มาตรา ๑๑๑๗ อันมูลค่าของหุ้น ๆ หนึ่งนั้น
มิให้ต่ำกว่าห้าบาท
มาตรา ๑๑๑๘ อันหุ้นนั้น ท่านว่าจะแบ่งแยกหาได้ไม่
ถ้าบุคคลมีจำนวนแต่สองคนขึ้นไปถือหุ้น
ๆ เดียวร่วมกัน
ท่านว่าต้องตั้งให้คนใดคนหนึ่งในจำนวนนั้นแต่คนเดียวเป็นผู้ใช้สิทธิในฐานเป็นผู้ถือหุ้น
อนึ่ง
บุคคลทั้งหลายซึ่งถือหุ้น ๆ เดียวร่วมกัน ต้องร่วมกันรับผิดต่อบริษัทในการส่งใช้มูลค่าของหุ้น
มาตรา ๑๑๑๙ หุ้นทุก ๆ หุ้นจำต้องให้ใช้เป็นเงินจนเต็มค่า
เว้นแต่หุ้นซึ่งออกตามบทบัญญัติมาตรา ๑๑๐๘ อนุมาตรา (๕) หรือมาตรา ๑๒๒๑
ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้นนั้น
ผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่
มาตรา ๑๑๒๐ บรรดาเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกนั้น
กรรมการจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เสียเมื่อใดก็ได้
เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่จะได้วินิจฉัยเป็นอย่างอื่น
มาตรา ๑๑๒๑ การเรียกเงินค่าหุ้นแต่ละคราวนั้น
ท่านบังคับว่าให้ส่งคำบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ต่ำกว่ายี่สิบเอ็ดวันด้วยจดหมายส่งลงทะเบียนไปรษณีย์
และผู้ถือหุ้นทุกคนจะต้องใช้เงินตามจำนวนที่เรียกนั้น
สุดแต่กรรมการจะได้กำหนดไปว่าให้ส่งไปยังผู้ใด ณ ที่ใดและเวลาใด
มาตรา ๑๑๒๒
ถ้าและเงินอันจะพึงส่งใช้เป็นค่าหุ้นตามเรียกนั้นผู้ถือหุ้นคนใดมิได้ส่งใช้ตามวันกำหนดไซร้
ผู้นั้นจำต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่กำหนดให้ส่งใช้จนถึงวันที่ได้ส่งเสร็จ
มาตรา ๑๑๒๓
ถ้าผู้ถือหุ้นคนใดละเลยไม่ส่งใช้เงินที่เรียกค่าหุ้นตามวันกำหนด
กรรมการจะส่งคำบอกกล่าวด้วยจดหมายส่งลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังผู้นั้น
ให้ส่งใช้เงินที่เรียกกับทั้งดอกเบี้ยด้วยก็ได้
ในคำบอกกล่าวอันนี้
ให้กำหนดเวลาไปพอสมควรเพื่อให้ใช้เงินที่เรียกกับทั้งดอกเบี้ย
และต้องบอกไปด้วยว่าให้ส่งใช้ ณ สถานที่ใด อนึ่ง ในคำบอกกล่าวนั้นจะแจ้งไปด้วยก็ได้ว่า
ถ้าไม่ใช้เงินตามเรียก หุ้นนั้นอาจจะถูกริบ
มาตรา ๑๑๒๔
ถ้าในคำบอกกล่าวมีข้อแถลงความถึงการริบหุ้นด้วยแล้ว
หากเงินค่าหุ้นที่เรียกกับทั้งดอกเบี้ยยังคงค้างชำระอยู่ตราบใด
กรรมการจะบอกริบหุ้นนั้น ๆ เมื่อใดก็ได้
มาตรา ๑๑๒๕ หุ้นซึ่งริบแล้วนั้นให้เอาออกขายทอดตลาดโดยไม่ชักช้า
ได้จำนวนเงินเท่าใดให้เอาหักใช้ค่าหุ้นที่เรียกกับดอกเบี้ยค้างชำระ
ถ้ายังมีเงินเหลือเท่าใดต้องส่งคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นนั้น
มาตรา ๑๑๒๖
แม้ว่าวิธีการริบหุ้นขายหุ้นจะไม่ถูกต้องด้วยระเบียบก็ดี
ท่านว่าหาเป็นเหตุให้สิทธิของผู้ซื้อหุ้นซึ่งริบนั้นเสื่อมเสียไปอย่างไรไม่
มาตรา ๑๑๒๗ ให้บริษัททำใบหุ้น
คือใบสำคัญสำหรับหุ้นใบหนึ่งหรือหลายใบ มอบให้เป็นคู่มือแก่ผู้ถือหุ้นจงทุก ๆ คน
เมื่อมอบใบหุ้นนั้น
จะเรียกค่าธรรมเนียมก็ได้ สุดแต่กรรมการจะกำหนด แต่มิให้เกินสิบบาท
มาตรา ๑๑๒๘ ในใบหุ้นทุก ๆ ใบให้กรรมการอย่างน้อยหนึ่งคนลงลายมือชื่อเป็นสำคัญ
ในใบหุ้นนั้นต้องมีข้อความต่อไปนี้
คือ
(๑) ชื่อบริษัท
(๒)
เลขหมายหุ้นที่กล่าวถึงในใบหุ้นนั้น
(๓)
มูลค่าหุ้นหนึ่งเป็นเงินเท่าใด
(๔)
ถ้าและเป็นหุ้นที่ยังไม่ได้ใช้เงินเสร็จ
ให้จดลงว่าได้ใช้เงินค่าหุ้นแล้วหุ้นละเท่าใด
(๕) ชื่อผู้ถือหุ้น
หรือคำแถลงว่าได้ออกใบหุ้นนั้นให้แก่ผู้ถือ
มาตรา ๑๑๒๙
อันว่าหุ้นนั้นย่อมโอนกันได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมของบริษัท
เว้นแต่เมื่อเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้น
ซึ่งมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นนั้น
ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน
มีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือนั้น ๆ ด้วยแล้ว ท่านว่าเป็นโมฆะ
อนึ่ง ตราสารอันนั้นต้องแถลงเลขหมายของหุ้นซึ่งโอนกันนั้นด้วย
การโอนเช่นนี้จะนำมาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกไม่ได้
จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น
มาตรา ๑๑๓๐ หุ้นใดเงินที่เรียกค่าหุ้นยังค้างชำระอยู่
หุ้นนั้นบริษัทจะไม่ยอมรับจดทะเบียนให้โอนก็ได้
มาตรา ๑๑๓๑ ในระหว่างสิบสี่วันก่อนการประชุมใหญ่สามัญ
บริษัทจะปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นเสียก็ได้
มาตรา ๑๑๓๒ ในเหตุบางอย่างเช่นผู้ถือหุ้นตายก็ดี
หรือล้มละลายก็ดี อันเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเป็นผู้มีสิทธิจะได้หุ้นขึ้นนั้น
หากว่าบุคคลนั้นนำใบหุ้นมาเวนคืน เมื่อเป็นวิสัยจะทำได้
ทั้งได้นำหลักฐานอันสมควรมาแสดงด้วยแล้ว
ก็ให้บริษัทรับบุคคลนั้นลงทะเบียนเป็นผู้ถือหุ้นสืบไป
มาตรา ๑๑๓๓ หุ้นซึ่งโอนกันนั้น
ถ้าเป็นหุ้นอันยังมิได้ส่งเงินใช้เต็มจำนวนค่าหุ้น
ท่านว่าผู้โอนยังคงต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยังมิได้ส่งใช้ให้ครบถ้วนนั้น แต่ว่า
(๑)
ผู้โอนไม่ต้องรับผิดในหนี้อันหนึ่งอันใดของบริษัทซึ่งได้ก่อให้เกิดขึ้นภายหลังโอน
(๒)
ผู้โอนไม่ต้องรับผิดออกส่วนใช้หนี้
เว้นแต่ความปรากฏขึ้นแก่ศาลว่าบรรดาผู้ที่ยังถือหุ้นของบริษัทอยู่นั้นไม่สามารถออกส่วนใช้หนี้อันเขาจะพึงต้องออกใช้นั้นได้
ข้อความรับผิดเช่นว่ามานั้น
ท่านห้ามมิให้ฟ้องผู้โอนเมื่อพ้นสองปีนับแต่ได้จดแจ้งการโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น
มาตรา ๑๑๓๔ ใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือนั้น
จะออกได้ก็แต่เมื่อมีข้อบังคับของบริษัทอนุญาตไว้
และจะออกให้ได้แต่เฉพาะเพื่อหุ้นซึ่งได้ใช้เต็มค่าแล้ว ในกรณีเช่นว่านี้ ผู้ทรงใบหุ้นชนิดระบุชื่อย่อมมีสิทธิจะได้รับใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ
เมื่อเวนคืนใบหุ้นชนิดระบุชื่อนั้นให้ขีดฆ่าเสีย
มาตรา ๑๑๓๕ หุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือนั้น
ย่อมโอนกันได้เพียงด้วยส่งมอบใบหุ้นแก่กัน
มาตรา ๑๑๓๖
ผู้ทรงใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือย่อมมีสิทธิจะมาขอเปลี่ยนเอาใบหุ้นชนิดระบุชื่อได้
เมื่อเวนคืนใบหุ้นฉบับออกให้แก่ผู้ถือนั้นให้ขีดฆ่าเสีย
มาตรา ๑๑๓๗
ถ้าข้อบังคับของบริษัทมีกำหนดไว้เป็นองค์คุณอันหนึ่งสำหรับผู้จะเป็นกรรมการ
ว่าจำจะต้องเป็นผู้ถือหุ้นเป็นจำนวนเท่าหนึ่งเท่าใดไซร้ หุ้นเช่นนี้ท่านว่าต้องเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อ
มาตรา ๑๑๓๘ บริษัทจำกัดต้องมีสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น
มีรายการดังต่อไปนี้คือ
(๑) ชื่อและสำนัก
กับอาชีวะ ถ้าว่ามี ของผู้ถือหุ้น ข้อแถลงเรื่องหุ้นของผู้ถือหุ้นคนหนึ่ง ๆ
แยกหุ้นออกตามเลขหมายและจำนวนเงินที่ได้ใช้แล้ว หรือที่ได้ตกลงกันให้ถือว่าเป็นอันได้ใช้แล้วในหุ้นของผู้ถือหุ้นคนหนึ่ง
ๆ
(๒)
วันเดือนปีซึ่งได้ลงทะเบียนบุคคลผู้หนึ่ง ๆ เป็นผู้ถือหุ้น
(๓)
วันเดือนปีซึ่งบุคคลคนใดคนหนึ่งขาดจากเป็นผู้ถือหุ้น
(๔)
เลขหมายใบหุ้นและวันที่ลงในใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ
และเลขหมายของหุ้นซึ่งได้ลงไว้ในใบหุ้นนั้น ๆ
(๕)
วันที่ได้ขีดฆ่าใบหุ้นชนิดระบุชื่อ หรือชนิดออกให้แก่ผู้ถือ
มาตรา ๑๑๓๙
สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเริ่มแต่วันจดทะเบียนบริษัทนั้นให้รักษาไว้ ณ
สำนักงานของบริษัทแห่งที่ได้บอกทะเบียนไว้
สมุดทะเบียนนี้ให้เปิดให้แก่ผู้ถือหุ้นทั้งหลายดูได้ในระหว่างเวลาทำการโดยไม่เรียกค่าธรรมเนียมอย่างหนึ่งอย่างใด
แต่กรรมการจะจำกัดเวลาลงไว้อย่างไรพอสมควรก็ได้ หากไม่น้อยกว่าวันละสองชั่วโมง
ให้เป็นหน้าที่ของกรรมการที่จะส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ที่ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ทั้งหมดในเวลาที่ประชุม
และรายชื่อผู้ที่ขาดจากเป็นผู้ถือหุ้นจำเดิมแต่วันประชุมสามัญครั้งที่แล้วมานั้น
ไปยังนายทะเบียนอย่างน้อยปีละครั้ง
และมิให้ช้ากว่าวันที่สิบสี่นับแต่การประชุมสามัญ
บัญชีรายชื่อนี้ให้มีรายการบรรดาที่ระบุไว้ในมาตราก่อนนั้นทุกประการ
มาตรา ๑๑๔๐
ผู้ถือหุ้นชอบที่จะเรียกให้ส่งมอบสำเนาทะเบียนเช่นว่านั้นหรือแต่ตอนหนึ่งตอนใดแก่ตนได้
เมื่อเสียค่าสำเนาแต่ไม่เกินหน้าละห้าบาท
มาตรา ๑๑๔๑
สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นนั้น
ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องในข้อกระทงความบรรดาที่กฎหมายบังคับ
หรือให้อำนาจให้เอาลงในทะเบียนนั้น
มาตรา ๑๑๔๒ ถ้าบริษัทได้ออกหุ้นบุริมสิทธิไปแล้ว
ได้กำหนดไว้ว่าบุริมสิทธิจะมีแก่หุ้นนั้น ๆ เป็นอย่างไร ท่านห้ามมิให้แก้ไขอีกเลย
มาตรา ๑๑๔๓
ห้ามมิให้บริษัทจำกัดเป็นเจ้าของถือหุ้นของตนเอง หรือรับจำนำหุ้นของตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3874/2560
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1112 บัญญัติไว้ชัดเจนว่าผู้ถือหุ้นที่ยังมิได้ส่งใช้ค่าหุ้นตามวันกำหนด
จำต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่กำหนดให้ส่งใช้จนถึงวันที่ได้ส่งเสร็จ แม้ตามมาตรา 1123
บัญญัติว่า
"ถ้าผู้ถือหุ้นคนใดละเลยไม่ส่งใช้เงินที่เรียกค่าหุ้นตามวันกำหนด กรรมการจะส่งคำบอกกล่าวด้วยจดหมายส่งลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังผู้นั้น
ให้ส่งใช้เงินที่เรียกเก็บกับทั้งดอกเบี้ยด้วยก็ได้"
ก็มิได้หมายความว่าหากโจทก์ไม่ได้แจ้งเรื่องการคิดดอกเบี้ยในหนังสือบอกกล่าวที่ส่งให้แก่จำเลยที่
2 ถึงที่ 8 แล้วจะทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัด
แต่มาตรา 7 บัญญัติว่า
"ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง
ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี" และมาตรา 224 บัญญัติว่า
"หนี้เงินนั้น
ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี..." ผู้ถือหุ้นจึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ
7.5 ต่อปี แก่โจทก์ นับแต่วันที่กำหนดส่งใช้เงินค่าหุ้นตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1122 ประกอบมาตรา 7 และมาตรา
224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4003/2559
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1120 บรรดาเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกนั้น กรรมการจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เสียเมื่อใดก็ได้
เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่จะได้วินิจฉัยเป็นอย่างอื่น เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4
ไม่ชำระค่าหุ้นอีกร้อยละ 75
ที่จองซื้อไว้ตามที่กรรมการโจทก์เรียกร้อง โจทก์ย่อมมีสิทธิริบหุ้นที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 จองซื้อไว้โดยไม่จำต้องรอให้ที่ประชุมใหญ่ของโจทก์จัดประชุมใหญ่เพื่อวินิจฉัยในเรื่องนี้เพราะบทบัญญัติของกฎหมายมิได้ให้สิทธิจำเลยที่
1 ที่ 3 และที่ 4
ที่จะจัดให้มีการการจัดประชุมใหญ่เสียก่อนจึงจะชำระค่าหุ้นเพิ่มเติมตามที่โจทก์เรียกร้อง
นอกจากนี้ยังปรากฏตามรายงานการประชุมใหญ่ของโจทก์ในวันที่ 25
สิงหาคม 2549
ก็ไม่ปรากฏว่าที่ประชุมใหญ่ได้วินิจฉัยเป็นอย่างอื่นในลักษณะการลงมติมิให้โจทก์เรียกเก็บค่าหุ้นเพิ่มเติม
ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิริบหุ้นของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4
ออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระค่าหุ้นเพิ่มเติมซึ่งจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4
จะต้องรับผิดค่าหุ้นเพิ่มเติมรวมทั้งดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14225/2558
จำเลยที่ 1 และ ป. ทำหนังสือสัญญาโอนหุ้นให้แก่โจทก์ร่วมทั้งสามในวันที่ 1 ตุลาคม 2547 เมื่อหุ้นดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 1
และ ป. โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัทก็ทราบเรื่องดังกล่าวดีตั้งแต่วันนั้น
ถือว่าบริษัททราบเรื่องการโอนหุ้นดังกล่าวแล้ว
โจทก์ร่วมทั้งสามใช้ยันกับบริษัทได้ว่าเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทแล้ว
แม้จะไม่ได้มีการจดแจ้งชื่อโจทก์ร่วมทั้งสามในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทก็ตาม
และเป็นหน้าที่ของกรรมการบริษัทดังกล่าวที่จะต้องไปจดแจ้งชื่อโจทก์ร่วมทั้งสามในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น
เมื่อบริษัทมีการเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นย่อมมีผลให้โจทก์ร่วมทั้งสามไม่ได้รับแจ้งให้เข้าร่วมประชุมด้วย
และที่ประชุมก็มีมติให้แก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการแบ่งประเภทของหุ้น
และกำหนดคุณสมบัติผู้ที่จะเข้ามาเป็นผู้บริหารเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
จึงทำให้โจทก์ร่วมทั้งสามเสียหายเนื่องจากไม่สามารถคัดค้านเกี่ยวกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของบริษัทดังกล่าวได้
โจทก์ร่วมทั้งสามย่อมเป็นผู้เสียหายโดยตรงในกรณีนี้ที่จะแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นกรรมการบริษัทดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
9483/2558
การโอนหุ้นระหว่าง ภ.
กับโจทก์มีการทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้โอนกับผู้รับโอนโดยมีพยาน 2 คน
ลงชื่อรับรองลายมือนั้น ๆ ด้วย
จึงถือว่าการโอนหุ้นดังกล่าวได้กระทำตามแบบที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129
วรรคสอง
และตามข้อบังคับของบริษัทจำเลยมิได้กำหนดว่าการโอนหุ้นต้องได้รับความยินยอมของบริษัท
ดังนั้น การโอนหุ้นระหว่าง ภ. กับโจทก์จึงไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทจำเลยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา
1129 วรรคหนึ่ง และไม่ว่าหุ้นตามฟ้องจะเป็นสินสมรสระหว่าง ภ. กับโจทก์
ซึ่งถือเป็นการแบ่งสินสมรส หรือเป็นสินส่วนตัวของ ภ. ก็ตาม ภ.
ก็มีสิทธิโอนหุ้นดังกล่าวให้โจทก์ได้
ไม่ได้มีผลกระทบต่อบริษัทจำเลยและไม่ได้ทำให้การโอนหุ้นดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อการโอนหุ้นระหว่าง ภ. กับโจทก์เป็นการโอนที่ชอบ
และโจทก์ในฐานะผู้รับโอนได้แจ้งให้จำเลยจดทะเบียนแก้ไขการโอนหุ้นลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นแล้ว
แต่จำเลยไม่ยอมดำเนินการ การกระทำของจำเลยถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์
โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
3595/2558
การโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับ
ภ. ได้มีการทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน โดยมีพยาน 2 คน
ลงชื่อรับรองลายมือนั้น จึงถือว่าได้กระทำตามแบบที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129
วรรคสอง และตามข้อบังคับของบริษัทจำเลยก็มิได้กำหนดไว้ว่า
การโอนหุ้นต้องได้รับความยินยอมของบริษัท ดังนั้น การโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับ ภ.
จึงไม่ต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคหนึ่ง
ไม่ได้เป็นการโอนหุ้นกันโดยมีเจตนาลวง เมื่อการโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับ ภ.
เป็นการโอนที่ชอบ
และจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนแก้ไขการโอนหุ้นนั้นลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น
การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์
ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยดำเนินการแจ้งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
จังหวัดปทุมธานี เปลี่ยนแปลงบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยแทน
ภ. จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
9677/2556
ใบหุ้นเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อและข้อบังคับของบริษัท
ม. ระบุว่า การโอนหุ้นจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน
โดยมีพยานสองคนลงชื่อรับรอง และจะนำมาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกได้
ต่อเมื่อบริษัทจดแจ้งการโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นแล้ว แม้โจทก์และจำเลยที่ 1
ทำหนังสือสัญญาซื้อขายหุ้นดังกล่าวก็ตาม
แต่เมื่อข้อบังคับของบริษัทมิได้กำหนดเกี่ยวกับการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อไว้เป็นอย่างอื่น
โจทก์และจำเลยที่ 1 จึงต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง
และข้อบังคับของบริษัทดังกล่าว เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1
ยังมิได้ทำการโอนให้ถูกต้องตามบทบัญญัติและข้อบังคับดังกล่าว
โจทก์จึงไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ม. ดังนั้น
โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
11883/2554
การซื้อขายหุ้นสามัญชนิดระบุชื่อเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่งซึ่งต้องปฏิบัติตาม
ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม ส่วน ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง
เพียงกำหนดแบบของการโอนหุ้นที่มีหลักฐานการโอนที่แน่นอนเท่านั้น หาใช่แบบของการซื้อขายหุ้น
ผู้ซื้อหุ้นที่มิได้โอนหุ้นให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวยังไม่อาจอ้างว่าตนเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท
และไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นตามที่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้เท่านั้น หาทำให้การซื้อขายหุ้นตกเป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10208/2553
การที่ผู้ทำแผนฟื้นฟูกำหนดวิธีการชำระหนี้โดยการแปลงหนี้เป็นทุน
แม้เป็นการหักหนี้กับค่าหุ้นของบริษัทต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1119 วรรคสอง แต่ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/42 วรรคท้าย บัญญัติว่า มิให้นำมาตรา 1119 แห่ง ป.พ.พ.
มาใช้บังคับแก่แผนตามมาตรานี้เมื่อในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการมีบทบัญญัติยกเว้นบทบัญญัติของ
ป.พ.พ. ส่วนนี้ ผู้ทำแผนจึงสามารถทำแผนเพิ่มทุนโดยการแปลงหนี้มาเป็นทุนได้
กรณีมีการชำระหนี้ด้วยหุ้น
เนื่องจากราคาที่จดทะเบียนไว้อาจมิได้เป็นราคาที่แท้จริงของหุ้นดังกล่าวในวันที่มีการชำระแก่เจ้าหนี้
จำนวนหนี้ที่เจ้าหนี้ได้รับชำระอันจะมีผลให้หนี้ระงับย่อมมีจำนวนเท่ากับราคาตลาดที่แท้จริงอันเจ้าหนี้ได้รับโอนได้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ
ความรับผิดของจำเลยทั้งสามตามฟ้องเป็นเพียงผู้ค้ำประกันซึ่งผูกพันตนเพื่อชำระหนี้เมื่อ
ศ. ลูกหนี้ชั้นต้นไม่ชำระหนี้ ดังนั้น
ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชำระเงินแก่โจทก์
โดยมิได้นำเงินที่ ศ. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์มาหักออกจึงไม่ถูกต้อง เห็นสมควรระบุฐานะของจำเลยทั้งสามให้ชัดเจน
และแก้ไขความรับผิดของจำเลยทั้งสามให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4853/2551
ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้น
ป.พ.พ. มาตรา 1119 วรรคสอง
บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาดมิให้หักหนี้กับบริษัทโจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นบริษัท
จำเลยจึงไม่อาจยกบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา
102 มาขอหักหนี้กับหนี้สิทธิไล่เบี้ยตามสัญญาค้ำประกันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
5857/2549
เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระค่าหุ้นจาก
น. ผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นจึงต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
ให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1122 ประกอบมาตรา 7
การที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระค่าหุ้นดังกล่าว แต่กลับลงบัญชีว่าได้ชำระแล้ว
เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นเสมือนให้กู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยและ
โจทก์จะอ้างการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1120 ถึง 1121
อันเป็นเรื่องการบอกกล่าวให้ชำระค่าหุ้นเป็นเหตุให้ถือว่าผู้ถือหุ้นยังไม่
ต้องเสียดอกเบี้ยไม่ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
593/2549
สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่โจทก์ส่งไว้ต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
กรุงเทพมหานครเป็นเอกสารราชการ และนาง ส.
กรรมการบริษัทโจทก์ได้ลงชื่อรับรองว่าเป็นรายการที่ถูกต้องตรงกับสมุด
ทะเบียนผู้ถือหุ้น ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1141
ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง เอกสารดังกล่าวระบุว่าจำเลยที่ 1
ถือหุ้นอยู่ในบริษัทโจทก์จำนวน 5,000 หุ้น เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1
ถือหุ้นแทนบุตรสาวของนาง ส. โดยโจทก์มีเพียงนาง ส. เท่านั้นมานำสืบ
จึงไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
773/2549
สิทธิเรียกร้องให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระเป็นสิทธิเรียกร้องที่
บริษัทจำเลยมีต่อผู้ถือหุ้นเป็นสิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอกอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ.
มาตรา 310 ทวิ เมื่อบริษัทจำเลยมีสิทธิเรียกร้องให้ ว.
ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระ
เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจอายัดค่าหุ้นที่ค้างชำระนั้น
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้แจ้งอายัดให้ ว.
ส่งเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว กรณีจึงต้องด้วยมาตรา 312
วรรคสอง ที่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่บุคคลภาย
นอกนั้นและดำเนินการไปเสมือนหนึ่งว่าบุคคลนั้นเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ป.พ.พ. มาตรา 1120 ถึง
1125 เป็นเรื่องวิธีการเรียกค่าหุ้นค้างชำระของบริษัทในกรณีปกติ
แต่เมื่อกรรมการบริษัทจำเลยไม่ใช้สิทธิเรียกร้องนี้
ก็ไม่ห้ามเจ้าหนี้ที่จะให้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 233
ทั้งไม่ห้ามเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะขออายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.
มาตรา 310 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
3318/2545
พระราชบัญญัติล้มละลาย
พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42 วรรคท้าย มิให้นำมาตรา 1119 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาใช้บังคับแก่แผนตามมาตรานี้โดยมาตรา 1119 วรรคสอง บัญญัติว่า
"ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้นนั้น ผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่"
ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวห้ามหักหนี้กับค่าหุ้นของบริษัทจึงไม่สามารถแปลงหนี้
เป็นทุนได้ ดังนั้น
เมื่อในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการมีบทบัญญัติยกเว้นบทบัญญัติของประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ในส่วนนี้ ผู้ทำแผนจึงสามารถทำแผนเพิ่มทุนโดยการแปลงหนี้มาเป็นทุน
ซึ่งทำให้ทุนจดทะเบียนของลูกหนี้เพิ่มมากขึ้นโดยเจ้าหนี้ที่แปลงหนี้เป็นทุน
จะเป็นผู้ถือหุ้นที่เพิ่มขึ้นในสัดส่วนหนี้ของตน
สถานะของเจ้าหนี้ย่อมเปลี่ยนจากเจ้าหนี้มาเป็นผู้ร่วมลงทุนกับผู้ถือหุ้น เดิม
การที่ผู้ทำแผนจัดทำแผนกำหนดวิธีการชำระหนี้โดยการแปลงหนี้เป็นทุน
จึงเป็นวิธีการที่สามารถกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
523/2545
โจทก์บรรยายฟ้องว่า
จำเลยทำสัญญาขายหุ้นของจำเลยในบริษัทบ. ให้แก่โจทก์ 2,500 หุ้น ในราคา 2,500,000
บาท จำเลยได้รับเงินค่าหุ้นจากโจทก์ในวันทำสัญญา 500,000 บาท
โดยมีเงื่อนไขว่าหากการซื้อขายหุ้นมีปัญหาหรือโมฆะ
จำเลยจะคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์
แต่จำเลยไม่สามารถจัดการโอนหุ้นตามสัญญาให้แก่โจทก์โดยทางบริษัท บ. แจ้งว่า
การโอนหุ้นขัดต่อข้อบังคับของบริษัทซึ่งกรรมการของบริษัทคัดค้านการโอนหุ้น
และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยจึงต้องคืนเงิน 500,000 บาท
พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ดังนี้ถือว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดแล้ว
จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง
ส่วนข้อบังคับของบริษัท บ.
มีว่าอย่างไรการโอนหุ้นตามฟ้องขัดต่อข้อบังคับของบริษัทอย่างไร กรรมการบริษัทที่คัดค้านการโอนหุ้นคือใครตามมติที่ประชุมครั้งที่เท่าใดล้วน
เป็นเรื่องรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบพยานได้ในชั้นพิจารณา
ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
หุ้นของบริษัท บ.
เป็นหุ้นสามัญชนิดระบุชื่อแม้ยังไม่ได้ออกใบหุ้นแต่การโอนหุ้นก็ต้องปฏิบัติ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสอง
ซึ่งกำหนดแบบไว้ว่าถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับ โอน
มีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือนั้น ๆ ด้วยแล้ว ท่านว่าเป็นโมฆะ
เมื่อหนังสือสัญญาโอนหุ้นในบริษัทดังกล่าวระหว่างโจทก์จำเลย ไม่มีผู้ลงชื่อเป็นพยานรับรองลายมือดังกล่าว
จึงเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2359/2544
การส่งใช้เงินค่าหุ้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1119,1120 และ 1221
กำหนดให้ต้องส่งใช้เป็นเงินเท่านั้น
โดยกรรมการของบริษัทจะเป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าหุ้นตามวิธีการบอกกล่าวล่วง
หน้าด้วยจดหมายส่งลงทะเบียนไปรษณีย์เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏหลักฐานว่า จำเลยได้มีจดหมายส่งลงทะเบียนบอกกล่าวเรียกเก็บเงินค่าหุ้นไปยังผู้ร้อง
หรือผู้ถือหุ้นรายอื่น ๆแต่อย่างใด ที่ผู้ร้องอ้างว่า
เมื่อจำเลยเรียกเก็บเงินค่าหุ้นจึงได้มีการตกลงกันภายในระหว่างสองบริษัทว่า
"หนี้ค่าหุ้นที่ทวงถามไปนั้น บริษัทจำเลยขอให้บริษัทผู้ร้องชำระค่าหุ้นที่เหลือเป็นวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง
แทนการชำระเป็นเงิน"
ข้อตกลงดังกล่าวหากมีจริงก็ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมตั้งบริษัทข้อตกลง
ที่ผู้ร้องอ้างจึงไม่มีผลผูกพันจำเลย
นอกจากนี้ในส่วนงบดุลและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของจำเลยกฎหมายก็ให้
สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้
นั้นทุกประการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
1024จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ดังกล่าว
หาใช่ว่าผู้คัดค้านมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าผู้ร้องค้างชำระค่าหุ้นดัง
ที่ผู้ร้องฎีกาไม่
พยานหลักฐานของผู้ร้องจึงรับฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระให้
แก่จำเลยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
6203/2541
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า
ผู้ร้องถือหุ้นบริษัท จำเลยจำนวน 100 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1,000 บาท รวมเป็นเงิน
100,000 บาท ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้น ขณะจัดตั้งบริษัทเป็นเงิน 25,000 บาท
คงค้างชำระเงินค่าหุ้น อีก 75,000 บาท
แต่ในการวินิจฉัยปัญหาข้อที่ว่าสิทธิเรียกร้อง
ในมูลหนี้เงินค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระขาดอายุความหรือไม่
ศาลอุทธรณ์กลับฟังข้อเท็จจริงว่ากรรมการบริษัทจำเลย เรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นส่วนที่เหลืออีกร้อยละ
50 ให้ครบมูลค่าของหุ้น อันแสดงว่าผู้ร้องค้างชำระเงินค่าหุ้น เพียง 50,000 บาท
เท่านั้น ฉะนั้น
ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาจึงขัดกันไม่เป็นไปในทางเดียวกันว่าผู้ร้อง
ยังค้างชำระเงินค่าหุ้นอยู่เพียงใดศาลฎีกาจึงฟังข้อเท็จจริง ใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 243 (3) (ก)ประกอบด้วยมาตรา 247 และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา
153 ตามบทบัญญัติมาตรา 1120 และ 1121 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ให้อำนาจกรรมการบริษัทจะเรียกผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่ง
อีกในแต่ละคราวเมื่อใดเป็นจำนวนเงินเท่าใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรง อยู่
และเมื่อกรรมการบริษัทเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่ง อีก
สิทธิเรียกร้องก็เกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการบริษัทส่งคำบอกกล่าวเรียก
เงินค่าหุ้นนั้น และเนื่องจากสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้เช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็น
อย่างอื่น จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
เมื่อกรรมการบริษัทจำเลยไม่เคยส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้อง
ส่งอีกไปยังผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลยจึงยังไม่อาจบังคับสิทธิ
เรียกร้องในมูลหนี้เงินค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระอายุความจึงไม่เริ่มนับตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12
ดังนั้นเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด ผู้คัดค้านจึงมีอำนาจตาม
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22 และมาตรา 119 เรียกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะ
ต้องส่งอีกทั้งหมดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
3675/2540
จำเลย ที่ 2 อ้างว่า
ไม่ได้ค้างชำระค่าหุ้นเพราะได้ชำระค่าหุ้นไปแล้วร้อยละ 25 และต่อมาจำเลยที่ 1
ได้กู้ยืมเงินจำเลยที่ 2 ไปไม่ได้ชำระคืนจึงได้ตกลงหักกลบลบหนี้กันก่อนที่โจทก์จะบังคับคดีนี้
ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1119
วรรคสองที่กำหนดไว้ว่าในการใช้เงินค่าหุ้นนั้นผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัท
หาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1121 เป็นเรื่องกรรมการบริษัทเรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นตามปกติแต่กรณีของ
โจทก์เป็นการดำเนินการบังคับคดีอายัดเงินค่าหุ้นที่จำเลยที่ 2 ค้างชำระแก่จำเลยที่
1 เพื่อนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกร้อง
โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้ดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาอันเป็นวิธีบังคับคดี
ของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้โดยตรง ย่อมไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 1121
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
5480/2538
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างซึ่งเป็นหลักแห่งข้อหาว่า
โจทก์เป็นเจ้าของหุ้นบริษัทจำเลย
เพราะโจทก์จองหุ้นจากจำเลยโดยจำเลยประกาศขายหุ้นเพิ่มทุน จำเลยให้การรับว่าโจทก์เคยเป็นผู้ถือหุ้นของจำเลย
โดยได้รับโอนหุ้นมาจากบุคคลภายนอกและจำเลยได้ส่งมอบใบหุ้นให้แก่โจทก์เรียบ
ร้อยแล้วข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของหุ้นบริษัทจำเลยตามที่โจทก์ฟ้อง
จึงไม่ใช่กรณีโจทก์นำสืบไม่สมฟ้อง เมื่อจำเลยให้การรับว่าโจทก์เคยเป็นเจ้าของหุ้นจำนวน150
หุ้น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่จำเลยให้การ
แต่เมื่อจำเลยให้การต่อสู้โดยยกข้ออ้างขึ้นใหม่ว่าจำเลยได้ส่งมอบใบหุ้นให้
แก่โจทก์แล้ว และต่อมาโจทก์ได้โอนหุ้นไปให้แก่บุคคลภายนอกแล้ว
จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง
มาตรา 84 โจทก์เป็นเจ้าของหุ้นซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องทำใบหุ้นและส่งมอบให้โจทก์ตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1127 วรรคแรก
โจทก์จึงมีสิทธิที่จะติดตามเอาใบหุ้นจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์
มาตรา 1336ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
6908/2538
ผู้ร้องมีหนังสือของบริษัทจำเลยซึ่งม.
กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทจำเลยลงลายมือชื่อโดยประทับตราของบริษัท
จำเลยยืนยันว่าบริษัทจำเลยได้รับเงินค่าหุ้นที่ค้างจากผู้ร้องแล้วมาแสดง
ซึ่งผู้ร้องได้อ้างส่งไว้ในชั้นสอบสวนของผู้คัดค้านที่ผู้คัดค้านอ้างว่าจาก
การตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยปรากฏว่าผู้ร้องยังค้างชำระ
ค่าหุ้นแก่บริษัทจำเลยอยู่เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้ปฏิเสธว่าหนังสือรับเงินค่า
หุ้นดังกล่าวบริษัทจำเลยไม่ได้ทำขึ้นหรือทำไว้ไม่ถูกต้องหรือไม่อย่างไร
หนังสือรับเงินค่าหุ้นดังกล่าวจึงรับฟังได้
การชำระเงินค่าหุ้นไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องจดแจ้งลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น
ด้วยจึงใช้ยันแก่บริษัทจำเลยรวมทั้งผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
5032/2538
จำเลยร่วมเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์หุ้นที่จำเลยที่
5 ที่ 8 และที่ 9 โอนให้แก่บริษัท ท.เป็นหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่เต็มจำนวนค่าหุ้น
ถ้าปรากฏว่าบรรดาผู้ถือหุ้นของบริษัทอยู่นั้นไม่สามารถออกส่วนใช้หนี้อันจะ
พึงต้องออกใช้นั้น จำเลยที่ 5 ที่ 8 และที่
9ผู้โอนหุ้นดังกล่าวก็ยังคงต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยังมิได้ ส่งใช้ให้ครบถ้วน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1133 โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 5 ที่ 8
และที่ 9ให้รับผิดในจำนวนเงินดังกล่าวได้ ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
และการที่โจทก์นำสืบว่าผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยร่วมบางคนรวมทั้งตัวโจทก์
ด้วยเป็นผู้มีชื่อถือหุ้นแทนผู้บริหารของธนาคารชุดเดิม
ก็เป็นการนำสืบเพื่อพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าผู้ที่มีชื่อถือหุ้นของจำเลยร่วม
อยู่ในปัจจุบันไม่สามารถออกส่วนใช้หนี้อันเขาจะพึงต้องออกใช้นั้นได้ตาม มาตรา
1133(2) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งจำเลยที่ 5 ที่ 8 และที่
9ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ และศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดประเด็นดังกล่าวไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สอง
สถานด้วยจึงหาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องไม่ การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 ที่ 8
และที่ 9ผู้โอนหุ้นรับผิดออกส่วนใช้หนี้ของจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1133 นั้นโจทก์หาได้ฟ้องโดยใช้สิทธิเรียกร้องแทนจำเลยร่วมในการเรียกค่าหุ้นหรือ
ยึดทรัพย์จากผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยร่วมไม่แต่เป็นการที่โจทก์ฟ้องให้ จำเลยที่ 5
ที่ 8 และที่ 9รับผิดออกส่วนใช้หนี้ของจำเลยร่วม ตามมาตรา
1133โดยใช้สิทธิของโจทก์เองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยร่วมโดยตรงทั้งนี้เพราะ จำเลยร่วมหามีสิทธิตามบทบัญญัติดังกล่าวนี้ไม่โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่
5 ที่ 8 และที่ 9
ได้โดยไม่จำต้องเรียกค่าหุ้นหรือยึดทรัพย์จากผู้ถือหุ้นของจำเลยร่วมก่อน
การส่งคำบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1121
นั้นเป็นกรณีที่กรรมการของบริษัทซึ่งผู้ถือหุ้นอยู่เรียกให้ผู้ถือหุ้นส่ง
ใช้เงินค่าหุ้น
ไม่ใช่เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ของบริษัทเรียกให้ผู้โอนหุ้นซึ่งยังมิได้ส่งเงิน
ใช้เต็มจำนวนค่าหุ้นรับผิด ออกส่วนใช้หนี้ตามมาตรา 1133
ซึ่งเจ้าหนี้ของบริษัทมีสิทธิ เรียกร้องตามสิทธิของตนเองได้โดยตรง ดังนั้น ก่อนฟ้องโจทก์จึงไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ตามมาตรา 1121
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
6304/2538
ใบหุ้นที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์เป็นทรัพย์ที่มีสภาพเช่นเดียวกับ
สังกมทรัพย์ซึ่งสามารถนำใบหุ้นชนิดและประเภทเดียวกัน
ซึ่งมีจำนวนเท่ากันใช้โอนแทนกันได้ หาจำต้องเป็นใบหุ้นฉบับเดียวกับที่ซื้อไว้ด้วยไม่
และแม้จะเป็นใบหุ้นที่ซื้อมาในวันอื่นภายหลังก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
5276/2538
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1119และ1120เมื่อได้ชำระเงินค่าหุ้นงวดแรก
แล้วเงินค่าหุ้นยังค้างชำระอยู่อีกเท่าใดกรรมการมีอำนาจเรียกให้ผู้ถือหุ้น ส่งชำระให้ครบถ้วนทีเดียวหรือจะแบ่งออกเป็นงวดให้ส่งเมื่อใดก็ได้ตราบเท่า
ที่บริษัทยังดำรงอยู่เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่จะได้วินิจฉัยให้ทำอย่างอื่นเมื่อ
ปรากฏว่าจำเลยยังค้างชำระเงินค่าหุ้นอีกหุ้นละ75บาทจำนวน4,500หุ้นดังนั้น
กรรมการของโจทก์จึงมีอำนาจเรียกให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้นที่ยังค้างส่งเมื่อ
ใดก็ได้แล้วแต่ดุลพินิจของกรรมการและปรากฏว่าโจทก์ได้เรียกเงินค่าหุ้นจาก
ผู้ถือหุ้นคนอื่นด้วยแม้จำเลยได้ฟ้องกรรมการผู้จัดการของโจทก์ขอแบ่งเงินค่า
ตอบแทนจากโจทก์คดียังไม่ถึงที่สุดโจทก์จึงได้ฟ้องเรียกค่าหุ้นจากจำเลยเป็น
คดีนี้ก็จะถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตกลั่นแกล้งฟ้องจำเลยไม่ได้เพราะ
เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกฎหมาย
ประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเกี่ยวกับคำบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้น
การริบหุ้นการขายทอดตลาดหุ้นและความรับผิดของจำเลยนั้นในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิ ได้อุทธรณ์โต้แย้งว่าจำเลยไม่ได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ชำระเงินค่าหุ้นที่
ค้างชำระซึ่งโจทก์ได้แจ้งจำเลยล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า21วันหนังสือบอกกล่าวให้
จำเลยชำระเงินค่าหุ้นพร้อมดอกเบี้ยและข้อแถลงถึงการริบหุ้นกับหนังสือ
บอกกล่าวถึงการริบหุ้นของจำเลยซึ่งโจทก์ได้ส่งให้จำเลยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
ตามเอกสารหมายจ.1จ.2จ.3จึงต้องถือว่าจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวทั้ง3ฉบับ
แล้วจำเลยเพิกเฉยตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าถือได้ว่าโจทก์ได้ดำเนินการตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1121,1123,1124แล้วโจทก์จึงมีสิทธิริบหุ้น
ของจำเลยออกขายทอดตลาดได้ตามมาตรา1125
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1125บัญญัติแต่เพียงว่าหุ้นซึ่งริบแล้วให้
เอาออกขายทอดตลาดโดยไม่ชักช้าเมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้โฆษณาบอกกล่าวขายทอดตลาด
แล้วและโจทก์เป็นผู้ขายทอดตลาดหุ้นแม้ผู้เข้าสู้ราคาจะเป็นเครือญาติของ
กรรมการผู้จัดการของโจทก์ก็ไม่ได้ความว่าเป็นการกระทำแทนโจทก์จึงไม่ต้อง
ห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา512ที่ห้ามมิให้ผู้ขายเข้าสู้ราคา
เองและไม่ปรากฏว่าโจทก์ขายทอดตลาดหุ้นของจำเลยโดยมีพฤติการณ์ไม่สุจริตอย่าง
ไรจึงฟังได้ว่าโจทก์ได้ขายทอดตลาดหุ้นของจำเลยโดยชอบแล้วและเมื่อขายทอดตลาด
ได้เงินน้อยกว่าเงินค่าหุ้นและดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระโจทก์จึงมีสิทธิฟ้อง
เรียกเอาจากจำเลยผู้ถือหุ้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1253/2537
ในวันประชุมวิสามัญครั้งที่
2/2529 จำเลยยังไม่ได้จดแจ้งการรับโอนหุ้นของโจทก์ทั้งสองลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสาม
โดยจำเลยปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นตามมติที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อจะเรียก
ประชุมวิสามัย*
โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิที่จะเข้าประชุมในฐานะผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1176 และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมครั้งนี้
การประชุมวิสามัญครั้งที่ 3/2529
เป็นเพียงการลงมติรับรองมติของที่ประชุมวิสามัญครั้งที่ 2/2529 เป็นมติพิเศษ
ซึ่งโจทก์ทั้งสองมิได้กล่าวอ้างว่ามีการนัดเรียกหรือประชุมหรือลงมติฝ่าฝืน
กฎหมายหรือข้อบังคับของบริษัทอย่างไร โจทก์ทั้งสองจะอ้างว่าจำเลยทำงบดุลและงบกำไรขาดทุนไม่ถูกต้องตามความเป็น
จริงอันเป็นเรื่องที่ได้พิจารณากันในการประชุมครั้งก่อนมาขอให้เพิกถอนมติ
ของที่ประชุมครั้งนี้ไม่ได้
การประชุมวิสามัญเป็นการประชุมใหญ่ครั้งอื่นนอกจากการประชุมสามัญตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1171 ซึ่งการประชุมวิสามัญโดยปกติจะเป็นเรื่องรีบด่วนสำคัญที่ต้องให้ที่ประชุม
ใหญ่วินิจฉัย ไม่อาจรอจนกว่าจะมีการประชุมสามัญได้
และผู้ถือหุ้นอาจต้องออกเสียงลงมติ
หากไม่มีการพักการโอนหุ้นก็อาจมีปัญหาในการตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเข้า
ประชุมและผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ที่ประชุมกรรมการจำเลยมีมติให้ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นชอบแล้ว
การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้โจทก์ทั้งสองร่วมกันใช้แทน
จำเลยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด แม้โจทก์ทั้งสองมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้
ศาลฎีกาย่อมกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
4332/2536
การที่จำเลยโอนหุ้นของบริษัทโจทก์เพื่อชำระหนี้ให้แก่บริษัทโจทก์
โดยวิธีสลักหลังลอยส่งมอบใบหุ้นแก่บริษัทโจทก์
ก็มีผลเท่ากับว่าบริษัทโจทก์รับเอาหุ้นของบริษัทโจทก์ไว้เป็นประกันนั่นเอง
อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1143 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ห้ามบริษัทจำกัดรับจำนำหุ้นของตนเอง
เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์มาตรา 113(มาตรา 151 ที่แก้ไขใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2/2536
ขณะ ก.
มีชีวิตอยู่โจทก์เป็นผู้ครอบครองหุ้นและใบหุ้นไว้แทน ก.เมื่อ
ก.ผู้ถือหุ้นตายโจทก์ชอบที่จะมอบใบหุ้นของก.แก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทเพื่อนำไป
เวนคืนให้บริษัทรับจำเลยลงทะเบียนเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทสืบไปตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1132 แต่โจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าว
ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ
ก.ต้องถือว่าโจทก์ได้ครอบครองใบหุ้นของก.ไว้แทนทายาทของก.ต่อไป
บันทึกตกลงแบ่งทรัพย์สินมีข้อความว่า ให้ทรัพย์สินที่อยู่ในนามของก.ตกเป็นของโจทก์
แต่ต่อมาศาลฎีกาได้พิพากษาว่าบันทึกตกลงแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวเป็นโมฆะเพราะ
ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722
ไม่มีผลบังคับตามกฎหมายเพราะผู้ทำบันทึกต่างเป็นผู้จัดการมรดกของก.กระทำการ
เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกจึงไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ตามกฎหมาย การที่โจทก์ยังคงครอบครองหุ้นและใบหุ้นของก.ไว้ต่อไป
ต้องถือว่าได้ครอบครองไว้แทนจำเลยซึ่งเป็นทายาท
จึงไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
1382ขึ้นยันจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2994/2535
จำเลยกล่าวอ้างว่าการประกาศขายทอดตลาดหุ้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้แจ้งให้
ผู้พบเห็นทราบว่าบริษัทผู้ออกหุ้นมีหุ้นอยู่ทั้งหมดเท่าใด
มีสินทรัพย์และหนี้สินเท่าใด
ผู้ที่ประมูลซื้อคงมีเฉพาะผู้ที่ทราบสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทเท่านั้น
การขายทอดตลาดย่อมต้องมีการสมยอมกัน เป็นการไม่ชอบ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยจะต้องนำสืบให้เห็นดังที่กล่าวอ้าง
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำนวนหุ้นและมูลค่าหุ้นแต่ละหุ้นของบริษัทจำกัดย่อม
ปรากฏในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นและหนังสือบริคณห์สนธิที่ได้จดทะเบียนไว้ต่อ
นายทะเบียน และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะ
ทางการเงินของบริษัทจำกัดคือสินทรัพย์และหนี้สิน ย่อมปรากฏอยู่ในบัญชีงบดุลซึ่งได้ส่งไว้ต่อนายทะเบียนเมื่อสิ้นรอบระยะเวลา
บัญชี เอกสารเหล่านี้บุคคลทั่วไปตลอดจนผู้จะเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดหุ้นสามารถ
ตรวจสอบก่อนที่จะมีการขายทอดตลาดได้อยู่แล้ว
แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้แจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวในประกาศขายทอด ตลาด
ก็ไม่เป็นเหตุให้การขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
776/2533
โจทก์ที่ 1 เป็นภริยา
โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรผู้เยาว์ของผู้ตายโจทก์ทั้งสองต่างเป็นทายาทโดยธรรม
ซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกเป็นส่วนแบ่งหุ้นของผู้ตายในบริษัทจำเลย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599,1600,1629(1),1629 วรรคท้าย และ 1635(1) การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยลงทะเบียนให้โจทก์ที่
1 เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดแต่ผู้เดียวไม่แบ่งหุ้นมรดกให้แก่โจทก์ที่ 2
ถือได้ว่าโจทก์ที่
1มารดาผู้ใช้อำนาจปกครองเอาประโยชน์จากกิจการและประโยชน์นั้นขัดกับประโยชน์
ของโจทก์ที่ 2 ผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574,1575
ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
1118หมายถึงหุ้นจำนวนหุ้นเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้
ถ้ามีหลายคนเป็นเจ้าของหุ้นหุ้นเดียว
ต้องให้คนใดคนหนึ่งใช้สิทธิแต่คนเดียวในฐานะผู้ถือหุ้น แต่กรณีที่หุ้นมรดกมีจำนวน
500 หุ้น จึงอาจแบ่งระหว่างโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 แยกกันถือหุ้นได้ โจทก์ที่
1จึงจะอ้างสิทธิตามมาตรานี้โดยขอใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นเพียงผู้เดียวใน
หุ้นทั้งหมดไม่ได้