มาตรา ๙๕๙ ผู้ทรงตั๋วแลกเงินจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บรรดาผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่ายและบุคคลอื่น ๆ ซึ่งต้องรับผิดตามตั๋วเงินนั้นก็ได้ คือ
ก) ไล่เบี้ยได้เมื่อตั๋วเงินถึงกำหนดในกรณีไม่ใช้เงิน
ข) ไล่เบี้ยได้แม้ทั้งตั๋วเงินยังไม่ถึงกำหนดในกรณีดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(๑) ถ้าเขาบอกปัดไม่รับรองตั๋วเงิน
(๒) ถ้าผู้จ่ายหากจะได้รับรองหรือไม่ก็ตาม ตกเป็นคนล้มละลาย หรือได้งดเว้นการใช้หนี้ แม้การงดเว้นใช้หนี้นั้นจะมิได้มีคำพิพากษาเป็นหลักฐานก็ตาม หรือถ้าผู้จ่ายถูกยึดทรัพย์และการยึดทรัพย์นั้นไร้ผล
(๓) ถ้าผู้สั่งจ่ายตั๋วเงินชนิดไม่จำเป็นต้องให้ผู้ใดรับรองนั้นตกเป็นคนล้มละลาย
มาตรา ๙๖๐ การที่ตั๋วแลกเงินขาดรับรองหรือขาดใช้เงินนั้น ต้องทำให้เป็นหลักฐานตามแบบระเบียบด้วยเอกสารฉบับหนึ่ง เรียกว่าคำคัดค้าน
คำคัดค้านการไม่ใช้เงินต้องทำในวันซึ่งจะพึงใช้เงินตามตั๋วนั้น หรือวันใดวันหนึ่งภายในสามวันต่อแต่นั้นไป
คำคัดค้านการไม่รับรองต้องทำภายในจำกัดเวลาซึ่งกำหนดไว้ เพื่อการยื่นตั๋วเงินให้เขารับรอง หรือภายในสามวันต่อแต่นั้นไป
เมื่อมีคำคัดค้านการไม่รับรองขึ้นแล้วก็เป็นอันไม่ต้องยื่นเพื่อให้ใช้เงิน และไม่ต้องทำคำคัดค้านการไม่ใช้เงิน
ในกรณีทั้งหลายซึ่งกล่าวไว้ในมาตรา ๙๕๙ (ข) (๒) นั้น ท่านว่าผู้ทรงยังหาอาจจะใช้สิทธิไล่เบี้ยได้ไม่ จนกว่าจะได้ยื่นตั๋วเงินให้ผู้จ่ายใช้เงินและได้ทำคำคัดค้านขึ้นแล้ว
ในกรณีทั้งหลายดั่งกล่าวไว้ในมาตรา ๙๕๙ (ข) (๓) นั้น ท่านว่าถ้าเอาคำพิพากษาซึ่งสั่งให้ผู้สั่งจ่ายเป็นคนล้มละลายออกแสดง ก็เป็นการเพียงพอที่จะทำให้ผู้ทรงสามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยได้
มาตรา ๙๖๑ คำคัดค้านนั้นให้นายอำเภอ หรือผู้ทำการแทนนายอำเภอ หรือทนายความผู้ได้รับอนุญาตเพื่อการนี้เป็นผู้ทำ
รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจออกกฎข้อบังคับเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ อันว่าด้วยการออกใบอนุญาตและการทำคำคัดค้าน รวมทั้งกำหนดอัตราค่าฤชาธรรมเนียมอันเกี่ยวกับการนั้น
มาตรา ๙๖๒ ในคำคัดค้านนั้นนอกจากชื่อ ตำแหน่ง และลายมือชื่อของผู้ทำ ต้องมีสำเนาตั๋วเงินกับรายการสลักหลังทั้งหมดตรงถ้อยตรงคำกับระบุความดั่งจะ กล่าวต่อไปนี้ คือ
(๑) ชื่อ หรือยี่ห้อของบุคคลผู้คัดค้านและผู้ถูกคัดค้าน
(๒) มูล หรือเหตุที่ต้องทำคำคัดค้านตั๋วเงิน การทวงถามและคำตอบถ้ามี หรือข้อที่ว่าหาตัวผู้จ่ายหรือผู้รับรองไม่พบ
(๓) ถ้ามีการรับรอง หรือใช้เงินเพื่อแก้หน้า ให้แถลงลักษณะแห่งการเข้าแก้หน้าทั้งชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับรองหรือผู้ใช้ เงินเพื่อแก้หน้าและชื่อบุคคลซึ่งเขาเข้าแก้หน้านั้นด้วย
(๔) สถานที่และวันทำคำคัดค้าน
ให้ผู้ทำคำคัดค้านส่งมอบคำคัดค้านแก่ผู้ร้องขอให้ทำ และให้ผู้ทำคำคัดค้านรีบส่งคำบอกกล่าวการคัดค้านนั้นไปยังผู้ถูกคัดค้าน ถ้าทราบภูมิลำเนาก็ให้ส่งโดยจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ หรือส่งมอบไว้ ณ ภูมิลำเนาของผู้นั้นก็ได้ ถ้าไม่ทราบภูมิลำเนาก็ให้ปิดสำเนาคำคัดค้านไว้ยังที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ ที่ว่าการอำเภอประจำท้องที่อันผู้ถูกคัดค้านมีถิ่นที่อยู่ครั้งหลังที่สุด
มาตรา ๙๖๓ ผู้ทรงต้องให้คำบอกกล่าวการที่เขาไม่รับรองตั๋วแลกเงินหรือไม่ใช้ เงินนั้นไปยังผู้สลักหลังถัดตนขึ้นไปกับทั้งผู้สั่งจ่ายด้วยภายในเวลาสี่วัน ต่อจากวันคัดค้าน หรือต่อจากวันยื่นตั๋วในกรณีที่มีข้อกำหนดว่า “ไม่จำต้องมีคำคัดค้าน”
ผู้สลักหลังทุก ๆ คนต้องให้คำบอกกล่าวไปยังผู้สลักหลังถัดตนขึ้นไปภายในสองวัน ให้ทราบคำบอกกล่าวอันตนได้รับ จดแจ้งให้ทราบชื่อและสำนักของผู้ที่ได้ให้คำบอกกล่าวมาก่อน ๆ นั้นด้วย ทำเช่นนี้ติดต่อกันไปโดยลำดับจนกระทั่งถึงผู้สั่งจ่าย อนึ่งจำกัดเวลาซึ่งกล่าวมานั้น ท่านนับแต่เมื่อคนหนึ่ง ๆ ได้รับคำบอกกล่าวแต่คนก่อน
ถ้าผู้สลักหลังคนหนึ่งคนใดมิได้ระบุสำนักของตนไว้ก็ดี หรือได้ระบุแต่อ่านไม่ได้ความก็ดี ท่านว่าสุดแต่คำบอกกล่าวได้ส่งไปยังผู้สลักหลังคนก่อนก็เป็นอันพอแล้ว
บุคคลผู้จะต้องให้คำบอกกล่าว จะทำคำบอกกล่าวเป็นรูปอย่างใดก็ได้ทั้งสิ้นแม้เพียงแต่ด้วยส่งตั๋วแลกเงินคืนก็ใช้ได้ อนึ่งต้องพิสูจน์ได้ว่าได้ส่งคำบอกกล่าวภายในเวลากำหนด
ถ้าส่งคำบอกกล่าวเป็นหนังสือจดทะเบียนไปรษณีย์ หากว่าหนังสือนั้นได้ส่งไปรษณีย์ภายในเวลากำหนดดั่งกล่าวมานั้นไซร้ ท่านให้ถือว่าคำบอกกล่าวเป็นอันได้ส่งภายในจำกัดเวลาบังคับแล้ว
บุคคลซึ่งมิได้ให้คำบอกกล่าวภายในจำกัดเวลาดั่งได้ว่ามานั้นหาเสียสิทธิไล่เบี้ยไม่แต่จะต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่ความประมาทเลินเล่อของตน แต่ท่านมิให้คิดค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าจำนวนในตั๋วแลกเงิน
มาตรา ๙๖๔ ด้วยข้อกำหนดเขียนลงไว้ว่า “ไม่จำต้องมีคำคัดค้าน” ก็ดี “ไม่มีคัดค้าน” ก็ดี หรือสำนวนอื่นใดทำนองนั้นก็ดี ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังจะยอมปลดเปลื้องผู้ทรงจากการทำคำคัดค้านการไม่รับรองหรือการไม่ใช้เงินก็ได้ เพื่อตนจะได้ใช้สิทธิไล่เบี้ย
ข้อกำหนดอันนี้ ย่อมไม่ปลดผู้ทรงให้พ้นจากหน้าที่นำตั๋วเงินยื่นภายในเวลากำหนด หรือจากหน้าที่ให้คำบอกกล่าวตั๋วเงินขาดความเชื่อถือแก่ผู้สลักหลังคนก่อน หรือผู้สั่งจ่ายอนึ่งหน้าที่นำสืบว่าไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกำหนดเวลาจำกัด นั้น ย่อมตกอยู่แก่บุคคลผู้แสวงจะใช้ความข้อนั้นเป็นข้อต่อสู้ผู้ทรงตั๋วแลกเงิน
ข้อกำหนดอันนี้ ถ้าผู้สั่งจ่ายเป็นผู้เขียนลงไปแล้ว ย่อมเป็นผลตลอดถึงคู่สัญญาทั้งปวงบรรดาที่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้น ถ้าและทั้งมีข้อกำหนดดังนี้แล้ว ผู้ทรงยังขืนทำคำคัดค้านไซร้ ท่านว่าผู้ทรงต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเพื่อการนั้น หากว่าข้อกำหนดนั้นผู้สลักหลังเป็นผู้เขียนลง และถ้ามีคำคัดค้านทำขึ้นไซร้ ท่านว่าค่าใช้จ่ายในการคัดค้านนั้นอาจจะเรียกเอาใช้ได้จากคู่สัญญาอื่น ๆ บรรดาที่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้น
มาตรา ๙๖๕ ในกรณีตั๋วเงินภายในประเทศ ถ้าผู้จ่ายบันทึกลงไว้ในตั๋วแลกเงินเป็นข้อความบอกปัดไม่รับรองหรือไม่ยอม ใช้เงิน ทั้งลงวันที่บอกปัดลงลายมือชื่อไว้ด้วยแล้วท่านว่าคำคัดค้านนั้นก็เป็นอัน ไม่จำเป็นต้องทำและผู้ทรงต้องส่งคำบอกกล่าวขาดความเชื่อถือไปยังบุคคลซึ่งตน จำนงจะไล่เบี้ยภายในสี่วันต่อจากวันเขาบอกปัดไม่รับรองนั้น
มาตรา ๙๖๖ คำบอกกล่าวขาดความเชื่อถือในกรณีไม่รับรองหรือไม่ใช้เงินนั้นต้องมีรายการคือ วันที่ลงในตั๋วแลกเงิน ชื่อหรือยี่ห้อของผู้สั่งจ่ายและของผู้จ่าย จำนวนเงินในตั๋วเงินวันถึงกำหนดใช้เงิน ชื่อหรือยี่ห้อและสำนักของผู้ทรงตั๋วเงิน วันที่คัดค้านหรือวันที่บอกปัดไม่รับรองหรือไม่ใช้เงิน กับข้อความว่าเขาไม่รับรองหรือไม่ใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น
มาตรา ๙๖๗ ในเรื่องตั๋วแลกเงินนั้น บรรดาบุคคลผู้สั่งจ่ายก็ดีรับรองก็ดี สลักหลังก็ดี หรือรับประกันด้วยอาวัลก็ดี ย่อมต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง
ผู้ทรงย่อมมีสิทธิว่ากล่าวเอาความแก่บรรดาบุคคลเหล่านี้เรียงตัวหรือรวมกันก็ได้โดยมิพักต้องดำเนินตามลำดับที่คนเหล่านั้นมาต้องผูกพัน
สิทธิเช่นเดียวกันนี้ ย่อมมีแก่บุคคลทุกคนซึ่งได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินและเข้าถือเอาตั๋วเงินนั้น ในการที่จะใช้บังคับเอาแก่ผู้ที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนตน
การว่ากล่าวเอาความแก่คู่สัญญาคนหนึ่ง ซึ่งต้องรับผิดย่อมไม่ตัดหนทางที่จะว่ากล่าวเอาความแก่คู่สัญญาคนอื่น ๆ แม้ทั้งจะเป็นฝ่ายอยู่ในลำดับภายหลังบุคคลที่ได้ว่ากล่าวเอาความมาก่อน
มาตรา ๙๖๘ ผู้ทรงจะเรียกร้องเอาเงินใช้จากบุคคลซึ่งตนใช้สิทธิไล่เบี้ยนั้นก็ได้ คือ
(๑) จำนวนเงินในตั๋วแลกเงินซึ่งเขาไม่รับรองหรือไม่ใช้กับทั้งดอกเบี้ยด้วย หากว่ามีข้อกำหนดไว้ว่าให้คิดดอกเบี้ย
(๒) ดอกเบี้ยอัตราร้อยละห้าต่อปีนับแต่วันถึงกำหนด
(๓) ค่าใช้จ่ายในการคัดค้าน และในการส่งคำบอกกล่าวของผู้ทรงไปยังผู้สลักหลังถัดจากตนขึ้นไปและผู้สั่งจ่าย กับทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
(๔) ค่าชักส่วนลดซึ่งถ้าไม่มีข้อตกลงกันไว้ ท่านให้คิดร้อยละ ๑/๖ ในต้นเงินอันจะพึงใช้ตามตั๋วเงิน และไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไร ท่านมิให้คิดสูงกว่าอัตรานี้
ถ้าใช้สิทธิไล่เบี้ยก่อนถึงกำหนด ท่านให้หักลดจำนวนเงินในตั๋วเงินลงให้ร้อยละห้า
มาตรา ๙๖๙ คู่สัญญาฝ่ายซึ่งเข้าถือเอาและใช้เงินตามตั๋วแลกเงินอาจจะเรียกเอาเงินใช้จากคู่สัญญาทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดต่อตนได้ คือ
(๑) เงินเต็มจำนวนซึ่งตนได้ใช้ไป
(๒) ดอกเบี้ยในจำนวนเงินนั้น คิดอัตราร้อยละห้าต่อปีนับแต่วันที่ได้ใช้เงินไป
(๓) ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อันตนต้องออกไป
(๔) ค่าชักส่วนลดจากต้นเงินจำนวนในตั๋วแลกเงินตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๙๖๘ อนุมาตรา (๔)
มาตรา ๙๗๐ คู่สัญญาทุกฝ่ายซึ่งต้องรับผิดและถูกไล่เบี้ยหรืออยู่ในฐานะจะถูกไล่เบี้ยได้นั้น อาจจะใช้เงินแล้วเรียกให้เขาสละตั๋วเงินให้แก่ตนได้รวมทั้งคำคัดค้านและบัญชีรับเงินด้วย
ผู้สลักหลังทุกคนซึ่งเข้าถือเอาและใช้เงินตามตั๋วแลกเงินแล้ว จะขีดฆ่าคำสลักหลังของตนเองและของเหล่าผู้สลักหลังภายหลังตนนั้นเสียก็ได้
มาตรา ๙๗๑ ผู้สั่งจ่ายก็ดี ผู้รับรองก็ดี ผู้สลักหลังคนก่อนก็ดี ซึ่งเขาสลักหลังหรือโอนตั๋วแลกเงินให้อีกทอดหนึ่งนั้น หามีสิทธิจะไล่เบี้ยเอาแก่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตนย่อมต้องรับผิดต่อเขาอยู่ก่อนแล้วตามตั๋วเงินนั้นได้ไม่
มาตรา ๙๗๒ ในกรณีใช้สิทธิไล่เบี้ยภายหลังการรับรองแต่บางส่วน ท่านว่าคู่สัญญาฝ่ายซึ่งใช้เงินอันเป็นจำนวนเขาไม่รับรองนั้น อาจจะเรียกให้จดระบุความที่ใช้เงินนี้ลงไว้ในตั๋วเงินและเรียกให้ทำใบรับให้แก่ตนได้ อนึ่งผู้ทรงตั๋วเงินต้องให้สำเนาตั๋วเงินอันรับรองว่าถูกต้องแก่คู่สัญญาฝ่ายนั้นพร้อมทั้งคำคัดค้านด้วย เพื่อให้เขาสามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยในภายหลังได้สืบไป
มาตรา ๙๗๓ เมื่อกำหนดเวลาจำกัดซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้ได้ล่วงพ้นไปแล้ว คือ
(๑) กำหนดเวลาสำหรับยื่นตั๋วแลกเงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อได้เห็น หรือในระยะเวลาอย่างใดอย่างหนึ่งภายหลังได้เห็น
(๒) กำหนดเวลาสำหรับทำคำคัดค้านการไม่รับรองหรือการไม่ใช้เงิน
(๓) กำหนดเวลาสำหรับยื่นตั๋วเพื่อให้ใช้เงิน ในกรณีที่มีข้อกำหนดว่า “ไม่จำต้องมีคำคัดค้าน”
ท่านว่าผู้ทรงย่อมสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่เหล่าผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่าย และคู่สัญญาอื่น ๆ ผู้ต้องรับผิด เว้นแต่ผู้รับรอง
อนึ่ง ถ้าไม่ยื่นตั๋วแลกเงินเพื่อให้เขารับรองภายในเวลาจำกัดดั่งผู้สั่งจ่ายได้กำหนดไว้ ท่านว่าผู้ทรงย่อมเสียสิทธิที่จะไล่เบี้ยทั้งเพื่อการที่เขาไม่ใช้เงินและเพื่อการที่เขาไม่รับรองเว้นแต่จะปรากฏจากข้อกำหนดว่า ผู้สั่งจ่ายหมายเพียงแต่จะปลดตนเองให้พ้นจากประกันการรับรอง
ถ้าข้อกำหนดจำกัดเวลายื่นตั๋วแลกเงินนั้นมีอยู่ที่คำสลักหลัง ท่านว่าเฉพาะแต่ผู้สลักหลังเท่านั้นจะอาจเอาประโยชน์ในข้อกำหนดนั้นได้
มาตรา ๙๗๔ การยื่นตั๋วแลกเงินก็ดี การทำคำคัดค้านก็ดี ถ้ามีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้มาขัดขวางมิให้ทำได้ภายในกำหนดเวลา จำกัดสำหรับการนั้นไซร้ ท่านให้ยืดกำหนดเวลาออกไปอีกได้
เหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ดั่งว่ามานั้น ผู้ทรงต้องบอกกล่าวแก่ผู้สลักหลังคนถัดตนขึ้นไปโดยไม่ชักช้า และคำบอกกล่าวนั้นต้องเขียนระบุลงในตั๋วเงิน หรือใบประจำต่อต้องลงวันและลงลายมือชื่อของผู้ทรง การอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวนี้ ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติ มาตรา ๙๖๓
เมื่อเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้นั้นสุดสิ้นลงแล้ว ผู้ทรงต้องยื่นตั๋วเงินให้เขารับรองหรือใช้เงินโดยไม่ชักช้า และถ้าจำเป็นก็ทำคำคัดค้านขึ้น
ถ้าเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้นั้น ยังคงมีอยู่ต่อไปจนเป็นเวลากว่าสามสิบวันภายหลังตั๋วเงินถึงกำหนดไซร้ ท่านว่าจะใช้สิทธิไล่เบี้ยก็ได้ และถ้าเช่นนั้นการยื่นตั๋วเงินก็ดี การทำคำคัดค้านก็ดี เป็นอันไม่จำเป็นต้องทำ
ใน ส่วนตั๋วเงินชนิดที่ให้ใช้เงินเมื่อได้เห็น หรือให้ใช้เงินในระยะเวลาอย่างหนึ่งอย่างใดภายหลังได้เห็นนั้น กำหนดสามสิบวันเช่นว่ามานี้ ท่านให้นับแต่วันที่ผู้ทรงได้ให้คำบอกกล่าวเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสีย ได้นั้นแก่ผู้สลักหลังถัดตนขึ้นไป และถึงแม้ว่าจะเป็นการก่อนล่วงกำหนดเวลายื่นตั๋วเงิน ก็ให้นับเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2551
การออกตั๋วสัญญาใช้เงิน และผู้ออกคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี เป็นการตกลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 911, 968 (1) ประกอบด้วยมาตรา 985 ซึ่งกฎหมายมิได้วางข้อจำกัดอันใดไว้จึงแล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน จึงมิใช่การให้กู้ยืมเงินตามความหมายของ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ฯ การที่ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ก็มิใช่กรณีเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว ทั้งไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 654 ตั๋วสัญญาใช้เงินและดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินตามฟ้องจึงไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2551
บริษัท ร. นำเช็คพิพาทไปขายลดแก่โจทก์โดยลงลายมือชื่อสลักหลัง โจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายและบริษัท ร. ผู้สลักหลังจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 914 และมาตรา 967 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 989 อันถือได้ว่าเป็นความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ดังนั้น เมื่อโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งถือได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่อีก ประการหนึ่ง โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้บริษัท ร. ชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้บริษัท ร. รับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องต่อจำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายให้รับผิดต่อโจทก์ใน มูลหนี้ตามเช็คพิพาทย่อมหมดสิ้นไปด้วย ทั้งนี้เพราะสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทของโจทก์ได้ระงับสิ้นไป แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6054/2550
การที่ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้จ่ายได้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วแลกเงินจึงเป็นผู้รับรองตาม ป.พ.พ. มาตรา 927 ต้องผูกพันในอันจะจ่ายเงินจำนวนที่รับรองตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตนตาม มาตรา 937 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่าย จำเลยที่ 1 ไม่ได้อยู่ในฐานะที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ตามมาตรา 967 วรรคสาม ดังนั้นเมื่อธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ได้จ่ายเงินให้แก่บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงินทั้ง 92 ฉบับ ไปแล้ว ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) จึงหามีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายได้ไม่ เมื่อไม่มีสิทธิไล่เบี้ยแล้ว ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ก็ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องที่จะโอนให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจะได้สละประเด็นข้อพิพาทข้อนี้ไปแล้ว แต่จำเลยทั้งสองก็มีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2550
ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) บัญญัติว่า คำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาญา จักรหรือไม่ ตามบทบัญญัติดังกล่าว คำว่า มูลคดี หมายถึง ต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้อง ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทระบุชื่อ อ. เป็นผู้รับเงินเพื่อคืนเงินที่ อ. ได้ร่วมลงทุนซื้อที่ดินกับจำเลยจำนวน 140,000 บาท ให้แก่ อ. เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนดวันสั่งจ่าย อ. นำไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้จะถือว่า อ. เป็นผู้เสียหายในขณะที่เช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่า อ. ได้โอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ โดยสลักหลังเช็คพิพาทและส่งมอบแก่โจทก์ โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงและมีสิทธิเช่นเดียวกับ อ. ในอันที่จะบังคับเอาแก่จำเลยซึ่งมีความผูกพันอยู่แล้วก่อนตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 967 วรรคสาม ประกอบมาตรา 989 วรรคแรก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายให้ชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์ได้ ความรับผิดของจำเลยเกิดขึ้นเมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนั้น สถานที่ที่เช็คถูกปฏิเสธการจ่ายเงินย่อมเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดด้วย เมื่อธนาคารตามเช็คที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงินตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น ย่อมถือได้ว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในเขตศาลชั้นต้น โจทก์จึงมีอำนาจเสนอคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4789/2549
ตามตั๋วสัญญาใช้เงินระบุวันออกตั๋วคือวันที่ 30 กันยายน 2540 วันถึงกำหนดใช้เงินวันที่ 31 ตุลาคม 2540 กับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ BBL MOR +1 ต่อปี เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยออกมีข้อกำหนดให้คิดดอกเบี้ยได้ และมิได้ระบุว่าให้คิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันใด จึงต้องคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวนับแต่วัน ที่ลงในตั๋ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 911, 968, 985 เมื่อถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2540 จำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดทันทีตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง โดยเจ้าหนี้ไม่จำต้องบอกกล่าวหรือทวงถามก่อนแต่อย่างใด เมื่อมีการโอนสิทธิเรียกร้องนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ผู้รับโอนมีฐานะเป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้เดิมจึงมีสิทธิเรียกร้องตามมูล หนี้ที่มีอยู่ทั้งหมดรวมทั้งอุปกรณ์แห่งหนี้จากจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4264/2548
เช็คเป็นเอกสารเปลี่ยนมือ เมื่อจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์โดยมิได้ระบุว่าจ่ายให้โจทก์ในฐานะที่ โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คตามกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คโดยชอบจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องในนามของโจทก์ เองโดยไม่จำต้องระบุต่อท้ายชื่อโจทก์ว่าในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. อย่างไรก็ดี คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตาม สัญญาประนีประนอมยอมความเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 และ 2 ซึ่งถือว่าเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวระบุว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คตามฟ้องให้ แก่โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. จึงถือว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่แนบมาท้ายฟ้องอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7988/2542
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อแลกเงินสดจากโจทก์แต่ข้อเท็จจริง ฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงแลกเช็คกันเพื่อให้แต่ละฝ่ายนำไปแลกเงิน สดจากบุคคลภายนอกและเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายก็เรียกเก็บเงินไม่ได้โดยโจทก์มิ ได้ชำระเงินตามเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายแต่อย่างใด ดังนั้นการที่จำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์จึงไม่ใช่การออกเช็คเพื่อ แลกเงินสดจากโจทก์ตามที่ฟ้อง โจทก์จึงมิใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้เช็คพิพาทจะเป็นเช็คผู้ถือและอยู่ในความครอบครองของโจทก์ก็ตาม แต่ฐานะผู้ทรงโดยการถือเช็คผู้ถือย่อมต้องเป็นการได้เช็คมาไว้ในความยึดถือ ที่เป็นไปโดยชอบด้วย เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามเช็คพิพาทต่อ โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7336/2540
แม้โจทก์จะฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามสัญญารับชำระหนี้หรือขายลดตั๋วสัญญา ใช้เงินที่ทำไว้ต่อโจทก์ โดยมิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินก็ตาม แต่จำเลยได้ขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมในฐานะผู้ออกตั๋วเข้ามาเป็นจำเลยร่วม และจำเลยร่วมได้ให้การต่อสู้ปฏิเสธความรับผิดที่จะชำระเงินตามตั๋วให้แก่ จำเลย คดีจึงมีข้อพิพาทเกี่ยวกับมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินด้วย
จำเลยร่วมได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งมีธนาคารโจทก์สาขา จ. เป็นผู้รับอาวัล ให้แก่จำเลย โดยสัญญาว่าจะใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้ ณ ที่ธนาคารโจทก์สาขา จ. ต่อมาก่อนวันถึงกำหนดใช้เงิน จำเลยได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวไปทำสัญญารับชำระหนี้หรือขายลดให้แก่ ธนาคารโจทก์สาขา พ. โดยสัญญาว่า ถ้าเรียกเก็บเงินตามตั๋วไม่ได้ จำเลยยอมรับผิดชำระเงินที่ปรากฏในตั๋วพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทโจทก์เรียกเก็บเงินไม่ได้ แม้จะเป็นเพราะศาลชั้นต้นสั่งอายัดชั่วคราวไว้ในคดีเรื่องอื่นตามคำร้องขอ ของจำเลยร่วมก็ตาม ก็ถือว่าจำเลยผิดสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินต่อโจทก์ จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อย ละ 15ต่อปี ตามสัญญาให้แก่โจทก์
ตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับพิพาทมีโจทก์เป็นผู้รับอาวัล ดังนั้น หากจำเลยได้ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทให้แก่โจทก์ไปตามที่ได้ตกลงไว้ ในสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยก็จะได้ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทมาไว้ในครอบครองในฐานะเป็นผู้รับเงินและ เป็นผู้ทรงตั๋วมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินจากโจทก์ผู้รับอาวัลและจำเลยร่วมซึ่ง เป็นผู้ออกตั๋วได้อีก เช่นนี้ เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยร่วมชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้ เงินพิพาทให้แก่โจทก์และคดีถึงที่สุดไปแล้ว จึงต้องถือว่าเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่จำเลยไปตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน เป็นการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทให้แก่จำเลยซึ่งเป็นผู้ทรงและโจทก์ ได้ใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยร่วมที่ 1 และที่ 2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคสามแล้ว ตั้งแต่วันฟ้อง ฉะนั้น นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จำเลยจึงไม่จำต้องชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทให้แก่โจทก์อีก ส่วนดอกเบี้ยก่อนฟ้องตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อจำเลยผิดสัญญาขายลดตั๋วเงิน จำเลยจึงยังคงต้องรับผิดชำระให้แก่โจทก์ ส่วนจำเลยร่วมคงรับผิดชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทให้แก่โจทก์ตั้งแต่ วันฟ้องซึ่งถือว่าเป็นวันที่โจทก์ได้ใช้สิทธิไล่เบี้ย ฉะนั้นดอกเบี้ยก่อนฟ้องจำเลยร่วมจึงไม่ต้องรับผิดชำระให้แก่โจทก์
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทมิได้ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้ และอัตราดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 968(2) ประกอบมาตรา 985บัญญัติให้มีสิทธิไล่เบี้ยเอาดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละ 5 ต่อปี การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินและ ต้องรับผิดในมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยร่วมจะมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เรื่องดังกล่าวนี้เกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยว ด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2537
โจทก์ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจเงินทุน ในระหว่างที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ธนาคาร แห่งประเทศไทยกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากลูกค้าได้ในอัตรา ไม่เกินร้อยละ18.5 ต่อปี ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยออกให้แก่โจทก์สองฉบับมีข้อกำหนดให้คิดดอกเบี้ยได้ ในอัตราร้อยละ18 และ 18.5 ต่อปีตามลำดับ และมิได้ระบุไว้ว่าให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันใด จึงต้องคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับดังกล่าว นับแต่วันที่ลงในตั๋วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 911,968,695เมื่อได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมตั๋วสัญญาใช้เงินดัง กล่าวและครบกำหนดใช้เงินจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ผู้ทรงจึงมีสิทธิคิด ดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวจากต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินต่อไปจนกว่าจะชำระ เสร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2534
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันออกตั๋วแลกเงินแล้วนำไปขายลดตั๋วเงินไว้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินไม่ได้ โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามตั๋วแลกเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อย ละ 17.5 ต่อปี ตามที่ได้ตกลงกันไว้กับโจทก์ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการเรียกดอกเบี้ยใน อัตราสูงดังกล่าวเรียกตามสัญญาขายลดตั๋วเงินนั่นเอง ทั้งท้ายฟ้องของโจทก์ยังได้แนบสำเนาสัญญาขายลดตั๋วแลกเงินของจำเลยทั้งสอง ไว้อีกด้วย ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องบังคับฐานผิดสัญญาขายลดตั๋วเงิน ไม่ใช่ฟ้องบังคับตามตั๋ว แลกเงิน จึงนำบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 963 และ 973มาใช้บังคับไม่ได้ดังนั้น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวการไม่ใช้เงินไปยัง จำเลยที่ 2 ภายใน 4 วันก่อน โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ตามสัญญาขายลดตั๋วเงิน ดอกเบี้ยจึงต้องเป็นไปตามอัตราที่ตกลงไว้ จำเลยที่ 2 จะให้บังคับในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 968(2) ไม่ได้ จำเลยที่ 2 ผิดสัญญาขายลดตั๋วเงิน โจทก์เรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญาซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2534
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยออกตั๋วแลกเงินแล้วนำไปขายลดไว้แก่โจทก์โจทก์เรียกเก็บเงินตาม ตั๋วแลกเงินไม่ได้ ขอให้จำเลยชำระเงินตามตั๋วแลกเงินพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีตามที่ได้ตกลงกันไว้ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการเรียกดอกเบี้ยดังกล่าว ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินและท้ายฟ้องของโจทก์ยังได้แนบสำเนาสัญญาขายลดตั๋วแลก เงินมาด้วย แม้โจทก์ไม่บรรยายว่าฟ้องเรียกเงินตามตั๋วแลกเงินหรือตามสัญญาขายลดตั๋วเงิน ฟ้องโจทก์ก็แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตาม สัญญาขายลดตั๋วเงินและขอให้บังคับตามสัญญา ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะมิได้มอบอำนาจให้ ก. ผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์ซื้อขายลดตั๋วเงินแทนโจทก์ แต่โจทก์ก็มอบอำนาจให้ ก. ฟ้องคดีเกี่ยวกับการรับซื้อลดตั๋วเงินดังกล่าว ถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การซื้อขายลดตั๋วเงินนั้นแล้ว โจทก์ฟ้องบังคับฐานผิดสัญญาขายลดตั๋วเงิน ไม่ใช่ฟ้องบังคับตามตั๋วแลกเงิน จึงไม่จำต้องบอกกล่าวการไม่ใช้เงินไปยังจำเลยภายใน 4 วัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 963 และดอกเบี้ยต้องเป็นไปตามอัตราที่ตกลงกันไว้ มิใช่อัตราร้อยละ 5 ต่อปีตามมาตรา 968(2) ทั้งสัญญาขายลดตั๋วเงินไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2533
จำเลยออกเช็คผ่อนชำระค่าเช่าซื้อรถแทรกเตอร์ให้แก่โจทก์รวม 7 งวด งวดละฉบับ ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทุกฉบับ จำเลยได้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างโดยออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่โจทก์ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทอีก และโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว สัญญาเช่าซื้อย่อมเลิกกันนับแต่นั้นเมื่อเช็คพิพาททั้งสองฉบับจำเลยชำระให้ แก่โจทก์ก่อนเลิกสัญญากัน ถือได้ว่าเป็นค่าเช่าซื้อที่โจทก์ได้รับชำระไว้แล้วด้วยเช็คแทนเงิน หาใช่ค่าเช่าซื้อที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระและค้างชำระอยู่ไม่ แม้เช็คพิพาทจะรับเงินไม่ได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน มูลหนี้ตามเช็คก็ยังไม่ระงับจนกว่าจะได้ใช้เงินตามเช็คนั้นแล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดใช้หนี้ตามเช็คพิพาท เมื่อโจทก์นำเช็คพิพาทไปขายลดให้แก่ธนาคาร ธนาคารเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้และโจทก์ได้นำเงินไปชำระให้แก่ธนาคารแล้ว รับเช็คคืน โจทก์จึงกลับมาเป็นผู้ทรงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาททั้งสอง ฉบับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162/2533
เช็คที่ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก และด้านหน้าบนซ้ายของเช็คมีตราประทับเป็นอักษรภาษาอังกฤษว่า "เอ/ซีเปยี่โอนลี่"(A/CPAYEEONLY) เป็นเช็คเปลี่ยนมือไม่ได้ ผู้รับเงินจะต้องนำเข้าบัญชีของตน หากจะโอนให้ผู้อื่นได้ก็แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306 วรรคหนึ่ง ดังที่มาตรา 917 วรรคสอง ประกอบมาตรา 989บัญญัติไว้ ซึ่งต้องทำเป็นหนังสือจึงจะสมบูรณ์ และจะยกขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือไปยัง ลูกหนี้หรือลูกหนี้ยินยอมเป็นหนังสือในการโอนนั้น ดังนั้น แม้จำเลยที่ 3ผู้ทรงเช็คพิพาทจะได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมชำระหนี้ให้โจทก์ด้วย เช็คพิพาท และศาลพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวแล้วก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งการโอนเช็คพิพาทในคดีดังกล่าวไปให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้สั่งจ่ายทราบเป็นหนังสือ หรือจำเลยที่ 1 ที่ 2ได้ยินยอมเป็นหนังสือในการโอนนั้น โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้สั่งจ่ายซึ่งเป็นผู้เขียนข้อความทำนองเปลี่ยนมือไม่ได้ดังกล่าว จำเลยที่ 1ที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2521
กฎหมายมิได้บังคับให้ต้องนำผู้แปลเอกสารภาษาต่างประเทศมาสืบเพื่อรับรองความถูก ต้องของคำแปล เมื่อจำเลยเห็นว่าคำแปลตอนไหนไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไรจำเลยก็ชอบ ที่จะโต้แย้งหรือแสดงคำแปลที่ถูกต้องได้
การที่ โจทก์ผู้สั่งจ่ายและต้องรับผิดเมื่อจำเลยผู้จ่ายซึ่งได้รับรองตั๋วแลกเงิน แล้วไม่ยอมจ่ายเงินนั้น ได้เข้าถือเอาตั๋วแลกเงินโดยผู้รับเงินและตัวแทนสละตั๋วแลกเงินนั้นให้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 970 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาเงินตามตั๋วแลกเงินและดอกเบี้ยในจำนวนเงินนั้นคิด อัตราร้อยละห้าต่อปีนับแต่วันที่ได้ใช้เงินไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 969
เมื่อหนี้ตามตั๋วแลกเงินมีกำหนดระยะเวลาชำระแน่นอนอยู่แล้วโจทก์ไม่จำต้องบอกกล่าวทวงถามอีก
ก) ไล่เบี้ยได้เมื่อตั๋วเงินถึงกำหนดในกรณีไม่ใช้เงิน
ข) ไล่เบี้ยได้แม้ทั้งตั๋วเงินยังไม่ถึงกำหนดในกรณีดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(๑) ถ้าเขาบอกปัดไม่รับรองตั๋วเงิน
(๒) ถ้าผู้จ่ายหากจะได้รับรองหรือไม่ก็ตาม ตกเป็นคนล้มละลาย หรือได้งดเว้นการใช้หนี้ แม้การงดเว้นใช้หนี้นั้นจะมิได้มีคำพิพากษาเป็นหลักฐานก็ตาม หรือถ้าผู้จ่ายถูกยึดทรัพย์และการยึดทรัพย์นั้นไร้ผล
(๓) ถ้าผู้สั่งจ่ายตั๋วเงินชนิดไม่จำเป็นต้องให้ผู้ใดรับรองนั้นตกเป็นคนล้มละลาย
มาตรา ๙๖๐ การที่ตั๋วแลกเงินขาดรับรองหรือขาดใช้เงินนั้น ต้องทำให้เป็นหลักฐานตามแบบระเบียบด้วยเอกสารฉบับหนึ่ง เรียกว่าคำคัดค้าน
คำคัดค้านการไม่ใช้เงินต้องทำในวันซึ่งจะพึงใช้เงินตามตั๋วนั้น หรือวันใดวันหนึ่งภายในสามวันต่อแต่นั้นไป
คำคัดค้านการไม่รับรองต้องทำภายในจำกัดเวลาซึ่งกำหนดไว้ เพื่อการยื่นตั๋วเงินให้เขารับรอง หรือภายในสามวันต่อแต่นั้นไป
เมื่อมีคำคัดค้านการไม่รับรองขึ้นแล้วก็เป็นอันไม่ต้องยื่นเพื่อให้ใช้เงิน และไม่ต้องทำคำคัดค้านการไม่ใช้เงิน
ในกรณีทั้งหลายซึ่งกล่าวไว้ในมาตรา ๙๕๙ (ข) (๒) นั้น ท่านว่าผู้ทรงยังหาอาจจะใช้สิทธิไล่เบี้ยได้ไม่ จนกว่าจะได้ยื่นตั๋วเงินให้ผู้จ่ายใช้เงินและได้ทำคำคัดค้านขึ้นแล้ว
ในกรณีทั้งหลายดั่งกล่าวไว้ในมาตรา ๙๕๙ (ข) (๓) นั้น ท่านว่าถ้าเอาคำพิพากษาซึ่งสั่งให้ผู้สั่งจ่ายเป็นคนล้มละลายออกแสดง ก็เป็นการเพียงพอที่จะทำให้ผู้ทรงสามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยได้
มาตรา ๙๖๑ คำคัดค้านนั้นให้นายอำเภอ หรือผู้ทำการแทนนายอำเภอ หรือทนายความผู้ได้รับอนุญาตเพื่อการนี้เป็นผู้ทำ
รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจออกกฎข้อบังคับเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ อันว่าด้วยการออกใบอนุญาตและการทำคำคัดค้าน รวมทั้งกำหนดอัตราค่าฤชาธรรมเนียมอันเกี่ยวกับการนั้น
มาตรา ๙๖๒ ในคำคัดค้านนั้นนอกจากชื่อ ตำแหน่ง และลายมือชื่อของผู้ทำ ต้องมีสำเนาตั๋วเงินกับรายการสลักหลังทั้งหมดตรงถ้อยตรงคำกับระบุความดั่งจะ กล่าวต่อไปนี้ คือ
(๑) ชื่อ หรือยี่ห้อของบุคคลผู้คัดค้านและผู้ถูกคัดค้าน
(๒) มูล หรือเหตุที่ต้องทำคำคัดค้านตั๋วเงิน การทวงถามและคำตอบถ้ามี หรือข้อที่ว่าหาตัวผู้จ่ายหรือผู้รับรองไม่พบ
(๓) ถ้ามีการรับรอง หรือใช้เงินเพื่อแก้หน้า ให้แถลงลักษณะแห่งการเข้าแก้หน้าทั้งชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับรองหรือผู้ใช้ เงินเพื่อแก้หน้าและชื่อบุคคลซึ่งเขาเข้าแก้หน้านั้นด้วย
(๔) สถานที่และวันทำคำคัดค้าน
ให้ผู้ทำคำคัดค้านส่งมอบคำคัดค้านแก่ผู้ร้องขอให้ทำ และให้ผู้ทำคำคัดค้านรีบส่งคำบอกกล่าวการคัดค้านนั้นไปยังผู้ถูกคัดค้าน ถ้าทราบภูมิลำเนาก็ให้ส่งโดยจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ หรือส่งมอบไว้ ณ ภูมิลำเนาของผู้นั้นก็ได้ ถ้าไม่ทราบภูมิลำเนาก็ให้ปิดสำเนาคำคัดค้านไว้ยังที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ ที่ว่าการอำเภอประจำท้องที่อันผู้ถูกคัดค้านมีถิ่นที่อยู่ครั้งหลังที่สุด
มาตรา ๙๖๓ ผู้ทรงต้องให้คำบอกกล่าวการที่เขาไม่รับรองตั๋วแลกเงินหรือไม่ใช้ เงินนั้นไปยังผู้สลักหลังถัดตนขึ้นไปกับทั้งผู้สั่งจ่ายด้วยภายในเวลาสี่วัน ต่อจากวันคัดค้าน หรือต่อจากวันยื่นตั๋วในกรณีที่มีข้อกำหนดว่า “ไม่จำต้องมีคำคัดค้าน”
ผู้สลักหลังทุก ๆ คนต้องให้คำบอกกล่าวไปยังผู้สลักหลังถัดตนขึ้นไปภายในสองวัน ให้ทราบคำบอกกล่าวอันตนได้รับ จดแจ้งให้ทราบชื่อและสำนักของผู้ที่ได้ให้คำบอกกล่าวมาก่อน ๆ นั้นด้วย ทำเช่นนี้ติดต่อกันไปโดยลำดับจนกระทั่งถึงผู้สั่งจ่าย อนึ่งจำกัดเวลาซึ่งกล่าวมานั้น ท่านนับแต่เมื่อคนหนึ่ง ๆ ได้รับคำบอกกล่าวแต่คนก่อน
ถ้าผู้สลักหลังคนหนึ่งคนใดมิได้ระบุสำนักของตนไว้ก็ดี หรือได้ระบุแต่อ่านไม่ได้ความก็ดี ท่านว่าสุดแต่คำบอกกล่าวได้ส่งไปยังผู้สลักหลังคนก่อนก็เป็นอันพอแล้ว
บุคคลผู้จะต้องให้คำบอกกล่าว จะทำคำบอกกล่าวเป็นรูปอย่างใดก็ได้ทั้งสิ้นแม้เพียงแต่ด้วยส่งตั๋วแลกเงินคืนก็ใช้ได้ อนึ่งต้องพิสูจน์ได้ว่าได้ส่งคำบอกกล่าวภายในเวลากำหนด
ถ้าส่งคำบอกกล่าวเป็นหนังสือจดทะเบียนไปรษณีย์ หากว่าหนังสือนั้นได้ส่งไปรษณีย์ภายในเวลากำหนดดั่งกล่าวมานั้นไซร้ ท่านให้ถือว่าคำบอกกล่าวเป็นอันได้ส่งภายในจำกัดเวลาบังคับแล้ว
บุคคลซึ่งมิได้ให้คำบอกกล่าวภายในจำกัดเวลาดั่งได้ว่ามานั้นหาเสียสิทธิไล่เบี้ยไม่แต่จะต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่ความประมาทเลินเล่อของตน แต่ท่านมิให้คิดค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าจำนวนในตั๋วแลกเงิน
มาตรา ๙๖๔ ด้วยข้อกำหนดเขียนลงไว้ว่า “ไม่จำต้องมีคำคัดค้าน” ก็ดี “ไม่มีคัดค้าน” ก็ดี หรือสำนวนอื่นใดทำนองนั้นก็ดี ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังจะยอมปลดเปลื้องผู้ทรงจากการทำคำคัดค้านการไม่รับรองหรือการไม่ใช้เงินก็ได้ เพื่อตนจะได้ใช้สิทธิไล่เบี้ย
ข้อกำหนดอันนี้ ย่อมไม่ปลดผู้ทรงให้พ้นจากหน้าที่นำตั๋วเงินยื่นภายในเวลากำหนด หรือจากหน้าที่ให้คำบอกกล่าวตั๋วเงินขาดความเชื่อถือแก่ผู้สลักหลังคนก่อน หรือผู้สั่งจ่ายอนึ่งหน้าที่นำสืบว่าไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกำหนดเวลาจำกัด นั้น ย่อมตกอยู่แก่บุคคลผู้แสวงจะใช้ความข้อนั้นเป็นข้อต่อสู้ผู้ทรงตั๋วแลกเงิน
ข้อกำหนดอันนี้ ถ้าผู้สั่งจ่ายเป็นผู้เขียนลงไปแล้ว ย่อมเป็นผลตลอดถึงคู่สัญญาทั้งปวงบรรดาที่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้น ถ้าและทั้งมีข้อกำหนดดังนี้แล้ว ผู้ทรงยังขืนทำคำคัดค้านไซร้ ท่านว่าผู้ทรงต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเพื่อการนั้น หากว่าข้อกำหนดนั้นผู้สลักหลังเป็นผู้เขียนลง และถ้ามีคำคัดค้านทำขึ้นไซร้ ท่านว่าค่าใช้จ่ายในการคัดค้านนั้นอาจจะเรียกเอาใช้ได้จากคู่สัญญาอื่น ๆ บรรดาที่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้น
มาตรา ๙๖๕ ในกรณีตั๋วเงินภายในประเทศ ถ้าผู้จ่ายบันทึกลงไว้ในตั๋วแลกเงินเป็นข้อความบอกปัดไม่รับรองหรือไม่ยอม ใช้เงิน ทั้งลงวันที่บอกปัดลงลายมือชื่อไว้ด้วยแล้วท่านว่าคำคัดค้านนั้นก็เป็นอัน ไม่จำเป็นต้องทำและผู้ทรงต้องส่งคำบอกกล่าวขาดความเชื่อถือไปยังบุคคลซึ่งตน จำนงจะไล่เบี้ยภายในสี่วันต่อจากวันเขาบอกปัดไม่รับรองนั้น
มาตรา ๙๖๖ คำบอกกล่าวขาดความเชื่อถือในกรณีไม่รับรองหรือไม่ใช้เงินนั้นต้องมีรายการคือ วันที่ลงในตั๋วแลกเงิน ชื่อหรือยี่ห้อของผู้สั่งจ่ายและของผู้จ่าย จำนวนเงินในตั๋วเงินวันถึงกำหนดใช้เงิน ชื่อหรือยี่ห้อและสำนักของผู้ทรงตั๋วเงิน วันที่คัดค้านหรือวันที่บอกปัดไม่รับรองหรือไม่ใช้เงิน กับข้อความว่าเขาไม่รับรองหรือไม่ใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น
มาตรา ๙๖๗ ในเรื่องตั๋วแลกเงินนั้น บรรดาบุคคลผู้สั่งจ่ายก็ดีรับรองก็ดี สลักหลังก็ดี หรือรับประกันด้วยอาวัลก็ดี ย่อมต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง
ผู้ทรงย่อมมีสิทธิว่ากล่าวเอาความแก่บรรดาบุคคลเหล่านี้เรียงตัวหรือรวมกันก็ได้โดยมิพักต้องดำเนินตามลำดับที่คนเหล่านั้นมาต้องผูกพัน
สิทธิเช่นเดียวกันนี้ ย่อมมีแก่บุคคลทุกคนซึ่งได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินและเข้าถือเอาตั๋วเงินนั้น ในการที่จะใช้บังคับเอาแก่ผู้ที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนตน
การว่ากล่าวเอาความแก่คู่สัญญาคนหนึ่ง ซึ่งต้องรับผิดย่อมไม่ตัดหนทางที่จะว่ากล่าวเอาความแก่คู่สัญญาคนอื่น ๆ แม้ทั้งจะเป็นฝ่ายอยู่ในลำดับภายหลังบุคคลที่ได้ว่ากล่าวเอาความมาก่อน
มาตรา ๙๖๘ ผู้ทรงจะเรียกร้องเอาเงินใช้จากบุคคลซึ่งตนใช้สิทธิไล่เบี้ยนั้นก็ได้ คือ
(๑) จำนวนเงินในตั๋วแลกเงินซึ่งเขาไม่รับรองหรือไม่ใช้กับทั้งดอกเบี้ยด้วย หากว่ามีข้อกำหนดไว้ว่าให้คิดดอกเบี้ย
(๒) ดอกเบี้ยอัตราร้อยละห้าต่อปีนับแต่วันถึงกำหนด
(๓) ค่าใช้จ่ายในการคัดค้าน และในการส่งคำบอกกล่าวของผู้ทรงไปยังผู้สลักหลังถัดจากตนขึ้นไปและผู้สั่งจ่าย กับทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
(๔) ค่าชักส่วนลดซึ่งถ้าไม่มีข้อตกลงกันไว้ ท่านให้คิดร้อยละ ๑/๖ ในต้นเงินอันจะพึงใช้ตามตั๋วเงิน และไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไร ท่านมิให้คิดสูงกว่าอัตรานี้
ถ้าใช้สิทธิไล่เบี้ยก่อนถึงกำหนด ท่านให้หักลดจำนวนเงินในตั๋วเงินลงให้ร้อยละห้า
มาตรา ๙๖๙ คู่สัญญาฝ่ายซึ่งเข้าถือเอาและใช้เงินตามตั๋วแลกเงินอาจจะเรียกเอาเงินใช้จากคู่สัญญาทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดต่อตนได้ คือ
(๑) เงินเต็มจำนวนซึ่งตนได้ใช้ไป
(๒) ดอกเบี้ยในจำนวนเงินนั้น คิดอัตราร้อยละห้าต่อปีนับแต่วันที่ได้ใช้เงินไป
(๓) ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อันตนต้องออกไป
(๔) ค่าชักส่วนลดจากต้นเงินจำนวนในตั๋วแลกเงินตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๙๖๘ อนุมาตรา (๔)
มาตรา ๙๗๐ คู่สัญญาทุกฝ่ายซึ่งต้องรับผิดและถูกไล่เบี้ยหรืออยู่ในฐานะจะถูกไล่เบี้ยได้นั้น อาจจะใช้เงินแล้วเรียกให้เขาสละตั๋วเงินให้แก่ตนได้รวมทั้งคำคัดค้านและบัญชีรับเงินด้วย
ผู้สลักหลังทุกคนซึ่งเข้าถือเอาและใช้เงินตามตั๋วแลกเงินแล้ว จะขีดฆ่าคำสลักหลังของตนเองและของเหล่าผู้สลักหลังภายหลังตนนั้นเสียก็ได้
มาตรา ๙๗๑ ผู้สั่งจ่ายก็ดี ผู้รับรองก็ดี ผู้สลักหลังคนก่อนก็ดี ซึ่งเขาสลักหลังหรือโอนตั๋วแลกเงินให้อีกทอดหนึ่งนั้น หามีสิทธิจะไล่เบี้ยเอาแก่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตนย่อมต้องรับผิดต่อเขาอยู่ก่อนแล้วตามตั๋วเงินนั้นได้ไม่
มาตรา ๙๗๒ ในกรณีใช้สิทธิไล่เบี้ยภายหลังการรับรองแต่บางส่วน ท่านว่าคู่สัญญาฝ่ายซึ่งใช้เงินอันเป็นจำนวนเขาไม่รับรองนั้น อาจจะเรียกให้จดระบุความที่ใช้เงินนี้ลงไว้ในตั๋วเงินและเรียกให้ทำใบรับให้แก่ตนได้ อนึ่งผู้ทรงตั๋วเงินต้องให้สำเนาตั๋วเงินอันรับรองว่าถูกต้องแก่คู่สัญญาฝ่ายนั้นพร้อมทั้งคำคัดค้านด้วย เพื่อให้เขาสามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยในภายหลังได้สืบไป
มาตรา ๙๗๓ เมื่อกำหนดเวลาจำกัดซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้ได้ล่วงพ้นไปแล้ว คือ
(๑) กำหนดเวลาสำหรับยื่นตั๋วแลกเงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อได้เห็น หรือในระยะเวลาอย่างใดอย่างหนึ่งภายหลังได้เห็น
(๒) กำหนดเวลาสำหรับทำคำคัดค้านการไม่รับรองหรือการไม่ใช้เงิน
(๓) กำหนดเวลาสำหรับยื่นตั๋วเพื่อให้ใช้เงิน ในกรณีที่มีข้อกำหนดว่า “ไม่จำต้องมีคำคัดค้าน”
ท่านว่าผู้ทรงย่อมสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่เหล่าผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่าย และคู่สัญญาอื่น ๆ ผู้ต้องรับผิด เว้นแต่ผู้รับรอง
อนึ่ง ถ้าไม่ยื่นตั๋วแลกเงินเพื่อให้เขารับรองภายในเวลาจำกัดดั่งผู้สั่งจ่ายได้กำหนดไว้ ท่านว่าผู้ทรงย่อมเสียสิทธิที่จะไล่เบี้ยทั้งเพื่อการที่เขาไม่ใช้เงินและเพื่อการที่เขาไม่รับรองเว้นแต่จะปรากฏจากข้อกำหนดว่า ผู้สั่งจ่ายหมายเพียงแต่จะปลดตนเองให้พ้นจากประกันการรับรอง
ถ้าข้อกำหนดจำกัดเวลายื่นตั๋วแลกเงินนั้นมีอยู่ที่คำสลักหลัง ท่านว่าเฉพาะแต่ผู้สลักหลังเท่านั้นจะอาจเอาประโยชน์ในข้อกำหนดนั้นได้
มาตรา ๙๗๔ การยื่นตั๋วแลกเงินก็ดี การทำคำคัดค้านก็ดี ถ้ามีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้มาขัดขวางมิให้ทำได้ภายในกำหนดเวลา จำกัดสำหรับการนั้นไซร้ ท่านให้ยืดกำหนดเวลาออกไปอีกได้
เหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ดั่งว่ามานั้น ผู้ทรงต้องบอกกล่าวแก่ผู้สลักหลังคนถัดตนขึ้นไปโดยไม่ชักช้า และคำบอกกล่าวนั้นต้องเขียนระบุลงในตั๋วเงิน หรือใบประจำต่อต้องลงวันและลงลายมือชื่อของผู้ทรง การอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวนี้ ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติ มาตรา ๙๖๓
เมื่อเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้นั้นสุดสิ้นลงแล้ว ผู้ทรงต้องยื่นตั๋วเงินให้เขารับรองหรือใช้เงินโดยไม่ชักช้า และถ้าจำเป็นก็ทำคำคัดค้านขึ้น
ถ้าเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้นั้น ยังคงมีอยู่ต่อไปจนเป็นเวลากว่าสามสิบวันภายหลังตั๋วเงินถึงกำหนดไซร้ ท่านว่าจะใช้สิทธิไล่เบี้ยก็ได้ และถ้าเช่นนั้นการยื่นตั๋วเงินก็ดี การทำคำคัดค้านก็ดี เป็นอันไม่จำเป็นต้องทำ
ใน ส่วนตั๋วเงินชนิดที่ให้ใช้เงินเมื่อได้เห็น หรือให้ใช้เงินในระยะเวลาอย่างหนึ่งอย่างใดภายหลังได้เห็นนั้น กำหนดสามสิบวันเช่นว่ามานี้ ท่านให้นับแต่วันที่ผู้ทรงได้ให้คำบอกกล่าวเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสีย ได้นั้นแก่ผู้สลักหลังถัดตนขึ้นไป และถึงแม้ว่าจะเป็นการก่อนล่วงกำหนดเวลายื่นตั๋วเงิน ก็ให้นับเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2551
การออกตั๋วสัญญาใช้เงิน และผู้ออกคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี เป็นการตกลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 911, 968 (1) ประกอบด้วยมาตรา 985 ซึ่งกฎหมายมิได้วางข้อจำกัดอันใดไว้จึงแล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน จึงมิใช่การให้กู้ยืมเงินตามความหมายของ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ฯ การที่ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ก็มิใช่กรณีเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว ทั้งไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 654 ตั๋วสัญญาใช้เงินและดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินตามฟ้องจึงไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2551
บริษัท ร. นำเช็คพิพาทไปขายลดแก่โจทก์โดยลงลายมือชื่อสลักหลัง โจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายและบริษัท ร. ผู้สลักหลังจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 914 และมาตรา 967 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 989 อันถือได้ว่าเป็นความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ดังนั้น เมื่อโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งถือได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่อีก ประการหนึ่ง โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้บริษัท ร. ชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้บริษัท ร. รับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องต่อจำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายให้รับผิดต่อโจทก์ใน มูลหนี้ตามเช็คพิพาทย่อมหมดสิ้นไปด้วย ทั้งนี้เพราะสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทของโจทก์ได้ระงับสิ้นไป แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6054/2550
การที่ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้จ่ายได้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วแลกเงินจึงเป็นผู้รับรองตาม ป.พ.พ. มาตรา 927 ต้องผูกพันในอันจะจ่ายเงินจำนวนที่รับรองตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตนตาม มาตรา 937 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่าย จำเลยที่ 1 ไม่ได้อยู่ในฐานะที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ตามมาตรา 967 วรรคสาม ดังนั้นเมื่อธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ได้จ่ายเงินให้แก่บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงินทั้ง 92 ฉบับ ไปแล้ว ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) จึงหามีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายได้ไม่ เมื่อไม่มีสิทธิไล่เบี้ยแล้ว ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ก็ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องที่จะโอนให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจะได้สละประเด็นข้อพิพาทข้อนี้ไปแล้ว แต่จำเลยทั้งสองก็มีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2550
ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) บัญญัติว่า คำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาญา จักรหรือไม่ ตามบทบัญญัติดังกล่าว คำว่า มูลคดี หมายถึง ต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้อง ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทระบุชื่อ อ. เป็นผู้รับเงินเพื่อคืนเงินที่ อ. ได้ร่วมลงทุนซื้อที่ดินกับจำเลยจำนวน 140,000 บาท ให้แก่ อ. เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนดวันสั่งจ่าย อ. นำไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้จะถือว่า อ. เป็นผู้เสียหายในขณะที่เช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่า อ. ได้โอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ โดยสลักหลังเช็คพิพาทและส่งมอบแก่โจทก์ โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงและมีสิทธิเช่นเดียวกับ อ. ในอันที่จะบังคับเอาแก่จำเลยซึ่งมีความผูกพันอยู่แล้วก่อนตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 967 วรรคสาม ประกอบมาตรา 989 วรรคแรก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายให้ชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์ได้ ความรับผิดของจำเลยเกิดขึ้นเมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนั้น สถานที่ที่เช็คถูกปฏิเสธการจ่ายเงินย่อมเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดด้วย เมื่อธนาคารตามเช็คที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงินตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น ย่อมถือได้ว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในเขตศาลชั้นต้น โจทก์จึงมีอำนาจเสนอคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4789/2549
ตามตั๋วสัญญาใช้เงินระบุวันออกตั๋วคือวันที่ 30 กันยายน 2540 วันถึงกำหนดใช้เงินวันที่ 31 ตุลาคม 2540 กับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ BBL MOR +1 ต่อปี เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยออกมีข้อกำหนดให้คิดดอกเบี้ยได้ และมิได้ระบุว่าให้คิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันใด จึงต้องคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวนับแต่วัน ที่ลงในตั๋ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 911, 968, 985 เมื่อถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2540 จำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดทันทีตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง โดยเจ้าหนี้ไม่จำต้องบอกกล่าวหรือทวงถามก่อนแต่อย่างใด เมื่อมีการโอนสิทธิเรียกร้องนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ผู้รับโอนมีฐานะเป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้เดิมจึงมีสิทธิเรียกร้องตามมูล หนี้ที่มีอยู่ทั้งหมดรวมทั้งอุปกรณ์แห่งหนี้จากจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4264/2548
เช็คเป็นเอกสารเปลี่ยนมือ เมื่อจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์โดยมิได้ระบุว่าจ่ายให้โจทก์ในฐานะที่ โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คตามกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คโดยชอบจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องในนามของโจทก์ เองโดยไม่จำต้องระบุต่อท้ายชื่อโจทก์ว่าในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. อย่างไรก็ดี คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตาม สัญญาประนีประนอมยอมความเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 และ 2 ซึ่งถือว่าเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวระบุว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คตามฟ้องให้ แก่โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. จึงถือว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่แนบมาท้ายฟ้องอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7988/2542
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อแลกเงินสดจากโจทก์แต่ข้อเท็จจริง ฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงแลกเช็คกันเพื่อให้แต่ละฝ่ายนำไปแลกเงิน สดจากบุคคลภายนอกและเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายก็เรียกเก็บเงินไม่ได้โดยโจทก์มิ ได้ชำระเงินตามเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายแต่อย่างใด ดังนั้นการที่จำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์จึงไม่ใช่การออกเช็คเพื่อ แลกเงินสดจากโจทก์ตามที่ฟ้อง โจทก์จึงมิใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้เช็คพิพาทจะเป็นเช็คผู้ถือและอยู่ในความครอบครองของโจทก์ก็ตาม แต่ฐานะผู้ทรงโดยการถือเช็คผู้ถือย่อมต้องเป็นการได้เช็คมาไว้ในความยึดถือ ที่เป็นไปโดยชอบด้วย เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามเช็คพิพาทต่อ โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7336/2540
แม้โจทก์จะฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามสัญญารับชำระหนี้หรือขายลดตั๋วสัญญา ใช้เงินที่ทำไว้ต่อโจทก์ โดยมิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินก็ตาม แต่จำเลยได้ขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมในฐานะผู้ออกตั๋วเข้ามาเป็นจำเลยร่วม และจำเลยร่วมได้ให้การต่อสู้ปฏิเสธความรับผิดที่จะชำระเงินตามตั๋วให้แก่ จำเลย คดีจึงมีข้อพิพาทเกี่ยวกับมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินด้วย
จำเลยร่วมได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งมีธนาคารโจทก์สาขา จ. เป็นผู้รับอาวัล ให้แก่จำเลย โดยสัญญาว่าจะใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้ ณ ที่ธนาคารโจทก์สาขา จ. ต่อมาก่อนวันถึงกำหนดใช้เงิน จำเลยได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวไปทำสัญญารับชำระหนี้หรือขายลดให้แก่ ธนาคารโจทก์สาขา พ. โดยสัญญาว่า ถ้าเรียกเก็บเงินตามตั๋วไม่ได้ จำเลยยอมรับผิดชำระเงินที่ปรากฏในตั๋วพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทโจทก์เรียกเก็บเงินไม่ได้ แม้จะเป็นเพราะศาลชั้นต้นสั่งอายัดชั่วคราวไว้ในคดีเรื่องอื่นตามคำร้องขอ ของจำเลยร่วมก็ตาม ก็ถือว่าจำเลยผิดสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินต่อโจทก์ จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อย ละ 15ต่อปี ตามสัญญาให้แก่โจทก์
ตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับพิพาทมีโจทก์เป็นผู้รับอาวัล ดังนั้น หากจำเลยได้ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทให้แก่โจทก์ไปตามที่ได้ตกลงไว้ ในสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยก็จะได้ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทมาไว้ในครอบครองในฐานะเป็นผู้รับเงินและ เป็นผู้ทรงตั๋วมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินจากโจทก์ผู้รับอาวัลและจำเลยร่วมซึ่ง เป็นผู้ออกตั๋วได้อีก เช่นนี้ เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยร่วมชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้ เงินพิพาทให้แก่โจทก์และคดีถึงที่สุดไปแล้ว จึงต้องถือว่าเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่จำเลยไปตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน เป็นการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทให้แก่จำเลยซึ่งเป็นผู้ทรงและโจทก์ ได้ใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยร่วมที่ 1 และที่ 2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคสามแล้ว ตั้งแต่วันฟ้อง ฉะนั้น นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จำเลยจึงไม่จำต้องชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทให้แก่โจทก์อีก ส่วนดอกเบี้ยก่อนฟ้องตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อจำเลยผิดสัญญาขายลดตั๋วเงิน จำเลยจึงยังคงต้องรับผิดชำระให้แก่โจทก์ ส่วนจำเลยร่วมคงรับผิดชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทให้แก่โจทก์ตั้งแต่ วันฟ้องซึ่งถือว่าเป็นวันที่โจทก์ได้ใช้สิทธิไล่เบี้ย ฉะนั้นดอกเบี้ยก่อนฟ้องจำเลยร่วมจึงไม่ต้องรับผิดชำระให้แก่โจทก์
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทมิได้ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้ และอัตราดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 968(2) ประกอบมาตรา 985บัญญัติให้มีสิทธิไล่เบี้ยเอาดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละ 5 ต่อปี การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินและ ต้องรับผิดในมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยร่วมจะมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เรื่องดังกล่าวนี้เกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยว ด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2537
โจทก์ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจเงินทุน ในระหว่างที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ธนาคาร แห่งประเทศไทยกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากลูกค้าได้ในอัตรา ไม่เกินร้อยละ18.5 ต่อปี ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยออกให้แก่โจทก์สองฉบับมีข้อกำหนดให้คิดดอกเบี้ยได้ ในอัตราร้อยละ18 และ 18.5 ต่อปีตามลำดับ และมิได้ระบุไว้ว่าให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันใด จึงต้องคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับดังกล่าว นับแต่วันที่ลงในตั๋วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 911,968,695เมื่อได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมตั๋วสัญญาใช้เงินดัง กล่าวและครบกำหนดใช้เงินจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ผู้ทรงจึงมีสิทธิคิด ดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวจากต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินต่อไปจนกว่าจะชำระ เสร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2534
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันออกตั๋วแลกเงินแล้วนำไปขายลดตั๋วเงินไว้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินไม่ได้ โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามตั๋วแลกเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อย ละ 17.5 ต่อปี ตามที่ได้ตกลงกันไว้กับโจทก์ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการเรียกดอกเบี้ยใน อัตราสูงดังกล่าวเรียกตามสัญญาขายลดตั๋วเงินนั่นเอง ทั้งท้ายฟ้องของโจทก์ยังได้แนบสำเนาสัญญาขายลดตั๋วแลกเงินของจำเลยทั้งสอง ไว้อีกด้วย ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องบังคับฐานผิดสัญญาขายลดตั๋วเงิน ไม่ใช่ฟ้องบังคับตามตั๋ว แลกเงิน จึงนำบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 963 และ 973มาใช้บังคับไม่ได้ดังนั้น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวการไม่ใช้เงินไปยัง จำเลยที่ 2 ภายใน 4 วันก่อน โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ตามสัญญาขายลดตั๋วเงิน ดอกเบี้ยจึงต้องเป็นไปตามอัตราที่ตกลงไว้ จำเลยที่ 2 จะให้บังคับในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 968(2) ไม่ได้ จำเลยที่ 2 ผิดสัญญาขายลดตั๋วเงิน โจทก์เรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญาซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2534
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยออกตั๋วแลกเงินแล้วนำไปขายลดไว้แก่โจทก์โจทก์เรียกเก็บเงินตาม ตั๋วแลกเงินไม่ได้ ขอให้จำเลยชำระเงินตามตั๋วแลกเงินพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีตามที่ได้ตกลงกันไว้ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการเรียกดอกเบี้ยดังกล่าว ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินและท้ายฟ้องของโจทก์ยังได้แนบสำเนาสัญญาขายลดตั๋วแลก เงินมาด้วย แม้โจทก์ไม่บรรยายว่าฟ้องเรียกเงินตามตั๋วแลกเงินหรือตามสัญญาขายลดตั๋วเงิน ฟ้องโจทก์ก็แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตาม สัญญาขายลดตั๋วเงินและขอให้บังคับตามสัญญา ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะมิได้มอบอำนาจให้ ก. ผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์ซื้อขายลดตั๋วเงินแทนโจทก์ แต่โจทก์ก็มอบอำนาจให้ ก. ฟ้องคดีเกี่ยวกับการรับซื้อลดตั๋วเงินดังกล่าว ถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การซื้อขายลดตั๋วเงินนั้นแล้ว โจทก์ฟ้องบังคับฐานผิดสัญญาขายลดตั๋วเงิน ไม่ใช่ฟ้องบังคับตามตั๋วแลกเงิน จึงไม่จำต้องบอกกล่าวการไม่ใช้เงินไปยังจำเลยภายใน 4 วัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 963 และดอกเบี้ยต้องเป็นไปตามอัตราที่ตกลงกันไว้ มิใช่อัตราร้อยละ 5 ต่อปีตามมาตรา 968(2) ทั้งสัญญาขายลดตั๋วเงินไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2533
จำเลยออกเช็คผ่อนชำระค่าเช่าซื้อรถแทรกเตอร์ให้แก่โจทก์รวม 7 งวด งวดละฉบับ ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทุกฉบับ จำเลยได้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างโดยออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่โจทก์ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทอีก และโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว สัญญาเช่าซื้อย่อมเลิกกันนับแต่นั้นเมื่อเช็คพิพาททั้งสองฉบับจำเลยชำระให้ แก่โจทก์ก่อนเลิกสัญญากัน ถือได้ว่าเป็นค่าเช่าซื้อที่โจทก์ได้รับชำระไว้แล้วด้วยเช็คแทนเงิน หาใช่ค่าเช่าซื้อที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระและค้างชำระอยู่ไม่ แม้เช็คพิพาทจะรับเงินไม่ได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน มูลหนี้ตามเช็คก็ยังไม่ระงับจนกว่าจะได้ใช้เงินตามเช็คนั้นแล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดใช้หนี้ตามเช็คพิพาท เมื่อโจทก์นำเช็คพิพาทไปขายลดให้แก่ธนาคาร ธนาคารเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้และโจทก์ได้นำเงินไปชำระให้แก่ธนาคารแล้ว รับเช็คคืน โจทก์จึงกลับมาเป็นผู้ทรงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาททั้งสอง ฉบับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162/2533
เช็คที่ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก และด้านหน้าบนซ้ายของเช็คมีตราประทับเป็นอักษรภาษาอังกฤษว่า "เอ/ซีเปยี่โอนลี่"(A/CPAYEEONLY) เป็นเช็คเปลี่ยนมือไม่ได้ ผู้รับเงินจะต้องนำเข้าบัญชีของตน หากจะโอนให้ผู้อื่นได้ก็แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306 วรรคหนึ่ง ดังที่มาตรา 917 วรรคสอง ประกอบมาตรา 989บัญญัติไว้ ซึ่งต้องทำเป็นหนังสือจึงจะสมบูรณ์ และจะยกขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือไปยัง ลูกหนี้หรือลูกหนี้ยินยอมเป็นหนังสือในการโอนนั้น ดังนั้น แม้จำเลยที่ 3ผู้ทรงเช็คพิพาทจะได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมชำระหนี้ให้โจทก์ด้วย เช็คพิพาท และศาลพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวแล้วก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งการโอนเช็คพิพาทในคดีดังกล่าวไปให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้สั่งจ่ายทราบเป็นหนังสือ หรือจำเลยที่ 1 ที่ 2ได้ยินยอมเป็นหนังสือในการโอนนั้น โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้สั่งจ่ายซึ่งเป็นผู้เขียนข้อความทำนองเปลี่ยนมือไม่ได้ดังกล่าว จำเลยที่ 1ที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2521
กฎหมายมิได้บังคับให้ต้องนำผู้แปลเอกสารภาษาต่างประเทศมาสืบเพื่อรับรองความถูก ต้องของคำแปล เมื่อจำเลยเห็นว่าคำแปลตอนไหนไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไรจำเลยก็ชอบ ที่จะโต้แย้งหรือแสดงคำแปลที่ถูกต้องได้
การที่ โจทก์ผู้สั่งจ่ายและต้องรับผิดเมื่อจำเลยผู้จ่ายซึ่งได้รับรองตั๋วแลกเงิน แล้วไม่ยอมจ่ายเงินนั้น ได้เข้าถือเอาตั๋วแลกเงินโดยผู้รับเงินและตัวแทนสละตั๋วแลกเงินนั้นให้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 970 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาเงินตามตั๋วแลกเงินและดอกเบี้ยในจำนวนเงินนั้นคิด อัตราร้อยละห้าต่อปีนับแต่วันที่ได้ใช้เงินไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 969
เมื่อหนี้ตามตั๋วแลกเงินมีกำหนดระยะเวลาชำระแน่นอนอยู่แล้วโจทก์ไม่จำต้องบอกกล่าวทวงถามอีก