มาตรา ๑๒๐๖ กรรมการต้องจัดให้ถือบัญชีซึ่งกล่าวต่อไปนี้ไว้ให้ถูกถ้วนจริง ๆ คือ
(๑) จำนวนเงินที่บริษัทได้รับและได้จ่าย ทั้งรายการอันเป็นเหตุให้รับหรือจ่ายเงินทุกรายไป
(๒) สินทรัพย์และหนี้สินของบริษัท
มาตรา ๑๒๐๗ กรรมการต้องจัดให้จดบันทึกรายงานการประชุมและข้อมติทั้งหมดของที่ ประชุมผู้ถือหุ้นและของที่ประชุมกรรมการลงไว้ในสมุดโดยถูกต้อง สมุดนี้ให้เก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานที่ได้จดทะเบียนของบริษัทบันทึกเช่นนั้นอย่างหนึ่งอย่างใด เมื่อได้ลงลายมือชื่อของผู้เป็นประธานแห่งการประชุมซึ่งได้ลงมติหรือซึ่งได้ ดำเนินการงานประชุมก็ดี หรือได้ลงลายมือชื่อของผู้เป็นประธานแห่งการประชุมถัดจากครั้งนั้นมาก็ดี ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นหลักฐานอันถูกต้องแห่งข้อความที่ได้จดบันทึก ลงในสมุดนั้น ๆ และให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าการลงมติและการดำเนินของที่ประชุมอันได้จดบันทึก ไว้นั้นได้เป็นไปโดยชอบ
ผู้ถือหุ้นคนใดจะขอตรวจเอกสารดั่งกล่าวมาข้างต้นในเวลาใดเวลาหนึ่งระหว่างเวลาทำการงานก็ได้
มาตรา ๑๒๐๘ ผู้สอบบัญชีนั้น จะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทก็ได้ แต่บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการงานที่บริษัททำโดยสถานอื่นอย่างหนึ่งอย่างใด นอกจากเป็นแต่ผู้ถือหุ้นในบริษัทเท่านั้นแล้ว ท่านว่าจะเลือกเอามาเป็นตำแหน่งผู้สอบบัญชีหาได้ไม่ กรรมการก็ดี หรือผู้อื่นซึ่งเป็นตัวแทนหรือเป็นลูกจ้างของบริษัทก็ดี เวลาอยู่ในตำแหน่งนั้น ๆ ก็จะเลือกเอามาเป็นตำแหน่งผู้สอบบัญชีของบริษัทหาได้ไม่
มาตรา ๑๒๐๙ ผู้สอบบัญชีนั้น ให้ที่ประชุมสามัญเลือกตั้งทุกปี
ผู้สอบบัญชีคนซึ่งออกไปนั้นจะเลือกกลับเข้ารับตำแหน่งอีกก็ได้
มาตรา ๑๒๑๐ ผู้สอบบัญชีควรจะได้สินจ้างเท่าใด ให้ที่ประชุมใหญ่กำหนด
มาตรา ๑๒๑๑ ถ้ามีตำแหน่งว่างลงในจำนวนผู้สอบบัญชีให้กรรมการนัดเรียกประชุมวิสามัญ เพื่อให้เลือกตั้งขึ้นใหม่ให้ครบจำนวน
มาตรา ๑๒๑๒ ถ้ามิได้เลือกตั้งผู้สอบบัญชีโดยวิธีดั่งกล่าวมา เมื่อผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าห้าคนร้องขอ ก็ให้ศาลตั้งผู้สอบบัญชีประจำปีนั้น และกำหนดสินจ้างให้ด้วย
มาตรา ๑๒๑๓ ให้ผู้สอบบัญชีทุกคนเข้าตรวจสอบสรรพสมุดและบัญชีของบริษัทในเวลาอันสมควรได้ทุกเมื่อ และในการอันเกี่ยวด้วยสมุดและบัญชีเช่นนั้นให้ไต่ถามสอบสวนกรรมการ หรือผู้อื่น ๆ ซึ่งเป็นตัวแทน หรือเป็นลูกจ้างของบริษัทได้ไม่ว่าคนหนึ่งคนใด
มาตรา ๑๒๑๔ ผู้สอบบัญชีต้องทำรายงานว่าด้วยงบดุลและบัญชียื่นต่อที่ประชุมสามัญ
ผู้สอบบัญชีต้องแถลงในรายงานเช่นนั้นด้วยว่าตนเห็นว่างบดุลได้ทำโดยถูกถ้วนควร ฟังว่าสำแดงให้เห็นการงานของบริษัทที่เป็นอยู่ตามจริงและถูกต้องหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2541
โจทก์จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการของบริษัท ร.ข้อบังคับของบริษัทร. ระบุว่าการประชุมกรรมการต้องมีคณะกรรมการเข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึง จะเป็นองค์ประชุมปรึกษากิจการได้แต่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า บริษัท ร. มีกรรมการรวม4 คน การปรึกษากิจการระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2จึงครบเป็นองค์ประชุมตามข้อบังคับของบริษัทแล้ว จำเลยหาได้ให้การต่อสู้คดีว่ามีการเรียกประชุมไม่ การที่จำเลยนำสืบว่า มีการนัดเรียกหรือประชุมกรรมการก่อนจึงรับฟังไม่ได้ดังนั้น เมื่อการนัดเรียกในการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นฝ่าฝืนต่อข้อบังคับของ บริษัทและฝ่าฝืนต่อกฎหมายแล้วการประชุมดังกล่าวจึงเป็นการประชุมไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2098/2525
การที่ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิเข้าไปตรวจดูเอกสารต่างๆของบริษัทตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1207 นั้นหมายถึงให้เข้าไปตรวจดูเอกสารเกี่ยวกับการจดบันทึกรายงานการประชุมและ ข้อมติทั้งหมดเท่านั้นไม่ได้หมายถึงให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิตรวจบัญชีของบริษัท หรือมีสิทธิเข้าตรวจกิจการของบริษัทแต่อย่างใดผู้ถือหุ้นจึงมิอาจเข้าไปใน บริษัทเพื่อตรวจสอบบัญชีและตรวจกิจการโดยลำพังได้ดังนั้นเมื่อคนยามเฝ้า ประตูไม่ยอมให้ผู้ถือหุ้นเข้าไปในบริษัทตามคำสั่งของกรรมการผู้จัดการโดยมิ ได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้ผู้ถือหุ้นกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายเสรีภาพชื่อเสียงหรือทรัพย์สินอันเป็นการข่มขืนใจผู้ถือหุ้นกรรมการ ผู้จัดการจึงหามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2524
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175 เป็นบทกฎหมายที่มุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าว่าบริษัท จะได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ในกิจการใด ที่ใดเมื่อใด เพื่อผู้ถือหุ้นจะได้มีโอกาสเตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นได้โดยเต็ม ที่แต่มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่า ถ้าไม่แจ้งไปให้ผู้ถือหุ้นก่อนวันนัดประชุม 7 วันแล้ว การแจ้งดังกล่าวจะต้องเป็นโมฆะเสียเปล่า เพราะการนัดประชุมใหญ่ไม่จำต้องมีหนังสือแจ้งเพียงอย่างเดียวอาจทำโดยวิธี อื่นได้ เมื่อเป็นที่เห็นได้ว่าผู้ถือหุ้นทุกคนทราบกำหนดวันนัดประชุมใหญ่แล้ว แม้หนังสือแจ้งนัดประชุมใหญ่ไม่ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าก่อน 7 วัน ก็เป็นคำบอกกล่าวแจ้งประชุมใหญ่โดยชอบ
แม้จะปรากฏว่าขณะที่ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นมีมติแต่งตั้งจ. เป็นกรรมการนั้นจ. ยังดำรงตำแหน่งผู้ตรวจสอบบัญชีอยู่ก็ตาม แต่เมื่อต่อมาหลังจาก จ. ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแล้ว จ. ไม่เคยได้ตรวจสอบบัญชีของบริษัทแต่อย่างใด ทั้งได้ลาออกจากตำแหน่งผู้ตรวจสอบบัญชีในเดือนถัดไป ดังนี้ การแต่งตั้ง จ. เป็นกรรมการจึงไม่ขัดต่อกฎหมายและข้อบังคับของบริษัท
(๑) จำนวนเงินที่บริษัทได้รับและได้จ่าย ทั้งรายการอันเป็นเหตุให้รับหรือจ่ายเงินทุกรายไป
(๒) สินทรัพย์และหนี้สินของบริษัท
มาตรา ๑๒๐๗ กรรมการต้องจัดให้จดบันทึกรายงานการประชุมและข้อมติทั้งหมดของที่ ประชุมผู้ถือหุ้นและของที่ประชุมกรรมการลงไว้ในสมุดโดยถูกต้อง สมุดนี้ให้เก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานที่ได้จดทะเบียนของบริษัทบันทึกเช่นนั้นอย่างหนึ่งอย่างใด เมื่อได้ลงลายมือชื่อของผู้เป็นประธานแห่งการประชุมซึ่งได้ลงมติหรือซึ่งได้ ดำเนินการงานประชุมก็ดี หรือได้ลงลายมือชื่อของผู้เป็นประธานแห่งการประชุมถัดจากครั้งนั้นมาก็ดี ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นหลักฐานอันถูกต้องแห่งข้อความที่ได้จดบันทึก ลงในสมุดนั้น ๆ และให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าการลงมติและการดำเนินของที่ประชุมอันได้จดบันทึก ไว้นั้นได้เป็นไปโดยชอบ
ผู้ถือหุ้นคนใดจะขอตรวจเอกสารดั่งกล่าวมาข้างต้นในเวลาใดเวลาหนึ่งระหว่างเวลาทำการงานก็ได้
มาตรา ๑๒๐๘ ผู้สอบบัญชีนั้น จะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทก็ได้ แต่บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการงานที่บริษัททำโดยสถานอื่นอย่างหนึ่งอย่างใด นอกจากเป็นแต่ผู้ถือหุ้นในบริษัทเท่านั้นแล้ว ท่านว่าจะเลือกเอามาเป็นตำแหน่งผู้สอบบัญชีหาได้ไม่ กรรมการก็ดี หรือผู้อื่นซึ่งเป็นตัวแทนหรือเป็นลูกจ้างของบริษัทก็ดี เวลาอยู่ในตำแหน่งนั้น ๆ ก็จะเลือกเอามาเป็นตำแหน่งผู้สอบบัญชีของบริษัทหาได้ไม่
มาตรา ๑๒๐๙ ผู้สอบบัญชีนั้น ให้ที่ประชุมสามัญเลือกตั้งทุกปี
ผู้สอบบัญชีคนซึ่งออกไปนั้นจะเลือกกลับเข้ารับตำแหน่งอีกก็ได้
มาตรา ๑๒๑๐ ผู้สอบบัญชีควรจะได้สินจ้างเท่าใด ให้ที่ประชุมใหญ่กำหนด
มาตรา ๑๒๑๑ ถ้ามีตำแหน่งว่างลงในจำนวนผู้สอบบัญชีให้กรรมการนัดเรียกประชุมวิสามัญ เพื่อให้เลือกตั้งขึ้นใหม่ให้ครบจำนวน
มาตรา ๑๒๑๒ ถ้ามิได้เลือกตั้งผู้สอบบัญชีโดยวิธีดั่งกล่าวมา เมื่อผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าห้าคนร้องขอ ก็ให้ศาลตั้งผู้สอบบัญชีประจำปีนั้น และกำหนดสินจ้างให้ด้วย
มาตรา ๑๒๑๓ ให้ผู้สอบบัญชีทุกคนเข้าตรวจสอบสรรพสมุดและบัญชีของบริษัทในเวลาอันสมควรได้ทุกเมื่อ และในการอันเกี่ยวด้วยสมุดและบัญชีเช่นนั้นให้ไต่ถามสอบสวนกรรมการ หรือผู้อื่น ๆ ซึ่งเป็นตัวแทน หรือเป็นลูกจ้างของบริษัทได้ไม่ว่าคนหนึ่งคนใด
มาตรา ๑๒๑๔ ผู้สอบบัญชีต้องทำรายงานว่าด้วยงบดุลและบัญชียื่นต่อที่ประชุมสามัญ
ผู้สอบบัญชีต้องแถลงในรายงานเช่นนั้นด้วยว่าตนเห็นว่างบดุลได้ทำโดยถูกถ้วนควร ฟังว่าสำแดงให้เห็นการงานของบริษัทที่เป็นอยู่ตามจริงและถูกต้องหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2541
โจทก์จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการของบริษัท ร.ข้อบังคับของบริษัทร. ระบุว่าการประชุมกรรมการต้องมีคณะกรรมการเข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึง จะเป็นองค์ประชุมปรึกษากิจการได้แต่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า บริษัท ร. มีกรรมการรวม4 คน การปรึกษากิจการระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2จึงครบเป็นองค์ประชุมตามข้อบังคับของบริษัทแล้ว จำเลยหาได้ให้การต่อสู้คดีว่ามีการเรียกประชุมไม่ การที่จำเลยนำสืบว่า มีการนัดเรียกหรือประชุมกรรมการก่อนจึงรับฟังไม่ได้ดังนั้น เมื่อการนัดเรียกในการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นฝ่าฝืนต่อข้อบังคับของ บริษัทและฝ่าฝืนต่อกฎหมายแล้วการประชุมดังกล่าวจึงเป็นการประชุมไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2098/2525
การที่ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิเข้าไปตรวจดูเอกสารต่างๆของบริษัทตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1207 นั้นหมายถึงให้เข้าไปตรวจดูเอกสารเกี่ยวกับการจดบันทึกรายงานการประชุมและ ข้อมติทั้งหมดเท่านั้นไม่ได้หมายถึงให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิตรวจบัญชีของบริษัท หรือมีสิทธิเข้าตรวจกิจการของบริษัทแต่อย่างใดผู้ถือหุ้นจึงมิอาจเข้าไปใน บริษัทเพื่อตรวจสอบบัญชีและตรวจกิจการโดยลำพังได้ดังนั้นเมื่อคนยามเฝ้า ประตูไม่ยอมให้ผู้ถือหุ้นเข้าไปในบริษัทตามคำสั่งของกรรมการผู้จัดการโดยมิ ได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้ผู้ถือหุ้นกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายเสรีภาพชื่อเสียงหรือทรัพย์สินอันเป็นการข่มขืนใจผู้ถือหุ้นกรรมการ ผู้จัดการจึงหามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2524
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175 เป็นบทกฎหมายที่มุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าว่าบริษัท จะได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ในกิจการใด ที่ใดเมื่อใด เพื่อผู้ถือหุ้นจะได้มีโอกาสเตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นได้โดยเต็ม ที่แต่มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่า ถ้าไม่แจ้งไปให้ผู้ถือหุ้นก่อนวันนัดประชุม 7 วันแล้ว การแจ้งดังกล่าวจะต้องเป็นโมฆะเสียเปล่า เพราะการนัดประชุมใหญ่ไม่จำต้องมีหนังสือแจ้งเพียงอย่างเดียวอาจทำโดยวิธี อื่นได้ เมื่อเป็นที่เห็นได้ว่าผู้ถือหุ้นทุกคนทราบกำหนดวันนัดประชุมใหญ่แล้ว แม้หนังสือแจ้งนัดประชุมใหญ่ไม่ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าก่อน 7 วัน ก็เป็นคำบอกกล่าวแจ้งประชุมใหญ่โดยชอบ
แม้จะปรากฏว่าขณะที่ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นมีมติแต่งตั้งจ. เป็นกรรมการนั้นจ. ยังดำรงตำแหน่งผู้ตรวจสอบบัญชีอยู่ก็ตาม แต่เมื่อต่อมาหลังจาก จ. ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแล้ว จ. ไม่เคยได้ตรวจสอบบัญชีของบริษัทแต่อย่างใด ทั้งได้ลาออกจากตำแหน่งผู้ตรวจสอบบัญชีในเดือนถัดไป ดังนี้ การแต่งตั้ง จ. เป็นกรรมการจึงไม่ขัดต่อกฎหมายและข้อบังคับของบริษัท