มาตรา ๕๒๑ อันว่าให้นั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้ โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น
มาตรา ๕๒๒ การให้นั้นจะทำด้วยปลดหนี้ให้แก่ผู้รับ หรือด้วยชำระหนี้ซึ่งผู้รับค้างชำระอยู่ก็ได้
มาตรา ๕๒๓ การให้นั้น ท่านว่าย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้
มาตรา ๕๒๔ การให้สิทธิอันมีหนังสือตราสารเป็นสำคัญนั้น ถ้ามิได้ส่งมอบตราสารให้แก่ผู้รับ และมิได้มีหนังสือบอกกล่าวแก่ลูกหนี้แห่งสิทธินั้น ท่านว่าการให้ย่อมไม่สมบูรณ์
มาตรา ๕๒๕ การให้ทรัพย์สินซึ่งถ้าจะซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ท่านว่าย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีเช่นนี้ การให้ย่อมเป็นอันสมบูรณ์โดยมิพักต้องส่งมอบ
มาตรา ๕๒๖ ถ้าการให้ทรัพย์สินหรือให้คำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว และผู้ให้ไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่ผู้รับไซร้ท่านว่าผู้รับชอบที่จะเรียกให้ส่งมอบตัวทรัพย์สินหรือราคาแทนทรัพย์สินนั้นได้ แต่ไม่ชอบที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยอีกได้
มาตรา ๕๒๗ ถ้าผู้ให้ผูกตนไว้ว่าจะชำระหนี้เป็นคราว ๆ ท่านว่าหนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปเมื่อผู้ให้หรือผู้รับตาย เว้นแต่จะขัดกับเจตนาอันปรากฏแต่มูลหนี้
มาตรา ๕๒๘ ถ้าทรัพย์สินซึ่งให้นั้นมีค่าภาระติดพัน และผู้รับละเลยเสียไม่ชำระค่าภาระติดพันนั้นไซร้ ท่านว่าโดยเงื่อนไขอันระบุไว้ในกรณีสิทธิเลิกสัญญาต่างตอบแทนกันนั้นผู้ให้จะเรียกให้ส่งทรัพย์สินที่ให้นั้นคืนตามบทบัญญัติว่าด้วยคืนลาภมิควรได้นั้นก็ได้ เพียงเท่าที่ควรจะเอาทรัพย์นั้นไปใช้ชำระค่าภาระติดพันนั้น
แต่สิทธิเรียกคืนอันนี้ย่อมเป็นอันขาดไป ถ้าบุคคลภายนอกเป็นผู้มีสิทธิจะเรียกให้ชำระค่าภาระติดพันนั้น
มาตรา ๕๒๙ ถ้าทรัพย์สินที่ให้มีราคาไม่พอกับการที่จะชำระค่าภาระติดพันไซร้ท่านว่าผู้รับจะต้องชำระแต่เพียงเท่าราคาทรัพย์สินเท่านั้น
มาตรา ๕๓๐ ถ้าการให้นั้นมีค่าภาระติดพัน ท่านว่าผู้ให้จะต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องหรือเพื่อการรอนสิทธิเช่นเดียวกันกับผู้ขาย แต่ท่านจำกัดไว้ว่าไม่เกินจำนวนค่าภาระติดพัน
มาตรา ๕๓๑ อันผู้ให้จะเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณนั้นท่านว่าอาจจะเรียกได้แต่เพียงในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้
(๑) ถ้าผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาญาอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญา หรือ
(๒) ถ้าผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง หรือ
(๓) ถ้าผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้
มาตรา ๕๓๒ ทายาทของผู้ให้อาจเรียกให้ถอนคืนการให้ได้แต่เฉพาะในเหตุที่ผู้รับได้ฆ่าผู้ให้ตายโดยเจตนาและไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือได้กีดกันผู้ให้ไว้มิให้ถอนคืนการให้
แต่ว่าผู้ให้ได้ฟ้องคดีไว้แล้วอย่างใดโดยชอบ ทายาทของผู้ให้จะว่าคดีอันนั้นต่อไปก็ได้
มาตรา ๕๓๓ เมื่อผู้ให้ได้ให้อภัยแก่ผู้รับในเหตุประพฤติเนรคุณนั้นแล้วก็ดี หรือเมื่อเวลาได้ล่วงไปแล้วหกเดือนนับแต่เหตุเช่นนั้นได้ทราบถึงบุคคลผู้ชอบที่จะเรียกถอนคืนการให้ได้นั้นก็ดี ท่านว่าหาอาจจะถอนคืนการให้ได้ไม่
อนึ่ง ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาสิบปีภายหลังเหตุการณ์เช่นว่านั้น
มาตรา ๕๓๔ เมื่อถอนคืนการให้ ท่านให้ส่งคืนทรัพย์สินตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยลาภมิควรได้
มาตรา ๕๓๕ การให้อันจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านว่าจะถอนคืนเพราะเหตุเนรคุณไม่ได้ คือ
(๑) ให้เป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้
(๒) ให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน
(๓) ให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา
(๔) ให้ในการสมรส
มาตรา ๕๓๖ การให้อันจะให้เป็นผลต่อเมื่อผู้ให้ตายนั้น ท่านให้บังคับด้วยบทกฎหมายว่าด้วยมรดกและพินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7301/2559
จำเลยด่าโจทก์ว่า เป็นคนจัญไร ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ให้ความหมายไว้ว่า "เลวทราม เป็นเสนียด ไม่เป็นมงคล" อันเป็นถ้อยคำรุนแรงไร้ความเคารพนับถือเป็นการลบหลู่เหยียดหยาม อกตัญญูต่อบิดาผู้มีพระคุณ ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ซึ่งเป็นบิดาและเป็นผู้ให้อย่างร้ายแรง จึงเป็นเหตุให้โจทก์เรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1804/2558
คดีนี้เป็นการฟ้องถอนคืนการให้ ไม่ใช่คดีฟ้องร้องให้บังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาให้ จำเลยที่ 1 มีสิทธินำสืบพยานบุคคลให้เห็นว่าเป็นการให้ที่มีค่าตอบแทนได้ ไม่ใช่เรื่องต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 และการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นการให้มีค่าตอบแทน เป็นประเด็นต่อเนื่องที่รวมอยู่ในประเด็นหลักเพราะโจทก์ฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนทรัพย์ที่เป็นสินสมรสที่พันเอก (พิเศษ) พ.ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ ศาลจึงต้องวินิจฉัยในที่สุดว่าโจทก์เพิกถอนได้หรือไม่ การวินิจฉัยว่าเป็นการให้โดยมีค่าตอบแทนและตามหน้าที่ธรรมจรรยาจึงมิใช่เป็นการพิพากษานอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18347/2557
คดีนี้ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยกล่าวแก่โจทก์ว่า "แม่แก่แล้วอายุตั้ง 90 ปี พูดกลับไปกลับมา แม่ใหญ่ได้แค่ในห้องนี้แหละ ข้างนอกฉันใหญ่ ถ้าไม่มีแม่ ฉันก็ดูแลทุกอย่างเองได้ ออกไปจากบ้านเถอะ" ต่อมาชั้นสืบพยานโจทก์เบิกความแต่เพียงว่า จำเลยกล่าวแก่โจทก์ว่า "แม่อายุ 90 ปี แล้ว พูดกลับไปกลับมา แม่ไม่อยู่ไม่มีแม่เค้าก็ทำได้" และจำเลยบอกคนดูแลโจทก์ให้จูงโจทก์ออกไปข้างนอก แม้ในข้อนี้จำเลยจะให้การปฏิเสธว่าไม่ได้พูดข้อความเช่นนั้นและอ้างว่าวันเกิดเหตุจำเลยเดินทางไปต่างจังหวัดก็ตาม เมื่อพิจารณาข้อความดังกล่าวเป็นเพียงการพูดจาโดยไม่มีสัมมาคารวะและไม่เคารพยำเกรงโจทก์ผู้เป็นมารดาเท่านั้น ไม่ถึงขนาดเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง อันจะถือได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกถอนคืนการให้ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15028/2557
โจทก์ยกบ้านพิพาทให้จำเลยในระหว่างสมรส เป็นนิติกรรมสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินที่โจทก์จำเลยทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากัน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 บัญญัติให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ ตามทางนำสืบโจทก์ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าโจทก์บอกล้างการให้เมื่อใด แต่เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องหย่าและขอให้เพิกถอนการให้บ้านพิพาท ให้จำเลยคืนบ้านพิพาทแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาบอกล้างในขณะที่ยังเป็นสามีภริยากันอยู่ สัญญาจึงไม่มีผลบังคับอีกต่อไป โจทก์มีสิทธิเรียกคืนบ้านพิพาทจากจำเลยได้โดยไม่จำต้องคำนึงว่าข้อเท็จจริงจะฟังได้หรือไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10552/2557
การที่จำเลยกล่าวต่อโจทก์ซึ่งเป็นบิดาโดยใช้คำว่ามึงกู เป็นคำหยาบไม่ให้ความเคารพโจทก์ ส่วนข้อความที่ว่า "ถ้ากูไม่ช่วยมึง มึงติดคุกไปนานแล้ว" เป็นการกล่าวเพื่อลำเลิกบุญคุณ ที่จำเลยเคยช่วยเหลือโจทก์ในอดีตเท่านั้น หาใช่เจตนาทำให้โจทก์ต้องเสียชื่อเสียงหรือเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงไม่ คำกล่าวนี้ยังไม่ถึงขนาดที่จะพอฟังได้ว่า จำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19413/2555
แม้การโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินและสารบัญจดทะเบียนโฉนดที่ดินพิพาทระบุว่าเป็นการขายก็ตาม แต่จำเลยที่ 3 และที่ 4 เบิกความทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 รวบรวมเงินไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจาก ม. จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงโอนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ในวันเดียวกัน การโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงมิใช่เป็นการซื้อขายเพราะมิได้มีการชำระราคากันจริง แต่ถือเป็นการให้โดยเสน่หา ส่วนการที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 หาเงินมาไถ่ถอนที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นการกระทำเพื่อช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ผู้เป็นมารดาของจำเลยที่ 4 จะถือเอาการที่ต้องไถ่ถอนจำนองเองเป็นค่าตอบแทนการโอนหาได้ไม่ เมื่อเป็นการโอนให้โดยเสน่หา แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้รู้ฝ่ายเดียว โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์ดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2553
ถ้อยคำที่จำเลยด่าโจทก์ว่า "อีแก่ไม่ยุติธรรม มึงทำให้ครอบครัวกูแตกแยก กูจะไม่อยู่กับมึงแล้ว" เป็นการแสดงเจตนาดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นอา จำเลยเรียกโจทก์ว่า อีแก่ ขึ้นมึงขึ้นกูกับโจทก์ ย่อมทำให้โจทก์อับอายเสียชื่อเสียงและเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2) โจทก์ย่อมเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณได้ ก่อนฟ้องคดีจำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 27546 พร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่ผู้อื่น เมื่อถอนคืนการให้ จำเลยต้องส่งคืนทรัพย์สินแก่โจทก์ตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ โดยคืนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ตามสภาพที่เป็นอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 413 วรรคหนึ่งและมาตรา 534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6323/2552
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยประพฤติเนรคุณเป็น 2 ประการ ประการแรกจำเลยขับไล่และด่าว่าโจทก์ว่า "แก่แล้วทำไมไม่ตายเสียที น่าจะตายให้พ้น ๆ ไป จะได้ไม่เป็นภาระคนอื่น" ประการที่สอง จำเลยไม่ยอมให้สิ่งจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์ทั้ง ๆ ที่จำเลยสามารถจะหยิบยื่นให้ได้ อันเป็นเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2) และ (3) ตามลำดับ แต่เหตุประการแรกโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าจำเลยด่าว่าโจทก์อย่างไรบ้างที่ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2) ส่วนเหตุในประการที่สองโจทก์อ้างว่าจำเลยไม่อุปการะเลี้ยงดูและไม่ให้ค่าเลี้ยงชีพเมื่อโจทก์ขอ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ยังมีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินอีกอย่างน้อย 1 แปลง และโจทก์ยังมีบุตรคนอื่น ๆ ให้การอุปการะเลี้ยงดูอีกด้วย ตามสถานภาพของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าเป็นคนยากไร้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (3) กรณีจึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนคืนการให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3384/2552
จำเลยทั้งสองนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 ที่เปิดบัญชีไว้กับธนาคารเพื่อประโยชน์ของโจทก์ในวันเดียวกับที่โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อเป็นค่าตอบแทนในการที่โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสอง จึงเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพันซึ่งผู้ให้ไม่อาจถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 535 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10344/2551
ขณะ ท. สามีโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ โจทก์กับ ท. แบ่งที่ดินสำหรับปลูกบ้าน ที่นาและที่สวนให้แก่บุตรทุกคนรวมทั้งจำเลยด้วย โดยจำเลยได้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงในการให้ที่ดินดังกล่าวมีข้อตกลงว่า โจทก์กับ ท. มีสิทธิเก็บกินในที่ดิน ถ้าเป็นที่นาโจทก์กับ ท. มีสิทธิเก็บค่าเช่าที่นา ถ้าเป็นที่สวนผลไม้ โจทก์กับ ท. มีสิทธินำผลไม้ไปขายได้หรือหากบุตรซึ่งเป็นผู้รับนำผลไม้ไปขายก็ต้องนำเงินมาให้โจทก์กับ ท. ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า โจทก์ยกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้จำเลยโดยโจทก์ยังมีสิทธิเก็บกินผลประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกถอนคืนการให้ เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 535 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4475/2551
โจทก์กับจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน โจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้จำเลย เป็นการตอบแทนที่จำเลยไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทที่โจทก์เป็นหนี้ธนาคารอยู่ อันเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณตาม ป.พ.พ. มาตรา 535 (2) แม้หนังสือสัญญาให้ที่ดินระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน จำเลยก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลให้เห็นว่าการให้ตามสัญญาให้ที่ดินเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพันได้ เพราะเป็นการฟ้องถอนคืนการให้ ไม่ใช่ฟ้องร้องให้บังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาให้ จึงไม่ใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร อันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 485/2553
แม้ในตอนบนของเอกสารจะมีข้อความว่า "หนังสือพินัยกรรม" แต่ไม่มีพยาน 2 คน ลงลายมือชื่อรับรอง จึงไม่มีลักษณะเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย และหนังสือดังกล่าวมีข้อความว่า ข้าพเจ้า ล. หรือ ช. ได้ถวายที่ดินจำนวนประมาณ 15 ไร่ ให้วัดวังก์พงในปีที่วัดวังก์พงได้วางศิลาฤกษ์สร้างพระอุโบสถนั้น... เนื่องจากทราบว่าเอกสาร น.ส.3 ที่ได้ถวายได้สูญหายไปจากวัดวังก์พงเมื่อปี 2525 และยังติดตามไม่พบและในเอกสารยังมีชื่อของข้าพเจ้าอยู่ ข้าพเจ้าจึงขอทำหนังสือฉบับนี้ยืนยันการถวายที่ดินแปลงดังกล่าวและหาก ข้าพเจ้าถึงแก่กรรมขอให้ถือหนังสือฉบับนี้เป็นพินัยกรรมยืนยันการถวายมอบ กรรมสิทธิ์ให้แก่วัดวังก์พงต่อไป ตามข้อความในเอกสารดังกล่าวถือได้ว่าเป็นหนังสือยืนยันการยกที่ดินพิพาทให้ แก่โจทก์ทั้งในปัจจุบันขณะทำหนังสือดังกล่าวจนถึงว่าหากถึงแก่กรรมก็ยังยืน ยันยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ หนังสือดังกล่าวถือได้ว่าเป็นหนังสือแสดงเจตนาของ ล. ที่ยืนยันว่ามีเจตนายกที่ดินพิพาทให้โจทก์มาตั้งแต่แรกจนถึงขณะทำหนังสือดัง กล่าว ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า ล. ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้วที่ดินพิพาทจึงเป็นธรณีสงฆ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2552
จำเลยแสดงเจตนายกที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตีใช้ หนี้และส่งมอบที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 525 ประกอบด้วยมาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่ที่ดินพิพาทมีแต่สิทธิครอบครองจึงถือได้ว่าจำเลยสละเจตนาครอบครองไม่ยึด ถือที่ดินพิพาทต่อไป เมื่อโจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตามมาตรา 1377 และ 1378 อันเป็นการได้สิทธิครอบครองด้วยการครอบครองตามกฎหมาย มิใช่ได้มาตามสัญญายกให้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็น ชื่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4475/2551
โจทก์กับจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน โจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้จำเลย เป็นการตอบแทนที่จำเลยไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทที่โจทก์เป็นหนี้ธนาคารอยู่ อันเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณตาม ป.พ.พ. มาตรา 535 (2) แม้หนังสือสัญญาให้ที่ดินระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน จำเลยก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลให้เห็นว่าการให้ตามสัญญาให้ที่ดินเป็นการให้ สิ่งที่มีค่าภาระติดพันได้ เพราะเป็นการฟ้องถอนคืนการให้ ไม่ใช่ฟ้องร้องให้บังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาให้ จึงไม่ใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร อันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10243/2550
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 (1) ระหว่างโจทก์กับ ฉ. ซึ่งถือว่าโจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และโจทก์มีสิทธิเรียกร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดินพิพาทได้ ตามมาตรา 1475 แต่ถึงแม้โจทก์จะมิได้ร้องขอดังกล่าว แต่การจัดการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทตามมาตรา 1476 (1) ถึง (8) ต้องจัดการร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อ ฉ. โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยโจทก์ให้ความยินยอม ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ให้ตามมาตรา 521 ด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องถอนคืนการให้ได้
โจทก์และ ฉ. ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยเสน่หาเมื่อ พ.ศ.2528 ต่อมา พ.ศ.2536 ฉ. ถึงแก่ความตาย แต่เหตุแห่งการประพฤติเนรคุณเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2543 ภายหลังจากที่ ฉ. ถึงแก่ความตายแล้ว และจำเลยประพฤติเนรคุณเฉพาะต่อโจทก์เท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณได้เฉพาะในส่วนของ ตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2550
โจทก์เจ็บป่วยไปขอความช่วยเหลือจากจำเลย จำเลยไม่พอใจพร้อมพูดว่า บักหมามึงแก่แล้ว พูดจากลับไปกลับมาเหมือนเด็กเล่นขายของ มึงไม่มีศีลธรรม มึงไปตายที่ไหนก็ไป ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง จึงมีเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณที่โจทก์ถอนคืนการให้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6962/2550
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ยกที่ดินเฉพาะส่วนทั้งห้าแปลงให้จำเลยโดยเสน่หา ต่อมาประมาณปลายปี 2538 ถึงต้นปี 2539 จำเลยประพฤติเนรคุณด้วยการด่าว่าและหมิ่นประมาทโจทก์ในฐานะบุพการีอย่างร้าย แรง ขอเรียกถอนคืนการให้ที่ดินทั้งห้าแปลงจากจำเลย จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ได้กระทำการดังกล่าว มูลเหตุของการฟ้องคดีนี้ หากเหตุการณ์ดังกล่าวตามฟ้องของโจทก์เกิดขึ้นจริง ฟ้องของโจทก์ก็ขาดอายุความแล้ว แม้คำให้การของจำเลยจะไม่ระบุระยะเวลาที่เป็นอายุความตามข้อต่อสู้ไว้ แต่โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณเพียง เรื่องเดียว ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติเรื่องอายุความการถอนคืนการให้ไว้ ในลักษณะให้ มาตรา 533 เพียงมาตราเดียวดังนี้ นอกจากจำเลยได้แสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างในคำฟ้องโจทก์ แล้ว จำเลยยังได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธและการขาดอายุความให้ปรากฏว่าเหตุใดฟ้อง โจทก์จึงขาดอายุความคำให้การของจำเลยชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงมีประเด็นเรื่องอายุความ
จำเลยประพฤติเนรคุณด่าและหมิ่นประมาทโจทก์เมื่อประมาณปลายปี 2538 ถึงต้นปี 2539 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2544 เกินกว่า 6 เดือน นับแต่วันที่โจทก์ได้ทราบถึงเหตุเหล่านั้น ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 533 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 576/2550
คำฟ้องโจทก์อ้างเหตุประการแรกว่า จำเลยที่ 1 หมิ่นประมาทโจทก์ด้วยถ้อยคำว่า "โจทก์ยกที่ดินให้แล้ว ยังจะเอาคืน เสือกโง่เอง อย่าหวังว่าจะได้สมบัติคืนเลย" ข้อความนี้ เป็นเพียงการกล่าวถ้อยคำไม่สุภาพเท่านั้น ไม่ถึงขนาดเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์หรือทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงแต่อย่างใด ดังนั้นแม้หากจะฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กล่าวถ้อยคำตามคำฟ้องจริงก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิเพิกถอนการให้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ได้กล่าวข้อความตามคำฟ้องหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องต่อมาความว่า หลังจากโจทก์ยกที่ดินให้จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ตัดโค่นไม้ยางพาราเสียและรับเงินราคาค่าไม้ยางทั้งหมดและจงใจทอดทิ้งโจทก์ เสีย ไม่ยอมส่งอาหารหรือปัจจัยสี่แก่โจทก์เลย โจทก์พักอาศัยอยู่คนเดียว จำเลยที่ 1 จงใจประพฤติเนรคุณโจทก์ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม 2542 ทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส อาจได้รับอันตรายแก่ชีวิต ทั้งนี้จำเลยที่ 1 สามารถดูแลปรนนิบัติโจทก์ได้แต่จำเลยที่ 1 ละเลยทอดทิ้งเสียทั้งที่สามารถทำได้ ตามคำฟ้องของโจทก์และการนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความว่า โจทก์เคยขอและจำเลยที่ 1 บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์แต่อย่างใด กรณีจึงไม่เข้าเหตุที่โจทก์มีสิทธิถอนคืนการให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4377/2549
ช. ยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะแล้ว แม้จะระบุว่า ช. จะมาจดทะเบียนให้เสร็จภายใน 3 วัน แต่เป็นการยกให้เป็นทางสาธารณะจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยสมบูรณ์ ตามกฎหมายทันทีที่ ช. ได้แสดงเจตนาโดยไม่จำต้องจดทะเบียนโอนสิทธิการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 อีก ทั้งการยกที่ดินให้เป็นทางสาธารณะไม่ต้องมีนายอำเภอหรือนายกเทศมนตรีในท้อง ที่แสดงเจตนารับ
ทางพิพาทติดจำนองอยู่โดยสัญญาจำนองระบุว่า ผู้จำนองจะให้สิทธิหรือทรัพยสิทธิไม่ว่าด้วยประการใด ๆ แก่ผู้อื่นในทรัพย์สินที่จำนอง เป็นที่เสื่อมเสียต่อสิทธิของผู้จำนองเองในทรัพย์สินที่จำนอง ผู้จำนองต้องได้รับความยินยอมจากผู้รับจำนองเป็นลายลักษณ์อักษรนั้น เป็นเรื่องระหว่างผู้จำนองกับผู้รับจำนอง ทั้งในหนังสือสัญญาจำนองก็ระบุไว้ว่า ถ้าผู้จำนองประพฤติผิดหรือไม่ประพฤติตามสัญญาที่กำหนดไว้ข้อหนึ่งข้อใดหรือ ทั้งหมด ผู้รับจำนองมีสิทธิจะเรียกให้ผู้จำนองชำระหนี้และบังคับจำนองได้ทันทีเท่า นั้น การที่ธนาคารผู้รับจำนองมิได้ให้ความยินยอมจึงไม่มีผลบังคับให้การยกทาง พิพาทเป็นทางสาธารณะเสียเปล่า
คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาว่า เข้าไปยึดครอบครองและก่อสร้างในที่ดินของรัฐซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน โดยไม่มีสิทธิ ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด แต่ศาลวินิจฉัยแต่เพียงว่า กรณียังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ การที่จำเลยที่ 1 ใช้ให้ผู้อื่นนำดินไปถมในทางพิพาทโดยเชื่อว่ามีสิทธิทำได้ในฐานะเจ้าของ ที่ดินนั้น จึงยังไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนากระทำความผิดตามฟ้อง คำวินิจฉัยดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดที่วินิจฉัยว่าทางพิพาทไม่ใช่ทาง สาธารณะ คดีนี้จึงไม่ต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2430/2548
โจทก์ได้ทำสัญญายกที่ดินให้แก่จำเลยซึ่งเป็นบุตรสาว ต่อมาโจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินบางส่วนให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าเมื่อเดือนตุลาคม 2540 จำเลยบันดาลโทสะพูดกับโจทก์ว่า จำเลยไม่จัดการโอนที่ดินให้โจทก์เพราะโจทก์ได้ยกที่ดินให้จำเลยแล้ว ถ้าอยากได้เก่งจริงก็ให้ไปฟ้องศาลเองเป็นการประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ ขอให้ถอนคืนการให้ที่ดินพิพาทที่โจทก์ยกให้จำเลย แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2541 ซึ่งเป็นเวลาล่วงพ้นกำหนดหกเดือนไปแล้ว ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 533 วรรคหนึ่ง การจะฟ้องถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณนั้น ต้องฟ้องภายในกำหนดหกเดือนนับแต่เหตุประพฤติเนรคุณได้ทราบถึงบุคคลผู้ชอบที่ จะเรียกถอนคืนการให้คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1456/2548
ตามคำฟ้องของโจทก์ คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งห้า กับคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์เป็นการโต้แย้งกันว่าที่ดินพิพาทเป็นของฝ่าย โจทก์หรือจำเลยทั้งห้า เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งห้ายอมรับข้อเท็จจริงว่ามูลเหตุคดีนี้สืบเนื่องมาจาก โจทก์ให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 1 ย่อมต้องวินิจฉัยปัญหาในข้อเท็จจริงว่าโจทก์ให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 1 เพียงใด เพื่อไปสู่ปัญหาในข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นของฝ่ายโจทก์หรือจำเลยทั้ง ห้า เพราะหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ไม่ได้ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 ที่ดินพิพาทก็เป็นของโจทก์ ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ว่า โจทก์หรือจำเลยทั้งห้าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทจึงถูกต้องแล้ว
แม้ตามหนังสือแบ่งให้ที่ดินและ น.ส.3 จะระบุชัดว่าโจทก์และ ป. ให้ที่ดินตาม น.ส. 3 ดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 มีเนื้อที่ 3 งาน 60 ตารางวา แต่เมื่อจำเลยที่ 1 เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและที่ได้รับการให้ตลอดมาโดยโจทก์มิได้ โต้แย้งคัดค้าน ทั้งตอนที่จำเลยที่ 1 นำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดเพื่อออกโฉนด โจทก์ก็ไประวังและรับรองแนวเขตในฐานะเจ้าของที่ดินข้างเคียงให้แม้ขณะนั้น โจทก์จะยังไม่ทราบว่าที่ดินที่จำเลยที่ 1 ขอออกโฉนดมีเนื้อที่เท่าใดก็ตาม แต่บันทึกถ้อยคำระบุไว้ชัดว่าในการรังวัดออกโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 โจทก์เห็นว่าถูกต้องแล้ว ไม่มีการรุกล้ำแนวเขตกันแต่อย่างใด เท่ากับโจทก์ยอมรับว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินส่วนที่ได้รับการให้ และรังวัดออกโฉนดในส่วนที่ครอบครองทำประโยชน์ จึงเป็นการให้ที่ดินด้วยการส่งมอบการครอบครองที่ดินแก่จำเลยที่ 1 โดยมีเจตนาให้ตามส่วนที่ได้รับมอบการครอบครองยิ่งกว่าที่ระบุไว้ในหนังสือ สัญญาแบ่งให้ที่ดินและ น.ส. 3 ดังนั้นเมื่อมีรังวัดออกโฉนดที่ดินได้เนื้อที่ 1 ไร่ 99 ตารางวา กรณีต้องถือว่าโจทก์และ ป. ให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 1 มีเนื้อที่ดังกล่าว หาใช้เนื้อที่ 3 งาน 60 ตารางวา ตามที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาแบ่งให้ที่ดินและ น.ส. 3 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8306/2548
เหตุเกิดขึ้นเนื่องจากความขัดแย้งเรื่องที่ดินระหว่างกันทำให้จำเลยมีโทสะด่าว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นญาติห่าง ๆ กับจำเลยด้วยถ้อยคำหยาบคายว่า "อีพวกดอกทองไม่ต้องมายุ่งเรื่องของกู พวกมึงก็ดอกทองเหมือนกัน" ซึ่งโดยวิสัยของบุคคลระดับชาวบ้านเช่นนี้ใช่ด่าว่ากัน แม้ถ้อยคำจะไม่สุภาพและไม่สมควรที่จำเลยจะกล่าวต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แต่ก็ยังไม่อาจรับฟังได้ถึงขั้นว่าจำเลยมีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งห้า อย่างร้ายแรง อันจะเป็นเหตุประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ทั้งห้าเสียทีเดียว โจทก์ทั้งห้าจึงยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะเรียกถอนคืนการให้ที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2548
โจทก์เป็นบิดาจำเลยที่ 1 ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา โดยตนเองยังปลูกบ้านอาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าว ต่อมาจำเลยที่ 1 ขับไล่โจทก์ให้รื้อถอนบ้านออกจากที่ดินพิพาท โดยพูดด่าว่าโจทก์ว่า "ไอ้เหี้ย ให้รื้อบ้านออกไปจากที่ดินของกู ไปให้พ้นไม่ต้องมาใช้น้ำบ้านกู ให้มึงรื้อบ้านออกไปเป็นขอทานที่วัดเสียเลย" ทั้งยังด่าว่าโจทก์อีกว่า "พ่ออย่างมึงกูไม่นับถือเป็นพ่อต่อไป" นอกจากนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาข้อหายักยอกเงินค่าขายที่ดินที่โจทก์ฝากไว้ร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ได้พาพวกไปที่บ้านโจทก์โดยจำเลยที่ 1 พูดจาข่มขู่ให้โจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาเสีย มิฉะนั้นจำเลยทั้งสองกับพวกจะฆ่าโจทก์ ทั้งจำเลยที่ 1 ได้ด่าว่าโจทก์อีกว่า "ไอ้เหี้ยให้รื้อบ้านออกไปจากที่กู" และบอกเรื่องที่ดินว่า "ได้ขายให้คนอื่นแล้ว มึงอย่าหวังว่าจะได้คืนจากกูได้" การที่จำเลยที่ 1 ด่าว่าโจทก์ด้วยถ้อยคำและพฤติการณ์ดังกล่าวข้างต้น แสดงว่าจำเลยที่ 1 สิ้นความเคารพยำเกรงโจทก์ซึ่งเป็นบิดา เป็นการลบหลู่และอกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง โจทก์จึงมีสิทธิถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2) แม้คำเบิกความของพยานโจทก์จะมิได้ระบุว่า จำเลยที่ 1 ด่าโจทก์เมื่อใด ก็มิใช่สาระสำคัญถึงขนาดทำให้พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้
การที่จำเลยที่ 2 ตกลงซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 แต่กลับปล่อยให้จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาโดยอ้างเหตุว่าตนเห็นว่ายังมีการฟ้องร้องกันอยู่ ย่อมเป็นการแสดงว่าจำเลยที่ 2 รู้อยู่ก่อนแล้วว่าจำเลยที่ 1 กับโจทก์มีปัญหาเรื่องที่ดินพิพาทกันแล้วยังซื้อไว้ เช่นนี้น่าจะเป็นการซื้อไว้โดยไม่สุจริต ทั้งปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ยังอาศัยอยู่กับบิดามารดา และไม่มีเหตุผลใด ๆ ในการซื้อที่ดินพิพาทมาทิ้งไว้โดยไม่เข้าทำประโยชน์ พฤติการณ์ในการโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นการกระทำไปโดยรู้ ว่าโจทก์ผู้ให้อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบ จึงเป็นการสมคบกันฉ้อฉลโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3614/2547
ช. และ ป. ยกที่ดินพิพาทให้ ภ. มารดาโจทก์ แม้การให้จะไม่สมบูรณ์เพราะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้า หน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 แต่ไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งการครอบครองที่ดินพิพาทของ ภ. จากบุคคลอื่น ภ. ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของตั้งแต่ได้รับการยกให้ตลอดมาจนถึงแก่ ความตาย โจทก์ซึ่งเป็นบุตรได้ครอบครองต่อมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็น เจ้าของติดต่อมาเป็นเวลากว่า 10 ปี โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ดังนั้น การที่ ป. ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทซึ่งไม่ใช่ทรัพย์ของตนเองให้แก่จำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3866/2547
โจทก์ตั้งประเด็นมาในคำฟ้องเป็นเรื่องให้โดยเสน่หา และขอให้ถอนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณ แต่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณากลับได้ความว่าโจทก์ให้จำเลยซึ่งเป็นบุตรยืม เอกสาร น.ส.3 ก. พิพาทไปใช้ในการจำนอง เมื่อชำระหนี้จำนองแล้วให้โอน น.ส.3 ก. นั้นคืนแก่โจทก์ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องให้โดยเสน่หาตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 521 โจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินแปลงพิพาท โจทก์จะอ้างว่าจำเลยประพฤติเนรคุณแล้วมาขอถอนการให้ไม่ได้ ได้แต่จะฟ้องเรียกคืนทรัพย์ด้วยเหตุอื่นที่ตรงกับข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์ตั้งประเด็นมาในคำฟ้องเป็นเรื่องถอนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณ ศาลฎีกาย่อมไม่อาจพิพากษาให้จำเลยโอน น.ส.3 ก. ของที่ดินแปลงพิพาทคืนแก่โจทก์เพราะเหตุอื่นได้เนื่องจากเป็นเรื่องนอก ประเด็นตามคำฟ้อง
ที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องถึงมูลเหตุที่โจทก์ยก ที่ดินแปลงพิพาทให้จำเลยว่าเป็นการยกให้ที่มีเงื่อนไขเพื่อให้จำเลยนำไปใช้ จำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยกับสามีที่กู้ยืมจากธนาคารและนำสืบถึงเงื่อนไข ดังกล่าว ก็เพื่อให้เห็นถึงมูลเหตุแห่งการที่โจทก์ยกที่ดินแปลงพิพาทให้จำเลย มิใช่เป็นการเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญายกให้ที่ดินแต่อย่างใด
การจะพิจารณาพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำฟ้อง โจทก์ได้หรือไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ให้จำเลยยืมเอกสาร น.ส.3 ก. ของที่ดินแปลงพิพาทไปใช้จำนอง โดยไม่มีเจตนายกที่ดินแปลงพิพาทให้แก่จำเลย กรณีไม่ใช่การให้โดยเสน่หาที่จะขอถอนเพราะเหตุประพฤติเนรคุณ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2545
แม้ในวันที่จำเลยที่ 1 อ้างตนเองเข้าเบิกความต่อศาล ก. ได้นั่งฟังอยู่ในห้องพิจารณาด้วยอันเป็นการผิดระเบียบ แต่เมื่อคำเบิกความของ ก. มีเหตุผลน่าเชื่อฟัง ศาลย่อมฟังคำเบิกความของ ก. เพื่อประกอบการพิจารณาได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 114 วรรคสอง
การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าโจทก์จดทะเบียนให้ ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองเนื่องในโอกาสที่จำเลยทั้งสองสมรสกันเพื่อให้ใช้ ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวสืบไปนั้นหาใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร หลักฐานการจดทะเบียนที่ระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่ เพราะเป็นการนำสืบให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลย ทั้งสองว่าเป็นการให้เนื่องในโอกาสใด จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำสืบได้
โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองในการสมรส ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้ประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็จะฟ้องขอถอนคืนการให้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 535 (4) ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3421/2545
โจทก์เป็นภริยาของ บ. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันหลังจาก บ. ถึงแก่ความตาย โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นของตนเองตลอดมา จำเลยซึ่งเป็นพี่ของ บ. มิได้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลย ต่อมาโจทก์ต้องการเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่ดินพิพาททางทะเบียนให้ถูกต้อง แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจดำเนินการให้ได้เพราะโจทก์กับ บ. มิได้จดทะเบียนสมรสกันจึงแนะนำให้โจทก์ไปตามจำเลยมาขอรับโอนมรดกที่ดินพิพาท ของ บ. แล้วให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ภายหลัง ซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้องเพราะขณะนั้นที่ดินพิพาทไม่เป็นทรัพย์มรดกของ บ. แล้ว การที่จำเลยทำหนังสือสัญญาว่าจะให้ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ก่อนไปจดทะเบียน โอนมรดกจึงมิใช่สัญญาจะให้ที่ดิน แต่เป็นสัญญาที่ไม่มีชื่ออย่างหนึ่งที่ไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 526 ดังนั้น ที่จำเลยยื่นคำขอรับมรดกที่ดินพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นการดำเนิน การตามสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์นั่นเอง จำเลยต้องโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9854/2544
บุคคลผู้ชอบที่จะฟ้องเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณได้นั้น ต้องฟ้องคดีภายในหกเดือนนับแต่เหตุประพฤติเนรคุณนั้นได้ทราบถึงผู้นั้น และห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาสิบปีภายหลังเหตุการณ์เช่นว่านั้นตามป.พ.พ. มาตรา 533 บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ให้สิทธิเลือกจะฟ้องคดีภายในหกเดือนหรือ สิบปี
แม้ผู้ให้ยังมีชีวิตอยู่และยากไร้ ผู้รับให้มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูผู้ให้ตามความจำเป็นและผู้รับให้ สามารถให้ได้ตลอดเวลาที่ผู้ให้ยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม แต่เหตุประพฤติเนรคุณทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อนับถึงวันฟ้องเกินกว่าหกเดือนนับ แต่วันที่ผู้ให้ได้ทราบถึงเหตุเหล่านั้น คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 533 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8655/2544
โจทก์ได้ยกที่ดินให้แก่จำเลย ต่อมาจำเลยประพฤติตนไม่ดี เล่นการพนันและเสพสุรา โจทก์ได้ว่ากล่าวตักเตือน จำเลยไม่ยอมเชื่อฟังกลับด่าโจทก์ว่า "อีแก่ อีชาติหมา มึงจะไปตายไหนก็ไป กูไม่นับถือมึงเป็นแม่ลูกกัน" อันเป็นถ้อยคำที่รุนแรงและหยาบคายเปรียบโจทก์เป็นสัตว์และด่าว่าให้โจทก์ไป ตาย และจำเลยใช้ไม้จะตีโจทก์ ซึ่งจำเลยในฐานะบุตรไม่พึงกระทำต่อโจทก์ผู้เป็นมารดา การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้าย แรง โจทก์ผู้ให้ย่อมเรียกถอนคืนการให้ เพราะเหตุจำเลยผู้รับประพฤติเนรคุณได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8530/2544
แม้ข้อความในสัญญาที่จำเลยให้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์แก่โจทก์จะระบุว่า จำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องวิทยุคมนาคมให้แก่โจทก์ผู้รับนับแต่วันทำ สัญญา และโจทก์ได้รับมอบเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าในวันทำสัญญานั้นจำเลยไม่ได้ส่งมอบเครื่องวิทยุ คมนาคมและอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ ดังนั้น สัญญาให้ดังกล่าวจึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523 ซึ่งบัญญัติว่า การให้ย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ สัญญาให้จึงไม่สมบูรณ์ เช่นเดียวกับสัญญาเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ระหว่างจำเลยกับโจทก์ ที่ทำในวันเดียวกันนั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าให้จำเลยนำไปใช้ แม้ในสัญญาจะมีข้อความว่าจำเลยตกลงนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ไปติดตั้ง ณ หน่วยงานของจำเลย สัญญาเช่าก็ไม่สมบูรณ์เนื่องจากขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 546 ซึ่งกำหนดว่า ผู้ให้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่านั้นในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่า ค่าเสียหายและบังคับให้จำเลยคืนวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3601/2542
โจทก์กู้เงินจาก ร. โดยนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทให้ ร. ยึดถือไว้เป็นประกัน จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แทนโจทก์เป็นเงิน 70,000 บาท และรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์คืนมา ต่อมาโจทก์ขอออกโฉนดที่ดินพิพาทแล้วจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูก สร้างราคา 500,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา ไม่มีค่าตอบแทน เมื่อเปรียบเทียบแล้วราคาที่ดินพิพาทสูงกว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แทนโจทก์เมื่อ 3 ถึง 4 ปี ที่แล้วไม่น้อยกว่า 7 เท่า การที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทจึงถือไม่ได้ว่าเป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้ในการที่ จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แทน และการที่ ร. ยึดถือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทไว้โดยไม่ได้จดทะเบียนจำนอง ไม่ใช่กรณีที่มีภาระเกี่ยวกับตัวที่ดินพิพาท การให้ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่การให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน จำเลยที่ 1 บอกปัดไม่ยอมให้เงินโจทก์ซื้อยารักษาตัวอันเป็นการบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำ เป็นเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์ในเวลาที่โจทก์ยากไร้และจำเลยที่ 1 ยังสามารถจะให้ได้ โจทก์จึงเรียกถอนคืนการให้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (3)
โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (3) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกถอนคืนการให้จากจำเลยที่ 1 ได้แต่เพียงผู้เดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7872/2542
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ทรัพย์ซึ่งติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเพียงชั่วคราวไม่ถือว่าเป็นส่วน ควบกับที่ดินหรือโรงเรือนนั้น ความข้อนี้ให้ใช้บังคับแก่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งผู้มี สิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้นด้วย ป. ซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินราชพัสดุได้ใช้สิทธิในการเช่าปลูกสร้างบ้านพิพาทลงใน ที่ดินราชพัสดุ บ้านพิพาทจึงไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินราชพัสดุ
การจดทะเบียนการโอนสิทธิการเช่าที่ดินราชพัสดุ จากบุคคลผู้มีสิทธิไปยังบุคคลอื่นต่อเจ้าหน้าที่ของทางราชการ หาใช่เป็นการจดทะเบียนการให้อสังหาริมทรัพย์ไม่ เพราะการโอนบ้านพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์จะต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 456, 525 ประกอบ ป. ที่ดิน มาตรา 71 คือ ไปจดทะเบียนการได้รับการยกให้บ้านพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินตาม ป. ที่ดิน ฉะนั้นการโอนไปซึ่งสิทธิการเช่าที่ดินราชพัสดุยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยกให้ บ้านพิพาทเพราะยังไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ที่กฎหมายกำหนด การยกให้บ้านพิพาทไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลให้บ้านพิพาทโอนตกไปยังผู้รับโอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6657/2542
การที่จำเลยยอมเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสามเพื่อเป็น การแลกเปลี่ยนกับการที่โจทก์ทั้งสามยอมเลิกการเช่านาและออกจากนาที่เช่าเป็น สัญญาต่างตอบแทนที่ใช้บังคับได้ กรณีมิใช่เป็นการให้โดยเสน่หาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 521 จึงไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 525 และ 526 บันทึกข้อตกลงที่ให้จำเลยเป็นผู้จัดหาที่ดิน ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง การที่โจทก์ทั้งสามนำสืบพยานบุคคลให้เห็นเจตนาของคู่กรณีว่าตกลงจะโอน กรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงใด จึงไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2539
มูลนิธิที่จะเป็นนิติบุคคลได้ต้องเป็นมูลนิธิที่ได้รับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว เมื่อขณะรับการให้มูลนิธิผู้รับโอนยังไม่เป็นนิติบุคคลย่อมถือว่าเป็นการให้ ที่ผู้โอนให้สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมทำให้นิติกรรมการให้เป็นโมฆะ จำเลยที่1และที่2ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้ได้รับเรื่องราวตามประมวลกฎหมาย ที่ดินมาตรา61ย่อมเพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมการให้ได้หาจำต้องให้ผู้โอน ให้ไปฟ้องร้องเพื่อเพิกถอนการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการ เพิกถอนการให้ก่อนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5212/2537
การให้รถยนต์อันเป็นสังหาริมทรัพย์ย่อมสมบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523ไม่มีกฎหมายบังคับว่าการให้ทรัพย์สินดังกล่าวต้องทำตามแบบกรรมสิทธิ์ในรถ ยนต์ย่อมโอนไปยังโจทก์ผู้รับแล้วหาจำต้องจดทะเบียนโอนกันเสียก่อนไม่ เพราะกฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนรถยนต์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่จะ ควบคุมยานพาหนะและภาษีรถยนต์ ไม่ใช่แบบของนิติกรรมแต่อย่างใด ดังนั้นแม้ยังไม่ได้เปลี่ยนชื่อในทะเบียนรถยนต์เป็นชื่อโจทก์โจทก์ก็เป็น เจ้าของรถยนต์ที่โจทก์ขับในวันเกิดเหตุโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย เนื่องจากละเมิดจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2525
โจทก์ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โดยโจทก์จดทะเบียนเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินตลอดชีวิตของโจทก์ ต่อจากนั้นจำเลยได้เข้าทำนาในที่ดินที่ได้รับยกให้ และแบ่งข้าวเปลือกที่ ได้จากการทำนาให้แก่โจทก์ปีละ 30 ถัง การให้ในลักษณะเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดภาระเกี่ยวกับตัวที่ดินที่โจทก์ยกให้ตลอดชีวิตของโจทก์ จึงมิใช่เป็นการให้โดยเสน่หา แต่เป็นการให้ที่มีค่าภาระติดพัน นิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้กับผู้รับต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 528,529 โจทก์จะเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2498
สามีภรรยาต่างทำพินัยกรรมให้แก่กัน พินัยกรรมของภรรยามีข้อความว่า "เมื่อข้าพเจ้าวายชนม์แล้ว บรรดาทรัพย์สินและสิทธิทั้งหลายของข้าพเจ้าซึ่งมีอยู่ในเวลานี้และมีต่อไป ภายหน้า ขอให้ตกเป็นกรรมสิทธิแก่สามี(ขุนอุปพงษ์ฯ) ผู้รับพินัยกรรม แต่ถ้าขุนอุปพงษ์ฯถึงแก่กรรมล่วงลับไปก่อนข้าพเจ้าก็ขอให้ทรัพย์สินและสิทธิ ทั้งหลายของข้าพเจ้าตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ (คุณหญิงเลขวณิชฯ)เป็นผู้รับพินัยกรรม ฯลฯ" และตามพินัยกรรมของสามี (ขุนอุปพงษ์ฯ)ก็มีข้อความทำนองเดียวกัน ยกทรัพย์ให้แก่ภรรยา (นางจันทร์) ถ้านางจันทร์ล่วงลับไปก่อนก็ยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ (คุณหญิงเลขวณิชฯ)
ดัง นี้เมื่อภรรยา (นางจันทร์)ตายไปก่อน ทรัพย์มรดกของภรรยา(นางจันทร์) ก็ตกได้แก่สามี(ขุนอุปพงษ์) ตามพินัยกรรมสามีย่อมมีสิทธิที่จะยกทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นได้ ไม่มีข้อผูกพันตาม กฎหมาย ที่สามี(ขุนอุปพงษ์ฯ)จำต้องยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ เพราะทรัพย์นั้นเป็นของสามี(ขุนอุปพงษ์ฯ) โดยเด็ดขาด ตามกฎหมาย สามีมีสิทธิจะยกทรัพย์ให้ใครๆ ก็ได้แล้ว ต่อมาทำพินัยกรรมยกทรัพย์ไปให้ผู้อื่นมิได้ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้กับภรรยา ว่าจะให้โจทก์ก็ตาม ก็ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตเพราะข้อตกลงนั้นฟังได้อย่างมากก็เพียงว่าผู้ ทำพินัยกรรมทั้งสองตกลงจะยกทรัพย์ให้แก่โจทก์เมื่อตาย แต่เมื่อมิได้ทำพินัยกรรมยกให้ไว้โดยตรงดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 536 แล้วก็ใช้บังคับไม่ได้ และเรื่องนี้เป็นการยกทรัพย์ให้กันตามพินัยกรรมไม่ใช่เรื่องคู่สัญญาฝ่าย หนึ่งตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374
ข้อผูกพันให้ทรัพย์ตกได้แก่โจทก์ใช้บังคับมิได้เพราะขัดต่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1707 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2498)
มาตรา ๕๒๒ การให้นั้นจะทำด้วยปลดหนี้ให้แก่ผู้รับ หรือด้วยชำระหนี้ซึ่งผู้รับค้างชำระอยู่ก็ได้
มาตรา ๕๒๓ การให้นั้น ท่านว่าย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้
มาตรา ๕๒๔ การให้สิทธิอันมีหนังสือตราสารเป็นสำคัญนั้น ถ้ามิได้ส่งมอบตราสารให้แก่ผู้รับ และมิได้มีหนังสือบอกกล่าวแก่ลูกหนี้แห่งสิทธินั้น ท่านว่าการให้ย่อมไม่สมบูรณ์
มาตรา ๕๒๕ การให้ทรัพย์สินซึ่งถ้าจะซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ท่านว่าย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีเช่นนี้ การให้ย่อมเป็นอันสมบูรณ์โดยมิพักต้องส่งมอบ
มาตรา ๕๒๖ ถ้าการให้ทรัพย์สินหรือให้คำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว และผู้ให้ไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่ผู้รับไซร้ท่านว่าผู้รับชอบที่จะเรียกให้ส่งมอบตัวทรัพย์สินหรือราคาแทนทรัพย์สินนั้นได้ แต่ไม่ชอบที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยอีกได้
มาตรา ๕๒๗ ถ้าผู้ให้ผูกตนไว้ว่าจะชำระหนี้เป็นคราว ๆ ท่านว่าหนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปเมื่อผู้ให้หรือผู้รับตาย เว้นแต่จะขัดกับเจตนาอันปรากฏแต่มูลหนี้
มาตรา ๕๒๘ ถ้าทรัพย์สินซึ่งให้นั้นมีค่าภาระติดพัน และผู้รับละเลยเสียไม่ชำระค่าภาระติดพันนั้นไซร้ ท่านว่าโดยเงื่อนไขอันระบุไว้ในกรณีสิทธิเลิกสัญญาต่างตอบแทนกันนั้นผู้ให้จะเรียกให้ส่งทรัพย์สินที่ให้นั้นคืนตามบทบัญญัติว่าด้วยคืนลาภมิควรได้นั้นก็ได้ เพียงเท่าที่ควรจะเอาทรัพย์นั้นไปใช้ชำระค่าภาระติดพันนั้น
แต่สิทธิเรียกคืนอันนี้ย่อมเป็นอันขาดไป ถ้าบุคคลภายนอกเป็นผู้มีสิทธิจะเรียกให้ชำระค่าภาระติดพันนั้น
มาตรา ๕๒๙ ถ้าทรัพย์สินที่ให้มีราคาไม่พอกับการที่จะชำระค่าภาระติดพันไซร้ท่านว่าผู้รับจะต้องชำระแต่เพียงเท่าราคาทรัพย์สินเท่านั้น
มาตรา ๕๓๐ ถ้าการให้นั้นมีค่าภาระติดพัน ท่านว่าผู้ให้จะต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องหรือเพื่อการรอนสิทธิเช่นเดียวกันกับผู้ขาย แต่ท่านจำกัดไว้ว่าไม่เกินจำนวนค่าภาระติดพัน
มาตรา ๕๓๑ อันผู้ให้จะเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณนั้นท่านว่าอาจจะเรียกได้แต่เพียงในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้
(๑) ถ้าผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาญาอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญา หรือ
(๒) ถ้าผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง หรือ
(๓) ถ้าผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้
มาตรา ๕๓๒ ทายาทของผู้ให้อาจเรียกให้ถอนคืนการให้ได้แต่เฉพาะในเหตุที่ผู้รับได้ฆ่าผู้ให้ตายโดยเจตนาและไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือได้กีดกันผู้ให้ไว้มิให้ถอนคืนการให้
แต่ว่าผู้ให้ได้ฟ้องคดีไว้แล้วอย่างใดโดยชอบ ทายาทของผู้ให้จะว่าคดีอันนั้นต่อไปก็ได้
มาตรา ๕๓๓ เมื่อผู้ให้ได้ให้อภัยแก่ผู้รับในเหตุประพฤติเนรคุณนั้นแล้วก็ดี หรือเมื่อเวลาได้ล่วงไปแล้วหกเดือนนับแต่เหตุเช่นนั้นได้ทราบถึงบุคคลผู้ชอบที่จะเรียกถอนคืนการให้ได้นั้นก็ดี ท่านว่าหาอาจจะถอนคืนการให้ได้ไม่
อนึ่ง ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาสิบปีภายหลังเหตุการณ์เช่นว่านั้น
มาตรา ๕๓๔ เมื่อถอนคืนการให้ ท่านให้ส่งคืนทรัพย์สินตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยลาภมิควรได้
มาตรา ๕๓๕ การให้อันจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านว่าจะถอนคืนเพราะเหตุเนรคุณไม่ได้ คือ
(๑) ให้เป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้
(๒) ให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน
(๓) ให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา
(๔) ให้ในการสมรส
มาตรา ๕๓๖ การให้อันจะให้เป็นผลต่อเมื่อผู้ให้ตายนั้น ท่านให้บังคับด้วยบทกฎหมายว่าด้วยมรดกและพินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7301/2559
จำเลยด่าโจทก์ว่า เป็นคนจัญไร ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ให้ความหมายไว้ว่า "เลวทราม เป็นเสนียด ไม่เป็นมงคล" อันเป็นถ้อยคำรุนแรงไร้ความเคารพนับถือเป็นการลบหลู่เหยียดหยาม อกตัญญูต่อบิดาผู้มีพระคุณ ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ซึ่งเป็นบิดาและเป็นผู้ให้อย่างร้ายแรง จึงเป็นเหตุให้โจทก์เรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1804/2558
คดีนี้เป็นการฟ้องถอนคืนการให้ ไม่ใช่คดีฟ้องร้องให้บังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาให้ จำเลยที่ 1 มีสิทธินำสืบพยานบุคคลให้เห็นว่าเป็นการให้ที่มีค่าตอบแทนได้ ไม่ใช่เรื่องต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 และการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นการให้มีค่าตอบแทน เป็นประเด็นต่อเนื่องที่รวมอยู่ในประเด็นหลักเพราะโจทก์ฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนทรัพย์ที่เป็นสินสมรสที่พันเอก (พิเศษ) พ.ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ ศาลจึงต้องวินิจฉัยในที่สุดว่าโจทก์เพิกถอนได้หรือไม่ การวินิจฉัยว่าเป็นการให้โดยมีค่าตอบแทนและตามหน้าที่ธรรมจรรยาจึงมิใช่เป็นการพิพากษานอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18347/2557
คดีนี้ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยกล่าวแก่โจทก์ว่า "แม่แก่แล้วอายุตั้ง 90 ปี พูดกลับไปกลับมา แม่ใหญ่ได้แค่ในห้องนี้แหละ ข้างนอกฉันใหญ่ ถ้าไม่มีแม่ ฉันก็ดูแลทุกอย่างเองได้ ออกไปจากบ้านเถอะ" ต่อมาชั้นสืบพยานโจทก์เบิกความแต่เพียงว่า จำเลยกล่าวแก่โจทก์ว่า "แม่อายุ 90 ปี แล้ว พูดกลับไปกลับมา แม่ไม่อยู่ไม่มีแม่เค้าก็ทำได้" และจำเลยบอกคนดูแลโจทก์ให้จูงโจทก์ออกไปข้างนอก แม้ในข้อนี้จำเลยจะให้การปฏิเสธว่าไม่ได้พูดข้อความเช่นนั้นและอ้างว่าวันเกิดเหตุจำเลยเดินทางไปต่างจังหวัดก็ตาม เมื่อพิจารณาข้อความดังกล่าวเป็นเพียงการพูดจาโดยไม่มีสัมมาคารวะและไม่เคารพยำเกรงโจทก์ผู้เป็นมารดาเท่านั้น ไม่ถึงขนาดเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง อันจะถือได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกถอนคืนการให้ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15028/2557
โจทก์ยกบ้านพิพาทให้จำเลยในระหว่างสมรส เป็นนิติกรรมสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินที่โจทก์จำเลยทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากัน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 บัญญัติให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ ตามทางนำสืบโจทก์ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าโจทก์บอกล้างการให้เมื่อใด แต่เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องหย่าและขอให้เพิกถอนการให้บ้านพิพาท ให้จำเลยคืนบ้านพิพาทแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาบอกล้างในขณะที่ยังเป็นสามีภริยากันอยู่ สัญญาจึงไม่มีผลบังคับอีกต่อไป โจทก์มีสิทธิเรียกคืนบ้านพิพาทจากจำเลยได้โดยไม่จำต้องคำนึงว่าข้อเท็จจริงจะฟังได้หรือไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10552/2557
การที่จำเลยกล่าวต่อโจทก์ซึ่งเป็นบิดาโดยใช้คำว่ามึงกู เป็นคำหยาบไม่ให้ความเคารพโจทก์ ส่วนข้อความที่ว่า "ถ้ากูไม่ช่วยมึง มึงติดคุกไปนานแล้ว" เป็นการกล่าวเพื่อลำเลิกบุญคุณ ที่จำเลยเคยช่วยเหลือโจทก์ในอดีตเท่านั้น หาใช่เจตนาทำให้โจทก์ต้องเสียชื่อเสียงหรือเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงไม่ คำกล่าวนี้ยังไม่ถึงขนาดที่จะพอฟังได้ว่า จำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19413/2555
แม้การโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินและสารบัญจดทะเบียนโฉนดที่ดินพิพาทระบุว่าเป็นการขายก็ตาม แต่จำเลยที่ 3 และที่ 4 เบิกความทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 รวบรวมเงินไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจาก ม. จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงโอนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ในวันเดียวกัน การโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงมิใช่เป็นการซื้อขายเพราะมิได้มีการชำระราคากันจริง แต่ถือเป็นการให้โดยเสน่หา ส่วนการที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 หาเงินมาไถ่ถอนที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นการกระทำเพื่อช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ผู้เป็นมารดาของจำเลยที่ 4 จะถือเอาการที่ต้องไถ่ถอนจำนองเองเป็นค่าตอบแทนการโอนหาได้ไม่ เมื่อเป็นการโอนให้โดยเสน่หา แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้รู้ฝ่ายเดียว โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์ดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2553
ถ้อยคำที่จำเลยด่าโจทก์ว่า "อีแก่ไม่ยุติธรรม มึงทำให้ครอบครัวกูแตกแยก กูจะไม่อยู่กับมึงแล้ว" เป็นการแสดงเจตนาดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นอา จำเลยเรียกโจทก์ว่า อีแก่ ขึ้นมึงขึ้นกูกับโจทก์ ย่อมทำให้โจทก์อับอายเสียชื่อเสียงและเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2) โจทก์ย่อมเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณได้ ก่อนฟ้องคดีจำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 27546 พร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่ผู้อื่น เมื่อถอนคืนการให้ จำเลยต้องส่งคืนทรัพย์สินแก่โจทก์ตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ โดยคืนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ตามสภาพที่เป็นอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 413 วรรคหนึ่งและมาตรา 534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6323/2552
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยประพฤติเนรคุณเป็น 2 ประการ ประการแรกจำเลยขับไล่และด่าว่าโจทก์ว่า "แก่แล้วทำไมไม่ตายเสียที น่าจะตายให้พ้น ๆ ไป จะได้ไม่เป็นภาระคนอื่น" ประการที่สอง จำเลยไม่ยอมให้สิ่งจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์ทั้ง ๆ ที่จำเลยสามารถจะหยิบยื่นให้ได้ อันเป็นเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2) และ (3) ตามลำดับ แต่เหตุประการแรกโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าจำเลยด่าว่าโจทก์อย่างไรบ้างที่ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2) ส่วนเหตุในประการที่สองโจทก์อ้างว่าจำเลยไม่อุปการะเลี้ยงดูและไม่ให้ค่าเลี้ยงชีพเมื่อโจทก์ขอ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ยังมีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินอีกอย่างน้อย 1 แปลง และโจทก์ยังมีบุตรคนอื่น ๆ ให้การอุปการะเลี้ยงดูอีกด้วย ตามสถานภาพของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าเป็นคนยากไร้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (3) กรณีจึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนคืนการให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3384/2552
จำเลยทั้งสองนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 ที่เปิดบัญชีไว้กับธนาคารเพื่อประโยชน์ของโจทก์ในวันเดียวกับที่โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อเป็นค่าตอบแทนในการที่โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสอง จึงเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพันซึ่งผู้ให้ไม่อาจถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 535 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10344/2551
ขณะ ท. สามีโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ โจทก์กับ ท. แบ่งที่ดินสำหรับปลูกบ้าน ที่นาและที่สวนให้แก่บุตรทุกคนรวมทั้งจำเลยด้วย โดยจำเลยได้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงในการให้ที่ดินดังกล่าวมีข้อตกลงว่า โจทก์กับ ท. มีสิทธิเก็บกินในที่ดิน ถ้าเป็นที่นาโจทก์กับ ท. มีสิทธิเก็บค่าเช่าที่นา ถ้าเป็นที่สวนผลไม้ โจทก์กับ ท. มีสิทธินำผลไม้ไปขายได้หรือหากบุตรซึ่งเป็นผู้รับนำผลไม้ไปขายก็ต้องนำเงินมาให้โจทก์กับ ท. ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า โจทก์ยกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้จำเลยโดยโจทก์ยังมีสิทธิเก็บกินผลประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกถอนคืนการให้ เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 535 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4475/2551
โจทก์กับจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน โจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้จำเลย เป็นการตอบแทนที่จำเลยไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทที่โจทก์เป็นหนี้ธนาคารอยู่ อันเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณตาม ป.พ.พ. มาตรา 535 (2) แม้หนังสือสัญญาให้ที่ดินระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน จำเลยก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลให้เห็นว่าการให้ตามสัญญาให้ที่ดินเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพันได้ เพราะเป็นการฟ้องถอนคืนการให้ ไม่ใช่ฟ้องร้องให้บังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาให้ จึงไม่ใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร อันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 485/2553
แม้ในตอนบนของเอกสารจะมีข้อความว่า "หนังสือพินัยกรรม" แต่ไม่มีพยาน 2 คน ลงลายมือชื่อรับรอง จึงไม่มีลักษณะเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย และหนังสือดังกล่าวมีข้อความว่า ข้าพเจ้า ล. หรือ ช. ได้ถวายที่ดินจำนวนประมาณ 15 ไร่ ให้วัดวังก์พงในปีที่วัดวังก์พงได้วางศิลาฤกษ์สร้างพระอุโบสถนั้น... เนื่องจากทราบว่าเอกสาร น.ส.3 ที่ได้ถวายได้สูญหายไปจากวัดวังก์พงเมื่อปี 2525 และยังติดตามไม่พบและในเอกสารยังมีชื่อของข้าพเจ้าอยู่ ข้าพเจ้าจึงขอทำหนังสือฉบับนี้ยืนยันการถวายที่ดินแปลงดังกล่าวและหาก ข้าพเจ้าถึงแก่กรรมขอให้ถือหนังสือฉบับนี้เป็นพินัยกรรมยืนยันการถวายมอบ กรรมสิทธิ์ให้แก่วัดวังก์พงต่อไป ตามข้อความในเอกสารดังกล่าวถือได้ว่าเป็นหนังสือยืนยันการยกที่ดินพิพาทให้ แก่โจทก์ทั้งในปัจจุบันขณะทำหนังสือดังกล่าวจนถึงว่าหากถึงแก่กรรมก็ยังยืน ยันยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ หนังสือดังกล่าวถือได้ว่าเป็นหนังสือแสดงเจตนาของ ล. ที่ยืนยันว่ามีเจตนายกที่ดินพิพาทให้โจทก์มาตั้งแต่แรกจนถึงขณะทำหนังสือดัง กล่าว ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า ล. ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้วที่ดินพิพาทจึงเป็นธรณีสงฆ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2552
จำเลยแสดงเจตนายกที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตีใช้ หนี้และส่งมอบที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 525 ประกอบด้วยมาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่ที่ดินพิพาทมีแต่สิทธิครอบครองจึงถือได้ว่าจำเลยสละเจตนาครอบครองไม่ยึด ถือที่ดินพิพาทต่อไป เมื่อโจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตามมาตรา 1377 และ 1378 อันเป็นการได้สิทธิครอบครองด้วยการครอบครองตามกฎหมาย มิใช่ได้มาตามสัญญายกให้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็น ชื่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4475/2551
โจทก์กับจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน โจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้จำเลย เป็นการตอบแทนที่จำเลยไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทที่โจทก์เป็นหนี้ธนาคารอยู่ อันเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณตาม ป.พ.พ. มาตรา 535 (2) แม้หนังสือสัญญาให้ที่ดินระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน จำเลยก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลให้เห็นว่าการให้ตามสัญญาให้ที่ดินเป็นการให้ สิ่งที่มีค่าภาระติดพันได้ เพราะเป็นการฟ้องถอนคืนการให้ ไม่ใช่ฟ้องร้องให้บังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาให้ จึงไม่ใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร อันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10243/2550
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 (1) ระหว่างโจทก์กับ ฉ. ซึ่งถือว่าโจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และโจทก์มีสิทธิเรียกร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดินพิพาทได้ ตามมาตรา 1475 แต่ถึงแม้โจทก์จะมิได้ร้องขอดังกล่าว แต่การจัดการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทตามมาตรา 1476 (1) ถึง (8) ต้องจัดการร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อ ฉ. โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยโจทก์ให้ความยินยอม ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ให้ตามมาตรา 521 ด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องถอนคืนการให้ได้
โจทก์และ ฉ. ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยเสน่หาเมื่อ พ.ศ.2528 ต่อมา พ.ศ.2536 ฉ. ถึงแก่ความตาย แต่เหตุแห่งการประพฤติเนรคุณเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2543 ภายหลังจากที่ ฉ. ถึงแก่ความตายแล้ว และจำเลยประพฤติเนรคุณเฉพาะต่อโจทก์เท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณได้เฉพาะในส่วนของ ตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2550
โจทก์เจ็บป่วยไปขอความช่วยเหลือจากจำเลย จำเลยไม่พอใจพร้อมพูดว่า บักหมามึงแก่แล้ว พูดจากลับไปกลับมาเหมือนเด็กเล่นขายของ มึงไม่มีศีลธรรม มึงไปตายที่ไหนก็ไป ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง จึงมีเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณที่โจทก์ถอนคืนการให้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6962/2550
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ยกที่ดินเฉพาะส่วนทั้งห้าแปลงให้จำเลยโดยเสน่หา ต่อมาประมาณปลายปี 2538 ถึงต้นปี 2539 จำเลยประพฤติเนรคุณด้วยการด่าว่าและหมิ่นประมาทโจทก์ในฐานะบุพการีอย่างร้าย แรง ขอเรียกถอนคืนการให้ที่ดินทั้งห้าแปลงจากจำเลย จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ได้กระทำการดังกล่าว มูลเหตุของการฟ้องคดีนี้ หากเหตุการณ์ดังกล่าวตามฟ้องของโจทก์เกิดขึ้นจริง ฟ้องของโจทก์ก็ขาดอายุความแล้ว แม้คำให้การของจำเลยจะไม่ระบุระยะเวลาที่เป็นอายุความตามข้อต่อสู้ไว้ แต่โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณเพียง เรื่องเดียว ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติเรื่องอายุความการถอนคืนการให้ไว้ ในลักษณะให้ มาตรา 533 เพียงมาตราเดียวดังนี้ นอกจากจำเลยได้แสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างในคำฟ้องโจทก์ แล้ว จำเลยยังได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธและการขาดอายุความให้ปรากฏว่าเหตุใดฟ้อง โจทก์จึงขาดอายุความคำให้การของจำเลยชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงมีประเด็นเรื่องอายุความ
จำเลยประพฤติเนรคุณด่าและหมิ่นประมาทโจทก์เมื่อประมาณปลายปี 2538 ถึงต้นปี 2539 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2544 เกินกว่า 6 เดือน นับแต่วันที่โจทก์ได้ทราบถึงเหตุเหล่านั้น ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 533 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 576/2550
คำฟ้องโจทก์อ้างเหตุประการแรกว่า จำเลยที่ 1 หมิ่นประมาทโจทก์ด้วยถ้อยคำว่า "โจทก์ยกที่ดินให้แล้ว ยังจะเอาคืน เสือกโง่เอง อย่าหวังว่าจะได้สมบัติคืนเลย" ข้อความนี้ เป็นเพียงการกล่าวถ้อยคำไม่สุภาพเท่านั้น ไม่ถึงขนาดเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์หรือทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงแต่อย่างใด ดังนั้นแม้หากจะฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กล่าวถ้อยคำตามคำฟ้องจริงก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิเพิกถอนการให้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ได้กล่าวข้อความตามคำฟ้องหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องต่อมาความว่า หลังจากโจทก์ยกที่ดินให้จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ตัดโค่นไม้ยางพาราเสียและรับเงินราคาค่าไม้ยางทั้งหมดและจงใจทอดทิ้งโจทก์ เสีย ไม่ยอมส่งอาหารหรือปัจจัยสี่แก่โจทก์เลย โจทก์พักอาศัยอยู่คนเดียว จำเลยที่ 1 จงใจประพฤติเนรคุณโจทก์ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม 2542 ทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส อาจได้รับอันตรายแก่ชีวิต ทั้งนี้จำเลยที่ 1 สามารถดูแลปรนนิบัติโจทก์ได้แต่จำเลยที่ 1 ละเลยทอดทิ้งเสียทั้งที่สามารถทำได้ ตามคำฟ้องของโจทก์และการนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความว่า โจทก์เคยขอและจำเลยที่ 1 บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์แต่อย่างใด กรณีจึงไม่เข้าเหตุที่โจทก์มีสิทธิถอนคืนการให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4377/2549
ช. ยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะแล้ว แม้จะระบุว่า ช. จะมาจดทะเบียนให้เสร็จภายใน 3 วัน แต่เป็นการยกให้เป็นทางสาธารณะจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยสมบูรณ์ ตามกฎหมายทันทีที่ ช. ได้แสดงเจตนาโดยไม่จำต้องจดทะเบียนโอนสิทธิการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 อีก ทั้งการยกที่ดินให้เป็นทางสาธารณะไม่ต้องมีนายอำเภอหรือนายกเทศมนตรีในท้อง ที่แสดงเจตนารับ
ทางพิพาทติดจำนองอยู่โดยสัญญาจำนองระบุว่า ผู้จำนองจะให้สิทธิหรือทรัพยสิทธิไม่ว่าด้วยประการใด ๆ แก่ผู้อื่นในทรัพย์สินที่จำนอง เป็นที่เสื่อมเสียต่อสิทธิของผู้จำนองเองในทรัพย์สินที่จำนอง ผู้จำนองต้องได้รับความยินยอมจากผู้รับจำนองเป็นลายลักษณ์อักษรนั้น เป็นเรื่องระหว่างผู้จำนองกับผู้รับจำนอง ทั้งในหนังสือสัญญาจำนองก็ระบุไว้ว่า ถ้าผู้จำนองประพฤติผิดหรือไม่ประพฤติตามสัญญาที่กำหนดไว้ข้อหนึ่งข้อใดหรือ ทั้งหมด ผู้รับจำนองมีสิทธิจะเรียกให้ผู้จำนองชำระหนี้และบังคับจำนองได้ทันทีเท่า นั้น การที่ธนาคารผู้รับจำนองมิได้ให้ความยินยอมจึงไม่มีผลบังคับให้การยกทาง พิพาทเป็นทางสาธารณะเสียเปล่า
คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาว่า เข้าไปยึดครอบครองและก่อสร้างในที่ดินของรัฐซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน โดยไม่มีสิทธิ ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด แต่ศาลวินิจฉัยแต่เพียงว่า กรณียังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ การที่จำเลยที่ 1 ใช้ให้ผู้อื่นนำดินไปถมในทางพิพาทโดยเชื่อว่ามีสิทธิทำได้ในฐานะเจ้าของ ที่ดินนั้น จึงยังไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนากระทำความผิดตามฟ้อง คำวินิจฉัยดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดที่วินิจฉัยว่าทางพิพาทไม่ใช่ทาง สาธารณะ คดีนี้จึงไม่ต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2430/2548
โจทก์ได้ทำสัญญายกที่ดินให้แก่จำเลยซึ่งเป็นบุตรสาว ต่อมาโจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินบางส่วนให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าเมื่อเดือนตุลาคม 2540 จำเลยบันดาลโทสะพูดกับโจทก์ว่า จำเลยไม่จัดการโอนที่ดินให้โจทก์เพราะโจทก์ได้ยกที่ดินให้จำเลยแล้ว ถ้าอยากได้เก่งจริงก็ให้ไปฟ้องศาลเองเป็นการประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ ขอให้ถอนคืนการให้ที่ดินพิพาทที่โจทก์ยกให้จำเลย แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2541 ซึ่งเป็นเวลาล่วงพ้นกำหนดหกเดือนไปแล้ว ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 533 วรรคหนึ่ง การจะฟ้องถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณนั้น ต้องฟ้องภายในกำหนดหกเดือนนับแต่เหตุประพฤติเนรคุณได้ทราบถึงบุคคลผู้ชอบที่ จะเรียกถอนคืนการให้คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1456/2548
ตามคำฟ้องของโจทก์ คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งห้า กับคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์เป็นการโต้แย้งกันว่าที่ดินพิพาทเป็นของฝ่าย โจทก์หรือจำเลยทั้งห้า เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งห้ายอมรับข้อเท็จจริงว่ามูลเหตุคดีนี้สืบเนื่องมาจาก โจทก์ให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 1 ย่อมต้องวินิจฉัยปัญหาในข้อเท็จจริงว่าโจทก์ให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 1 เพียงใด เพื่อไปสู่ปัญหาในข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นของฝ่ายโจทก์หรือจำเลยทั้ง ห้า เพราะหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ไม่ได้ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 ที่ดินพิพาทก็เป็นของโจทก์ ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ว่า โจทก์หรือจำเลยทั้งห้าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทจึงถูกต้องแล้ว
แม้ตามหนังสือแบ่งให้ที่ดินและ น.ส.3 จะระบุชัดว่าโจทก์และ ป. ให้ที่ดินตาม น.ส. 3 ดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 มีเนื้อที่ 3 งาน 60 ตารางวา แต่เมื่อจำเลยที่ 1 เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและที่ได้รับการให้ตลอดมาโดยโจทก์มิได้ โต้แย้งคัดค้าน ทั้งตอนที่จำเลยที่ 1 นำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดเพื่อออกโฉนด โจทก์ก็ไประวังและรับรองแนวเขตในฐานะเจ้าของที่ดินข้างเคียงให้แม้ขณะนั้น โจทก์จะยังไม่ทราบว่าที่ดินที่จำเลยที่ 1 ขอออกโฉนดมีเนื้อที่เท่าใดก็ตาม แต่บันทึกถ้อยคำระบุไว้ชัดว่าในการรังวัดออกโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 โจทก์เห็นว่าถูกต้องแล้ว ไม่มีการรุกล้ำแนวเขตกันแต่อย่างใด เท่ากับโจทก์ยอมรับว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินส่วนที่ได้รับการให้ และรังวัดออกโฉนดในส่วนที่ครอบครองทำประโยชน์ จึงเป็นการให้ที่ดินด้วยการส่งมอบการครอบครองที่ดินแก่จำเลยที่ 1 โดยมีเจตนาให้ตามส่วนที่ได้รับมอบการครอบครองยิ่งกว่าที่ระบุไว้ในหนังสือ สัญญาแบ่งให้ที่ดินและ น.ส. 3 ดังนั้นเมื่อมีรังวัดออกโฉนดที่ดินได้เนื้อที่ 1 ไร่ 99 ตารางวา กรณีต้องถือว่าโจทก์และ ป. ให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 1 มีเนื้อที่ดังกล่าว หาใช้เนื้อที่ 3 งาน 60 ตารางวา ตามที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาแบ่งให้ที่ดินและ น.ส. 3 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8306/2548
เหตุเกิดขึ้นเนื่องจากความขัดแย้งเรื่องที่ดินระหว่างกันทำให้จำเลยมีโทสะด่าว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นญาติห่าง ๆ กับจำเลยด้วยถ้อยคำหยาบคายว่า "อีพวกดอกทองไม่ต้องมายุ่งเรื่องของกู พวกมึงก็ดอกทองเหมือนกัน" ซึ่งโดยวิสัยของบุคคลระดับชาวบ้านเช่นนี้ใช่ด่าว่ากัน แม้ถ้อยคำจะไม่สุภาพและไม่สมควรที่จำเลยจะกล่าวต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แต่ก็ยังไม่อาจรับฟังได้ถึงขั้นว่าจำเลยมีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งห้า อย่างร้ายแรง อันจะเป็นเหตุประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ทั้งห้าเสียทีเดียว โจทก์ทั้งห้าจึงยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะเรียกถอนคืนการให้ที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2548
โจทก์เป็นบิดาจำเลยที่ 1 ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา โดยตนเองยังปลูกบ้านอาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าว ต่อมาจำเลยที่ 1 ขับไล่โจทก์ให้รื้อถอนบ้านออกจากที่ดินพิพาท โดยพูดด่าว่าโจทก์ว่า "ไอ้เหี้ย ให้รื้อบ้านออกไปจากที่ดินของกู ไปให้พ้นไม่ต้องมาใช้น้ำบ้านกู ให้มึงรื้อบ้านออกไปเป็นขอทานที่วัดเสียเลย" ทั้งยังด่าว่าโจทก์อีกว่า "พ่ออย่างมึงกูไม่นับถือเป็นพ่อต่อไป" นอกจากนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาข้อหายักยอกเงินค่าขายที่ดินที่โจทก์ฝากไว้ร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ได้พาพวกไปที่บ้านโจทก์โดยจำเลยที่ 1 พูดจาข่มขู่ให้โจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาเสีย มิฉะนั้นจำเลยทั้งสองกับพวกจะฆ่าโจทก์ ทั้งจำเลยที่ 1 ได้ด่าว่าโจทก์อีกว่า "ไอ้เหี้ยให้รื้อบ้านออกไปจากที่กู" และบอกเรื่องที่ดินว่า "ได้ขายให้คนอื่นแล้ว มึงอย่าหวังว่าจะได้คืนจากกูได้" การที่จำเลยที่ 1 ด่าว่าโจทก์ด้วยถ้อยคำและพฤติการณ์ดังกล่าวข้างต้น แสดงว่าจำเลยที่ 1 สิ้นความเคารพยำเกรงโจทก์ซึ่งเป็นบิดา เป็นการลบหลู่และอกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง โจทก์จึงมีสิทธิถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2) แม้คำเบิกความของพยานโจทก์จะมิได้ระบุว่า จำเลยที่ 1 ด่าโจทก์เมื่อใด ก็มิใช่สาระสำคัญถึงขนาดทำให้พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้
การที่จำเลยที่ 2 ตกลงซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 แต่กลับปล่อยให้จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาโดยอ้างเหตุว่าตนเห็นว่ายังมีการฟ้องร้องกันอยู่ ย่อมเป็นการแสดงว่าจำเลยที่ 2 รู้อยู่ก่อนแล้วว่าจำเลยที่ 1 กับโจทก์มีปัญหาเรื่องที่ดินพิพาทกันแล้วยังซื้อไว้ เช่นนี้น่าจะเป็นการซื้อไว้โดยไม่สุจริต ทั้งปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ยังอาศัยอยู่กับบิดามารดา และไม่มีเหตุผลใด ๆ ในการซื้อที่ดินพิพาทมาทิ้งไว้โดยไม่เข้าทำประโยชน์ พฤติการณ์ในการโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นการกระทำไปโดยรู้ ว่าโจทก์ผู้ให้อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบ จึงเป็นการสมคบกันฉ้อฉลโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3614/2547
ช. และ ป. ยกที่ดินพิพาทให้ ภ. มารดาโจทก์ แม้การให้จะไม่สมบูรณ์เพราะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้า หน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 แต่ไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งการครอบครองที่ดินพิพาทของ ภ. จากบุคคลอื่น ภ. ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของตั้งแต่ได้รับการยกให้ตลอดมาจนถึงแก่ ความตาย โจทก์ซึ่งเป็นบุตรได้ครอบครองต่อมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็น เจ้าของติดต่อมาเป็นเวลากว่า 10 ปี โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ดังนั้น การที่ ป. ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทซึ่งไม่ใช่ทรัพย์ของตนเองให้แก่จำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3866/2547
โจทก์ตั้งประเด็นมาในคำฟ้องเป็นเรื่องให้โดยเสน่หา และขอให้ถอนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณ แต่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณากลับได้ความว่าโจทก์ให้จำเลยซึ่งเป็นบุตรยืม เอกสาร น.ส.3 ก. พิพาทไปใช้ในการจำนอง เมื่อชำระหนี้จำนองแล้วให้โอน น.ส.3 ก. นั้นคืนแก่โจทก์ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องให้โดยเสน่หาตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 521 โจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินแปลงพิพาท โจทก์จะอ้างว่าจำเลยประพฤติเนรคุณแล้วมาขอถอนการให้ไม่ได้ ได้แต่จะฟ้องเรียกคืนทรัพย์ด้วยเหตุอื่นที่ตรงกับข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์ตั้งประเด็นมาในคำฟ้องเป็นเรื่องถอนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณ ศาลฎีกาย่อมไม่อาจพิพากษาให้จำเลยโอน น.ส.3 ก. ของที่ดินแปลงพิพาทคืนแก่โจทก์เพราะเหตุอื่นได้เนื่องจากเป็นเรื่องนอก ประเด็นตามคำฟ้อง
ที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องถึงมูลเหตุที่โจทก์ยก ที่ดินแปลงพิพาทให้จำเลยว่าเป็นการยกให้ที่มีเงื่อนไขเพื่อให้จำเลยนำไปใช้ จำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยกับสามีที่กู้ยืมจากธนาคารและนำสืบถึงเงื่อนไข ดังกล่าว ก็เพื่อให้เห็นถึงมูลเหตุแห่งการที่โจทก์ยกที่ดินแปลงพิพาทให้จำเลย มิใช่เป็นการเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญายกให้ที่ดินแต่อย่างใด
การจะพิจารณาพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำฟ้อง โจทก์ได้หรือไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ให้จำเลยยืมเอกสาร น.ส.3 ก. ของที่ดินแปลงพิพาทไปใช้จำนอง โดยไม่มีเจตนายกที่ดินแปลงพิพาทให้แก่จำเลย กรณีไม่ใช่การให้โดยเสน่หาที่จะขอถอนเพราะเหตุประพฤติเนรคุณ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2545
แม้ในวันที่จำเลยที่ 1 อ้างตนเองเข้าเบิกความต่อศาล ก. ได้นั่งฟังอยู่ในห้องพิจารณาด้วยอันเป็นการผิดระเบียบ แต่เมื่อคำเบิกความของ ก. มีเหตุผลน่าเชื่อฟัง ศาลย่อมฟังคำเบิกความของ ก. เพื่อประกอบการพิจารณาได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 114 วรรคสอง
การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าโจทก์จดทะเบียนให้ ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองเนื่องในโอกาสที่จำเลยทั้งสองสมรสกันเพื่อให้ใช้ ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวสืบไปนั้นหาใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร หลักฐานการจดทะเบียนที่ระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่ เพราะเป็นการนำสืบให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลย ทั้งสองว่าเป็นการให้เนื่องในโอกาสใด จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำสืบได้
โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองในการสมรส ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้ประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็จะฟ้องขอถอนคืนการให้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 535 (4) ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3421/2545
โจทก์เป็นภริยาของ บ. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันหลังจาก บ. ถึงแก่ความตาย โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นของตนเองตลอดมา จำเลยซึ่งเป็นพี่ของ บ. มิได้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลย ต่อมาโจทก์ต้องการเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่ดินพิพาททางทะเบียนให้ถูกต้อง แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจดำเนินการให้ได้เพราะโจทก์กับ บ. มิได้จดทะเบียนสมรสกันจึงแนะนำให้โจทก์ไปตามจำเลยมาขอรับโอนมรดกที่ดินพิพาท ของ บ. แล้วให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ภายหลัง ซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้องเพราะขณะนั้นที่ดินพิพาทไม่เป็นทรัพย์มรดกของ บ. แล้ว การที่จำเลยทำหนังสือสัญญาว่าจะให้ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ก่อนไปจดทะเบียน โอนมรดกจึงมิใช่สัญญาจะให้ที่ดิน แต่เป็นสัญญาที่ไม่มีชื่ออย่างหนึ่งที่ไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 526 ดังนั้น ที่จำเลยยื่นคำขอรับมรดกที่ดินพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นการดำเนิน การตามสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์นั่นเอง จำเลยต้องโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9854/2544
บุคคลผู้ชอบที่จะฟ้องเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณได้นั้น ต้องฟ้องคดีภายในหกเดือนนับแต่เหตุประพฤติเนรคุณนั้นได้ทราบถึงผู้นั้น และห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาสิบปีภายหลังเหตุการณ์เช่นว่านั้นตามป.พ.พ. มาตรา 533 บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ให้สิทธิเลือกจะฟ้องคดีภายในหกเดือนหรือ สิบปี
แม้ผู้ให้ยังมีชีวิตอยู่และยากไร้ ผู้รับให้มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูผู้ให้ตามความจำเป็นและผู้รับให้ สามารถให้ได้ตลอดเวลาที่ผู้ให้ยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม แต่เหตุประพฤติเนรคุณทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อนับถึงวันฟ้องเกินกว่าหกเดือนนับ แต่วันที่ผู้ให้ได้ทราบถึงเหตุเหล่านั้น คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 533 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8655/2544
โจทก์ได้ยกที่ดินให้แก่จำเลย ต่อมาจำเลยประพฤติตนไม่ดี เล่นการพนันและเสพสุรา โจทก์ได้ว่ากล่าวตักเตือน จำเลยไม่ยอมเชื่อฟังกลับด่าโจทก์ว่า "อีแก่ อีชาติหมา มึงจะไปตายไหนก็ไป กูไม่นับถือมึงเป็นแม่ลูกกัน" อันเป็นถ้อยคำที่รุนแรงและหยาบคายเปรียบโจทก์เป็นสัตว์และด่าว่าให้โจทก์ไป ตาย และจำเลยใช้ไม้จะตีโจทก์ ซึ่งจำเลยในฐานะบุตรไม่พึงกระทำต่อโจทก์ผู้เป็นมารดา การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้าย แรง โจทก์ผู้ให้ย่อมเรียกถอนคืนการให้ เพราะเหตุจำเลยผู้รับประพฤติเนรคุณได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8530/2544
แม้ข้อความในสัญญาที่จำเลยให้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์แก่โจทก์จะระบุว่า จำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องวิทยุคมนาคมให้แก่โจทก์ผู้รับนับแต่วันทำ สัญญา และโจทก์ได้รับมอบเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าในวันทำสัญญานั้นจำเลยไม่ได้ส่งมอบเครื่องวิทยุ คมนาคมและอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ ดังนั้น สัญญาให้ดังกล่าวจึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523 ซึ่งบัญญัติว่า การให้ย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ สัญญาให้จึงไม่สมบูรณ์ เช่นเดียวกับสัญญาเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ระหว่างจำเลยกับโจทก์ ที่ทำในวันเดียวกันนั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าให้จำเลยนำไปใช้ แม้ในสัญญาจะมีข้อความว่าจำเลยตกลงนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ไปติดตั้ง ณ หน่วยงานของจำเลย สัญญาเช่าก็ไม่สมบูรณ์เนื่องจากขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 546 ซึ่งกำหนดว่า ผู้ให้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่านั้นในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่า ค่าเสียหายและบังคับให้จำเลยคืนวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3601/2542
โจทก์กู้เงินจาก ร. โดยนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทให้ ร. ยึดถือไว้เป็นประกัน จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แทนโจทก์เป็นเงิน 70,000 บาท และรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์คืนมา ต่อมาโจทก์ขอออกโฉนดที่ดินพิพาทแล้วจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูก สร้างราคา 500,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา ไม่มีค่าตอบแทน เมื่อเปรียบเทียบแล้วราคาที่ดินพิพาทสูงกว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แทนโจทก์เมื่อ 3 ถึง 4 ปี ที่แล้วไม่น้อยกว่า 7 เท่า การที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทจึงถือไม่ได้ว่าเป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้ในการที่ จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แทน และการที่ ร. ยึดถือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทไว้โดยไม่ได้จดทะเบียนจำนอง ไม่ใช่กรณีที่มีภาระเกี่ยวกับตัวที่ดินพิพาท การให้ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่การให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน จำเลยที่ 1 บอกปัดไม่ยอมให้เงินโจทก์ซื้อยารักษาตัวอันเป็นการบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำ เป็นเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์ในเวลาที่โจทก์ยากไร้และจำเลยที่ 1 ยังสามารถจะให้ได้ โจทก์จึงเรียกถอนคืนการให้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (3)
โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (3) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกถอนคืนการให้จากจำเลยที่ 1 ได้แต่เพียงผู้เดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7872/2542
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ทรัพย์ซึ่งติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเพียงชั่วคราวไม่ถือว่าเป็นส่วน ควบกับที่ดินหรือโรงเรือนนั้น ความข้อนี้ให้ใช้บังคับแก่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งผู้มี สิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้นด้วย ป. ซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินราชพัสดุได้ใช้สิทธิในการเช่าปลูกสร้างบ้านพิพาทลงใน ที่ดินราชพัสดุ บ้านพิพาทจึงไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินราชพัสดุ
การจดทะเบียนการโอนสิทธิการเช่าที่ดินราชพัสดุ จากบุคคลผู้มีสิทธิไปยังบุคคลอื่นต่อเจ้าหน้าที่ของทางราชการ หาใช่เป็นการจดทะเบียนการให้อสังหาริมทรัพย์ไม่ เพราะการโอนบ้านพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์จะต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 456, 525 ประกอบ ป. ที่ดิน มาตรา 71 คือ ไปจดทะเบียนการได้รับการยกให้บ้านพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินตาม ป. ที่ดิน ฉะนั้นการโอนไปซึ่งสิทธิการเช่าที่ดินราชพัสดุยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยกให้ บ้านพิพาทเพราะยังไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ที่กฎหมายกำหนด การยกให้บ้านพิพาทไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลให้บ้านพิพาทโอนตกไปยังผู้รับโอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6657/2542
การที่จำเลยยอมเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสามเพื่อเป็น การแลกเปลี่ยนกับการที่โจทก์ทั้งสามยอมเลิกการเช่านาและออกจากนาที่เช่าเป็น สัญญาต่างตอบแทนที่ใช้บังคับได้ กรณีมิใช่เป็นการให้โดยเสน่หาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 521 จึงไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 525 และ 526 บันทึกข้อตกลงที่ให้จำเลยเป็นผู้จัดหาที่ดิน ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง การที่โจทก์ทั้งสามนำสืบพยานบุคคลให้เห็นเจตนาของคู่กรณีว่าตกลงจะโอน กรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงใด จึงไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2539
มูลนิธิที่จะเป็นนิติบุคคลได้ต้องเป็นมูลนิธิที่ได้รับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว เมื่อขณะรับการให้มูลนิธิผู้รับโอนยังไม่เป็นนิติบุคคลย่อมถือว่าเป็นการให้ ที่ผู้โอนให้สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมทำให้นิติกรรมการให้เป็นโมฆะ จำเลยที่1และที่2ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้ได้รับเรื่องราวตามประมวลกฎหมาย ที่ดินมาตรา61ย่อมเพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมการให้ได้หาจำต้องให้ผู้โอน ให้ไปฟ้องร้องเพื่อเพิกถอนการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการ เพิกถอนการให้ก่อนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5212/2537
การให้รถยนต์อันเป็นสังหาริมทรัพย์ย่อมสมบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523ไม่มีกฎหมายบังคับว่าการให้ทรัพย์สินดังกล่าวต้องทำตามแบบกรรมสิทธิ์ในรถ ยนต์ย่อมโอนไปยังโจทก์ผู้รับแล้วหาจำต้องจดทะเบียนโอนกันเสียก่อนไม่ เพราะกฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนรถยนต์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่จะ ควบคุมยานพาหนะและภาษีรถยนต์ ไม่ใช่แบบของนิติกรรมแต่อย่างใด ดังนั้นแม้ยังไม่ได้เปลี่ยนชื่อในทะเบียนรถยนต์เป็นชื่อโจทก์โจทก์ก็เป็น เจ้าของรถยนต์ที่โจทก์ขับในวันเกิดเหตุโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย เนื่องจากละเมิดจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2525
โจทก์ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โดยโจทก์จดทะเบียนเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินตลอดชีวิตของโจทก์ ต่อจากนั้นจำเลยได้เข้าทำนาในที่ดินที่ได้รับยกให้ และแบ่งข้าวเปลือกที่ ได้จากการทำนาให้แก่โจทก์ปีละ 30 ถัง การให้ในลักษณะเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดภาระเกี่ยวกับตัวที่ดินที่โจทก์ยกให้ตลอดชีวิตของโจทก์ จึงมิใช่เป็นการให้โดยเสน่หา แต่เป็นการให้ที่มีค่าภาระติดพัน นิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้กับผู้รับต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 528,529 โจทก์จะเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2498
สามีภรรยาต่างทำพินัยกรรมให้แก่กัน พินัยกรรมของภรรยามีข้อความว่า "เมื่อข้าพเจ้าวายชนม์แล้ว บรรดาทรัพย์สินและสิทธิทั้งหลายของข้าพเจ้าซึ่งมีอยู่ในเวลานี้และมีต่อไป ภายหน้า ขอให้ตกเป็นกรรมสิทธิแก่สามี(ขุนอุปพงษ์ฯ) ผู้รับพินัยกรรม แต่ถ้าขุนอุปพงษ์ฯถึงแก่กรรมล่วงลับไปก่อนข้าพเจ้าก็ขอให้ทรัพย์สินและสิทธิ ทั้งหลายของข้าพเจ้าตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ (คุณหญิงเลขวณิชฯ)เป็นผู้รับพินัยกรรม ฯลฯ" และตามพินัยกรรมของสามี (ขุนอุปพงษ์ฯ)ก็มีข้อความทำนองเดียวกัน ยกทรัพย์ให้แก่ภรรยา (นางจันทร์) ถ้านางจันทร์ล่วงลับไปก่อนก็ยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ (คุณหญิงเลขวณิชฯ)
ดัง นี้เมื่อภรรยา (นางจันทร์)ตายไปก่อน ทรัพย์มรดกของภรรยา(นางจันทร์) ก็ตกได้แก่สามี(ขุนอุปพงษ์) ตามพินัยกรรมสามีย่อมมีสิทธิที่จะยกทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นได้ ไม่มีข้อผูกพันตาม กฎหมาย ที่สามี(ขุนอุปพงษ์ฯ)จำต้องยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ เพราะทรัพย์นั้นเป็นของสามี(ขุนอุปพงษ์ฯ) โดยเด็ดขาด ตามกฎหมาย สามีมีสิทธิจะยกทรัพย์ให้ใครๆ ก็ได้แล้ว ต่อมาทำพินัยกรรมยกทรัพย์ไปให้ผู้อื่นมิได้ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้กับภรรยา ว่าจะให้โจทก์ก็ตาม ก็ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตเพราะข้อตกลงนั้นฟังได้อย่างมากก็เพียงว่าผู้ ทำพินัยกรรมทั้งสองตกลงจะยกทรัพย์ให้แก่โจทก์เมื่อตาย แต่เมื่อมิได้ทำพินัยกรรมยกให้ไว้โดยตรงดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 536 แล้วก็ใช้บังคับไม่ได้ และเรื่องนี้เป็นการยกทรัพย์ให้กันตามพินัยกรรมไม่ใช่เรื่องคู่สัญญาฝ่าย หนึ่งตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374
ข้อผูกพันให้ทรัพย์ตกได้แก่โจทก์ใช้บังคับมิได้เพราะขัดต่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1707 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2498)