มาตรา ๑๐๕๕ ห้างหุ้นส่วนสามัญย่อมเลิกกันด้วยเหตุดั่งกล่าวต่อไปนี้
(๑) ถ้าในสัญญาทำไว้มีกำหนดกรณีอันใดเป็นเหตุที่จะเลิกกัน เมื่อมีกรณีนั้น
(๒) ถ้าสัญญาทำไว้เฉพาะกำหนดกาลใด เมื่อสิ้นกำหนดกาลนั้น
(๓) ถ้าสัญญาทำไว้เฉพาะเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแต่อย่างเดียว เมื่อเสร็จการนั้น
(๔) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งให้คำบอกกล่าวแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ ตามกำหนดดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐๕๖
(๕) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตาย หรือล้มละลาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา ๑๐๕๖ ถ้าห้างหุ้นส่วนได้ตั้งขึ้นไม่มีกำหนดกาลอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นยุติ ท่านว่าจะเลิกได้ต่อเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งบอกเลิกเมื่อสิ้นรอบปี ในทางบัญชีเงินของห้างหุ้นส่วนนั้น และผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นต้องบอกกล่าวความจำนงจะเลิกล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหก เดือน
มาตรา ๑๐๕๗ ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดร้องขอเมื่อมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ ศาลอาจสั่งให้ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันเสียก็ได้ คือ
(๑) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งนอกจากผู้ร้องฟ้องนั้น ล่วงละเมิดบทบังคับใด ๆ อันเป็นข้อสาระสำคัญซึ่งสัญญาหุ้นส่วนกำหนดไว้แก่ตน โดยจงใจหรือเลินเล่ออย่างร้ายแรง
(๒) เมื่อกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้นจะทำไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียวและไม่มีหวังจะกลับฟื้นตัวได้อีก
(๓) เมื่อมีเหตุอื่นใด ๆ ทำให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้
มาตรา ๑๐๕๘ เมื่อเหตุอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวด้วยผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่ง ซึ่งตามความในมาตรา ๑๐๕๗ หรือมาตรา ๑๐๖๗ เป็นเหตุให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายนอกนั้นมีสิทธิจะเรียกให้เลิกห้างหุ้น ส่วนได้ไซร้ ในเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนเหล่านั้นยื่นคำร้อง ท่านว่าศาลจะสั่งให้กำจัดหุ้นส่วนผู้ต้นเหตุคนนั้นออกเสียจากห้างหุ้นส่วน แทนสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนก็ได้
ในการแบ่งทรัพย์สินระหว่างห้างหุ้นส่วนกับผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถูกกำจัดนั้น ท่านให้ตีราคาทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนตามราคาที่เป็นอยู่ในเวลาแรกยื่นคำร้องขอให้กำจัด
มาตรา ๑๐๕๙ ถ้าเมื่อสิ้นกำหนดกาลซึ่งได้ตกลงกันไว้ และผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเคยได้จัดการอยู่ในระหว่างกำหนดนั้น ยังคงดำเนินการค้าของห้างหุ้นส่วนอยู่ต่อไปโดยมิได้ชำระบัญชีหรือชำระเงินกันให้เสร็จไปไซร้ ท่านให้ถือว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งปวงได้ตกลงคงทำการเป็นหุ้นส่วนกันสืบไปโดยไม่มีกำหนดกาล
มาตรา ๑๐๖๐ ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งกล่าวไว้ในมาตรา ๑๐๕๕ อนุมาตรา ๔ หรืออนุมาตรา ๕ นั้น ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่รับซื้อหุ้นของผู้ที่ออกจากหุ้นส่วนไปไซร้ ท่านว่าสัญญาหุ้นส่วนนั้นก็ยังคงใช้ได้ต่อไปในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่ด้วยกัน
มาตรา ๑๐๖๑ เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันแล้วก็ให้จัดการชำระบัญชีเว้นแต่จะได้ตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน หรือว่าห้างหุ้นส่วนนั้นศาลได้พิพากษาให้ล้มละลาย
ถ้าการเลิกห้างหุ้นส่วนนั้นได้เป็นไปโดยที่เจ้าหนี้เฉพาะตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้ให้คำบอกกล่าวก็ดี หรือโดยที่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งล้มละลายก็ดี ท่านว่าจะงดการชำระบัญชีเสียได้ต่อเมื่อเจ้าหนี้คนนั้น หรือเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ยินยอมด้วย
การชำระบัญชีนั้น ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดด้วยกันจัดทำหรือให้บุคคลอื่นซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ตั้งแต่งขึ้นนั้นเป็นผู้จัดทำ
การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี ให้วินิจฉัยชี้ขาดโดยคะแนนเสียงข้างมากของผู้เป็นหุ้นส่วน
มาตรา ๑๐๖๒ การชำระบัญชี ให้ทำโดยลำดับดังนี้ คือ
(๑) ให้ชำระหนี้ทั้งหลายซึ่งค้างชำระแก่บุคคลภายนอก
(๒) ให้ชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้าง
(๓) ให้คืนทุนทรัพย์ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนได้ลงเป็นหุ้น
ถ้ายังมีทรัพย์เหลืออยู่อีกเท่าไร ก็ให้เฉลี่ยแจกเป็นกำไรในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน
มาตรา ๑๐๖๓ ถ้าเมื่อได้ชำระหนี้ซึ่งค้างชำระแก่บุคคลภายนอกและชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายแล้ว สินทรัพย์ที่ยังอยู่ไม่พอจะคืนแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนให้ครบจำนวนที่ลงหุ้นไซร้ส่วนที่ขาดนี้คือขาดทุน ซึ่งต้องคิดเฉลี่ยช่วยกันขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2550
สัญญาร่วมลงทุนและแบ่งผลประโยชน์กำหนดหน้าที่ของโจทก์ว่า โจทก์รับจะดูแลจัดการเกี่ยวกับการเงินบัญชี การขาย การติดต่อลูกค้า และกิจการอื่น ๆ ที่กี่ยวกับงานของโครงการจัดสรรที่ดินที่ดำเนินการอยู่ ส่วนหน้าที่ของจำเลยได้กำหนดไว้ว่า รับจะดูแลในการพัฒนาที่ดิน การขอรังวัด แบ่งแยก ออกโฉนดใหม่ ตลอดจนถึงงานด้านสาธารณูปโภค ด้านการขายและกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับงานของโครงการ ตั้งแต่ลงทุนเป็นหุ้นส่วนกันมายังไม่ได้มีการสะสางบัญชีกันเลยว่าจะมีรายรับ และรายจ่ายเพียงใด ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งสองก็ไม่ปรองดองกัน เหลือวิสัยที่ห้างหุ้นส่วนจะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3) หากปล่อยให้ห้างหุ้นส่วนดำรงคงอยู่ต่อไป ผู้เป็นหุ้นส่วนต่างก็มุ่งจะขายที่ดินส่วนที่เหลือและรับเงินจากลูกค้าของตน โดยไม่นำพาต่อหุ้นส่วนอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งจะเป็นผลเสียต่อหุ้นส่วนอีกฝ่ายหนึ่ง และต่อลูกค้าอันจะเป็นมูลเหตุให้เกิดคดีฟ้องร้องกันต่อไปอีก จึงมีเหตุที่ศาลจะสั่งให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5184/2550
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีหุ้นส่วนเพียง 2 คน คือโจทก์และจำเลยที่ 2 โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน และมีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงจนไม่สามารถจะทำธุรกิจร่วมกันต่อไปได้ ทั้งหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดก็มีเพียงจำเลยที่ 2 เท่านั้น ไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นหุ้นส่วนผู้ใดได้อีก จึงทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3)
เมื่อมีเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัด ดำเนินกิจการ โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งย่อมมีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วน จำกัดจำเลยที่ 1 ได้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใดไม่ และไม่ใช่เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งของห้างหุ้นส่วนที่ตั้งขึ้น โดยไม่มีกำหนดกาลอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นยุติ ประสงค์จะเลิกห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีเหตุ จึงต้องบอกกล่าวความจำนงจะเลิกล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนสิ้นรอบปีใน ทางบัญชีเงินของห้างหุ้นส่วนนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1056
โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนเพียง 2 คน ของจำเลยที่ 1 ขัดแย้งกันไม่อาจชำระบัญชีร่วมกันได้ และไม่ปรากฏว่ามีข้อบังคับของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251 วรรคสอง เมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ย่อมสมควรให้คนกลางที่ไม่มีส่วนได้เสียกับฝ่ายใดเป็นผู้ชำระบัญชี โดยกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลย ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5619/2548
ตามหนังสือรับรองนิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ซึ่งนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดรับรองระบุว่า นายทะเบียนได้จำแนกห้างหุ้นส่วนนี้ออกจากสารบบทะเบียนเพราะมีมูลเหตุเชื่อ ว่าไม่ได้ทำการค้าขายหรือประกอบการงานแล้ว หาได้มีข้อความอันใดที่แสดงว่า ฐานะการเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ได้สิ้นสุดหรือหมดสภาพไปแล้วในเวลาที่โจทก์ยื่นคำฟ้องนั้นไม่ ทั้งข้อเท็จจริงที่นายทะเบียนได้จำแนกจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบทะเบียนเพราะมีมูลเหตุที่เชื่อว่าไม่ได้ทำการค้าขายหรือประกอบ การงานนั้น ก็มิได้มีบทบัญญัติของกฎหมายใดกำหนดให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นต้องสิ้นสภาพ ของการเป็นนิติบุคคลไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3885/2546
โจทก์และจำเลยทำสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญรับจ้างก่อสร้างอาคารเรียนใน วิทยาลัยสารพัดช่าง เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารเรียนดังกล่าวเสร็จและได้รับเงินค่าจ้างครบถ้วนแล้ว ห้างหุ้นส่วนสามัญย่อมเลิกกันเพราะเสร็จการนั้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 1055(3) แม้หลังจากจำเลยได้รับเงินค่าจ้างงวดแรกจำเลยยินยอมคืนเงินลงทุนให้แก่โจทก์ แล้วก็ตาม แต่โจทก์และจำเลยยังโต้เถียงกันเรื่องจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วน จำนวนเงินที่โจทก์ลงทุนไป จำนวนหนี้ที่ค้างชำระแก่บุคคลภายนอก ค่าตอบแทนและค่าผลประโยชน์ที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์ และผลกำไร ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธี อื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน แม้คดีนี้โจทก์จะมิได้ฟ้องแบ่งปันกำไรแต่โจทก์ฟ้องเรียกค่าแทนและค่าผล ประโยชน์จากจำเลยอันเกี่ยวเนื่องกับสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญระหว่าง โจทก์กับจำเลย จึงต้องจัดให้มีการชำระบัญชีก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1061 วรรคหนึ่ง เพื่อให้ทราบว่าห้างหุ้นส่วนสามัญมีหนี้สินเพียงใด โดยโจทก์จะต้องร้องขอให้ตั้งผู้ชำระบัญชีก่อนเมื่อโจทก์มิได้ปฏิบัติตามบท บัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2546
โจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการบังกะโลให้เช่า จำเลยไม่จัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย งบกำไรขาดทุน ไม่แบ่งปันผลกำไรให้โจทก์ ถือได้ว่าเป็นการประพฤติผิดสัญญาหุ้นส่วนในสาระสำคัญ เป็นเหตุที่จะเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (1), 1061 และ 1062 การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาส่วนแบ่งผลกำไรหรือขอบังคับจำเลยขนย้ายทรัพย์สินอัน มีลักษณะคืนทุนโดยที่ยังมิได้ชำระบัญชีหรือตกลงให้จัดการทรัพย์สินของห้าง หุ้นส่วนด้วยวิธีอื่นระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้และไม่มีฝ่ายใดฎีกาในปัญหานี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7236/2543
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือสัญญาร่วมลงทุนขึ้นเพื่อร่วมกัน สร้างอาคารพาณิชย์ขายแบ่งผลกำไรกันเป็นสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญระหว่าง สัญญาจำเลยได้มีหนังสือบอกเลิกห้างหุ้นส่วนกับโจทก์ โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความแจ้งให้จำเลยไถ่ถอนการขายฝากที่ดินที่นำมาขาย ฝากไว้กับโจทก์และให้จำเลยชำระเงินค่าก่อสร้างอาคารพาณิชย์ที่โจทก์ได้ใช้ไป ให้แก่โจทก์อันเป็นการแสดงเจตนาสนองรับการบอกเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญของจำเลย แล้วโดยปริยาย สัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันเลิกกันโดยเจตนาของคู่ สัญญา มีผลให้ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันโดยชอบ กรณีมิใช่การขอเลิกห้างหุ้นส่วนโดยบทบัญญัติของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1056
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันแล้ว ข้อตกลงตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นอันระงับไม่มีผลบังคับอีกต่อไป ทั้งได้มีการตกลงกันให้จำเลยชำระเงินที่โจทก์ได้ใช้ไป อันเป็นการตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นภายหลังเลิกห้างหุ้นส่วนใน ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน แสดงว่าคู่สัญญาไม่ได้ถือว่าที่ดินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วน สามัญอีกต่อไป โจทก์กับจำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้กันในที่ดินดังกล่าว อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิบังคับเอาแก่ที่ดินของจำเลยได้ จำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวจึงมีสิทธิโอนขายที่ดินดังกล่าว ได้การกระทำของจำเลยไม่เป็นการฉ้อฉลต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนที่ดินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2536
เมื่อทางไต่สวนได้ความว่า ห้างหุ้นส่วนที่ผู้ร้องกับนายสุวัฒน์เข้าหุ้นส่วนกันไม่มีเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกเงินทดรองและค่าใช้จ่ายของตนไปเพื่อจัดการค้าของ ห้างสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนมีแต่เงินฝากอยู่ในบัญชีกระแสรายวันและบัญชี เงินฝากออมทรัพย์เท่านั้น การที่จะรื้อฟื้นให้พิจารณาเรื่องบัญชีของห้างหุ้นส่วนต่อไปก็คงไม่ได้ข้อ เท็จจริงเพิ่มขึ้นจึงเห็นสมควรพิพากษาไปทีเดียว ให้แบ่งเงินทุนและผลกำไรโดยไม่ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีก่อนได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1027 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสิ่งที่นำมาลงหุ้นด้วยกันมีค่าเท่ากัน ดังนั้น เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันก็ต้องเฉลี่ยแจกกำไรและทรัพย์สินที่มีอยู่ให้ผู้ เป็นหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1062 ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับกึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2514
โจทก์จะฟ้องขอคืนเงินที่ลงหุ้นไป โดยมิได้ขอให้มีการเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชี หาได้ไม่
(๑) ถ้าในสัญญาทำไว้มีกำหนดกรณีอันใดเป็นเหตุที่จะเลิกกัน เมื่อมีกรณีนั้น
(๒) ถ้าสัญญาทำไว้เฉพาะกำหนดกาลใด เมื่อสิ้นกำหนดกาลนั้น
(๓) ถ้าสัญญาทำไว้เฉพาะเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแต่อย่างเดียว เมื่อเสร็จการนั้น
(๔) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งให้คำบอกกล่าวแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ ตามกำหนดดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐๕๖
(๕) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตาย หรือล้มละลาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา ๑๐๕๖ ถ้าห้างหุ้นส่วนได้ตั้งขึ้นไม่มีกำหนดกาลอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นยุติ ท่านว่าจะเลิกได้ต่อเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งบอกเลิกเมื่อสิ้นรอบปี ในทางบัญชีเงินของห้างหุ้นส่วนนั้น และผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นต้องบอกกล่าวความจำนงจะเลิกล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหก เดือน
มาตรา ๑๐๕๗ ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดร้องขอเมื่อมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ ศาลอาจสั่งให้ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันเสียก็ได้ คือ
(๑) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งนอกจากผู้ร้องฟ้องนั้น ล่วงละเมิดบทบังคับใด ๆ อันเป็นข้อสาระสำคัญซึ่งสัญญาหุ้นส่วนกำหนดไว้แก่ตน โดยจงใจหรือเลินเล่ออย่างร้ายแรง
(๒) เมื่อกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้นจะทำไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียวและไม่มีหวังจะกลับฟื้นตัวได้อีก
(๓) เมื่อมีเหตุอื่นใด ๆ ทำให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้
มาตรา ๑๐๕๘ เมื่อเหตุอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวด้วยผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่ง ซึ่งตามความในมาตรา ๑๐๕๗ หรือมาตรา ๑๐๖๗ เป็นเหตุให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายนอกนั้นมีสิทธิจะเรียกให้เลิกห้างหุ้น ส่วนได้ไซร้ ในเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนเหล่านั้นยื่นคำร้อง ท่านว่าศาลจะสั่งให้กำจัดหุ้นส่วนผู้ต้นเหตุคนนั้นออกเสียจากห้างหุ้นส่วน แทนสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนก็ได้
ในการแบ่งทรัพย์สินระหว่างห้างหุ้นส่วนกับผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถูกกำจัดนั้น ท่านให้ตีราคาทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนตามราคาที่เป็นอยู่ในเวลาแรกยื่นคำร้องขอให้กำจัด
มาตรา ๑๐๕๙ ถ้าเมื่อสิ้นกำหนดกาลซึ่งได้ตกลงกันไว้ และผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเคยได้จัดการอยู่ในระหว่างกำหนดนั้น ยังคงดำเนินการค้าของห้างหุ้นส่วนอยู่ต่อไปโดยมิได้ชำระบัญชีหรือชำระเงินกันให้เสร็จไปไซร้ ท่านให้ถือว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งปวงได้ตกลงคงทำการเป็นหุ้นส่วนกันสืบไปโดยไม่มีกำหนดกาล
มาตรา ๑๐๖๐ ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งกล่าวไว้ในมาตรา ๑๐๕๕ อนุมาตรา ๔ หรืออนุมาตรา ๕ นั้น ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่รับซื้อหุ้นของผู้ที่ออกจากหุ้นส่วนไปไซร้ ท่านว่าสัญญาหุ้นส่วนนั้นก็ยังคงใช้ได้ต่อไปในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่ด้วยกัน
มาตรา ๑๐๖๑ เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันแล้วก็ให้จัดการชำระบัญชีเว้นแต่จะได้ตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน หรือว่าห้างหุ้นส่วนนั้นศาลได้พิพากษาให้ล้มละลาย
ถ้าการเลิกห้างหุ้นส่วนนั้นได้เป็นไปโดยที่เจ้าหนี้เฉพาะตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้ให้คำบอกกล่าวก็ดี หรือโดยที่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งล้มละลายก็ดี ท่านว่าจะงดการชำระบัญชีเสียได้ต่อเมื่อเจ้าหนี้คนนั้น หรือเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ยินยอมด้วย
การชำระบัญชีนั้น ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดด้วยกันจัดทำหรือให้บุคคลอื่นซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ตั้งแต่งขึ้นนั้นเป็นผู้จัดทำ
การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี ให้วินิจฉัยชี้ขาดโดยคะแนนเสียงข้างมากของผู้เป็นหุ้นส่วน
มาตรา ๑๐๖๒ การชำระบัญชี ให้ทำโดยลำดับดังนี้ คือ
(๑) ให้ชำระหนี้ทั้งหลายซึ่งค้างชำระแก่บุคคลภายนอก
(๒) ให้ชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้าง
(๓) ให้คืนทุนทรัพย์ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนได้ลงเป็นหุ้น
ถ้ายังมีทรัพย์เหลืออยู่อีกเท่าไร ก็ให้เฉลี่ยแจกเป็นกำไรในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน
มาตรา ๑๐๖๓ ถ้าเมื่อได้ชำระหนี้ซึ่งค้างชำระแก่บุคคลภายนอกและชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายแล้ว สินทรัพย์ที่ยังอยู่ไม่พอจะคืนแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนให้ครบจำนวนที่ลงหุ้นไซร้ส่วนที่ขาดนี้คือขาดทุน ซึ่งต้องคิดเฉลี่ยช่วยกันขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2550
สัญญาร่วมลงทุนและแบ่งผลประโยชน์กำหนดหน้าที่ของโจทก์ว่า โจทก์รับจะดูแลจัดการเกี่ยวกับการเงินบัญชี การขาย การติดต่อลูกค้า และกิจการอื่น ๆ ที่กี่ยวกับงานของโครงการจัดสรรที่ดินที่ดำเนินการอยู่ ส่วนหน้าที่ของจำเลยได้กำหนดไว้ว่า รับจะดูแลในการพัฒนาที่ดิน การขอรังวัด แบ่งแยก ออกโฉนดใหม่ ตลอดจนถึงงานด้านสาธารณูปโภค ด้านการขายและกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับงานของโครงการ ตั้งแต่ลงทุนเป็นหุ้นส่วนกันมายังไม่ได้มีการสะสางบัญชีกันเลยว่าจะมีรายรับ และรายจ่ายเพียงใด ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งสองก็ไม่ปรองดองกัน เหลือวิสัยที่ห้างหุ้นส่วนจะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3) หากปล่อยให้ห้างหุ้นส่วนดำรงคงอยู่ต่อไป ผู้เป็นหุ้นส่วนต่างก็มุ่งจะขายที่ดินส่วนที่เหลือและรับเงินจากลูกค้าของตน โดยไม่นำพาต่อหุ้นส่วนอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งจะเป็นผลเสียต่อหุ้นส่วนอีกฝ่ายหนึ่ง และต่อลูกค้าอันจะเป็นมูลเหตุให้เกิดคดีฟ้องร้องกันต่อไปอีก จึงมีเหตุที่ศาลจะสั่งให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5184/2550
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีหุ้นส่วนเพียง 2 คน คือโจทก์และจำเลยที่ 2 โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน และมีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงจนไม่สามารถจะทำธุรกิจร่วมกันต่อไปได้ ทั้งหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดก็มีเพียงจำเลยที่ 2 เท่านั้น ไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นหุ้นส่วนผู้ใดได้อีก จึงทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3)
เมื่อมีเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัด ดำเนินกิจการ โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งย่อมมีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วน จำกัดจำเลยที่ 1 ได้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใดไม่ และไม่ใช่เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งของห้างหุ้นส่วนที่ตั้งขึ้น โดยไม่มีกำหนดกาลอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นยุติ ประสงค์จะเลิกห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีเหตุ จึงต้องบอกกล่าวความจำนงจะเลิกล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนสิ้นรอบปีใน ทางบัญชีเงินของห้างหุ้นส่วนนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1056
โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนเพียง 2 คน ของจำเลยที่ 1 ขัดแย้งกันไม่อาจชำระบัญชีร่วมกันได้ และไม่ปรากฏว่ามีข้อบังคับของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251 วรรคสอง เมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ย่อมสมควรให้คนกลางที่ไม่มีส่วนได้เสียกับฝ่ายใดเป็นผู้ชำระบัญชี โดยกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลย ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5619/2548
ตามหนังสือรับรองนิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ซึ่งนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดรับรองระบุว่า นายทะเบียนได้จำแนกห้างหุ้นส่วนนี้ออกจากสารบบทะเบียนเพราะมีมูลเหตุเชื่อ ว่าไม่ได้ทำการค้าขายหรือประกอบการงานแล้ว หาได้มีข้อความอันใดที่แสดงว่า ฐานะการเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ได้สิ้นสุดหรือหมดสภาพไปแล้วในเวลาที่โจทก์ยื่นคำฟ้องนั้นไม่ ทั้งข้อเท็จจริงที่นายทะเบียนได้จำแนกจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบทะเบียนเพราะมีมูลเหตุที่เชื่อว่าไม่ได้ทำการค้าขายหรือประกอบ การงานนั้น ก็มิได้มีบทบัญญัติของกฎหมายใดกำหนดให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นต้องสิ้นสภาพ ของการเป็นนิติบุคคลไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3885/2546
โจทก์และจำเลยทำสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญรับจ้างก่อสร้างอาคารเรียนใน วิทยาลัยสารพัดช่าง เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารเรียนดังกล่าวเสร็จและได้รับเงินค่าจ้างครบถ้วนแล้ว ห้างหุ้นส่วนสามัญย่อมเลิกกันเพราะเสร็จการนั้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 1055(3) แม้หลังจากจำเลยได้รับเงินค่าจ้างงวดแรกจำเลยยินยอมคืนเงินลงทุนให้แก่โจทก์ แล้วก็ตาม แต่โจทก์และจำเลยยังโต้เถียงกันเรื่องจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วน จำนวนเงินที่โจทก์ลงทุนไป จำนวนหนี้ที่ค้างชำระแก่บุคคลภายนอก ค่าตอบแทนและค่าผลประโยชน์ที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์ และผลกำไร ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธี อื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน แม้คดีนี้โจทก์จะมิได้ฟ้องแบ่งปันกำไรแต่โจทก์ฟ้องเรียกค่าแทนและค่าผล ประโยชน์จากจำเลยอันเกี่ยวเนื่องกับสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญระหว่าง โจทก์กับจำเลย จึงต้องจัดให้มีการชำระบัญชีก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1061 วรรคหนึ่ง เพื่อให้ทราบว่าห้างหุ้นส่วนสามัญมีหนี้สินเพียงใด โดยโจทก์จะต้องร้องขอให้ตั้งผู้ชำระบัญชีก่อนเมื่อโจทก์มิได้ปฏิบัติตามบท บัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2546
โจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการบังกะโลให้เช่า จำเลยไม่จัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย งบกำไรขาดทุน ไม่แบ่งปันผลกำไรให้โจทก์ ถือได้ว่าเป็นการประพฤติผิดสัญญาหุ้นส่วนในสาระสำคัญ เป็นเหตุที่จะเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (1), 1061 และ 1062 การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาส่วนแบ่งผลกำไรหรือขอบังคับจำเลยขนย้ายทรัพย์สินอัน มีลักษณะคืนทุนโดยที่ยังมิได้ชำระบัญชีหรือตกลงให้จัดการทรัพย์สินของห้าง หุ้นส่วนด้วยวิธีอื่นระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้และไม่มีฝ่ายใดฎีกาในปัญหานี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7236/2543
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือสัญญาร่วมลงทุนขึ้นเพื่อร่วมกัน สร้างอาคารพาณิชย์ขายแบ่งผลกำไรกันเป็นสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญระหว่าง สัญญาจำเลยได้มีหนังสือบอกเลิกห้างหุ้นส่วนกับโจทก์ โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความแจ้งให้จำเลยไถ่ถอนการขายฝากที่ดินที่นำมาขาย ฝากไว้กับโจทก์และให้จำเลยชำระเงินค่าก่อสร้างอาคารพาณิชย์ที่โจทก์ได้ใช้ไป ให้แก่โจทก์อันเป็นการแสดงเจตนาสนองรับการบอกเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญของจำเลย แล้วโดยปริยาย สัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันเลิกกันโดยเจตนาของคู่ สัญญา มีผลให้ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันโดยชอบ กรณีมิใช่การขอเลิกห้างหุ้นส่วนโดยบทบัญญัติของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1056
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันแล้ว ข้อตกลงตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นอันระงับไม่มีผลบังคับอีกต่อไป ทั้งได้มีการตกลงกันให้จำเลยชำระเงินที่โจทก์ได้ใช้ไป อันเป็นการตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นภายหลังเลิกห้างหุ้นส่วนใน ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน แสดงว่าคู่สัญญาไม่ได้ถือว่าที่ดินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วน สามัญอีกต่อไป โจทก์กับจำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้กันในที่ดินดังกล่าว อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิบังคับเอาแก่ที่ดินของจำเลยได้ จำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวจึงมีสิทธิโอนขายที่ดินดังกล่าว ได้การกระทำของจำเลยไม่เป็นการฉ้อฉลต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนที่ดินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2536
เมื่อทางไต่สวนได้ความว่า ห้างหุ้นส่วนที่ผู้ร้องกับนายสุวัฒน์เข้าหุ้นส่วนกันไม่มีเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกเงินทดรองและค่าใช้จ่ายของตนไปเพื่อจัดการค้าของ ห้างสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนมีแต่เงินฝากอยู่ในบัญชีกระแสรายวันและบัญชี เงินฝากออมทรัพย์เท่านั้น การที่จะรื้อฟื้นให้พิจารณาเรื่องบัญชีของห้างหุ้นส่วนต่อไปก็คงไม่ได้ข้อ เท็จจริงเพิ่มขึ้นจึงเห็นสมควรพิพากษาไปทีเดียว ให้แบ่งเงินทุนและผลกำไรโดยไม่ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีก่อนได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1027 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสิ่งที่นำมาลงหุ้นด้วยกันมีค่าเท่ากัน ดังนั้น เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันก็ต้องเฉลี่ยแจกกำไรและทรัพย์สินที่มีอยู่ให้ผู้ เป็นหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1062 ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับกึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2514
โจทก์จะฟ้องขอคืนเงินที่ลงหุ้นไป โดยมิได้ขอให้มีการเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชี หาได้ไม่