มาตรา ๑๖๙๓
ผู้ทำพินัยกรรมจะเพิกถอนพินัยกรรมของตนเสียทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในเวลาใดก็ได้
มาตรา ๑๖๙๔
ถ้าจะเพิกถอนพินัยกรรมฉบับก่อนเสียทั้งหมด หรือแต่บางส่วนด้วยพินัยกรรมฉบับหลัง
การเพิกถอนจะสมบูรณ์ต่อเมื่อพินัยกรรมฉบับหลังนั้นได้ทำตามแบบใดแบบหนึ่งที่กฎหมายบัญญัติไว้
มาตรา ๑๖๙๕
ถ้าพินัยกรรมได้ทำเป็นต้นฉบับแต่ฉบับเดียว
ผู้ทำพินัยกรรมอาจเพิกถอนพินัยกรรมนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ โดยทำลายหรือขีดฆ่าเสียด้วยความตั้งใจ
ถ้าพินัยกรรมได้ทำเป็นต้นฉบับหลายฉบับ
การเพิกถอนนั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่จะได้กระทำแก่ต้นฉบับเหล่านั้นทุกฉบับ
มาตรา ๑๖๙๖
ถ้าผู้ทำพินัยกรรมได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมใดด้วยความตั้งใจ
ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นเป็นอันเพิกถอนไป
วิธีเดียวกันนี้ให้ใช้บังคับ
เมื่อผู้ทำพินัยกรรมได้ทำลายทรัพย์สินนั้นด้วยความตั้งใจ
มาตรา ๑๖๙๗
ถ้าผู้ทำพินัยกรรมมิได้แสดงเจตนาไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น
และปรากฏว่าพินัยกรรมฉบับก่อนกับฉบับหลังขัดกัน ให้ถือว่าพินัยกรรมฉบับก่อนเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลัง
เฉพาะในส่วนที่มีข้อความขัดกันนั้นเท่านั้น
มาตรา ๑๖๙๘
ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นย่อมตกไป
(๑)
เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม
(๒)
เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมเป็นผลใช้ได้ต่อเมื่อเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งสำเร็จลง และผู้รับพินัยกรรมตายเสียก่อนเงื่อนไขสำเร็จ
หรือปรากฏเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่าเงื่อนไขนั้นไม่อาจจะสำเร็จได้
(๓)
เมื่อผู้รับพินัยกรรมบอกสละพินัยกรรม
(๔)
เมื่อทรัพย์สินทั้งหมดที่ยกให้สูญหาย
หรือถูกทำลายโดยผู้ทำพินัยกรรมมิได้ตั้งใจในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่
และผู้ทำพินัยกรรมมิได้ได้มาซึ่งของแทน
หรือซึ่งสิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนในการที่ทรัพย์สินนั้นสูญหายไป
มาตรา ๑๖๙๙ ถ้าพินัยกรรม
หรือข้อกำหนดในพินัยกรรม เกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผลด้วยประการใดๆ
ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1480/2559
จำเลยที่ 2 เป็นบุตร ส.
เจ้ามรดก กับ ย. ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกซึ่งถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว
ต่อมาเจ้ามรดกอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์มีบุตรด้วยกันอีก 3 คน
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 468 ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
เป็นของเจ้ามรดกส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 7890 ซึ่งอยู่ติดต่อกันเป็นของ น.
ต่อมาวันที่ 13 สิงหาคม 2524 น. จดทะเบียนยกที่ดินดังกล่าวให้แก่ ย. ภายหลังจาก ย.
ถึงแก่ความตาย เจ้ามรดกจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินดังกล่าว สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่
468 และบ้านเลขที่ 113 ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินดังกล่าว
เจ้ามรดกจดทะเบียนยกให้จำเลยที่ 2 ต่อมาวันที่ 20 กันยายน 2545
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมโดยมีเจตนาระบุเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ในพินัยกรรมว่า
ที่ดินและบ้านเลขที่ 113 มอบให้จำเลยที่ 2 ครอบครองเป็นมรดกตกทอดถึงลูกหลาน เหลน
น้อง ๆ มีสิทธิมาพักเสมือนมีพ่ออยู่ (ห้ามขายมรดกชิ้นนี้) ส่วนทรัพย์อื่น ๆ
ยกให้โจทก์ จำเลยที่ 2 และบุตรของเจ้ามรดกซึ่งเกิดกับโจทก์อีก 3 คน และให้จำเลยที่
1 ซึ่งเป็นน้องชายเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2545
เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2546 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 7890
ให้จำเลยที่ 2 ตามข้อกำหนดในพินัยกรรม เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2555 จำเลยที่ 2
จดทะเบียนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 468 พร้อมบ้านเลขที่ 113 และที่ดินโฉนดเลขที่ 7890
ให้แก่จำเลยที่ 3 การที่เจ้ามรดกทำหนังสือสัญญาให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 468
และสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 113 แก่จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2529
ก่อนที่เจ้ามรดกจะถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2
จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 468 พร้อมบ้านเลขที่ 113
นับแต่ได้รับการยกให้
เจ้ามรดกจึงไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ดังกล่าวนับแต่ยกให้จำเลยที่ 2 เจ้ามรดกจึงไม่มีสิทธินำที่ดินโฉนดเลขที่
468 พร้อมบ้านเลขที่ 113 ซึ่งเป็นของผู้อื่นไปทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ใดได้อีก
ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ระบุว่า ยกบ้านเลขที่ 113 ให้แก่จำเลยที่ 2
ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่แล้วจึงไม่อาจบังคับได้ ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 7890
แม้ตามพินัยกรรมจะมีข้อกำหนดห้ามจำเลยที่ 2
ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามพินัยกรรมโอนทรัพย์สินนั้น
แต่ก็ไม่ได้กำหนดให้มีบุคคลหนึ่งบุคคลใดนอกจากผู้รับประโยชน์ตามพินัยกรรมที่จะให้เป็นผู้รับทรัพย์สินนั้นต่อไปอย่างเด็ดขาด
กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1700 วรรคสาม ที่ให้ถือว่าข้อกำหนดห้ามโอนนั้นเป็นอันไม่มีเลย
ดังนั้น เมื่อเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 7890 ให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว
จำเลยที่ 2
จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวมีสิทธิจำหน่ายจ่ายโอนหรือกระทำการใด ๆ
เกี่ยวกับที่ดินนั้นได้ จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3
โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 7890
และบ้านเลขที่ 113 ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
14885/2558
จำเลยให้การเพียงว่าโจทก์มิใช่ผู้จัดการมรดกและศาลยังไม่มีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกของ
ส. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เงินฝากและหุ้นของ ส. ในสหกรณ์ออมทรัพย์ ไม่ใช่มรดกของ
ส. เพราะสิทธิประโยชน์เกิดขึ้นเมื่อ ส. ถึงแก่ความตาย
พินัยกรรมตามฟ้องไม่อาจลบล้างหนังสือแสดงเจตนาการตั้งผู้รับประโยชน์ที่ ส.
ทำให้ไว้แก่สหกรณ์ดังกล่าวเท่านั้น
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าพินัยกรรมตามฟ้องเป็นพินัยกรรมปลอม ดังนั้น
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าพินัยกรรมตามฟ้องเป็นพินัยกรรมปลอม
จึงเป็นการอ้างข้อเท็จจริงที่แตกต่างไปจากคำให้การ
ถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
แม้ ส.
จะทำหนังสือแสดงเจตนาการตั้งผู้รับโอนประโยชน์ให้ไว้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์
โดยระบุให้โจทก์กับจำเลยเป็นผู้รับประโยชน์ก็ตาม แต่หลังจากทำหนังสือปรากฏว่า ส.
ทำพินัยกรรมระบุให้โจทก์เป็นผู้รับหุ้นและเงินฝากรวมทั้งดอกผลที่เกิดขึ้นจากเงินที่
ส. ผู้ตาย ฝากไว้ ณ สหกรณ์ดังกล่าว
อันเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายไว้เพียงฉบับเดียวก่อนที่ ส. จะถึงแก่ความตาย
พินัยกรรมจึงมีผลลบล้างหนังสือแสดงเจตนาการตั้งผู้รับโอนประโยชน์ที่ระบุให้โจทก์และจำเลยเป็นผู้รับโอนประโยชน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2832 - 2833/2558
เหตุตามคำฟ้องของจำเลยในสำนวนที่สองที่ขอให้ศาลชั้นต้นสั่งถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกของ
ป. คือ พินัยกรรมที่กำหนดให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกนั้นเป็นพินัยกรรมปลอม
ซึ่งเป็นเหตุที่มีอยู่ก่อนที่จำเลยจะสืบสิทธิของ บ. ในการรับมรดกของ ป.
ทั้งยังเป็นเหตุเดียวกันกับที่ บ.
เคยคัดค้านคำร้องขอจัดการมรดกของโจทก์ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 8225/2534 เมื่อ บ.
ถึงแก่ความตาย จำเลยยื่นคำร้องขอเข้ารับมรดกความแทน
แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องดังกล่าวเป็นการเฉพาะตัวของ บ.
จึงไม่อนุญาตให้จำเลยเข้าเป็นคู่ความแทน เมื่อจำเลยอ้างเหตุเดียวกันขึ้นมาและมิได้เป็นเรื่องโต้แย้งสิทธิของจำเลยมาให้ศาลพิจารณาว่าเป็นเหตุให้ถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกของ
ป. ซ้ำอีก อันเป็นการขอให้วินิจฉัยในข้อที่ศาลได้เคยวินิจฉัยไว้แล้ว
จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
เมื่อพินัยกรรมมีผลบังคับได้ตามกฎหมายทั้งสองฉบับ
และปรากฏว่าพินัยกรรมขัดกันเฉพาะบางส่วน ป.พ.พ. มาตรา 1697
ให้ถือว่าพินัยกรรมฉบับก่อนเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลังเฉพาะในส่วนที่มีข้อความขัดกันเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
8055/2556
ทรัพย์มรดกที่ ด.
ได้รับจากกองมรดกของ ธ. เป็นที่ดิน ซึ่งผู้จัดการมรดกของ ธ.
ได้ดำเนินการขายที่ดินทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งเงินแก่ทายาทของ ธ. เป็นคราว ๆ และ ด.
ได้รับเงินส่วนแบ่งมรดกดังกล่าวด้วย เมื่อ ด. ได้รับเงินส่วนแบ่งมรดกของ ธ. แล้ว
ก็หาได้ระบุกันเงินส่วนดังกล่าวไว้ต่างหากเป็นพิเศษไม่ เงินที่ ด. ได้รับจากกองมรดกของ
ธ. จึงระคนกับเงินส่วนอื่นที่ ด. มีอยู่
ไม่อาจถือเป็นทรัพย์สินเฉพาะสิ่งเฉพาะอย่างได้ การที่ ด.
ทำพินัยกรรมฉบับก่อนยกเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ จึงหาเป็นพินัยกรรมลักษณะเฉพาะตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1651 (2) ไม่ เมื่อต่อมา ด. ได้ทำพินัยกรรมฉบับหลังยกเงินจำนวนเดียวกันให้จำเลยอีก
ข้อความของพินัยกรรมทั้งสองฉบับที่ระบุให้เงินของ ด. ตกแก่ทายาทต่างคนกันจึงขัดกัน
และ ด. ผู้ทำพินัยกรรมมิได้แสดงเจตนาในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น
กรณีจึงต้องด้วยมาตรา 1697
ที่ให้ถือว่าพินัยกรรมฉบับก่อนเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลัง โจทก์จึงหามีสิทธิใด
ๆ ในทรัพย์มรดกของ ด. ไม่ เพราะสิทธิของโจทก์ถูกยกเลิกไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
7462/2555
ในคดีก่อนซึ่งโจทก์ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและจำเลยกับ
พ. คัดค้านนั้น มีประเด็นสำคัญในคดีเพียงว่า ผู้ใดสมควรเป็นผู้จัดการมรดก
ไม่ได้พิพาทเรื่องข้อกำหนดเกี่ยวกับทรัพย์สินในพินัยกรรม
แม้โจทก์จำเลยจะเป็นคู่ความเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวก็ไม่ผูกพันคดีนี้
และศาลในคดีนี้ก็พิจารณาพิพากษาได้ว่า
ข้อกำหนดในพินัยกรรมฉบับแรกถูกเพิกถอนไปแล้วหรือไม่
พินัยกรรมฉบับแรก
ผู้ทำพินัยกรรมยกที่ดิน 4 แปลง และบ้านให้แก่จำเลยกับพี่น้องของผู้ทำพินัยกรรม
และระบุตัดทายาทอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมไม่ให้รับมรดก พินัยกรรมฉบับที่ 2
ผู้ทำพินัยกรรมยกที่ดินอีก 3 แปลง
ซึ่งไม่ใช่ที่ดินที่ระบุในพินัยกรรมฉบับแรกให้พี่น้องของผู้ทำพินัยกรรม
เมื่อพินัยกรรมฉบับที่ 2 ซึ่งเป็นพินัยกรรมฉบับหลังไม่มีข้อความให้เพิกถอนพินัยกรรมฉบับแรกหรือข้อกำหนดในพินัยกรรมฉบับแรก
จึงต้องถือว่าพินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรมฉบับแรกยังคงมีอยู่
และกรณีไม่ใช่พินัยกรรมฉบับก่อนและฉบับหลังขัดกัน เมื่อพินัยกรรมฉบับแรกสมบูรณ์
ทรัพย์สินในพินัยกรรมฉบับแรกจึงไม่ใช่ทรัพย์สินนอกพินัยกรรมฉบับที่ 2
แต่เป็นการที่ผู้ตายกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินแต่ละรายไว้ในพินัยกรรมแต่ละฉบับ
โจทก์แม้เป็นทายาทโดยธรรมแต่ไม่ใช่ผู้รับพินัยกรรมจึงมีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ทำพินัยกรรมในส่วนที่ไม่ได้จำหน่ายโดยพินัยกรรมเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
7462/2555
ในคดีก่อนซึ่งโจทก์ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและจำเลยกับ
พ. คัดค้านนั้น มีประเด็นสำคัญในคดีเพียงว่า ผู้ใดสมควรเป็นผู้จัดการมรดก
ไม่ได้พิพาทเรื่องข้อกำหนดเกี่ยวกับทรัพย์สินในพินัยกรรม แม้โจทก์จำเลยจะเป็นคู่ความเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวก็ไม่ผูกพันคดีนี้
และศาลในคดีนี้ก็พิจารณาพิพากษาได้ว่า
ข้อกำหนดในพินัยกรรมฉบับแรกถูกเพิกถอนไปแล้วหรือไม่
พินัยกรรมฉบับแรก
ผู้ทำพินัยกรรมยกที่ดิน 4 แปลง และบ้านให้แก่จำเลยกับพี่น้องของผู้ทำพินัยกรรม
และระบุตัดทายาทอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมไม่ให้รับมรดก พินัยกรรมฉบับที่ 2
ผู้ทำพินัยกรรมยกที่ดินอีก 3 แปลง
ซึ่งไม่ใช่ที่ดินที่ระบุในพินัยกรรมฉบับแรกให้พี่น้องของผู้ทำพินัยกรรม
เมื่อพินัยกรรมฉบับที่ 2
ซึ่งเป็นพินัยกรรมฉบับหลังไม่มีข้อความให้เพิกถอนพินัยกรรมฉบับแรกหรือข้อกำหนดในพินัยกรรมฉบับแรก
จึงต้องถือว่าพินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรมฉบับแรกยังคงมีอยู่
และกรณีไม่ใช่พินัยกรรมฉบับก่อนและฉบับหลังขัดกัน เมื่อพินัยกรรมฉบับแรกสมบูรณ์
ทรัพย์สินในพินัยกรรมฉบับแรกจึงไม่ใช่ทรัพย์สินนอกพินัยกรรมฉบับที่ 2
แต่เป็นการที่ผู้ตายกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินแต่ละรายไว้ในพินัยกรรมแต่ละฉบับ
โจทก์แม้เป็นทายาทโดยธรรมแต่ไม่ใช่ผู้รับพินัยกรรมจึงมีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ทำพินัยกรรมในส่วนที่ไม่ได้จำหน่ายโดยพินัยกรรมเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
9599/2553
การตัดไม่ให้ทายาทโดยธรรมได้รับมรดกในกรณีที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมไว้ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1608 กำหนดไว้ 2 กรณี
กรณีแรกคือเจ้ามรดกแสดงเจตนาไว้ในพินัยกรรมโดยชัดแจ้งด้วยการระบุตัวทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
กรณีที่สองคือเจ้ามรดกทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกเสียทั้งหมดโดยไม่มีทายาทโดยธรรมคนที่เจ้ามรดกประสงค์จะตัดมิให้รับมรดกมีชื่อเป็นผู้รับประโยชน์ใด
ๆ ในพินัยกรรมนั้น
เมื่อตามพินัยกรรมไม่ระบุว่าตัดโจทก์มิให้รับมรดกโดยชัดแจ้งและที่ยกทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท
6 คน โดยไม่มีชื่อโจทก์นั้น มีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่า
หมายถึงเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้ามรดกมีสิทธิในกองมรดกของ อ.
ครึ่งหนึ่งในฐานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น แต่ที่ดินพิพาทตามข้อ 5
ของพินัยกรรมเป็นทรัพย์มรดกที่เป็นสินส่วนตัวของเจ้ามรดกที่ได้รับการยกให้มาจาก พ.
จึงเป็นคนละส่วนกัน เมื่อตามพินัยกรรมข้อ 5
คงมีแต่คำสั่งของเจ้ามรดกที่ให้ผู้จัดการมรดกขายที่ดินพิพาทแล้วนำเงินมาชำระหนี้แก่ธนาคารเจ้าหนี้
โดยมิได้มีคำสั่งของเจ้ามรดกว่า หากการชำระหนี้มีเงินเหลือให้ตกได้แก่ผู้ใด
หรือหากมีกรณีที่ทรัพย์มรดกดังกล่าวไม่มีการดำเนินการตามนั้นจะให้ตกได้แก่ผู้ใด
ทั้งปรากฏว่าได้มีการไถ่ถอนทรัพย์จำนองที่ดินพิพาทจากธนาคารเจ้าหนี้ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
จึงเป็นกรณีที่ข้อกำหนดในพินัยกรรมเรื่องการชำระหนี้เกี่ยวกับทรัพย์สินรายนี้เป็นอันไร้ผล
ที่ดินพิพาทจึงยังคงเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่ยังมิได้จำหน่ายโดยพินัยกรรมย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1699 และ 1620 วรรคสอง โจทก์เป็นบุตรคนหนึ่งในจำนวนบุตร 8 คน ของเจ้ามรดก
ย่อมมีสิทธิได้รับหนึ่งในแปดส่วนของที่ดินพิพาทตามมาตรา 1629 วรรคหนึ่ง (1)
ประกอบมาตรา 1633
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
4397/2553
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมมีข้อความย่อหน้าแรกระบุว่า
ยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่นางลูกจันทร์ โจทก์ร่วม และนางมาลัย
และย่อหน้าที่สองระบุว่าหากว่าจะมีใครอื่นนอกจากที่ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมย่อมไม่มีสิทธิในทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดกทั้งสิ้น
ดังนั้น แม้เจ้ามรดกจะไม่ได้ระบุตัวทายาทที่ถูกตัดมิให้รับมรดกว่า คือ นายจุล
นางสาวลำพวน และจำเลยที่ 1 ไว้โดยชัดแจ้ง
แต่การที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกของตนทั้งหมดให้แก่นางลูกจันทร์
โจทก์ร่วม และนางมาลัยไปหมดแล้ว ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 1
และทายาทคนอื่นที่ไม่ได้รับทรัพย์มรดกจากพินัยกรรม เป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1608 วรรคสามแล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงยุติแล้วว่า
ข้อกำหนดพินัยกรรมในส่วนของนางลูกจันทร์ และนางมาลัยไม่มีผลใช้บังคับ เพราะขัดต่อ
ป.พ.พ. มาตรา 1653 ประกอบ มาตรา 1705 คงสมบูรณ์เฉพาะข้อกำหนดพินัยกรรมในส่วนของโจทก์ร่วม
ดังนั้น
ทรัพย์มรดกส่วนที่มีข้อกำหนดให้ตกเป็นของนางลูกจันทร์และนางมาลัยซึ่งเสียเปล่าไม่มีผลใช้บังคับนั้นจึงตกแก่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1620 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1699
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
3785 - 3787/2552
ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้
ยกทรัพย์ทั้งหมดให้แก่นาง ต. ผู้เป็นมารดาเพียงผู้เดียว แต่นาง ต.
มารดาผู้รับพินัยกรรมได้ถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย ข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่นาง
ต. มารดาย่อมตกไปตามมาตรา 1698 (1)
ทรัพย์สินในส่วนที่เป็นมรดกจึงตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1699 ประกอบมาตรา 1620
วรรคหนึ่ง แม้พินัยกรรมดังกล่าวมีข้อกำหนดให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2
เป็นผู้จัดการมรดก แต่ความปรากฏในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาว่าผู้คัดค้านที่ 2
ถึงแก่ความตายและการจัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัว จึงไม่อาจตั้งผู้คัดค้านที่ 2
เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องได้
เมื่อผู้ร้องกับผู้ตายอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสตามมาตรา
1457 ผู้ร้องจึงไม่เป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 วรรคสอง
แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบุคคลทั้งสองอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาตั้งแต่ปี 2523
จนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตาย ตลอดเวลาทำมาหาได้ร่วมกัน
ดังนั้นทรัพย์สินที่ร่วมกันทำมาหาได้ ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในฐานะเจ้าของรวม
เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายทรัพย์สินที่บุคคลทั้งสองร่วมกันทำมาหาได้ย่อมต้องแบ่งเป็นของผู้ร้องส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ส่วนเด็กหญิง ญ. แม้จะมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ตาม
แต่ปรากฏตามสำเนาสูติบัตรว่าผู้ตายแจ้งว่าผู้ตายเป็นบิดาของเด็กหญิง ญ.
ทั้งได้นำเด็กหญิง ญ. มาเลี้ยงดูอุปการะ
ส่งเสียให้เล่าเรียนและให้ใช้ชื่อสกุลของผู้ตาย
พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงได้ว่าผู้ตายได้รับรองเด็กหญิง ญ. เป็นบุตร ดังนั้นเด็กหญิง
ญ. จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้ว
ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1627 และเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายตามมาตรา
1629 (1) ฉะนั้นผู้ร้องในฐานะส่วนตัวและฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง ญ.
จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713
สำหรับผู้คัดค้านที่ 1
เป็นบุตรที่ผู้ตายได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร ผู้คัดค้านที่ 1
จึงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา
1547 มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
3381/2549
ข้อกำหนดตามพินัยกรรมข้อ
2 ได้กำหนดยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่ผู้รับพินัยกรรมแล้ว
เพียงแต่ให้ผู้รับพินัยกรรมนำผลประโยชน์ที่ได้จากที่ดินดังกล่าวไปก่อตั้ง
มูลนิธิซึ่งเป็นกรณีที่ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมจะดำเนินการต่อไปหลังจาก
ทรัพย์มรดกตกเป็นของผู้รับพินัยกรรม และมรดกได้ก่อเกิดผลประโยชน์แล้ว
ข้อกำหนดตามพินัยกรรมข้อนี้จึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1706 (3)
ข้อความตามข้อกำหนดในข้อ
3 นั้นระบุว่าเงินสดยกให้ ส. และผู้ร้องเป็นผู้ดูแล
จากข้อความดังกล่าวกำหนดให้ผู้ร้องและ ส. เป็นเพียงผู้ดูแลเท่านั้นหาได้ยกกรรมสิทธิ์เงินสดดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องและ
ส. ไม่ และไม่ได้กำหนดโดยชัดแจ้งว่ายกเงินสดดังกล่าวให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดจำนวนมาก
น้อยเพียงใดข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ 3 จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 1706(2) (3)
เมื่อข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ
3 ตกเป็นโมฆะ ทรัพย์มรดกส่วนนั้นย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1699
ผู้ร้องมิได้เป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก
ผู้คัดค้านทั้งสามเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกจึงสมควรตั้งผู้คัดค้านทั้ง
สามเป็นผู้จัดการมรดกทรัพย์มรดกซึ่งเป็นเงินฝากไว้ที่ธนาคารกับทรัพย์มรดก
อื่นฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
6981/2545
การเพิกถอนพินัยกรรมทั้งหมดหรือบางส่วนโดยผู้ทำพินัยกรรมนั้น
กฎหมายกำหนดวิธีการไว้ 4 กรณี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1694 ถึง 1697
คือ ทำพินัยกรรมฉบับหลังขึ้นมาเพิกถอนพินัยกรรมฉบับก่อน
การทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรมด้วยความตั้งใจ การโอนหรือทำลายทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมด้วยความสมัครใจ
และการทำพินัยกรรมฉบับหลังมีข้อความขัดกันกับพินัยกรรมฉบับก่อน
การที่ผู้ตายทำหนังสือยืนยันรับรองเอกสารแม้จะมีเจตนาเพื่อเพิกถอนหรือไม่
รับรองพินัยกรรมที่ทำไว้แล้ว แต่เมื่อหนังสือยืนยันรับรองนั้นไม่มีลักษณะเป็นพินัยกรรมแล้ว
ย่อมไม่มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมที่ทำไว้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1588 - 1589/2545
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้ง
จ. เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ตามพินัยกรรม ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ส.
ไม่ได้ทำพินัยกรรมเพราะลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรมไม่ใช่ของ ส.
พินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่มีผลใช้บังคับ โดยมิได้คัดค้านว่าขณะที่ ส.
ทำพินัยกรรมมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์
ประเด็นข้อพิพาทจึงมีเพียงว่าลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรมเป็นของ ส.
ผู้ตายหรือไม่เท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ขณะที่ ส.
ทำพินัยกรรมมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่พิพาท ดังนั้น
ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ขณะที่ ส. ทำพินัยกรรมมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์นั้น
จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
และที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านในประเด็นนี้จึงไม่ชอบเช่นกัน
ข้อเท็จจริงต้องฟังว่า ขณะที่ ส. ทำพินัยกรรมนั้น ส. มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์
เมื่อปรากฏว่า ส. ทำพินัยกรรมไว้ 2 ฉบับ โดยพินัยกรรมฉบับหลัง ส.
ระบุให้เพิกถอนพินัยกรรมฉบับก่อน จึงต้องบังคับตามพินัยกรรมฉบับหลังที่ระบุให้ จ.
เป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
6981/2545
หนังสือยืนยันรับรองที่ผู้ตายทำขึ้นไม่มีถ้อยคำที่ระบุว่าเป็นพินัยกรรมและคำสั่งเผื่อตาย
ข้อความที่ระบุให้พินัยกรรมฝ่ายเมืองฉบับแรกถือเป็นพินัยกรรมที่ใช้ได้
และข้อความที่ไม่รับรองเอกสารซึ่งผู้ตายลงลายมือชื่อไว้เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม
2540 และขอยกเลิกเอกสารดังกล่าวเป็นเรื่องการยืนยันและเพิกถอนพินัยกรรมของตนที่
ได้ทำไว้เท่านั้น มิใช่มีลักษณะเป็นพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
1646
ผู้ทำพินัยกรรมจะเพิกถอนพินัยกรรมของตนเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในเวลาใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1693 แต่ในการเพิกถอนพินัยกรรมนั้นกฎหมายกำหนดวิธีการไว้ 4 กรณี ตามมาตรา
1694 ถึงมาตรา 1697 คือการทำพินัยกรรมฉบับหลังขึ้นมาเพิกถอนพินัยกรรมฉบับก่อน
การทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรมด้วยความตั้งใจ
การโอนหรือทำลายทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมด้วยความสมัครใจ
และการทำพินัยกรรมฉบับหลังมีข้อความขัดกันกับพินัยกรรมฉบับก่อนกฎหมายมิได้
กำหนดวิธีการอื่นใดนอกจากนี้มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมได้ ฉะนั้น
การที่ผู้ตายทำหนังสือยืนยันรับรองมีข้อความว่าไม่รับรองเอกสารฉบับลงวันที่ 20
พฤษภาคม 2540 ที่มีผู้นำมาให้ลงชื่อ
แม้จะแปลได้ว่าผู้ตายมีเจตนาเพิกถอนหรือไม่รับรองพินัยกรรมลงวันที่ 21 พฤษภาคม
2540 ของตนนั้น แต่เมื่อหนังสือยืนยันรับรองดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นพินัยกรรมจึงไม่มีผล
เป็นการเพิกถอนพินัยกรรมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
419/2541
ผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ 2
ฉบับ ฉบับแรกตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก
ฉบับหลังตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก แต่ทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมทั้ง 2
ฉบับเป็นทรัพย์คนละส่วนกัน ตามคำร้องขอของผู้ร้องอ้างว่า
ผู้ร้องเป็นบุตรคนหนึ่งของผู้ตายและมีสิทธิรับมรดกส่วนหนึ่งของผู้ตายตาม
สำเนาพินัยกรรมเอกสารท้ายคำร้อง ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะทายาทของผู้ตาย
เมื่อปรากฏว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกตามที่ผู้ร้องอ้างในคำร้องขอ
ผู้ร้องจึงใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อขอตั้งผู้จัดการมรดกได้
การที่ผู้ตายทำพินัยกรรมไว้
2 ฉบับ ฉบับแรกตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกส่วนหนึ่ง
และฉบับหลังตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่ง
แต่ข้อกำหนดในพินัยกรรมทั้งสองฉบับมิได้ขัดกัน จึงไม่มีผลทำให้ผู้ร้องถูกเพิกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
เมื่อผู้ร้องยังคงมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับแรก ดังนั้น
พินัยกรรมของผู้ตายทั้งสองฉบับย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย
และเมื่อผู้ตายมีความประสงค์ให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก
ตามข้อกำหนดพินัยกรรมให้แยกจากกันเช่นนี้
จึงไม่สมควรที่ศาลจะตั้งผู้ร้องหรือผู้คัดค้านคนใดคนหนึ่งเป็นผู้จัดการมรดก
ของผู้ตายทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว
จึงให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพื่อจัดการมรดก
ตามพินัยกรรมแต่ละฉบับตามความประสงค์ของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
4836/2540
ข้อกำหนดตามพินัยกรรมฉบับพิพาทระบุถึงทรัพย์สินที่มีอยู่ในขณะทำพินัยกรรมหรือ
ที่จะมีต่อไปภายหน้าอันเป็นการทั่วไป
มิได้จำกัดเฉพาะที่ดินหรือทรัพย์สินสิ่งใดไว้โดยเฉพาะเจาะจง ดังนั้น
แม้ผู้ทำพินัยกรรมจะจำหน่ายที่ดินหรือทรัพย์สินส่วนของตนไปหมดแล้ว
แต่หากได้ทรัพย์สินอื่นมาภายหลัง
ทรัพย์สินดังกล่าวย่อมเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดในพินัยกรรม
กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ทำพินัยกรรมได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็น
วัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
1696และต้องถือว่าข้อกำหนดตามพินัยกรรมยังมีผลบังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2389/2540
หลักฐานที่เจ้ามรดกทำถึงผู้จัดการธนาคารขอเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงชื่อบัญชีและ
ตัวอย่างลายมือชื่อในบัญชีที่เจ้ามรดกฝากเงินไว้จาก ส.เป็น ส.หรือจำเลยที่ 2
ซึ่งหมายความว่า คนใดคนหนึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวได้สำหรับบัญชีเงิน
ฝากประเภทออมทรัพย์และสำหรับบัญชีเงินฝากประเภทประจำ
และในทางปฏิบัติผู้ที่มีอำนาจในการเบิกเงินจากบัญชีได้จะเป็นเจ้าของบัญชี ร่วมกัน
และตามเอกสารซึ่งเป็นคำสั่งและสัญญาของผู้ฝากเงินที่เจ้ามรดกและจำเลยที่ 2
ได้เปิดบัญชีร่วมกันมีข้อความระบุว่า ตามที่ ส.กับจำเลยที่ 2
ได้เปิดบัญชีร่วมกันมีบัญชีเงินฝากประจำ ออมทรัพย์ กระแสรายวันและอื่น ๆ
ไว้กับธนาคาร
ข้าพเจ้าได้ตกลงกับธนาคารในการเบิกจ่ายเงินข้าพเจ้าทั้งสองคนหรือคนใดคน
หนึ่งเป็นผู้ลงนามขอถอนเงิน ขอรับเงินหรือสั่งจ่ายเงินโดยใช้คำว่า ส.หรือจำเลยที่
2 นั้น ข้าพเจ้าขอให้คำสั่งและสัญญาต่อธนาคารว่าถ้าข้าพเจ้าคนใดคนหนึ่งถึงแก่กรรม
ขอยกเงินฝากส่วนของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ฝากที่ยังมีชีวิตอยู่
และให้ผู้ที่มีชีวิตอยู่มีสิทธิที่จะฝาก ถอน หรือติดต่อกับธนาคารได้ต่อไปจึงฟังได้ว่าการที่เจ้ามรดกใส่ชื่อจำเลยที่
2 เป็นเจ้าของบัญชีร่วมกับเจ้ามรดกนั้นมีเจตนาให้จำเลยที่ 2
ร่วมเป็นเจ้าของเงินของเจ้ามรดกที่มีในบัญชีนั้น ๆ
ด้วยแต่เนื่องจากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเจ้ามรดกต้องการให้จำเลยที่ 2
มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมเป็นจำนวนเท่าใด จึงต้องสันนิษฐานว่าเจ้ามรดกและจำเลยที่
2มีส่วนเป็นเจ้าของเงินในบัญชีคนละครึ่ง
ข้อความตามที่ปรากฏในคำสั่งและสัญญาของผู้ฝากเงินทั้งเจ้ามรดกและจำเลยที่
2 ต่างแจ้งเจตนาต่อธนาคารว่า
ต่างประสงค์จะยกเงินฝากในส่วนของแต่ละคนให้อีกฝ่ายหนึ่งถ้าตนถึงแก่กรรมก่อน
อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของแต่ละ คน
จึงมีต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน
และพยานทั้งสองคนนั้นลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ใน ขณะนั้น
จึงเป็นพินัยกรรมที่ทำถูกต้องตามแบบในป.พ.พ.มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง
ย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย หากเจ้ามรดกถึงแก่กรรม
เงินสดตามบัญชีเงินฝากในส่วนของเจ้ามรดกย่อมตกได้แก่จำเลยที่
2แต่ต่อมาเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมฉบับพิพาทขึ้นอีกฉบับหนึ่ง ตามเอกสารหมาย
จ.6ยกทรัพย์สมบัติที่เป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาท แก่โจทก์
โดยให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก
จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินสดจากบัญชีของเจ้ามรดกเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ กรรมแล้ว
จึงเห็นได้ว่าพินัยกรรมฉบับแรกดังกล่าวขัดกับพินัยกรรมตามเอกสารหมาย จ.6
ในข้อที่ว่า จำเลยที่ 2
จะเป็นผู้ได้รับเงินในบัญชีเงินฝากส่วนที่เป็นมรดกของเจ้ามรดกทั้งหมด
หรือจำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกจะต้องแบ่งเงินในบัญชีดัง กล่าวส่วนที่เป็นมรดกของเจ้ามรดกแก่โจทก์เป็นจำนวน
1,000,000 บาท ตามพินัยกรรมเอกสารหมาย จ.6ซึ่งทำขึ้นภายหลัง
จึงต้องถือว่าพินัยกรรมฉบับแรกเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมตามเอกสารหมาย จ.6
ในส่วนที่มีข้อความขัดกัน คือเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับเงินจำนวน 1,000,000 บาท
ที่จะต้องตกได้แก่โจทก์เท่านั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา1697
จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ
ส.เจ้ามรดกต้องแบ่งมรดกของเจ้ามรดกเป็นเงินสดจากบัญชีเงินฝากแก่โจทก์ จำนวน
1,000,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
9503/2539
การโอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมอันจะทำให้
ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นเป็นอันเพิกถอนไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1696
วรรคหนึ่ง หมายถึงการโอนทรัพย์สินที่ยังมีผลอยู่ในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย เมื่อ
ฟ. ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทตาม น.ส.3 เลขที่ 182 ให้แก่ น. และเลขที่ 206 ให้แก่
น. กับโจทก์ที่ 8 แล้ว แม้ต่อมา ฟ.ได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่ น.
โดยเสน่หาแต่หลังจากนั้น ฟ.
ก็ได้ฟ้องขอถอนคืนการให้และขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท
คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงกลับคืนมาเป็นของ ฟ.
จึงถือไม่ได้ว่า ฟ. ได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรม
ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นจึงหาเป็นอันเพิกถอนไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
4804/2539
การที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกให้โจทก์30ไร่และให้
จำเลย9ไร่เศษแต่ระหว่างมีชีวิตอยู่เจ้ามรดกได้จำหน่ายที่ดินแปลงดังกล่าวบาง
ส่วนไปโดยสมบูรณ์คงเหลือที่ดินเป็นทรัพย์มรดกเพียง8ไร่เศษนั้นเป็นกรณีที่
ข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินเป็นอันเพิกถอนไปเฉพาะบางส่วนเท่านั้น
พินัยกรรมยังใช้ได้อยู่หาได้สิ้นผลลงทั้งฉบับหรือข้อกำหนดในส่วนของโจทก์ได้
ถูกเพิกถอนไปคงมีผลอยู่เฉพาะส่วนของจำเลยที่2แต่อย่างใดไม่และไม่ใช่พินัยกรรมที่อาจตีความได้เป็นหลายนัยอันจะต้องถือเอาตามนัยที่จะสำเร็จผลตาม
ความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมโจทก์ยังคงมีสิทธิตามพินัยกรรมตามส่วนของที่ดินที่เหลืออยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
9059/2539
พินัยกรรมตามเอกสารหมาย
ค.8 นั้น ผู้ร้องเบิกความว่าพินัยกรรมฉบับนี้ถูกเพิกถอนไปแล้ว
โดยผู้ร้องเป็นผู้ขีดฆ่าและเขียนยกเลิกพินัยกรรมต่อหน้าผู้ตาย แม้จะเป็นจริงดังว่า
ก็มิใช่การทำลายหรือขีดฆ่าเสียด้วยความตั้งใจของผู้ตายซึ่งเป็นผู้ทำ
พินัยกรรมเองอันเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา1695 วรรคหนึ่ง
พินัยกรรมเอกสารหมาย ค.8 จึงยังมีผลใช้บังคับได้
ส่วนพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามเอกสารหมาย
ค.3 นั้นแม้จะปรากฏว่าต่อมาผู้ตายได้ทำคำร้องและบันทึกขอถอนพินัยกรรม
โดยอ้างว่าจะยกเลิกพินัยกรรมดังกล่าว และรับพินัยกรรมคืนไปแล้วก็ตาม
แต่ไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้ทำลายหรือขีดฆ่าต้นฉบับกับคู่ฉบับของพินัยกรรมอันจะ
มีผลให้เป็นการเพิกถอนพินัยกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1695 วรรคหนึ่ง
พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามเอกสารหมาย ค.3 จึงยังมีผลบังคับอยู่เช่นกัน
เมื่อพินัยกรรมของผู้ตายทั้งฉบับเอกสารหมาย
ค.8 และฉบับเอกสารหมาย ค.3 ยังมีผลบังคับอยู่ทั้ง 2 ฉบับ
ทั้งพินัยกรรมตามเอกสารหมายค.3
ซึ่งทำในภายหลังมิได้มีข้อความตอนใดระบุให้เพิกถอนพินัยกรรมตามเอกสารหมาย ค.8
เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่นและปรากฏว่า
พินัยกรรมฉบับก่อนกับฉบับหลังขัดกัน ป.พ.พ.มาตรา 1697
ให้ถือว่าพินัยกรรมฉบับก่อนเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลังเฉพาะในส่วน
ที่มีข้อความขัดกันเท่านั้นจึงถือว่าพินิยกรรมฉบับเอกสารหมาย ค.8
เป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับเอกสารหมาย ค.3
เฉพาะข้อกำหนดพินัยกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกที่ดิน 2 แปลง ตามข้อ 2 และข้อ 3
เท่านั้น ที่พินัยกรรมเอกสารหมาย ค.3
ระบุให้ตกแก่ผู้ร้องและให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับนี้
ซึ่งย่อมหมายถึงให้ผู้ร้องมีสิทธิจัดการมรดกเฉพาะที่ดินทั้ง 2 แปลง ดังกล่าว
ส่วนทรัพย์มรดกอื่น ๆคงเป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมตามเอกสารหมาย ค.8 ข้อ 4
ถึงข้อ 11ซึ่งกำหนดให้ผู้คัดค้านที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับดังกล่าว
ผู้ร้องซึ่งไม่ปรากฏว่ามีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมาย
จึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะที่ดินทั้ง 2 แปลง
ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมตามเอกสารหมาย ค.3 ตามเจตนาของผู้ตายในข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ
2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
5006/2538
ข้อความในพินัยกรรมข้อ1ระบุว่าแม้พ.และล.
จะได้แสดงเจตนายกทรัพย์สินของตนที่มีอยู่ขณะทำพินัยกรรมหรือที่จะมีขึ้นใน
ภายหน้าให้แก่โจทก์ทั้งหมดแต่ผู้เดียวแต่พินัยกรรมข้อ2ระบุว่า"แต่พินัยกรรม
นี้ให้เงื่อนไขดังนี้"การยกทรัพย์สินให้โจทก์ตามพินัยกรรมข้อ1จึงต้องเป็นไป
ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมข้อ2ด้วยทั้งพินัยกรรมข้อ2ข.ระบุว่าหาก
พ.ตายก่อนล. ให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนี้ทั้งหมดแสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำ
พินัยกรรมที่ประสงค์ให้พินัยกรรมข้อ2เป็นเนื้อหาของพินัยกรรมด้วยมิฉะนั้น
แล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องระบุอีกเพราะมีข้อกำหนดให้ทรัพย์มรดกตกเป็นของ
โจทก์ตามพินัยกรรมข้อ1อยู่แล้วและพินัยกรรมข้อ2ข.
ระบุให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมทั้งหมดจึงไม่มีทรัพย์ตามพินัยกรรมที่
จะตกทอดแก่โจทก์ในกรณีที่ล. ถึงแก่ความตายภายหลังอีกพินัยกรรมดังกล่าวจึงมีเนื้อหาและผลบังคับตามข้อ
กำหนดในพินัยกรรมข้อ2เท่านั้นหาใช่ข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ1มีผลบังคับเป็นหลัก ไม่
เมื่อบุตรของโจทก์อุ้มท้องอยู่ในขณะที่มีการทำพินัยกรรมได้แท้งก่อนที่จะ
คลอดออกมาและล.ผู้ทำพินัยกรรมร่วมกับพ. ได้ถึงแก่ความตายก่อนพ. ข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ2ค.ที่ระบุให้ล.
ยกทรัพย์ให้บุตรโจทก์ที่โจทก์อุ้มท้องอยู่ถ้าได้คลอดออกมามีชีวิตอยู่จึง
เป็นอันตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1698(2)เพราะเงื่อนไขนั้นไม่
อาจสำเร็จได้เมื่อล.
ตามก่อนพ.พินัยกรรมจึงมีผลบังคับตามข้อ2ก.ที่ระบุให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตาม
พินัยกรรมครึ่งหนึ่งอีกครึ่งหนึ่งแบ่งให้พ. ข้อกำหนดพินัยกรรมที่เหลือในข้อ2ข.
ที่พ.แสดงเจตนาไว้ว่าถ้าพ.ตายก่อนล.ให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมทั้ง
หมดจึงตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1698(2)โจทก์จึงไม่อาจอ้าง
สิทธิในฐานะผู้รับทรัพย์มรดกของพ.
ตามพินัยกรรมมาฟ้องจำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกของพ. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
3128/2538
ม.ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ต่อมา
ม. ยกที่ดินตามน.ส.3ซึ่งรวมที่ดินพิพาทอยู่ด้วยให้แก่ ป. จึงถือว่า
ม.ได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมด้วย
ความตั้งใจแล้วข้อกำหนดพินัยกรรมที่ระบุยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ย่อมเป็น
อันเพิกถอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1696วรรคหนึ่ง
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382จะมี
ได้เฉพาะที่ดินที่มีโฉนดที่ดินเท่านั้นที่ดินพิพาทเพิ่งออกโฉนดที่ดินเมื่อ
วันที่30กรกฎาคม2530การที่โจทก์ครอบครองก่อนหน้านี้แม้จะเกิน10ปีก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์
เมื่อนับระยะเวลาตั้งแต่วันออกโฉนดที่ดินพิพาทถึงวันฟ้องโจทก์ครอบครองยังไม่
ครบ10ปีโจทก์จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1078/2537
พินัยกรรมฉบับก่อนเจ้ามรดกยกที่ดินนาให้โจทก์
10 ไร่ส่วนพินัยกรรมฉบับหลังเจ้ามรดกยกที่ดินนาให้โจทก์จำเลยและบุตรคนอื่น ๆ รวม 7
คน คนละ 3 ไร่ ส่วนที่เหลือยังเป็นส่วนของเจ้ามรดกอยู่ โดยมิได้กล่าวถึงที่ดินนา
10 ไร่ ที่เคยทำพินัยกรรมยกให้โจทก์ก่อนเลย
ทั้งพินัยกรรมฉบับแรกตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแต่พินัยกรรมฉบับหลัง
ตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก
พินัยกรรมทั้งสองฉบับในส่วนเกี่ยวกับทรัพย์มรดกและการตั้งผู้จัดการมรดกจึง ขัดกัน
และเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมมิได้แสดงเจตนาไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น
ถือว่าพินัยกรรมฉบับก่อนเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลังเฉพาะเกี่ยวกับ
การยกทรัพย์มรดกให้ทายาทและเกี่ยวกับการตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1697
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
5482/2536
บ. ผู้รับพินัยกรรม
ถึงแก่ความตายไปก่อนผู้ตาย ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ยกทรัพย์ให้ บ.
จึงตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1698
ทรัพย์มรดกในส่วนนี้ตกได้แก่ทายาทโดยธรรม
ผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมาย
มีเหตุสมควรที่จะร่วมเป็นผู้จัดการมรดกกับผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
6135/2534
ตามคำร้องขอจัดการมรดกของผู้ร้องมีทรัพย์สินจะต้องจัดการถึง
7 รายการ แม้ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินเฉพาะบางรายการให้ผู้คัดค้านที่ 2 แล้ว
ก็ยังมีทรัพย์สินอื่นนอกพินัยกรรมที่จะต้องจัดการอยู่อีก
ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมเป็นผู้มีส่วนได้เสียและ ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตาม ป.พ.พ.
มาตรา 1718 จึงมีสิทธิที่จะเป็น ผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้
หนังสือตัดทายาทโดยธรรมระบุนามสกุลผู้คัดค้านที่ 1 ว่า
สกุล"ธรรมรัตน์"เป็น"ธรรมรักษ์"
ซึ่งเป็นข้อผิดพลาดเพียงเล็กน้อย ไม่ ทำให้หนังสือตัดทายาทโดยธรรมเสียไป
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ถูกตัดจากการเป็นทายาทโดยธรรม
โดยไม่วินิจฉัยชี้ชัดว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นทายาท จริงหรือไม่นั้น
การวินิจฉัยชี้ขาดว่าเป็นทายาทหรือไม่เป็นทายาท
ของผู้ตายไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปปัญหาข้อนี้เป็นอุทธรณ์ที่ไร้สาระศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยให้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1695 ผู้ทำพินัยกรรมอาจเพิกถอนพินัยกรรมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้
โดยทำลายหรือขีดฆ่าเสียด้วยความตั้งใจหมายความว่า ต้องเพิกถอนด้วยการฉีก ทำลาย
หรือทำให้หมดสิ้นจนใช้การไม่ได้ หรือขีดฆ่าลงบนพินัยกรรมนั้นเพื่อให้เห็นว่า
ผู้ทำพินัยกรรมไม่มีเจตนาจะให้มีผลเป็นพินัยกรรมต่อไป ดังนั้น
เพียงแต่บันทึกไว้ในช่องหมายเหตุในทะเบียนพินัยกรรมของ ที่ว่าการอำเภอว่า
ขอถอนพินัยกรรม และบันทึกในใบรับพินัยกรรมว่า ขอถอน 14 มี.ค. 20
จึงยังไม่ถือว่าผู้ทำพินัยกรรมมีเจตนาทำลาย พินัยกรรม พินัยกรรมจึงยังมีผลสมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2797/2517
ต.ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองทั้งต้นฉบับและคู่ฉบับรวมสามฉบับ
เก็บต้นฉบับไว้ณที่ว่าการอำเภอหนึ่งฉบับ คู่ฉบับมอบให้บุคคลอื่นเก็บไว้ ต่อมาต.
ขอต้นฉบับที่เก็บไว้ณ ที่ว่าการอำเภอคืนมาเก็บไว้เอง
โดยมิได้กระทำการใดๆที่เห็นได้ว่าเป็นการทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรมฉบับนั้น
กับคู่ฉบับอีกสองฉบับ และได้ร่างพินัยกรรมขึ้นใหม่อีกฉบับหนึ่ง แต่
ต.และพยานยังมิได้ลงลายมือชื่อ ดังนี้ แม้การกระทำดังกล่าวจะเป็นการแสดงเจตนาของ ต
ว่าจะทำพินัยกรรมฉบับใหม่และจะไม่ใช้พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองฉบับเดิมก็ตาม
แต่พินัยกรรมฉบับหลังได้ทำขึ้นโดยมีรายการไม่ครบถ้วน
เพราะต.และพยานยังมิได้ลงลายมือชื่อไว้ ย่อมเป็นโมฆะ
ไม่มีผลเพิกถอนพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองฉบับเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1415/2512
การแสดงเจตนาที่จะเป็นพินัยกรรมได้
จะต้องมีลักษณะเป็นคำสั่ง คำสั่งนั้นเป็นคำสั่งครั้งสุดท้ายกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของ
บุคคลนั้น และในการต่างๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตาย
เจ้ามรดกมีหนังสือถึงโจทก์ซึ่งเป็นบุตร
แจ้งให้ทราบว่าตนทำพินัยกรรมลับไว้ที่อำเภอในหนังสือระบุว่า
ห้ามมิให้จำเลยขายที่นา และห้ามมิให้จำเลยออกเงินส่วนตัวทำศพเจ้ามรดก มิให้นาตกเป็นของจำเลย
ให้แบ่งนาให้โจทก์คนละ 5 ไร่ เหลือจากแบ่งห้ามมิให้จำเลยขายเอาเงินทำศพเจ้ามรดก
และไม่ให้นาส่วนที่เหลือตกเป็นของจำเลย เงินสด 10,000 บาท
ถ้าทำศพเจ้ามรดกแล้วมีเงินเหลือมอบให้โจทก์ไป ให้โจทก์เป็นผู้เก็บค่าเช่านา
ตอนท้ายของหนังสือมีความต่อไปว่า ถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติตามจดหมายนี้
ก็ให้โจทก์ไปร้องเรียนนายอำเภอ ขอให้นายอำเภอถอนพินัยกรรมลับด้วย ดังนี้
เอกสารหนังสือของเจ้ามรดกเป็นพินัยกรรม
และเข้าแบบพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1657
เพราะเจ้ามรดกเขียนเองทั้งฉบับ มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมลับของเจ้ามรดกซึ่งทำไว้ฉบับแรกบางส่วนตามมาตรา
1694
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1157/2511
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1693 ที่บัญญัติไว้ว่า
ผู้ทำพินัยกรรมจะเพิกถอนพินัยกรรมของตนเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในเวลาใดก็ ได้
มีความหมายว่า ถ้าผู้ทำพินัยกรรมไม่พอใจในพินัยกรรมที่ตนทำไว้
ย่อมแสดงเจตนาเพิกถอนเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในเวลาใดๆ
ก็ได้ก่อนผู้ทำพินัยกรรมตาย แต่วิธีการเพิกถอนต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายบังคับ
ซึ่งมีบัญญัติไว้ตั้งแต่มาตรา 1694 ถึง 1697 กฎหมายไม่ได้แยกมาตรา 1693
เป็นเอกเทศมีวิธีการเพิกถอนอยู่ในตัว
การที่ผู้ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยื่นคำร้องต่อนายอำเภอขอถอนพินัยกรรม
โดยมิได้ร้องขอทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรม
และนายอำเภอก็สั่งแต่เพียงให้รวมคำร้องเก็บไว้ในเรื่อง
ไม่ถือว่าได้มีการทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรมแต่ประการใด
พินัยกรรมจึงยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ (อ้างฎีกาที่ 838/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
838/2508
ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1693
บัญญัติว่าผู้ทำพินัยกรรมจะเพิกถอนพินัยกรรมของตนในเวลาใดก็ได้นั้นหมายถึง
ว่าจะเพิกถอนเวลาใดก็ได้ตามใจชอบ การเพิกถอนทำอย่างไรนั้น มาตรา 1695 บัญญัติว่า
อาจทำโดยทำลายหรือขีดฆ่าเสียด้วยความตั้งใจ 'ทำลาย' หมายความว่า รื้อทำให้ทลาย ทำให้พัง ทำให้ฉิบหาย ทำให้หมดสิ้นไป
การทำลายจึงเป็นการที่ต้องทำให้เกิดผลเช่นนั้นและการเพิกถอนมิใช่ให้ทำโดย
เพียงแต่แสดงเจตนาด้วยถ้อยคำหากจะต้องมีการกระทำคือ 'ทำลาย'
หรือ'ขีดฆ่า' เป็นสำคัญ
พินัยกรรมมีข้อกำหนดตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อไม่ปรากฏว่าข้อกำหนด
นั้นไม่มีผลบังคับด้วยประการใดๆ
ถึงแม้โจทก์จะเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่ก็ตาม
ก็ไม่เป็นกรณีมีเหตุสมควรที่โจทก์จะขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดก