนหลังได้รับชำระหนี้แล้ว ก็ให้ชำระเงินที่เหลืออยู่นั้นแก่ผู้ทรงใบรับของคลังสินค้า
มาตรา ๗๙๓
ถ้าจำนวนเงินสุทธิที่ขายทอดตลาดได้ไม่พอชำระหนี้แก่ผู้ทรงประทวนสินค้าไซร้
นายคลังสินค้าต้องคืนประทวนสินค้าแก่เขา
กับจดบอกจำนวนเงินที่ได้ชำระลงไว้ในประทวนสินค้านั้น
แล้วจดลงไว้ในสมุดบัญชีของตนด้วย
มาตรา ๗๙๔ ผู้ทรงประทวนสินค้ามีสิทธิจะไล่เบี้ยเอาจำนวนเงินที่ยังค้างชำระนั้นแก่ผู้สลักหลังคนก่อน
ๆ ทั้งหมด หรือแต่คนใดคนหนึ่งได้
แต่ต้องได้ขายทอดตลาดภายในเดือนหนึ่งนับแต่วันคัดค้าน
อนึ่ง
ท่านห้ามมิให้ฟ้องไล่เบี้ยเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่วันขายทอดตลาด
มาตรา ๗๙๕ บทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยตั๋วเงินนั้น
ท่านให้ใช้ได้ถึงประทวนสินค้าและใบรับของคลังสินค้าซึ่งได้สลักหลังอย่างประทวนสินค้านั้นด้วย
เพียงที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติทั้งหลายในลักษณะนี้
มาตรา ๗๙๖
ถ้าเอกสารมีทั้งใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้าหรือแต่อย่างหนึ่งอย่างใดสูญหายไป
เมื่อผู้ทรงเอกสารนั้น ๆ ให้ประกันตามสมควรแล้วจะให้นายคลังสินค้าออกให้ใหม่ก็ได้
ในกรณีเช่นนี้นายคลังสินค้าต้องจดหมายลงไว้ในต้นขั้วเป็นสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2806/2555
บริษัท ส.
ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัท บ. ตัดและแปรรูปเหล็กม้วนเพื่อนำไปจำหน่ายแก่ลูกค้า
และบริษัทดังกล่าวเป็นผู้ดูแลทรัพย์สินของบริษัท ส. ด้วย เมื่อบริษัท ส.
ได้รับสินค้าจากผู้ขนส่งทางเรือแล้วได้ส่งมอบแก่บริษัท บ. ในสภาพเรียบร้อย
และบริษัทดังกล่าวไปฝากให้จำเลยเก็บรักษาไว้โดยบริษัท บ. เป็นผู้ทำสัญญาฝากสินค้าเหล็กม้วนนี้เก็บในคลังสินค้ากับจำเลย
โดยไม่ได้ความว่าบริษัทดังกล่าวทำสัญญานี้แทนบริษัท ส. แต่อย่างใด
เมื่อเกิดความเสียหายแก่สินค้าเหล็กม้วนดังกล่าวก็เป็นกรณีที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาเก็บของในคลังสินค้าต่อบริษัท
บ. คู่สัญญากับจำเลยตามสัญญาเก็บของในคลังสินค้า
จำเลยหาได้มีหน้าที่ต้องเก็บรักษาสินค้าด้วยความระมัดระวังตามสัญญาเก็บของในคลังสินค้านี้ต่อบริษัท
ส. ซึ่งมิใช่คู่สัญญากับจำเลยแต่อย่างใด ดังนั้นกรณีเช่นนี้จึงเป็นกรณีที่บริษัท
ส. คู่สัญญาจ้างทำของต้องใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายของสินค้าตามสัญญาจ้างทำของจากบริษัท
บ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาจ้างทำของกับจำเลยเท่านั้น หาใช่กรณีบริษัท ส.
ยังมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดให้ผิดไปจากความรับผิดโดยตรงของคู่กรณีที่มีต่อกันตามสัญญาเก็บของในคลังสินค้าและสัญญาจ้างทำของได้อีกไม่
ดังนั้นบริษัท ส.
จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในความเสียหายของสินค้าตามฟ้อง
แม้โจทก์รับช่วงสิทธิจากบริษัท ส.
ตามสัญญาประกันภัยก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยเช่นเดียวกับบริษัท ส.
จำเลยรวมทั้งจำเลยร่วมผู้รับประกันภัยจากจำเลยย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
4099/2548
จำเลย ที่ 1
ผู้ขนส่งมีหน้าที่ต้องดูแลมิให้สินค้าที่ขนส่งสูญหายหรือได้รับความเสียหาย
ในระหว่างการขนส่งหรือในระหว่างที่สินค้านั้นอยู่ในความดูแลของตน มิฉะนั้น
จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อความสูญหายหรือเสียหายนั้นต่อผู้รับตราส่ง การที่จำเลยที่
1 ต้องฝากสินค้าที่ขนส่งไว้ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 2
เพราะถูกบังคับโดยกฎหมายศุลกากรเพื่อเสียภาษีศุลกากรและตามกฎหมายการบิน
ระหว่างประเทศ (IATA) เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1
ต้องปฏิบัติเพื่อส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้รับตราส่งต่อไป
สินค้าที่ขนส่งยังไม่พ้นไปจากความดูแลหรือความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง
ดังนั้น แม้เหตุแห่งการสูญหายของสินค้าน้ำหอมที่ขนส่งจะเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้า
อยู่ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 2
ก็ถือได้ว่าเหตุแห่งการสูญหายของสินค้าที่ขนส่งเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่ง
หรือในระหว่างที่สินค้านั้นยังอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง จำเลยที่
1 จึงต้องรับผิดสำหรับความเสียหายเนื่องจากการสูญหายของสินค้าที่ขนส่งต่อ
โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้านั้น
คดีนี้จำเลยที่ 1 ที่ 2
และจำเลยร่วม
มิได้ทำนิติกรรมว่าจะร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าเสียหายเนื่องจากการสูญหายของ
สินค้าน้ำหอมที่ขนส่งแต่อย่างใด
ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบัญญัติให้ผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่าง ประเทศ
นายคลังสินค้า
และผู้รับประกันภัยความรับผิดอันเกิดจากการเก็บของในคลังสินค้าร่วมกันรับ
ผิดในหนี้ค่าเสียหายเนื่องจากการสูญหายของสินค้าที่ขนส่งอย่างลูกหนี้ร่วม ดังนี้
กรณีจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1
ผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2
นายคลังสินค้าและจำเลยร่วมผู้รับประกันภัยความรับผิดอันเกิดจากการเก็บของใน
คลังสินค้าของจำเลยที่ 2
ในหนี้ค่าเสียหายเนื่องจากการสูญหายของสินค้าน้ำหอมที่ขนส่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
6668/2541
บริษัท
ท.นำสินค้าฝากไว้กับคลังสินค้าของโจทก์ต่อมาบริษัทท.
สลักหลังจำนำสินค้าตามใบประทวนสินค้าและสลักหลังโอนกรรมสิทธิ์ใบรับของคลัง
สินค้าดังกล่าวให้จำเลย แต่บริษัท ท. ค้างชำระค่าฝากสินค้า
ปรากฏว่าใบประทวนสินค้าไม่ได้กำหนดเวลาฝากสินค้าว่าสิ้นสุดลงเมื่อใด
โจทก์ในฐานะนายคลังสินค้าจะเรียกให้จำเลยผู้สวมสิทธิของบริษัท ท.
ผู้ฝากถอนสินค้าได้ต่อเมื่อบอกกล่าวให้จำเลยทราบล่วงหน้า 1 เดือน
เมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวไปแล้ว สัญญาย่อมสิ้นสุดลงตั้งแต่วันครบ 1 เดือน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 774 โจทก์ต้องฟ้องคดีให้จำเลยใช้เงินค่าฝากสินค้าภายใน
6 เดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา
โดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะเก็บของในคลังสินค้า มาตรา 771
ให้นำอายุความของลักษณะฝากทรัพย์ มาตรา 671 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1587/2537
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ
จำกัด เป็นผู้รับจำนำสินค้าจากจำเลยที่ 1 มีบุริมสิทธิในฐานะเป็นผู้รับจำนำ
ส่วนผู้ร้องเป็นผู้รับฝากสินค้าจากจำเลยที่ 1
มีบุริมสิทธิในฐานะผู้รับฝากทรัพย์เช่นกัน
จึงเป็นกรณีที่บุริมสิทธิของผู้ร้องในฐานะผู้รับฝากสินค้าแย้งกับสิทธิจำนำ
ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด
ซึ่งกรณีเช่นนี้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด
ในฐานะผู้รับจำนำย่อมมีสิทธิเป็นอย่างเดียวกันกับผู้ทรงบุริมสิทธิในลำดับ ที่หนึ่ง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 282 แม้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ
จำกัด มีบุริมสิทธิอยู่ในลำดับที่หนึ่งในฐานะผู้รับจำนำสินค้า
แต่ขณะที่รับจำนำสินค้าได้ทราบแล้วว่าผู้ร้องเป็นผู้รับฝากสินค้าของจำเลย ที่ 1
ไว้ก่อนแล้วซึ่งการที่ผู้ร้องรับฝากสินค้าของจำเลยที่ 1
ไว้ก็เพื่อประโยชน์แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด
ผู้มีบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งนั้นเองด้วย ดังนี้
กรณีจึงต้องห้ามมิให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด
ใช้สิทธิในฐานะผู้มีบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งนั้นต่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับ
ฝากสินค้าหรือผู้รักษาทรัพย์ซึ่งมีบุริมสิทธิอยู่ในลำดับที่สองตามนัยมาตรา 278
วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
และแม้กฎหมายมิได้บัญญัติไว้แจ้งชัดว่ากรณีเช่นนี้
ผู้ร้องในฐานะผู้รับฝากสินค้าหรือผู้รักษาทรัพย์มีสิทธิรับชำระหนี้ก่อนหรือ
หลังบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด
ผู้รับจำนำเพียงใดก็ตามแต่เมื่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้มีบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งต่อผู้ร้องได้เช่นนี้
แล้วจึงถือได้ว่าผู้ร้องย่อมมีบุริมสิทธิดีกว่าบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทร ธนกิจ
จำกัด และมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
3783/2533
พระ
ราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 29(1)และ มาตรา 9(4)
ให้คณะกรรมการจำเลยมีอำนาจวางข้อบังคับและระเบียบตามที่ระบุไว้ในมาตรา 9(4) คือ
จัดระเบียบว่าด้วยความปลอดภัย การใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ
ของกิจการท่าเรือเท่านั้น ไม่ได้ให้อำนาจคณะกรรมการออกข้อบังคับจำกัดความรับผิดค่าเสียหายที่จำเลยจัก
ต้องรับผิด เมื่อจำเลยออกข้อบังคับจำกัดความรับผิดค่าเสียหายที่ให้ผู้ฝากสินค้ากับ
จำเลยต้องเสนอข้อเรียกร้องค่าเสียหายภายในกำหนด 7
วันนับแต่วันรับมอบสินค้าขึ้นฝ่ายเดียว โดยไม่ปรากฏว่าเจ้าของสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อจำกัดความรับ
ผิดดังกล่าวจำเลยจึงไม่อาจยกข้อบังคับที่จำเลยกำหนดขึ้นมาอ้างให้พ้นความรับ ผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1381/2532
การที่จำเลยรับฝากสินค้าเพื่อให้เจ้าของสินค้าไปดำเนินพิธีการทางศุลกากร
มิใช่รับฝากจากบุคคลทั่วไปโดยเก็บรักษาสินค้าเพื่อบำเหน็จเป็นการค้าปกติ
จำเลยจึงมิใช่นายคลังสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 770 จะนำมาตรา 772
ประกอบด้วยมาตรา 616 มาใช้บังคับแก่จำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1529 - 1530/2531
แม้การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยจะเป็นผู้ทำการเก็บรักษาสินค้า
แต่ก็ปรากฏว่าการรับฝากสินค้า 3 วันแรก จำเลยไม่คิดค่าฝาก
หากเจ้าของสินค้าไม่มารับสินค้านั้นภายใน 3 วัน จำเลยจะคิดค่าฝากในอัตราก้าวหน้า
เพื่อเป็นการเร่งรัดให้เจ้าของสินค้ารีบนำสินค้าออกจากโรงพักสินค้าโดยเร็ว
และการที่เจ้าของสินค้าฝากสินค้าดังกล่าวไว้ก็เพื่อรอผ่านพิธีทางศุลกากร เช่นนี้
การที่จำเลยรับทำการเก็บรักษาสินค้าก็เพื่อประโยชน์ของกรมศุลกากรในการเรียก
เก็บภาษี หาใช่เพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของตนไม่
จำเลยจึงมิใช่นายคลังสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 770 จะนำมาตรา 772
ประกอบมาตรา616 แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวมาบังคับแก่จำเลยหาได้ไม่
แม้
เหตุที่เกิดเพลิงไหม้โรงพักสินค้าของจำเลยจะยังไม่ทราบแน่ชัด
แต่ก็ไม่ได้ความว่าเกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่จำเลย
เนื่องจากในวันเวลาเกิดเหตุ
เจ้าหน้าที่ของจำเลยและกรมศุลกากรได้ร่วมกันปิดประตูโรงพักสินค้าตามระเบียบ
ของจำเลยแล้ว
เมื่อเกิดเพลิงไหม้ยามสายตรวจของจำเลยก็ได้วิทยุแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยว ข้องทราบ
มีรถดับเพลิง 2 คันมาช่วยดับเพลิง
แต่ไม่อาจดับได้ทันท่วงทีเพราะเป็นเวลาปิดโรงพักสินค้าแล้ว
เจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่อาจเปิดประตูโรงพักสินค้าที่เกิดเหตุได้โดยลำพัง
จะต้องให้เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรร่วมเปิดด้วย
จึงไม่อาจเข้าไปดับให้ถึงต้นเพลิงหรือสกัดเพลิงที่กำลังลุกไหม้ในโรงพัก สินค้าได้
พฤติการณ์เช่นนี้
เป็นการที่จำเลยได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์ที่รับฝาก
เหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้น ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 659
แล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในสินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้ต้องถูก
ไฟไหม้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
3926/2530
การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยรับเก็บสินค้าไว้เพื่อประโยชน์ของกรมศุลกากรในการ
เรียกเก็บภาษีเท่านั้น จำเลยจึงมิใช่นายคลังสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 770 เมื่อสินค้าเกิดเสียหายจึงไม่อาจนำบทบัญญัติอันว่าด้วยการรับขนตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 772 ประกอบด้วยมาตรา 616 มาใช้บังคับ
จำเลย
จะไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมฝากทรัพย์เว้นแต่จะฝากเกิน 3 วัน
จำเลยจึงจะคิดค่าธรรมเนียมจากเจ้าของสินค้าเพิ่มขึ้นทุกวัน
เพื่อเป็นการลงโทษให้เจ้าของสินค้ารีบนำสินค้าออกไป
การที่จำเลยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมฝากทรัพย์เมื่อเกินกำหนด 3 วัน
นับแต่เจ้าของสินค้านำสินค้าเข้าไว้ในโรงพักสินค้าและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
เพิ่มขึ้นทุกวันนั้น
โดยพฤติการณ์พึงคาดหมายได้ว่าจำเลยรับฝากทรัพย์เพื่อที่จะได้รับบำเหน็จค่า
ฝากทรัพย์เท่านั้น จึงถือได้ว่าจำเลยรับฝากทรัพย์โดยมีค่าบำเหน็จ
ไม่
ปรากฏว่าเกิดเพลิงไหม้สินค้าในโรงพักสินค้าเพราะเหตุใดสันนิษฐานว่า
น่าจะเกิดจากความสะเพร่าของบุคคลที่ทิ้งบุหรี่หรืออย่างอื่น
จำเลยได้ออกระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย การใช้ท่าเรือ
บริการและความสะดวกต่าง ๆ มีหน่วยรักษาความปลอดภัยอยู่ภายนอกตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
มีอุปกรณ์เคมีในการดับเพลิง
มีคำสั่งห้ามสูบบุหรี่ภายในโรงพักสินค้าเมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้วยามสายตรวจ
ของจำเลยก็ได้วิทยุแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
มีรถดับเพลิงมาช่วยแต่ไม่อาจดับเพลิงได้ทันท่วงที
เพราะเป็นเวลาปิดโรงพักสินค้าแล้วเจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่อาจเปิดประตูโรงพัก
สินค้าได้โดยลำพัง จะต้องให้เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรร่วมเปิดด้วย จึงไม่อาจดับเพลิงถึงต้นเพลิง
หรือสกัดเพลิงที่กำลังลุกไหม้ในโรงพักสินค้าได้
ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สิน
นั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ ดังนั้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 659 วรรคสองแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
384/2529
ตามประมวลรัษฎากรไม่ได้บัญญัติว่ารายรับจากการค้าประเภทคลังสินค้าหมายถึงอะไร
จึงต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา770และตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์มาตรา770,771นายคลังสินค้าคือผู้รับทำการเก็บรักษาสินค้าเท่านั้น
กฎหมายหาได้กำหนดให้นายคลังสินค้าต้องมีหน้าที่ขนสินค้ามาเข้าหรือออกจาก
คลังสินค้าของตนด้วยไม่ฉะนั้นรายรับจากการประกอบการคลังสินค้าก็คือค่า
บำเหน็จในการเก็บรักษาสินค้าหรือค่ารับฝากสินค้าเท่านั้นหารวมถึงค่าขนส่ง
ไม่การที่โจทก์ซึ่งเป็นนายคลังสินค้าได้ออกทดรองจ่ายค่าจ้างขนสินค้าให้แก่
ผู้รับขนแทนผู้ฝากสินค้าไปนั้นเงินทดรองจ่ายค่าขนสินค้าของผู้ฝากนี้เป็นราย
รับของผู้รับขนซึ่งผู้ฝากสินค้ามีหน้าที่ต้องจ่ายตามสัญญาหาใช่รายรับของ
โจทก์ซึ่งเป็นนายคลังสินค้าโจทก์จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในเงินค่ารับ
ขนที่ได้ทดรองจ่ายแทนผู้ฝากไป.
โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างต้องหักภาษีเงินได้ของลูกจ้างไว้จากเงินได้ของลูกจ้าง
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา50เมื่อโจทก์ไม่หักภาษีไว้โจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิด
ร่วมกับลูกจ้างตามประมวลรัษฎากรมาตรา54