มาตรา ๑๓๕๖
ถ้าทรัพย์สินเป็นของบุคคลหลายคนรวมกัน ท่านให้ใช้บทบัญญัติในหมวดนี้บังคับ
เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา ๑๓๕๗
ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากัน
มาตรา ๑๓๕๘
ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของรวมมีสิทธิจัดการทรัพย์สินรวมกัน
ในเรื่องจัดการตามธรรมดา
ท่านว่าพึงตกลงโดยคะแนนข้างมากแห่งเจ้าของรวมแต่เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ
อาจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในทางจัดการตามธรรมดาได้ เว้นแต่ฝ่ายข้างมากได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น
แต่เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ อาจทำการเพื่อรักษาทรัพย์สินได้เสมอ
ในเรื่องจัดการอันเป็นสาระสำคัญ
ท่านว่าต้องตกลงกันโดยคะแนนข้างมากแห่งเจ้าของรวม
และคะแนนข้างมากนั้นต้องมีส่วนไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งแห่งค่าทรัพย์สิน
การเปลี่ยนแปลงวัตถุที่ประสงค์นั้น
ท่านว่าจะตกลงกันได้ก็แต่เมื่อเจ้าของรวมเห็นชอบทุกคน
มาตรา ๑๓๕๙
เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ
อาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก
แต่ในการเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนนั้น
ท่านว่าต้องอยู่ในบังคับแห่งเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๐๒ แห่งประมวลกฎหมายนี้
มาตรา ๑๓๖๐
เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้
แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่นๆ
ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของรวมคนหนึ่งๆ
มีสิทธิได้ดอกผลตามส่วนของตนที่มีในทรัพย์สินนั้น
มาตรา ๑๓๖๑ เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ
จะจำหน่ายส่วนของตน หรือจำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันก็ได้
แต่ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่าย
จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน
ถ้าเจ้าของรวมคนใดจำหน่าย
จำนำ จำนอง
หรือก่อให้เกิดภาระติดพันทรัพย์สินโดยมิได้รับความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน
แต่ภายหลังเจ้าของรวมคนนั้นได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินแต่ผู้เดียวไซร้
ท่านว่านิติกรรมนั้นเป็นอันสมบูรณ์
มาตรา ๑๓๖๒
เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ จำต้องช่วยเจ้าของรวมคนอื่นๆ ตามส่วนของตนในการออกค่าจัดการ
ค่าภาษีอากร และค่ารักษา กับทั้งค่าใช้ทรัพย์สินรวมกันด้วย
มาตรา ๑๓๖๓
เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ มีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้ เว้นแต่จะมีนิติกรรมขัดอยู่
หรือถ้าวัตถุที่ประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร ก็เรียกให้แบ่งไม่ได้
สิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินนั้น
ท่านว่าจะตัดโดยนิติกรรมเกินคราวละสิบปีไม่ได้
ท่านว่าเจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้
มาตรา ๑๓๖๔
การแบ่งทรัพย์สินพึงกระทำโดยแบ่งทรัพย์สินนั้นเองระหว่างเจ้าของรวม หรือโดยขายทรัพย์สินแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน
ถ้าเจ้าของรวมไม่ตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์สินอย่างไรไซร้
เมื่อเจ้าของรวมคนหนึ่งคนใดขอ ศาลอาจสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกแบ่ง
ถ้าส่วนที่แบ่งให้ไม่เท่ากันไซร้ จะสั่งให้ทดแทนกันเป็นเงินก็ได้
ถ้าการแบ่งเช่นว่านี้ไม่อาจทำได้หรือจะเสียหายมากนักก็ดี
ศาลจะสั่งให้ขายโดยประมูลราคากันระหว่างเจ้าของรวมหรือขายทอดตลาดก็ได้
มาตรา ๑๓๖๕
ถ้าเจ้าของรวมต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อบุคคลภายนอกในหนี้อันเกี่ยวกับทรัพย์สินรวม
หรือในหนี้ซึ่งได้ก่อขึ้นใหม่เพื่อชำระหนี้เดิมดั่งว่านั้นก็ดี ในเวลาแบ่งเจ้าของรวมคนหนึ่งๆ
จะเรียกให้เอาทรัพย์สินรวมนั้นชำระหนี้เสียก่อน หรือให้เอาเป็นประกันก็ได้
ถ้าเจ้าของรวมคนหนึ่งต้องรับผิดต่อเจ้าของรวมคนอื่นในหนี้
ซึ่งเกิดจากการเป็นเจ้าของรวม
หรือในหนี้ซึ่งได้ก่อขึ้นใหม่เพื่อชำระหนี้เดิมดั่งว่านั้นก็ดี ในเวลาแบ่ง
เจ้าของรวมผู้เป็นเจ้าหนี้จะเรียกให้เอาส่วนซึ่งจะได้แก่ลูกหนี้ของตนในทรัพย์สินรวมนั้นชำระหนี้เสียก่อน
หรือให้เอาเป็นประกันก็ได้
สิทธิที่กล่าวมาข้างต้นนี้อาจใช้แก่ผู้รับโอน
หรือผู้สืบกรรมสิทธิ์ในส่วนของเจ้าของรวมนั้น
ถ้าจำเป็นจะต้องขายทรัพย์สินรวมไซร้
ท่านให้นำบทบัญญัติมาตราก่อนมาใช้บังคับ
มาตรา ๑๓๖๖
เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ
ต้องรับผิดตามส่วนของตนเช่นเดียวกับผู้ขายในทรัพย์สินซึ่งเจ้าของรวมคนอื่นๆ
ได้รับไปในการแบ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
6219/2559
เมื่อ จ. และ น.
ถึงแก่ความตายแล้วทายาทยังไม่ได้แบ่งปันทรัพย์มรดกกัน
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ. และ น. ดังนั้น ส.
ย่อมมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนทายาททุกคน เมื่อจำเลยที่ 1
เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. จึงอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของทายาททุกคนของ จ. และ น.
เช่นเดียวกับ ส. จำเลยที่ 1 ยังเป็นผู้จัดการมรดกของ น. ร่วมกับ ธ.
และเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ร่วมกับ ก. จำเลยที่ 1
จึงอยู่ในฐานะตัวแทนของทายาททุกคนในการจัดการทรัพย์มรดกของ จ. และ น.
มีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
หรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก และต้องรับผิดต่อทายาทในฐานะตัวแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา
1719 และ 1720 โดยทายาทแต่ละคนไม่จำต้องตั้งตัวแทนอีก การที่จำเลยที่ 1 และ ธ.
ในฐานะผู้จัดการมรดกของ น. ได้จัดการประชุมทายาทของ น. ถึงเจ็ดครั้ง
และเสนอให้ทายาททุกคนประมูลซื้อที่ดินพิพาทก่อน แต่ไม่มีทายาทคนใดเสนอราคา
จากนั้นทายาทลงคะแนนด้วยเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิได้รับมรดกให้ขายที่ดินพิพาทเพื่อนำเงินไปชำระหนี้กองมรดกของ
น. แล้วนำเงินส่วนที่เหลือมาแบ่งปันระหว่างทายาท จากนั้นจำเลยที่ 1 ให้ ธ. และบริษัท
ซ. เป็นผู้ดำเนินการจัดการประมูลที่ดินพิพาท แต่เมื่อได้ราคาต่ำเกินควร
ก็ดำเนินการจัดหาผู้เสนอซื้อรายใหม่ ต่อมาจำเลยที่ 2 เสนอซื้อในราคาที่สูงขึ้น
และในการประชุมครั้งที่ 7
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกเกินกว่ากึ่งหนึ่งลงคะแนนเสียงข้างมากให้ขายที่ดินพิพาทในราคาดังกล่าว
คงมีแต่เพียงโจทก์ที่ 1 คัดค้าน ซึ่งในวันเดียวกันทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ จ.
ก็ให้ความยินยอมขายที่ดินพิพาทในส่วนที่เป็นมรดกของ จ. ไปพร้อมกับมรดกของ น. ด้วย
กรณีดังกล่าวจึงเป็นการที่เจ้าของรวมจัดการอันเป็นสาระสำคัญโดยตกลงกันด้วยคะแนนข้างมากแห่งเจ้าของรวม
และคะแนนข้างมากนั้นมีส่วนไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งแห่งค่าทรัพย์มรดกแล้ว ตาม ป.พ.พ.
มาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1358 วรรคสาม และจำเลยที่ 1 กับ ธ. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ
น. ได้จัดการตามที่จำเป็นเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกของ น. และทายาททุกคนตามหน้าที่อันควรแล้ว
แม้จำเลยที่ 1 และ ธ. จะยังไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้ขายที่ดินพิพาทในส่วนมรดกของ
น. ตามเงื่อนไขในคำสั่งศาลแพ่งกรุงเทพใต้ แต่จำเลยที่ 1 และ ธ.
ก็ยื่นคำร้องขออนุญาตขายที่ดินทรัพย์ถึงสามครั้ง
และยังยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการห้ามทำนิติกรรมในทรัพย์สินกองมรดกของ น.
ซึ่งศาลมีคำสั่งว่า ผู้จัดการมรดกมีอำนาจตามกฎหมายในการแบ่งปันทรัพย์มรดก
และปรากฏว่ากองมรดกของ จ. และ น.
มีหนี้ที่ต้องชำระเป็นจำนวนมากและต้องรับภาระชำระค่าดอกเบี้ยไม่น้อยกว่าปีละ66,000,000 บาท หากไม่รีบดำเนินการขายที่ดินพิพาทย่อมเกิดความเสียหายแก่กองมรดกที่จะต้องรับภาระหนี้เพิ่มขึ้น
ถือได้ว่าจำเลยที่ 1
ได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลและทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยชอบแล้ว
เมื่อที่ดินพิพาทมีชื่อ ส. เป็นผู้มีชื่อในทะเบียน จำเลยที่ 1
ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. จึงมีสิทธิและหน้าที่ในการจัดการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทและมีอำนาจจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่
2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6162/2559
อาคารชุดตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 4 หมายถึง อาคารที่บุคคลสามารถแยกถือกรรมสิทธิ์ออกได้เป็นส่วน ๆ โดยแต่ละส่วนประกอบด้วยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลและกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง เมื่อเจ้าของร่วมในอาคารชุดต้องการเปลี่ยนแปลงการใช้อาคารชุดดังกล่าว ทั้งอาคารเป็นอาคารเพื่อประกอบกิจการโรงแรม จึงทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ทรัพย์ส่วนบุคคล และการใช้ทรัพย์ส่วนกลางซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมภายในอาคารดังกล่าวจะต้องดำเนินการตามที่ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 48 (4) บัญญัติไว้ กล่าวคือ จะต้องกระทำโดยการแก้ไขข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดของจำเลยที่ 1 ด้วยการลงมติของเจ้าของร่วมและจะต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคะแนนเสียงเจ้าของร่วมทั้งหมด ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมได้ลงมติแต่เพียงอนุมัติให้จำเลยที่ 1 ไปยื่นขออนุญาตเปลี่ยนแปลงการใช้อาคารเท่านั้น และการลงมติดังกล่าวก็ไม่อาจถือได้ว่าที่ประชุมใหญ่ได้อนุมัติให้มีการเปลี่ยนแปลงการใช้อาคารจากอาคารชุดเพื่อที่อยู่อาศัยเป็นอาคารชุดเพื่อประกอบกิจการโรงแรมไปในตัว เนื่องจากการอนุมัติให้มีการเปลี่ยนแปลงการใช้อาคารมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ทรัพย์ส่วนกลาง ซึ่งจะต้องกระทำด้วยการแก้ไขข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 48 (4) ดังนั้น ก่อนที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมจะลงมติในการประชุมวาระที่ 7 จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีการลงมติอนุมัติให้จำเลยที่ 1 เปลี่ยนแปลงการใช้อาคารหรือต้องทำการแก้ไขข้อบังคับของจำเลยที่ 1 เสียก่อน การลงมติเจ้าของร่วมด้วยเสียงข้างมากของเจ้าของร่วมที่เข้าประชุม จึงชอบด้วย พ.ร.บ.อาคารชุดฯ มาตรา 44 แล้ว จึงไม่มีเหตุให้ต้องเพิกถอนการลงมติในวาระนี้ ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมได้ลงมติให้นิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 1 มีสิทธิสั่งปรับผู้ที่ฝ่าฝืนข้อบังคับได้ครั้งละไม่เกิน 2,000 บาท มีลักษณะเช่นเดียวกับการตกลงว่าจะให้เบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยจึงมีผลใช้บังคับได้ พ.ร.บ.อาคารชุดฯ มาตรา 18/1 วรรคสอง บัญญัติให้มีการออกข้อบังคับแก่ผู้ที่ไม่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางด้วยการถูกระงับการให้บริการส่วนรวมหรือการใช้ทรัพย์ส่วนกลางได้ แต่ทรัพย์ส่วนกลางตาม พ.ร.บ.อาคารชุดฯ มาตรา 4 หมายถึง ส่วนของอาคารชุดที่มิใช่ห้องชุด ที่ดินที่ตั้งอาคารชุดและที่ดินหรือทรัพย์สินอื่นที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วม เมื่อน้ำประปาหรือก๊าซหุงต้มเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่ภายในห้องชุดแต่ละห้องเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของร่วมแต่ละคนโดยเฉพาะ น้ำประปาและก๊าซหุงต้มจึงมิใช่ทรัพย์ส่วนกลาง การที่ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมลงมติให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิระงับการให้บริการน้ำประปาและก๊าซหุงต้มภายในห้องชุดของผู้ฝ่าฝืนข้อบังคับจึงเป็นการไม่ชอบ พ.ร.บ.อาคารชุดฯ มาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติว่า นิติบุคคลอาคารชุดมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง และให้มีอำนาจกระทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว เมื่อจำเลยที่ 6 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 6 จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 6 ได้ว่าจ้างบุคคลหรือนิติบุคคลที่มีความรู้เชี่ยวชาญมารักษาความปลอดภัย รักษาความสะอาดและซ่อมแซมทรัพย์ส่วนกลางที่ชำรุดเสียหายก็อยู่ในความหมายของคำว่าปฏิบัติหน้าที่ด้วยตนเองตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.อาคารชุดฯ มาตรา 36 วรรคสอง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5752/2559
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้รายที่ 5 ซึ่งยื่นคำขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) และศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยจำนวน 1,087,902.64 บาท โดยให้ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ 128812 และ 137866 ตำบลสำโรงใต้ (สำโรง) อำเภอพระประแดง (พระโขนง) จังหวัดสมุทรปราการ เฉพาะส่วนของจำเลยก่อน ส่วนที่ยังขาดอยู่ให้ได้รับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญ หลังจากนั้นผู้ร้องได้นำผู้คัดค้านยึดที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์หลักประกันของจำเลยซึ่งถือกรรมสิทธิ์รวมกับ ว. และผู้คัดค้านนำออกขายทอดตลาดได้ในราคา 940,000 บาท ซึ่งผู้คัดค้านได้ทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน แล้วจ่ายเงินสุทธิในส่วนของจำเลยเป็นเงิน 438,291 บาท ให้แก่ผู้ร้อง และได้กันเงินในส่วนของ ว. ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมไว้จำนวน 467,650 บาท เมื่อพิจารณาตามคำร้องของผู้ร้องที่ยื่นต่อผู้คัดค้านขอให้จ่ายเงินที่กันไว้ดังกล่าวให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยและ ว. ได้นำทรัพย์หลักประกันที่ยึดมาจดทะเบียนจำนองเพื่อประกันหนี้เงินกู้ และหนี้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยและ ว. เป็นหนี้ร่วมกันต่อผู้ร้องโดย ว. เป็นหนี้ผู้ร้องคิดถึงวันที่ 13 ธันวาคม 2545 เป็นเงิน 935,291.23 บาท เมื่อทรัพย์หลักประกันเป็นของจำเลยและ ว. ที่ถือกรรมสิทธิ์รวมกันและผู้คัดค้านใช้อำนาจยึดออกขายทอดตลาดรวมกันโดยแบ่งแยกกันมิได้ ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้จำนองของผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านขอรับชำระหนี้จำนองในกึ่งหนึ่งของทรัพย์ดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 แม้ ว. จะไม่ได้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดด้วยก็ตามแต่ก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่ผู้ร้องในฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองซึ่งมีบุริมสิทธิที่อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์หลักประกันดังกล่าวได้ตามบทบัญญัติกฎหมายข้างต้นเพื่อรับชำระหนี้จำนองในกึ่งหนึ่งของทรัพย์หลักประกันที่ผู้คัดค้านยึดไว้ไปเสียทีเดียว โดยไม่จำต้องยื่นฟ้องหรือคำร้องต่อศาลก่อน ซึ่งผู้คัดค้านสามารถส่งสำเนาคำร้องของผู้ร้องให้ ว. ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมมีโอกาสคัดค้านแล้วสอบสวนพิจารณามีคำสั่งต่อไปได้ การที่ผู้คัดค้านและศาลจังหวัดสมุทรปราการมีคำสั่งให้ผู้ร้องไปยื่นคำร้องต่อศาลที่มีอำนาจเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3437/2559
โจทก์บรรยายฟ้องมีใจความว่า ห. และ จ. ร่วมกันทำมาหากินประกอบธุรกิจนากุ้งและทำประมง และกิจการอื่น ๆ ตลอดระยะเวลาสิบปี มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นที่ทำมาหาได้ร่วมกันจึงเชื่อได้ว่า ห. และ จ. อยู่กินฉันสามีภริยามาเป็นเวลาสิบปี ทรัพย์ที่ทำมาหาได้ต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันหรือเป็นเจ้าของร่วม รวมทั้งหนี้สินที่เกิดจากกิจการที่ทำมาหากินร่วมกันย่อมถือได้ว่าเป็นหนี้ร่วมกัน เมื่อ ห. กู้ยืมเงินจากจำเลยเพื่อนำไปซื้อลูกกุ้งและอาหารกุ้ง ซึ่งเป็นกิจการที่ ห. ทำร่วมกับ จ. และ จ. ร่วมรับรู้โดย ห.เป็นผู้โทรศัพท์แจ้งแล้ว จ. เป็นผู้มารับเงิน หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ร่วมที่ จ. ต้องร่วมกับ ห. ชำระหนี้ การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ จ. ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาท 2 แปลง ตีใช้หนี้ของ ห. และ จ. ให้แก่จำเลย จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกจำเลยและ ส. หลอกลวง แต่การที่จำเลยรับโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงถือว่าจำเลยผู้ให้กู้ยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่น เป็นการชำระหนี้แทนเงินกู้ซึ่งไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงว่ามีการคิดราคาที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ คือเวลาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ข้อตกลงดังกล่าวจึงขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคสอง ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2559
อาคารชุดตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 4 หมายถึง อาคารที่บุคคลสามารถแยกถือกรรมสิทธิ์ออกได้เป็นส่วน ๆ โดยแต่ละส่วนประกอบด้วยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลและกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง เมื่อเจ้าของร่วมในอาคารชุดต้องการเปลี่ยนแปลงการใช้อาคารชุดดังกล่าว ทั้งอาคารเป็นอาคารเพื่อประกอบกิจการโรงแรม จึงทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ทรัพย์ส่วนบุคคล และการใช้ทรัพย์ส่วนกลางซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมภายในอาคารดังกล่าวจะต้องดำเนินการตามที่ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 48 (4) บัญญัติไว้ กล่าวคือ จะต้องกระทำโดยการแก้ไขข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดของจำเลยที่ 1 ด้วยการลงมติของเจ้าของร่วมและจะต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคะแนนเสียงเจ้าของร่วมทั้งหมด ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมได้ลงมติแต่เพียงอนุมัติให้จำเลยที่ 1 ไปยื่นขออนุญาตเปลี่ยนแปลงการใช้อาคารเท่านั้น และการลงมติดังกล่าวก็ไม่อาจถือได้ว่าที่ประชุมใหญ่ได้อนุมัติให้มีการเปลี่ยนแปลงการใช้อาคารจากอาคารชุดเพื่อที่อยู่อาศัยเป็นอาคารชุดเพื่อประกอบกิจการโรงแรมไปในตัว เนื่องจากการอนุมัติให้มีการเปลี่ยนแปลงการใช้อาคารมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ทรัพย์ส่วนกลาง ซึ่งจะต้องกระทำด้วยการแก้ไขข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 48 (4) ดังนั้น ก่อนที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมจะลงมติในการประชุมวาระที่ 7 จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีการลงมติอนุมัติให้จำเลยที่ 1 เปลี่ยนแปลงการใช้อาคารหรือต้องทำการแก้ไขข้อบังคับของจำเลยที่ 1 เสียก่อน การลงมติเจ้าของร่วมด้วยเสียงข้างมากของเจ้าของร่วมที่เข้าประชุม จึงชอบด้วย พ.ร.บ.อาคารชุดฯ มาตรา 44 แล้ว จึงไม่มีเหตุให้ต้องเพิกถอนการลงมติในวาระนี้ ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมได้ลงมติให้นิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 1 มีสิทธิสั่งปรับผู้ที่ฝ่าฝืนข้อบังคับได้ครั้งละไม่เกิน 2,000 บาท มีลักษณะเช่นเดียวกับการตกลงว่าจะให้เบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยจึงมีผลใช้บังคับได้ พ.ร.บ.อาคารชุดฯ มาตรา 18/1 วรรคสอง บัญญัติให้มีการออกข้อบังคับแก่ผู้ที่ไม่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางด้วยการถูกระงับการให้บริการส่วนรวมหรือการใช้ทรัพย์ส่วนกลางได้ แต่ทรัพย์ส่วนกลางตาม พ.ร.บ.อาคารชุดฯ มาตรา 4 หมายถึง ส่วนของอาคารชุดที่มิใช่ห้องชุด ที่ดินที่ตั้งอาคารชุดและที่ดินหรือทรัพย์สินอื่นที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วม เมื่อน้ำประปาหรือก๊าซหุงต้มเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่ภายในห้องชุดแต่ละห้องเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของร่วมแต่ละคนโดยเฉพาะ น้ำประปาและก๊าซหุงต้มจึงมิใช่ทรัพย์ส่วนกลาง การที่ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมลงมติให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิระงับการให้บริการน้ำประปาและก๊าซหุงต้มภายในห้องชุดของผู้ฝ่าฝืนข้อบังคับจึงเป็นการไม่ชอบ พ.ร.บ.อาคารชุดฯ มาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติว่า นิติบุคคลอาคารชุดมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง และให้มีอำนาจกระทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว เมื่อจำเลยที่ 6 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 6 จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 6 ได้ว่าจ้างบุคคลหรือนิติบุคคลที่มีความรู้เชี่ยวชาญมารักษาความปลอดภัย รักษาความสะอาดและซ่อมแซมทรัพย์ส่วนกลางที่ชำรุดเสียหายก็อยู่ในความหมายของคำว่าปฏิบัติหน้าที่ด้วยตนเองตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.อาคารชุดฯ มาตรา 36 วรรคสอง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5752/2559
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้รายที่ 5 ซึ่งยื่นคำขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) และศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยจำนวน 1,087,902.64 บาท โดยให้ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ 128812 และ 137866 ตำบลสำโรงใต้ (สำโรง) อำเภอพระประแดง (พระโขนง) จังหวัดสมุทรปราการ เฉพาะส่วนของจำเลยก่อน ส่วนที่ยังขาดอยู่ให้ได้รับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญ หลังจากนั้นผู้ร้องได้นำผู้คัดค้านยึดที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์หลักประกันของจำเลยซึ่งถือกรรมสิทธิ์รวมกับ ว. และผู้คัดค้านนำออกขายทอดตลาดได้ในราคา 940,000 บาท ซึ่งผู้คัดค้านได้ทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน แล้วจ่ายเงินสุทธิในส่วนของจำเลยเป็นเงิน 438,291 บาท ให้แก่ผู้ร้อง และได้กันเงินในส่วนของ ว. ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมไว้จำนวน 467,650 บาท เมื่อพิจารณาตามคำร้องของผู้ร้องที่ยื่นต่อผู้คัดค้านขอให้จ่ายเงินที่กันไว้ดังกล่าวให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยและ ว. ได้นำทรัพย์หลักประกันที่ยึดมาจดทะเบียนจำนองเพื่อประกันหนี้เงินกู้ และหนี้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยและ ว. เป็นหนี้ร่วมกันต่อผู้ร้องโดย ว. เป็นหนี้ผู้ร้องคิดถึงวันที่ 13 ธันวาคม 2545 เป็นเงิน 935,291.23 บาท เมื่อทรัพย์หลักประกันเป็นของจำเลยและ ว. ที่ถือกรรมสิทธิ์รวมกันและผู้คัดค้านใช้อำนาจยึดออกขายทอดตลาดรวมกันโดยแบ่งแยกกันมิได้ ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้จำนองของผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านขอรับชำระหนี้จำนองในกึ่งหนึ่งของทรัพย์ดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 แม้ ว. จะไม่ได้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดด้วยก็ตามแต่ก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่ผู้ร้องในฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองซึ่งมีบุริมสิทธิที่อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์หลักประกันดังกล่าวได้ตามบทบัญญัติกฎหมายข้างต้นเพื่อรับชำระหนี้จำนองในกึ่งหนึ่งของทรัพย์หลักประกันที่ผู้คัดค้านยึดไว้ไปเสียทีเดียว โดยไม่จำต้องยื่นฟ้องหรือคำร้องต่อศาลก่อน ซึ่งผู้คัดค้านสามารถส่งสำเนาคำร้องของผู้ร้องให้ ว. ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมมีโอกาสคัดค้านแล้วสอบสวนพิจารณามีคำสั่งต่อไปได้ การที่ผู้คัดค้านและศาลจังหวัดสมุทรปราการมีคำสั่งให้ผู้ร้องไปยื่นคำร้องต่อศาลที่มีอำนาจเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3437/2559
โจทก์บรรยายฟ้องมีใจความว่า ห. และ จ. ร่วมกันทำมาหากินประกอบธุรกิจนากุ้งและทำประมง และกิจการอื่น ๆ ตลอดระยะเวลาสิบปี มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นที่ทำมาหาได้ร่วมกันจึงเชื่อได้ว่า ห. และ จ. อยู่กินฉันสามีภริยามาเป็นเวลาสิบปี ทรัพย์ที่ทำมาหาได้ต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันหรือเป็นเจ้าของร่วม รวมทั้งหนี้สินที่เกิดจากกิจการที่ทำมาหากินร่วมกันย่อมถือได้ว่าเป็นหนี้ร่วมกัน เมื่อ ห. กู้ยืมเงินจากจำเลยเพื่อนำไปซื้อลูกกุ้งและอาหารกุ้ง ซึ่งเป็นกิจการที่ ห. ทำร่วมกับ จ. และ จ. ร่วมรับรู้โดย ห.เป็นผู้โทรศัพท์แจ้งแล้ว จ. เป็นผู้มารับเงิน หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ร่วมที่ จ. ต้องร่วมกับ ห. ชำระหนี้ การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ จ. ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาท 2 แปลง ตีใช้หนี้ของ ห. และ จ. ให้แก่จำเลย จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกจำเลยและ ส. หลอกลวง แต่การที่จำเลยรับโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงถือว่าจำเลยผู้ให้กู้ยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่น เป็นการชำระหนี้แทนเงินกู้ซึ่งไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงว่ามีการคิดราคาที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ คือเวลาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ข้อตกลงดังกล่าวจึงขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคสอง ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2559
คดีก่อนโจทก์ที่ 1
ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แต่ละคนให้ออกจากที่ดินพิพาท
คดีทั้งสามอยู่ระหว่างการพิจารณา
โจทก์ทั้งสองได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่เป็นคดีนี้ แม้โจทก์ที่ 2
ไม่ได้เป็นโจทก์ฟ้องในทั้งสามคดีดังกล่าว แต่โจทก์ทั้งสองมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทร่วมกัน
การที่โจทก์ที่ 1 ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นการที่เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ
ใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1359 ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 2
ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมด้วย จึงถือว่าโจทก์ที่ 2 เป็นโจทก์ในคดีก่อน ส่วนจำเลยที่ 4
ได้เข้าเป็นจำเลยร่วมในทั้งสามคดีตามที่จำเลยแต่ละคดีขอให้ศาลมีหมายเรียก
ซึ่งมีผลให้จำเลยที่ 4 ในฐานะจำเลยร่วมอาจถูกบังคับตามคำฟ้องได้
มีผลเท่ากับว่าจำเลยที่ 4 ถูกฟ้องเป็นจำเลยทั้งสามคดีด้วย จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 4
ได้เข้าเป็นคู่ความในทั้งสามคดีดังกล่าวแล้วเช่นกัน ดังนั้น
คู่ความในคดีนี้กับคู่ความในคดีทั้งสามจึงเป็นคู่ความเดียวกัน
เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน
และจำเลยทั้งสี่ให้การต่อสู้ทำนองเดียวกันกับคดีทั้งสามว่า
ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เช่าจากจำเลยที่ 4
ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้กับคดีทั้งสามจึงมีอย่างเดียวกันว่า
ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองหรือเป็นของจำเลยที่ 4
โจทก์คดีก่อนอาจเรียกค่าเสียหายอย่างที่เรียกคดีนี้ได้จากคดีก่อนอยู่แล้ว
การที่โจทก์ทั้งสองนำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีนี้ในระหว่างที่คดีทั้งสามยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล
อันเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันอีก
ฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีทั้งสาม ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173
วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
4483/2559
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองจำเลยที่
2 น. และ น. จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่าที่ดินพิพาทใช้เป็นที่ตั้งกิจการโรงสีไฟของจำเลยที่
1 และบ้านพักอาศัย จำเลยที่ 2
ในฐานะส่วนตัวไม่มีหน้าที่จะต้องไถ่ถอนจำนองและแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน
มิได้ต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด
ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของห้างที่จะต้องนำมาเพื่อการชำระบัญชีหรือเป็นทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์ทั้งสองกับเจ้าของรวมคนอื่นจึงเป็นการไม่ถูกต้อง
และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยว่าที่ดินเป็นทรัพย์สินของ จ.
นำมาลงทุนเป็นหุ้นในห้างจำเลยที่ 1 อันเท่ากับรับฟังว่าเป็นที่ดินของจำเลยที่ 1
จึงไม่ชอบด้วยเช่นกัน
คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยเพียงว่าจำเลยทั้งสองต้องไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทและแบ่งกรรมสิทธิ์รวมแก่โจทก์ทั้งสองหรือไม่
เห็นว่า กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทมีที่มาจากสัญญาประนีประนอมยอมความ สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโดยรวมเป็นการตกลงแบ่งมรดกในส่วนที่เป็นที่ดินรวม
8 แปลง และหุ้นในห้างจำเลยที่ 1 กับหุ้นในบริษัท ร.
สำหรับที่ดินแปลงอื่นที่จดทะเบียนจำนองได้ระบุว่าให้นำเงินของจำเลยที่ 1
ไถ่ถอนจำนองและจดทะเบียนโอนให้แก่ทายาทที่ระบุชื่อไว้ แต่ที่ดินพิพาทซึ่งขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความมีภาระจำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่
1 ที่มีต่อธนาคารอยู่ก่อนแล้ว ไม่มีการกล่าวถึงการไถ่ถอนจำนอง
เพียงแต่ระบุส่วนแห่งกรรมสิทธิ์ของเจ้าของรวมแต่ละคน
เมื่อรับฟังประกอบข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ตั้งของโรงสีและสิ่งปลูกสร้างอื่นที่ใช้ร่วมกันมาตั้งแต่เริ่มประกอบกิจการจนถึงปัจจุบัน
และหนี้ที่ที่ดินพิพาทจำนองเป็นประกันก็เป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1
กู้จากธนาคารมาใช้หมุนเวียนในการดำเนินกิจการ
เมื่อเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทคือผู้ถือหุ้นในห้างจำเลยที่ 1
โดยมีส่วนเท่ากับส่วนของหุ้นที่ได้รับจึงเห็นได้ว่าผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินต่างมีเจตนาใช้ที่ดินพิพาทเป็นสถานที่ประกอบกิจการโรงสีและใช้เป็นหลักประกันหนี้ของจำเลยที่
1 กันต่อไปเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของห้างจำเลยที่ 1
หากจะแบ่งที่ดินดังกล่าวให้แก่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมเสียในขณะนี้ย่อมไม่เป็นไปตามเจตนาดังกล่าวทั้งยังส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการของห้างให้ไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้
ทั้งศาลวินิจฉัยไว้แล้วว่ายังไม่มีเหตุให้ต้องเลิกห้างอันจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินทั้งหมดทุกคน
แม้เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนหนึ่งๆ จะมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้
แต่จะเรียกให้แบ่งในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันสมควรไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363
วรรคสาม
พฤติการณ์ดังกล่าวมาถือได้ว่ายังไม่เป็นโอกาสอันสมควรที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทและเป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่
1 จะเรียกให้แบ่งทรัพย์สิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
12170/2558
แม้จำเลยจะไม่ใช่คู่ความซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่มีสิทธิขอให้บังคับคดีตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 271
แต่กรณีนี้เป็นเรื่องที่ศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมตามข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมฉบับลงวันที่
24 กุมภาพันธ์ 2524 และแผนที่ด้านหลังบันทึกดังกล่าว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364
วรรคหนึ่ง
ซึ่งโจทก์และจำเลยต่างมีภาระร่วมกันที่จะต้องไปดำเนินการแบ่งแยกที่ดินให้เป็นไปตามคำพิพากษา
เมื่อคำร้องของจำเลยฉบับลงวันที่ 11 เมษายน 2554
ที่ขอให้บังคับโจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาเป็นคำร้องที่สืบเนื่องมาจากคำร้องฉบับลงวันที่
1 กรกฎาคม 2551
ที่จำเลยยื่นต่อศาลขอให้ออกหมายเรียกโจทก์และเจ้าพนักงานที่ดินมาสอบถามเรื่องที่โจทก์ไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบผลการรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมอันเป็นเหตุขัดข้องทำให้เจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยได้
จึงเป็นกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงในเบื้องต้นว่าโจทก์ไม่ให้ความร่วมมือในการแบ่งแยกที่ดิน
ย่อมถือว่ามีเหตุขัดข้อง ทำให้ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลได้
ศาลชั้นต้นควรต้องสอบถามโจทก์และจำเลยก่อนไม่ควรด่วนยกคำร้องของจำเลยไปเสียทีเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
6667/2558
คำพิพากษาของศาลที่ให้จำเลยทั้งห้าแบ่งทรัพย์มรดกของ
น. แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทด้วยกัน
เป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทและเจ้าของรวมทุกคนพึงแบ่งทรัพย์สินนั้นเองระหว่างเจ้าของรวมด้วยกัน
หรือขายทรัพย์สินนั้นแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคหนึ่ง
แต่เมื่อยังไม่มีการดำเนินการดังกล่าว ลำพังเพียงโจทก์เจรจากับจำเลยที่ 5
ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งคนหนึ่งโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 5
ได้รับมอบหมายจากทายาทอื่นให้เป็นตัวแทนเจรจากับโจทก์
จึงรับฟังไม่ได้ว่าเจ้าของรวมไม่อาจตกลงแบ่งทรัพย์สินกันได้
อันเป็นเหตุยึดทรัพย์มรดกมาขายทอดตลาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคสอง
เมื่อถือไม่ได้ว่าการบังคับตามคำพิพากษาของโจทก์เป็นไปตามลำดับขั้นตอนการแบ่งทรัพย์สิน
จึงต้องเพิกถอนการยึดทรัพย์มรดกเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
5951/2558
การใช้สิทธิฟ้องคดีเพื่อขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินที่บุคคลหลายคนถือกรรมสิทธิ์รวม
เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ย่อมใช้สิทธิฟ้องคดีได้เพียงลำพังตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359
หาใช่เป็นเรื่องที่ต้องทำร่วมกันไม่
โจทก์ทั้งสองจึงมิได้เป็นผู้มีอำนาจร่วมกันในการฟ้องคดี
หากแต่เป็นเรื่องที่ต่างคนต่างใช้สิทธิของตน การมอบอำนาจให้ ส.
ฟ้องและดำเนินคดีแทน
จึงเป็นกรณีที่ผู้มอบอำนาจมีหลายคนแล้วมอบอำนาจในตราสารฉบับเดียวกัน
ต้องคิดตามรายตัวผู้มอบคนหนึ่งเป็นเรื่องหนึ่ง ซึ่งต้องปิดแสตมป์ 60 บาท
มิใช่เพียง 30 บาท
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
บัญญัติว่า ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว
การปิดแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจจึงสามารถกระทำในระหว่างพิจารณาคดีหรือสืบพยานได้
หาใช่ต้องปิดแสตมป์ในขณะที่ยื่นฟ้องไม่ เช่นนี้ แม้ขณะฟ้องโจทก์ทั้งสองปิดแสตมป์หนังสือมอบอำนาจเพียง
30 บาท แต่เมื่อในการสืบพยาน โจทก์ทั้งสองปิดแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเป็นจำนวน 60
บาท ครบถ้วน จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีว่าโจทก์ทั้งสองมอบอำนาจให้ ส.
ฟ้องและดำเนินคดีแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1340/2558
โจทก์ที่ 2
กับจำเลยเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายและอยู่กินฉันสามีภริยาที่บ้านพิพาทจนกระทั่งโจทก์ที่
2 ล้มป่วยลงด้วยโรคหลอดเลือดในสมองตีบ
เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1461 โจทก์ที่ 2
กับจำเลยต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาและต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน
ซึ่งหมายความรวมถึงการดูแลทุกข์สุขและความเจ็บป่วยซึ่งกันและกัน
การอยู่ร่วมกันในบ้านพิพาทจึงเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้โจทก์ที่ 2
กับจำเลยสามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสามีภริยาต่อกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีพฤติการณ์ส่อไปในทางไม่สมัครใจที่จะดูแลโจทก์ที่
2
การให้จำเลยออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาทย่อมเป็นอุปสรรคขัดขวางทำให้จำเลยไม่สามารถดูแลโจทก์ที่
2 ได้ เมื่อโจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของร่วมคนหนึ่งในที่ดินและบ้านพิพาท
ย่อมมีสิทธิที่จะใช้สอยและอยู่อาศัยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360
จำเลยในฐานะภริยาของโจทก์ที่ 2
ก็ย่อมมีสิทธิที่จะอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทเช่นกัน
หากจำเลยมีพฤติกรรมกระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างไร
ก็ชอบที่โจทก์ที่ 2 จะใช้สิทธิฟ้องหย่าเป็นคดีต่างหาก โจทก์ที่ 2
จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
ส่วนโจทก์ที่ 1
กับโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 5
ซึ่งเป็นเจ้าของรวมจะใช้สิทธิของตนให้ขัดต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่นไม่ได้
จำเลยในฐานะภริยามีสิทธิพักอาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ที่ 2
ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่ง โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 5
จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยด้วยเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
7844/2557
โจทก์ทั้งสามและจำเลยที่
2 ต่างเป็นทายาทโดยธรรมของ พ. เจ้ามรดกลำดับเดียวกัน
ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งมรดกเท่ากัน
ทั้งมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งร่วมกันจนกว่าจะแบ่งมรดกแล้วเสร็จ
จึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งสามและจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทเท่า ๆ กัน
การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2
แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน
จึงเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 ดังนั้น
โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกย่อมฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกที่จำเลยที่
1 โอนให้แก่จำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวจากจำเลยที่ 2 ได้ตามมาตรา 1745 ประกอบมาตรา
1363 เมื่อโจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกกระทำการโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่
2 แต่เพียงผู้เดียวซึ่งไม่ถูกต้อง จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก
กำหนดอายุความต้องบังคับตามมาตรา 1733 วรรคสอง หาใช่บังคับตามมาตรา 1754 วรรคหนึ่ง
ประกอบมาตรา 1755
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
713/2557
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนทรัพย์มรดกพิพาทมาเป็นของตนแต่ผู้เดียว
แล้วต่อมาจดทะเบียนยกให้จำเลยที่ 2 โดยโจทก์และทายาทอื่นมิได้รู้เห็นยินยอม
เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719
ถือเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจ ไม่มีผลผูกพันโจทก์และทายาทอื่นตามมาตรา 1720
และมาตรา 823 จำเลยที่ 2 ผู้รับการยกให้ไม่อาจได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ แม้จำเลยที่ 3
ผู้ซื้อทรัพย์มรดกพิพาทจากจำเลยที่ 2 จะรับโอนมาโดยสุจริต
เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนแล้วก็ไม่มีสิทธิ
ตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน แต่ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายซึ่งมีทายาทด้วยกันรวม
6 คน การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2
และนิติกรรมการขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3
จึงเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ทายาทด้วยกันทั้งหมดทุกคนตามมาตรา
1359 เมื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิในที่ดินพิพาทอยู่ 1 ใน 6 ส่วน
จึงต้องเพิกถอนนิติกรรมการให้และนิติกรรมการขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์และทายาทอื่นเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
12827/2556
โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิที่จะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินที่ตนเองเป็นเจ้าของรวมอยู่ได้
เว้นแต่จะมีนิติกรรมขัดอยู่
หรือถ้าวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร
ก็จะเรียกแบ่งไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า
มีข้อตกลงร่วมกันระหว่างบิดาขณะยังมีชีวิตอยู่กับบุตรทุกคนรวมทั้งโจทก์
จำเลยทั้งสี่ และ ธ. ด้วยว่าห้ามโอนหรือแบ่งแยกที่พิพาท
ซึ่งมีลักษณะเป็นนิติกรรมห้ามแบ่งแยกระหว่างเจ้าของรวมด้วยกัน
แต่จะรับฟังถึงขนาดว่าวัตถุประสงค์ที่โจทก์ จำเลยทั้งสี่ และ ธ.
เป็นเจ้าของรวมกันมีลักษณะเป็นการถาวรคงยังไม่ชัดแจ้งนัก
ทั้งนิติกรรมที่ห้ามแบ่งทรัพย์สิน จะใช้บังคับระหว่างเจ้าของรวมด้วยกันเกิน 10 ปี
ไม่ได้ ตามมาตรา 1363 วรรคสอง
หาใช่ว่าไม่มีกำหนดระยะเวลาดังที่จำเลยทั้งสี่กล่าวอ้างมาในฎีกาไม่
เมื่อนิติกรรมห้ามโอนได้ตกลงกันไว้ตั้งแต่ปี 2534
จนถึงวันที่โจทก์ฟ้องขอเรียกแบ่งทรัพย์สินเกินกว่า 10 ปี แล้ว
และไม่ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องเรียกขอแบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควร ตามมาตรา
1363 วรรคสาม โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้แบ่งที่ดินพิพาทได้ตามมาตรา 1363
วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6870/2556
จำเลยที่ 2 และที่ 3
ให้การต่อสู้ว่าข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2
เป็นการตกลงแบ่งทรัพย์สินในลักษณะเจ้าของรวม แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3
จะอุทธรณ์อ้างว่าต้องนำบทกฎหมายว่าด้วยหุ้นส่วนมาใช้บังคับก็เป็นข้อที่คู่ความหยิบยกเอาข้อกฎหมายมาปรับใช้แก่ข้อเท็จจริงในคดีอันเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลโดยเฉพาะ
และหากศาลเห็นว่าข้อกฎหมายที่คู่ความอ้างมาไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะปรับบทกฎหมายไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนเองได้
อุทธรณ์ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวแล้วในศาลชั้นต้น
แม้ทรัพย์สินที่จำเลยที่
1 ได้มาในระหว่างสมรสกับโจทก์จะเป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1
มีกรรมสิทธิ์รวมกับบุคคลอื่นก็ต้องถือว่าในส่วนที่จำเลยที่ 1
มีกรรมสิทธิ์เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1
เพราะสินสมรสไม่จำต้องเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองเป็นฝ่ายร่วมกันทำมาหาได้
หากแต่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาก็ย่อมมีผลให้เป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474
(1) โดยไม่จำต้องมีข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมก่อนจึงจะเป็นสินสมรส
การที่จำเลยที่ 1
ตกลงกับจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับการแบ่งทรัพย์สินซึ่งส่วนของจำเลยที่ 1
เป็นสินสมรสจึงมิใช่เป็นการแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมตามปกติตาม ป.พ.พ. มาตรา
1364 หากแต่มีลักษณะเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับสินสมรสตาม ป.พ.พ.
มาตรา 850 และเป็นการจัดการสินสมรส ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 (6) วรรคหนึ่ง
บัญญัติให้ต้องจัดการร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อโจทก์มิได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยที่
1 ในการทำนิติกรรมดังกล่าว
โจทก์ชอบที่จะฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมแบ่งทรัพย์สินได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480
จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาททั้งแปลงไปขายให้แก่จำเลยที่ 3
เพราะการจำหน่ายตัวทรัพย์สินจะกระทำได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 3 ทราบดีว่าจำเลยที่ 1
ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 3 จึงกระทำการโดยไม่สุจริตและไม่มีสิทธิดีไปกว่าจำเลยที่ 2 โจทก์ขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่
2 และที่ 3 เฉพาะทรัพย์ส่วนที่เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1993/2556
การที่องค์การนานาชาติแพนเพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศไทยได้มอบเงินให้เปล่าแก่ชาวบ้านหมู่บ้านป่าดู่ผ่านกองทุนหมู่บ้านป่าดู่
โดยให้คณะกรรมการหมู่บ้านบริหาร โจทก์ที่ 8
เป็นชาวบ้านหมู่บ้านป่าดู่จึงมีส่วนเป็นเจ้าของเงินด้วย
เมื่อจำเลยทั้งสี่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดสรรเงินกู้ยืมและติดตามเงินกู้ยืมคืนจากชาวบ้าน
แต่จำเลยทั้งสี่ไม่นำเงินที่ชาวบ้านชำระหนี้เงินกู้ยืมเข้าบัญชี
โดยนำไปใช้จ่ายส่วนตัว โจทก์ที่ 8
ย่อมได้รับความเสียหายและถือว่าถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์ที่ 8
จึงมีอำนาจฟ้อง
กองทุนหมู่บ้านป่าดู่มิได้เป็นนิติบุคคลจึงไม่จำต้องมีผู้กระทำการแทนนิติบุคคลตามบทบัญญัติของกฎหมาย
และไม่ปรากฏว่ามีข้อบังคับใด ๆ
ของกองทุนหมู่บ้านป่าดู่ที่กำหนดให้คณะกรรมการกองทุนทั้ง 11 คน
ต้องกระทำการร่วมกันในการใช้สิทธิฟ้องร้องเรียกเงินกองทุนคืนจากจำเลยทั้งสี่แต่อย่างใด
เมื่อโจทก์ที่ 8 มีส่วนเป็นเจ้าของเงินกองทุนอยู่ด้วย โจทก์ที่ 8
ย่อมใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา
1359 รวมทั้งการใช้สิทธิทางศาลด้วย โจทก์ที่ 8
แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินกองทุนที่จำเลยทั้งสี่นำไปใช้จ่ายส่วนตัวและยังไม่ชำระคืนโดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจากเจ้าของรวมคนอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
16469/2555
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363
วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้
เว้นแต่จะมีนิติกรรมขัดอยู่
หรือถ้าวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวรก็เรียกให้แบ่งไม่ได้"
และวรรคสามบัญญัติว่า "ท่านว่าเจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้"
ตามข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ว.
โจทก์และจำเลยทั้งสองมีข้อตกลงกันว่าการซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์พิพาทนี้ห้ามแบ่งแยกกัน
แม้จะได้ความจาก ว. ที่ตอบคำถามค้านทนายจำเลยทั้งสองว่า ว. ต้องการให้โจทก์มีที่ทำกินในอาคารพาณิชย์พิพาทร่วมกับจำเลยทั้งสองไปเรื่อย
ๆ แต่ ว. เป็นเพียงผู้ออกเงินชำระค่าที่ดินมิใช่เจ้าของรวม
จึงถือไม่ได้ว่าเป็นวัตถุประสงค์ของเจ้าของรวมให้ใช้ประโยชน์ร่วมกันอันมีลักษณะเป็นการถาวร
การที่จำเลยที่ 2 ยังเป็นผู้เยาว์ก็มิใช่ข้อห้ามแบ่งแยกและไม่ใช่กรณีไม่เป็นโอกาสอันควรแต่อย่างใด
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่อาจทำกิจการค้าต่อไปได้
และการที่จะให้ผู้อื่นเช่าก็เกิดปัญหากับจำเลยทั้งสองถึงขั้นตกลงกันไม่ได้
จะให้จำเลยทั้งสองครอบครองโดยให้ประโยชน์ตอบแทนแก่โจทก์ก็เกิดปัญหาเรื่องจำนวนค่าตอบแทน
การถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันต่อไปย่อมไม่เกิดประโยชน์
การที่โจทก์ต้องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจึงเป็นสิทธิของโจทก์และมีความเหมาะสม
โจทก์จึงเรียกให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและอาคารพาณิชย์พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
14736/2555
การที่ทรัพย์สินใดจะเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานทั้งมวลประกอบกัน
ลำพังการลงลายมือชื่อรับรองต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าเงินทั้งหมดที่ซื้อเป็นสินส่วนตัวของจำเลยซึ่งเป็นคนไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว
เป็นเพียงหลักฐานเบื้องต้นเท่านั้น
แต่เมื่อพยานหลักฐานทั้งหมดรับฟังได้ว่าโจทก์ไม่ได้ซื้อที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อให้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่เพียงผู้เดียว
ที่ดินและบ้านพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยร่วมกัน
การแบ่งทรัพย์สินพึงกระทำโดยแบ่งทรัพย์สินนั้นเองระหว่างเจ้าของรวมหรือโดยขายทรัพย์สินแล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งกัน
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3
พิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าที่ดินพิพาทแก่โจทก์ก่อน
หากไม่ชำระเงินจึงยึดที่ดินมาขายทอดตลาดนำเงินที่ได้จากการขายมาแบ่งกัน
จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
13718/2555
เงินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันก่อนที่โจทก์และจำเลยจดทะเบียนสมรสกัน
เมื่อนำเงินดังกล่าวไปซื้อที่ดินและบ้าน
ที่ดินและบ้านที่ซื้อจึงเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์และจำเลย
การจดทะเบียนสมรสกันในภายหลังไม่มีผลทำให้ที่ดินและบ้านดังกล่าวกลายเป็นสินสมรสแต่อย่างใด
จึงยังคงเป็นสินส่วนตัวของทั้งโจทก์และจำเลย ซึ่งต้องแบ่งกันคนละกึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
9761/2555
ป.พ.พ. มาตรา 1361
บัญญัติว่า "เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ จะจำหน่ายส่วนของตนหรือจำนอง
หรือก่อให้เกิดภาระติดพันก็ได้ แต่ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่าย จำนำ จำนอง
หรือก่อให้เกิดภาระติดพันได้ ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน"
แม้ผู้ร้องจะเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง 1 ใน 7 ส่วน
แต่จากการไต่สวนข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของจ่าสิบเอก
บ.จดทะเบียนใส่ชื่อของจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเพียงคนเดียว
และนำที่ดินดังกล่าวไปจำนองเพื่อประกันหนี้ไว้แก่โจทก์
ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องและบรรดาทายาทอื่นของจ่าสิบเอก บ.โต้แย้งคัดค้านแต่อย่างใด
ทั้งผู้ร้องและพี่น้องคนอื่นซึ่งเป็นบุตรของจำเลยยังเคยเจรจากับโจทก์ว่าไม่คิดจะโกงโจทก์
และภายหลังโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้ว
ผู้ร้องยังมีส่วนเจรจากับโจทก์โดยขอให้โจทก์ยอมลดยอดหนี้ให้แก่จำเลย
จนจำเลยและโจทก์ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
และเมื่อมีการยึดที่ดินดังกล่าวออกขายทอดตลาด
ผู้ร้องยังได้ไปดูแลการขายทอดตลาดแทนจำเลยอีกด้วย แสดงว่าตลอดระยะเวลาประมาณ 20 ปี
นับแต่จำเลยนำที่ดินพิพาททั้งสองแปลงไปจำนองไว้แก่โจทก์ ผู้ร้องรู้มาโดยตลอด
แต่ไม่เคยโต้แย้งหรือคัดค้าน
แสดงว่าผู้ร้องมีเจตนาให้จำเลยแสดงตนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่ผู้เดียวและยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพิพาทได้
การจำนองผูกพันผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง
ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงออกจากการขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
7899/2555
โจทก์และจำเลยแถลงรับกันว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในบ้านพิพาท
และตกลงกันได้แล้วว่าจะแบ่งกรรมสิทธิ์รวมโดยให้บ้านพิพาทตกเป็นของจำเลย
แล้วชำระราคาบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งตามฟ้อง
คงมีปัญหาเฉพาะเรื่องราคาบ้านพิพาทซึ่งจำเลยยังไม่ยอมรับราคาตามที่โจทก์ฟ้อง
กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคสอง
ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานและพิพากษาให้นำบ้านพิพาทออกขายโดยประมูลราคากันระหว่างโจทก์และจำเลย
หากไม่สามารถตกลงกันได้ให้นำออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง
ซึ่งเป็นวิธีการแบ่งกรณีเจ้าของรวมไม่ตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์สินอย่างไร จึงไม่ชอบ
แม้จำเลยจะไม่ได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานก็ตาม
แต่กรณีเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาให้ได้ความจริงตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้
มิใช่ประเด็นที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานและจำเลยมิได้คัดค้านไว้
จึงเห็นควรให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
3414/2555
โจทก์และจำเลยมีข้อตกลงตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินว่าให้ที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออกที่ใช้ร่วมกันและยังไม่มีการตกลงเปลี่ยนแปลงเช่นนี้แล้ว
โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมจึงไม่มีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์ เนื่องจากมีนิติกรรมขัดอยู่
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
3632/2554
พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่
ฯ มาตรา 5 ข้อ 14 บัญญัติให้ผู้จัดการปกครองศาลเจ้ามีอำนาจและหน้าที่จัดการทั่วไปในกิจการเพื่อประโยชน์แก่ศาลเจ้าโดยฐานะและกาลอันสมควร
และมีอำนาจหน้าที่เข้าเป็นโจทก์หรือจำเลยในอรรถคดีทั้งแพ่งและอาญาอันเกี่ยวด้วยเรื่องศาลเจ้าทุกประการ
ผู้ร้องสอดจึงมีอำนาจดำเนินคดีในฐานะเป็นคู่ความตามกฎหมายได้ตามบทบังคับแห่งกฎเสนาบดีดังกล่าว
แต่อย่างไรก็ตามการที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดว่า
โจทก์ทั้งสองและผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมยกที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องสอดแล้ว
ผู้ร้องสอดเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยสงบ
เปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปี ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องสอดเป็นการกล่าวอ้างข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์
คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองที่ขอให้บังคับจำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินพิพาท
ย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิของผู้ร้องสอด คำร้องสอดของผู้ร้องสอดดังกล่าวจึงเป็นคำร้องสอดเข้าเป็นคู่ความเพื่อให้ได้รับความรับรอง
คุ้มครองสิทธิหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)
แม้คำร้องสอดจะกล่าวว่าขอเข้าเป็นคู่ความร่วมก็ตาม
และผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ดังบัญญัติไว้ในมาตรา
58 วรรคหนึ่ง คำร้องสอดของผู้ร้องถือเป็นคำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
ซึ่งได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าผู้ร้องสอดปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น
รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นแล้ว คำร้องสอดจึงชอบด้วยกฎหมาย
อนึ่ง
การที่โจทก์ทั้งสองและผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมแสดงเจตนายกที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินเอกชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้องสอดแล้ว
แต่ยังไม่ได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กัน
การอุทิศที่ดินของโจทก์ทั้งสองและผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมจึงยังไม่มีผลให้ที่ดินพิพาทตกเป็นสมบัติสำหรับผู้ร้องสอดโดยสิทธิ์ขาด
โจทก์ทั้งสองและผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท
การที่โจทก์ทั้งสองและผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมยกที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องสอดเพื่อใช้เป็นที่ตั้งแห่งใหม่เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ของผู้ร้องสอด
แต่ผู้ร้องสอดกลับนำที่ดินพิพาทออกให้บุคคลภายนอกและจำเลยเช่าโดยให้จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินพิพาท
จึงเป็นการขัดต่อเจตนาของโจทก์ทั้งสองและผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม
ทั้งจำเลยให้การกล่าวแก้ข้อพิพาทโดยอ้างสิทธิการเช่าจากผู้ร้องสอดซึ่งไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์
จำเลยจึงไม่อาจยกสิทธิที่เกี่ยวกับสัญญาเช่าขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสองผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อย่างแท้จริงได้
เมื่อจำเลยเข้าไปปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง
จึงเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ทั้งสองในฐานะเจ้าของรวมย่อมใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก
หรือเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิสุจริตแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2952/2554
สัญญาซื้อขายบ้านและที่ดินพิพาทเป็นสัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน
เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างโจทก์และจำเลย เพื่อให้โจทก์นำที่ดินและบ้านพิพาทไปจำนองเป็นประกันหนี้กู้ยืมต่อธนาคาร
และให้จำเลยทำสัญญาเช่าเพื่อเป็นประกันการผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคาร
สัญญาซื้อขายและสัญญาเช่าดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง
เจตนาที่แท้จริงของโจทก์และจำเลยเกิดจาก
ส. และจำเลยเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยเนื่องจากเจ้าหนี้จะยึดที่ดินและบ้านที่อยู่อาศัยชำระหนี้
แต่จำเลยและ ส. ไม่สามารถกู้ยืมเงินจากธนาคารมาชำระหนี้ได้
จึงต้องขอให้โจทก์เป็นผู้กู้ยืมเงินให้เพื่อนำเงินไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของจำเลย
เพื่อจะนำที่ดินมาเป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยและ ส. โดยจำเลยและ ส.
มีหน้าที่ร่วมกันผ่อนชำระหนี้ที่โจทก์กู้ยืมมาคนละครึ่ง หากจำเลยและ ส.
ร่วมกันชำระหนี้จนครบ 10 ปี ตามสัญญาจำนอง หนี้จะหมด
จำเลยมีสิทธิได้แบ่งที่ดินส่วนที่จำเลยปลูกบ้านแล้วจำนวนครึ่งหนึ่งของที่ดินทั้งหมดนอกจากส่วนที่กันเป็นถนน
ส่วนที่ดินที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจะตกเป็นของ ส.
ซึ่งถือเป็นตัวการซึ่งเชิดโจทก์เป็นตัวแทนทำนิติกรรมแทน ส.
สัญญาตามบันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาซื้อขายที่ดินแม้จะถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท
แต่เจตนาที่แท้จริงของโจทก์และจำเลยที่ต้องการให้ ส. และจำเลยมีที่ดินอยู่อาศัยคนละครึ่ง
จึงให้จำเลยร่วมผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคารครึ่งหนึ่ง
เพื่อว่าเมื่อจำเลยร่วมผ่อนชำระหนี้ครบแล้วจะได้แบ่งที่ดินครึ่งหนึ่งจึงพึงสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่า
คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีเจตนาจะให้ตกลงในส่วนนี้แยกออกจากสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท
ข้อตกลงในส่วนนี้จึงไม่ตกเป็นโมฆะและมีผลผูกพันโจทก์ว่าเมื่อจำเลยร่วมผ่อนชำระหนี้จำนองแก่ธนาคารแม้เพียงบางส่วนจำเลยก็มีสิทธิในที่ดินพิพาทฐานะในเจ้าของร่วมด้วยเช่นกัน
โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
6292/2554
จำเลยที่ 1
จดทะเบียนสมรสกับทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2 ในเวลาห่างกันเพียง 20 วัน
และอยู่กินฉันสามีภริยาทั้งกับโจทก์และจำเลยที่ 2
ในลักษณะเป็นครอบครัวเดียวกันมานานถึงประมาณ 20 ปี โจทก์จึงมาฟ้องเป็นคดีนี้
ทรัพย์สินตามคำฟ้องที่โจทก์อ้างเป็นสินสมรสนั้น
เป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างเวลาดังกล่าวโดยไม่อาจทราบได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของคนละเท่าใด
กรณีต้องสันนิษฐานว่าแต่ละคนมีส่วนเท่ากันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1357 จึงต้องแบ่งทรัพย์เป็นสามส่วนเท่าๆ
กัน และมีสิทธิคนละหนึ่งส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1353/2554
ผู้ร้องและจำเลยที่ 2
ได้ตกลงแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทก่อนมีการบังคับคดี
ข้อตกลงย่อมผูกพันจำเลยที่ 2 และผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สามัญมีสิทธิบังคับคดีได้เท่าที่จำเลยที่
2 มีสิทธิในที่ดินพิพาท
ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอให้กันที่ดินพิพาทที่ผู้ร้องครอบครองก่อนนำที่ดินทั้งแปลงออกขายทอดตลาดตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 287
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9508/2553
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้อง
ให้เพิกถอนหมายบังคับคดีและการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท
โดยอ้างว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์กับจำเลยที่ 1 และไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ
ว. เพราะก่อนที่ ว. จะถึงแก่ความตายได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้อง
โดยสละการครอบครองและส่งมอบการครอบครองให้ผู้ร้องตามคำร้องของผู้ร้องมีความมุ่งหมายเพื่อได้รับผลที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยที่ดินพิพาทที่ยึดคืนให้แก่ผู้ร้อง
จึงเป็นกรณีที่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 288 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องร้องขัดทรัพย์
มิใช่เป็นการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนวิธีการบังคับคดีตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 แต่การที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อนำออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาแบ่งให้โจทก์และจำเลยทั้งสองตามส่วนนั้น
เป็นวิธีการแบ่งทรัพย์สินให้เป็นไปตามคำพิพากษาที่ให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท
โดยศาลกำหนดไว้ว่าหากไม่สามารถแบ่งได้ให้ประมูลราคากันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองถ้าตกลงกันไม่ได้ให้นำที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินที่ได้แบ่งให้โจทก์
1 ใน 3 ส่วน
อันเป็นวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้มีสิทธิร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364
วรรคสอง
โจทก์และจำเลยทั้งสองมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกัน
จึงมิใช่การร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดอันเป็นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 288 เข้ามาในชั้นบังคับคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8755/2553
โจทก์ทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทผู้ร้องกับจำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมกันและจำเลยจำนองเฉพาะส่วนของตนไว้แก่โจทก์
แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าของใครอยู่ส่วนใด โจทก์จึงนำยึดทั้งแปลง
ในชั้นยื่นคำคัดค้านโจทก์ก็ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าว แต่คัดค้านว่า
การขอกันส่วนเป็นที่ดินตามเนื้อที่ในคำร้องเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ชอบที่ผู้ร้องจะต้องไปขอกันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินในภายหลัง
แต่ในชั้นไต่สวนโจทก์กลับสละสิทธิตามคำคัดค้าน
โดยแถลงต่อศาลว่าโจทก์ได้เจรจากับจำเลยแล้ว
ไม่ติดใจที่จะคัดค้านการขอกันส่วนของผู้ร้อง แสดงว่าโจทก์ยอมให้ผู้ร้องกันส่วนที่ดินที่ผู้ร้องอ้างว่าครอบครองเป็นส่วนสัดตามคำร้องออกไปจากการบังคับคดีได้
โดยไม่ต้องรอรับเงินกันส่วนหลังจากการขายทอดตลาด
ต่อมาเมื่อผู้ร้องขอให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 ส่วนเท่ากัน โดยผู้ร้องตกลงเอาส่วนด้านตะวันออก จำเลยตกลงเอาส่วนด้านตะวันตก
โจทก์ก็แถลงรับต่อศาลว่าตรงตามที่พิพาทกัน
อันแสดงถึงการยอมรับในความถูกต้องของการแบ่ง
อีกทั้งเมื่อผู้ร้องอุทธรณ์และฎีกาขอให้กันส่วนที่ดินตามคำร้อง
โจทก์ก็ไม่ยื่นคำแก้อุทธรณ์และคำแก้ฎีกา
ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับที่จะให้มีการบังคับคดีเฉพาะที่ดินส่วนที่ตกลงให้เป็นของจำเลย
โดยกันส่วนที่ดินที่ตกลงให้เป็นของผู้ร้องออกจากการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
5423/2553
ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเฉพาะส่วนและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่า
จำเลยจำนองทรัพย์ดังกล่าวเฉพาะส่วนกรรมสิทธิ์ของจำเลยเท่านั้นเป็นประกันการชำระหนี้
แต่ตัวทรัพย์ทั้งหมดนั้นจำเลยจะก่อภาระติดพันได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่ง
เจ้าของรวมทุกคนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง
เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าของรวมคนอื่นยินยอมให้จำเลยทำนิติกรรมจำนอง การจำนองดังกล่าวจึงไม่ผูกพันตัวทรัพย์ทั้งหมด
การที่จำเลยเจ้าของรวมคนหนึ่งจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเฉพาะ
ส่วนของตนต่อโจทก์จึงเป็นการจำนองเฉพาะส่วนแห่งสิทธิของตนเท่านั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา
1361 วรรคหนึ่ง ย่อมไม่กระทบถึงส่วนแห่งสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
484/2553
เมื่อ ด.
ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งในฐานะเจ้าของรวมยื่นคำคัคค้านเข้าไปในคดีแพ่งที่จำเลยยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์
โดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของกองมรดกนั้นเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ทายาททุกคนตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1359 ประกอบมาตรา 1745
ผลแห่งคดีตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวซึ่งศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยย่อมต้องผูกพันถึงโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของรวม
การที่โจทก์ทั้งห้ายื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้พิพากษาว่า
ที่ดินพิพาทเป็นเจ้าของโจทก์ทั้งห้ากับพวก
เท่ากับขอให้ศาลมีคำวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งห้ากับพวกหรือของจำเลย
ย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน
เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และการที่ ด.
ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่ดินเป็นของกองมรดกและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีชั่วคราวเพื่อรอฟังผลคดีอื่นนั้น
เป็นการที่ ด. ในฐานะเจ้าของรวมใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก
ย่อมมีอำนาจทำได้โดยลำพัง
โจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีแพ่งดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นมูลฟ้องของโจทก์ทั้งห้าคดีนี้อาศัยข้ออ้างที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของกองมรดก
คำฟ้องที่โจทก์ทั้งห้ายื่นฟ้องขึ้นมาใหม่ในคดีนี้
จึงเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีแพ่งที่ ด. ฟ้องจำเลยเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.
มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
457/2553
โจทก์ทั้งสี่กับจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทร่วมกัน
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์ทั้งสี่โดยมีกำหนดระยะเวลา
เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าแล้ว สัญญาเช่าย่อมสิ้นสุดลง คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม
ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ
โจทก์ทั้งสี่และจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมต่างก็มีสิทธิเท่าเทียมกันในการที่จะครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินทั้งแปลงจนกว่าจะแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมตามกฎหมาย
การที่จำเลยยังคงครอบทำประโยชน์ที่ดินดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวย่อมขัดต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น
ทำให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายต้องขาดประโยชน์อันควรได้รับจากที่ดินดังกล่าว
จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสี่เป็นค่าใช้ทรัพย์ตลอดเวลาที่จำเลยยังคงครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวตามควรค่าแห่งการใช้นั้นตามมาตรา
391 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
116/2553
ข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าระหว่างจำเลยกับ
ว. นอกจากจำเลยกับ ว.
จะเป็นคู่สัญญาซึ่งกันและกันแล้วยังมีผู้ร้องและบุตรของจำเลยและ ว. อีก 3 คน
เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นผู้รับประโยชน์แห่งสัญญาด้วย
ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532
และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374
การที่ผู้ร้องเข้าถือเอาประโยชน์ตามข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่งแม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทำให้การได้มาดังกล่าวย่อมไม่บริบูรณ์ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง ก็ตาม
แต่บ้านพิพาทตั้งอยู่บนที่สาธารณประโยชน์และผู้ร้องได้เข้าครอบครองบ้านพิพาทแล้วเพียงแต่ผู้ร้องยังมิได้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1300
แม้จะได้ความว่าจำเลยยังคงอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์ก็ตามแต่จำเลยเป็นมารดาของผู้ร้องจึงย่อมอยู่อาศัยกับบุตรของตนได้
ข้อเท็จจริงดังกล่าวมิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องดังกล่าวสิ้นไปแต่อย่างใด
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าบ้านพิพาทตกเป็นสิทธิของผู้ร้องร่วมกับบุตรของจำเลยอีก 3
คน และในคำร้องขัดทรัพย์ผู้ร้องได้ระบุข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ด้วย การยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในกรณีนี้จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1359 ในกรณีเช่นนี้ ผู้ร้องจึงสามารถร้องขอให้เพิกถอนการยึดได้
โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับคดีให้กระทบถึงสิทธิของผู้ร้องดังกล่าวไม่ได้ตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 287
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
9692/2552
โฉนดที่ดินมีชื่อ บ.
เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่เพีงผู้เดียวโจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างร่วมกับ
บ. บ. ยกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ ท. ทั้งแปลงโดยไม่ชอบ และ ท.
นำไปขายฝากกับจำเลยแล้วไม่ไถ่ถอน ทำให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตกเป็นสิทธิขาดแก่จำเลย
แต่โจทก์ฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์จากจำเลยกึ่งหนึ่งโดยมิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนให้ระหว่าง
บ. กับ ท. เท่ากับว่าการโอนดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย เมื่อการโอนชอบ ท.
ย่อมมีสิทธินำไปขายฝากให้แก่จำเลยได้ จำเลยจึงรับซื้อไว้โดยชอบ
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่สามารถบังคับให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
9577/2552
ขณะจำเลยได้รับสิทธิในการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง
จำเลยอยู่กินฉันสามีภรรยากับโจทก์ โดยยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย
แต่สิทธิดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับโจทก์ได้มาขณะอยู่กินด้วยกันแล้ว
จึงเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลย
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจำเลยสมัครเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองเพียงผู้เดียวก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับนิคม
เมื่อโจทก์กับจำเลยมีสิทธิในการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทร่วมกัน
โจทก์ย่อมมีสิทธิในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงกึ่งหนึ่ง แม้ตาม
พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 12 วรรคสอง
จะบัญญัติว่าที่ดินในนิคมซึ่งได้รับการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีภายในห้าปี
ศาลก็พิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งได้มิใช่เป็นการบังคับให้จำเลยแบ่งกรรมสิทธิ์รวมให้โจทก์แต่อย่างใด
กรณีไม่ขัดกับบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
9009/2552
ส.
เป็นเจ้าของรวมในที่ดินที่เช่าและการให้เช่าที่ดินเป็นการจัดการตามธรรมดาเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ตามสภาพปกติของทรัพย์สินซึ่งเจ้าของรวมคนหนึ่งมีสิทธิจัดการได้เสมอแต่ต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1358 วรรคสอง และ 1360 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยทำสัญญาเช่าฉบับใหม่กับ ส. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินที่จำเลยเช่า
โดยเสียค่าเช่าเพียงเดือนละ 2,500 บาท น้อยกว่าเดิมที่เคยเสียค่าเช่าเดือนละ 3,000
บาท
ย่อมทำให้เจ้าของรวมคนอื่นซึ่งได้มอบหมายให้โจทก์เป็นผู้ทำสัญญาเช่ากับจำเลยได้รับความเสียหาย
ส. จึงไม่มีอำนาจที่จะทำสัญญาเช่ากับจำเลย
สัญญาเช่าที่ดินจึงไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่ง
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยแล้ว
จำเลยยังอยู่ในที่ดินที่เช่าจึงเป็นการอยู่โดยละเมิด
โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินเช่าได้
จำเลยไม่ได้ให้การเกี่ยวกับเรื่องที่จะให้นำเงินมัดจำประกันค่าเสียหาย
9,000 บาท มาหักชำระค่าเช่าค้างชำระ แต่เมื่อโจทก์และจำเลยได้ตกลงกันว่า
เงินมัดจำประกันค่าเสียหายจะคืนให้ต่อเมื่อหักค่าเสียหายแล้ว ส่วนที่เหลือจะคืนให้
ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยผิดสัญญาเช่า และค้างชำระค่าเช่าเป็นเงิน 4,500 บาท พร้อมกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชำระแก่โจทก์เดือนละ 3,000 บาท นับแต่วันฟ้อง ศาลชั้นต้นจะต้องนำเงินมัดจำประกันค่าเสียหาย 9,000 บาท มาหักค่าเช่าค้างชำระและค่าเสียหายก่อนตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกัน
การที่ศาลชั้นต้นไม่นำเงินมัดจำประกันค่าเสียหายมาหักให้แก่จำเลยตามสัญญาย่อมทำให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเกินกว่าที่โจทก์มีสิทธิเป็นการไม่ชอบ
และเป็นกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจในเวลาพิพากษาคดี
จึงเป็นพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้น
จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
5658/2552
แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยสุจริตหรือไม่มาในศาลล่างทั้งสอง
แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
เพราะเป็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
การพิสูจน์สิทธิความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
จำต้องพิเคราะห์ถึงข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานต่างๆ ที่คู่ความนำสืบต่อศาล
เพื่อแสดงถึงสิทธิและการได้มาของโจทก์ว่ามีลำดับความเป็นมาอย่างไร
ลำพังบันทึกการแบ่งที่ดินพิพาทซึ่งระบุว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินที่โจทก์กับจำเลยที่
2
ร่วมกันซื้อมาเพียงฉบับเดียวไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงเพื่อที่จะยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่
1 กับจำเลยที่ 2 เท่านั้น และมิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง
ไม่อยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 94 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานมานำสืบพิสูจน์ได้ว่าที่ดินพิพาทโจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอย่างไร
ทั้งโจทก์ก็มิได้ตั้งรูปคดีอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยที่ 2
โดยอาศัยข้อความจากบันทึกดังกล่าวแต่ประการใด
จำเลยที่ 2 ตั้งบริษัท
ล. และจำเลยที่ 2
อยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ในบริเวณที่ตั้งของบริษัทดังกล่าวมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทจนมีบุตรด้วยกันถึงเก้าคนและโจทก์ได้ร่วมช่วยเหลือกิจการของบริษัท
ล.
แม้โจทก์เป็นภริยานอกสมรสก็ต้องถือว่าที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงเป็นทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน
การที่จำเลยที่ 2
มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่เพียงผู้เดียวก็เป็นการกระทำแทนโจทก์เท่านั้น
ดังนี้ โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาททั้งสี่แปลง
เมื่อที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงที่จำเลยที่
2 ได้มาเป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงครึ่งหนึ่ง
ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 และเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่
2 การที่จำเลยที่ 2
ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาททั้งหมดแก่จำเลยที่ 1
โดยโจทก์เจ้าของกรรมสิทธิ์อีกคนหนึ่งมิได้รู้เห็นยินยอม
นิติกรรมการโอนที่ดินดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์รวมในส่วนของโจทก์ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง
โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงระหว่างจำเลยที่
1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่โจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ครึ่งหนึ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5352/2552
จำเลยทั้งสิบสามคนมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท
การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาตามฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งต้องถือตามราคาที่ดินในส่วนที่จำเลยสืบสิทธิมา
มิใช่แยกคำนวณตามส่วนที่จำเลยแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์เพราะไม่ปรากฏว่าจำเลยแต่ละคนแยกการครอบครองเป็นส่วนสัด
เมื่อโจทก์ระบุในคำแก้ฎีกาว่า ที่ดินพิพาทตามฟ้องโจทก์และตามฟ้องแย้งราคาตารางวาละ
125 บาท เท่ากับไร่ละ 50,000 บาท
จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาตามฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งในส่วนของจำเลยทุกคน
จึงเกิน 200,000 บาท
จำเลยทั้งสิบสามไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
การที่ ก. ย. และ อ.
ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท
และร่วมกันยื่นคำร้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต่อเจ้าพนักงานที่ดินแล้ว
แม้จะยังไม่มีการรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวม แต่ไม่ปรากฏว่า ก. ย. และ อ.
แสดงเจตนาจะยกเลิก จึงต้องถือว่าข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมระหว่างเจ้าของรวมตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคหนึ่ง ย่อมผูกพัน ก. ย. และ อ.
ก. ย. และ อ.
ได้แบ่งการครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดแล้ว จึงถือไม่ได้ว่า ก. ย. อ.
และจำเลยต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดพิพาทตลอดมา เมื่อ ย. อ.
และจำเลยทั้งสิบสามครอบครองที่ดินพิพาทที่ซื้อจาก ก.
โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
ธ.
และโจทก์ซื้อที่ดินโดยรู้ว่ามีผู้ครอบครอง กรณีถือไม่ได้ว่า ธ.
และโจทก์รับโอนที่ดินไว้โดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
3788/2552
การที่โจทก์ฟ้องว่าสามีโจทก์นำสินสมรสออกให้จำเลยที่
1 กู้ และให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้เงินกู้แทนสามีโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์เป็นการกล่าวหาว่าสามีโจทก์จัดการสินสมรสโดยฝ่าฝืน
ป.พ.พ. มาตรา 1476 (เดิม) และมาตรา 1476 (5) ใหม่
โจทก์ในฐานะคู่สมรสฝ่ายที่ได้รับความเสียหายมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้กู้เงินและการสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ดังกล่าวได้ตามมาตรา
1480 ที่บัญญัติให้สิทธิแก่โจทก์ไว้
ซึ่งเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะอยู่แล้ว
จะนำบทบัญญัติกรณีเจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิในฐานะเจ้าของทรัพย์สินติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนตามมาตรา
1336 และบทบัญญัติเรื่องกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา 1357 ถึง 1366
มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
891/2552
จ. และ ก.
มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทร่วมกันจึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททุกตารางนิ้วร่วมกัน
เมื่อผู้ร้องครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทส่วนของ จ. รวมทั้งที่ดินส่วนของ ก.
ทั้งแปลงโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ
จึงเป็นการครอบครองปรปักษ์ต่อที่ดินพิพาททั้งของ จ. และ ก. ด้วยตนเองโดยตรง
เมื่อผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของ จ. โดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว
ก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของ ก. ด้วย
มิใช่ว่าเมื่อได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของ จ.
แล้วจะเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทส่วนของ ก. แทน ก. ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมเช่นเดียวกับ
จ. ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมกันในโฉนดที่ดินด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
10274/2551
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่
58 จึงมีประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยกับพวกหรือไม่
ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58
และทรัพย์สินอื่นที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา
ประเด็นจึงมีว่า โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58
กับทรัพย์สินอื่นตามฟ้องและมีสิทธิขอแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวจากจำเลยกึ่งหนึ่งหรือไม่
ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยคดีทั้งสองมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า
คดีโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากถูกแย่งการครอบครองเกิน 1 ปี
แต่คดีก็ไม่มีประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375
เพราะจำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 เป็นของจำเลย
จำเลยมิได้แย่งการครอบครองไปจากโจทก์ ซึ่งการแย่งการครอบครองนั้น
จำเลยต้องยอมรับก่อนว่าที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 เป็นของโจทก์
แต่จำเลยแย่งการครอบครอง
การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 เป็นการไม่ชอบ
ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลอุทธรณ์ภาค 9
วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 เป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกันโดยเหตุผลว่า
ศาลชั้นต้นในคดีก่อนวินิจฉัยแล้วว่า เป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา
โจทก์และจำเลยจึงเป็นเจ้าของร่วมกัน
ผลของคำพิพากษาคดีก่อนย่อมผูกพันจำเลยมิให้โต้เถียงสิทธิในที่ดินพิพาทอีก ตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 145 จำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9
ว่าไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไร กลับฎีกาว่าที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58
เป็นของจำเลยโดยอ้างพยานและเหตุผลอื่น ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย
ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา
โจทก์และจำเลยจึงเป็นเจ้าของร่วมกัน
แต่เมื่อกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงมีการจดทะเบียนในรูปบริษัทจำกัด
ใช้ชื่อว่าบริษัท ท. จึงมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์และจำเลย
นับแต่วันที่มีการจดทะเบียนบริษัท แม้จำเลยจะเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัท ก็เป็นเพียงผู้บริหารในนามบริษัทไม่ใช่บริหารเป็นการส่วนตัว
ทั้งมีบุคคลอื่นเป็นผู้ถือหุ้นซึ่งมีส่วนแห่งความเป็นเจ้าของในบริษัท ท. ด้วย
การที่ไม่ปรากฏว่า มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้น
แล้วโจทก์มาฟ้องขอให้จำเลยแบ่งสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงของบริษัท ท. จึงเป็นคำขอที่ไม่อาจบังคับได้
โจทก์ชอบที่จะไปฟ้องเรียกเอาส่วนของโจทก์จากหุ้นที่จำเลยถืออยู่ในบริษัท ท.
เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
ส่วนที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยแบ่งผลกำไรจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น
กิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นของบริษัท ท. มิใช่ของจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งผลกำไรของบริษัท
ท. ทั้งสองกรณีเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา
ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
10659/2551
คำฟ้องโจทก์กล่าวถึงสภาพเดิมของที่ดินพิพาท
ซึ่งสามารถใช้ทำนาปลูกข้าวได้ แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงเป็นที่ดินตาบอดออกสู่ถนนสาธารณะไม่ได้เพราะสภาพแวดล้อมของแปลงที่ดินข้างเคียงที่เปลี่ยนไป
โดยโจทก์มุ่งหมายอธิบายการแบ่งทรัพย์ที่ดินพิพาทดังคำขอบังคับท้ายฟ้องให้เป็นไปโดยสอดคล้องกับการใช้สอยที่ดินของที่ดินข้างเคียง
ไม่มีวลีใดหรือข้อความในวรรคตอนใดในคำฟ้องบ่งบอกว่าโจทก์และจำเลยทั้งสี่เคยตกลงกันแจ้งชัดหรือโดยปริยายตั้งวัตถุประสงค์การใช้สอยที่ดินพิพาทไว้โดยเฉพาะเจาะจงเพื่อทำนาหรือให้เช่าทำนาอย่างใดเลย
และคำให้การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสี่เองที่ต่างสละประเด็นไปแล้ว
ก็มิได้โต้เถียงไว้ในประการดังกล่าวเพียงแต่อ้างว่า
การแบ่งแยกตามที่โจทก์ขอบังคับจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของรวมทุกคนและด้อยประโยชน์ที่เหมาะสมเท่านั้น
ฟ้องโจทก์จึงมิใช่เรื่องเกี่ยวกับสิทธิในการจัดการทรัพย์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา
1358 ตามที่จำเลยทั้งสี่โต้เถียง ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาโดยไม่นำหลักเกณฑ์เสียงข้างมากของเจ้าของรวมตลอดจนสิทธิตามสัดส่วนของเจ้าของรวมคนอื่นมาใช้บังคับ
จึงชอบแล้ว
คดีนี้โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินจากเจ้าของรวมคนอื่น
จึงต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 1363 และมาตรา 1364 มาใช้บังคับแก่กรณี
ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาโต้แย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตาบอดไม่เป็นโอกาสอันควรที่จะทำการแบ่งแยกในขณะนี้เพราะจะทำให้ที่ดินเฉพาะส่วนเจ้าของรวมคนอื่นมีราคาต่ำไปด้วย
และโดยสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำปัจจุบันอาจถูกผู้ซื้อกดราคาจนต่ำมากทำให้จำเลยทั้งสี่เสียหายอย่างร้ายแรง
จึงอยู่ในบังคับตามมาตรา 1363 วรรคสามที่บัญญัติว่า
"ท่านว่าเจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้"
นั้น จำเลยทั้งสี่ได้แถลงสละประเด็นตามคำให้การและไม่ติดใจสืบพยานต่อไป
ตามรายงานกระบวนพิจารณาวันที่ 18 กรกฎาคม 2545 อันหมายความว่า
ศาลพึงต้องชี้ขาดพิพากษาคดีไปตามประเด็นแห่งคดีในคำฟ้องและคำขอบังคับ
เมื่อโจทก์ประสงค์ที่จะแบ่งกรรมสิทธิ์รวม
แต่จำเลยทั้งสี่ไม่ประสงค์ที่จะแบ่งในเวลานี้โดยไม่ปรากฏเหตุโต้แย้งเพราะจำเลยทั้งสี่สละประเด็นตามคำให้การแล้ว
ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์เป็นกรณีไม่ต้องห้ามที่จะเรียกให้แบ่งแยกดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา
1363 วรรคสาม จึงชอบแล้ว และถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยสุจริต
แม้คำฟ้องโจทก์จะมิได้มีคำขอบังคับตามนัยมาตรา
1364
แต่การที่โจทก์ยื่นฟ้องมาโดยประสงค์ให้ศาลพิพากษาแบ่งที่ดินพิพาทที่โจทก์และจำเลยทั้งสี่ถือกรรมสิทธิ์รวมกันอันมิได้แบ่งแยกส่วนเฉพาะเจาะจงเป็นประการสำคัญ
ศาลย่อมมีอำนาจแบ่งให้ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 1364 วรรคสอง ได้
ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
6035/2551
จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดย
จ. และเจ้าของรวมคนอื่นให้จำเลยอยู่อาศัย เป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนเจ้าของ
จำเลยจะครอบครองที่ดินพิพาทนานเพียงใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน
จำเลยเพิ่งมาโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทภายหลังจากที่มีการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินและโจทก์ให้จำเลยรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินพิพาท
นับถึงวันฟ้องยังไม่ครบ 10 ปี จำเลยยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
6034/2551
ผู้เป็นเจ้าของรวมกันในที่ดินจะมีส่วนเท่ากันตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1357 ต้องเป็นกรณีที่ยังไม่ได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นสัดส่วน
ถ้าแบ่งแยกการครอบครองออกเป็นสัดส่วนแล้ว
ก็ต้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมไปตามที่มีการครอบครอง ซึ่งอาจไม่เท่ากันก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
4824/2551
การที่ทายาทคนหนึ่งฟ้องผู้จัดการมรดกเกี่ยวกับการจัดการมรดกถือเป็นการฟ้องแทนทายาทคนอื่นๆ
ด้วย
โจทก์ที่ 1 เคยฟ้องผู้จัดการมรดกและผู้รับโอนทรัพย์มรดก
ขอให้เพิกถอนการเป็นผู้จัดการมรดกและเพิกถอนการโอนทรัพย์มรดก
โดยผู้จัดการมรดกและผู้รับโอนทรัพย์มรดกให้การต่อสู้ว่า
ทรัพย์พิพาทเป็นของผู้รับโอนมิใช่ทรัพย์มรดกและคดีขาดอายุความมรดก
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์มรดก และโจทก์ที่ 1 นำคดีมาฟ้องเกิน 1
ปี นับแต่รู้ถึงการตายของเจ้ามรดก คดีจึงขาดอายุความมรดก พิพากษายกฟ้อง
คดีถึงที่สุดแล้ว
การที่โจทก์ทั้งสามนำคดีมาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนทรัพย์มรดกเป็นคดีนี้
ขอให้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์มรดกดังกล่าว
แม้จะเปลี่ยนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาก็เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกรายเดียวกันกับคดีก่อนนั่นเอง
เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยและคดีขาดอายุความมรดก
ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้กับคดีก่อนจึงอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน แม้โจทก์ที่ 2
และที่ 3 จะมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน แต่การที่โจทก์ที่ 1
เป็นทายาทคนหนึ่งฟ้องผู้จัดการมรดกและทายาทผู้รับโอนทรัพย์มรดกเกี่ยวกับการจัดการมรดกว่าไม่ถูกต้องนั้น
ถือว่าเป็นการฟ้องแทนโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นทายาทคนอื่นๆ ด้วย ดังนี้ คู่ความในคดีนี้กับคู่ความในคดีก่อน
จึงเป็นคู่ความรายเดียวกัน
รื้อร้องฟ้องกันอีกโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์ทั้งสามจึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2577/2551
จำเลยปลูกสร้างบ้านคอนกรีต
2 ชั้น บนที่ดินที่โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมโดยได้รับอนุญาตจากโจทก์
บ้านหรือโรงเรือนที่จำเลยปลูกสร้างขึ้น แม้ใช้บันไดเพื่อขึ้นชั้นที่ 2 ของอาคารด้วยบันไดเดียวกัน
ย่อมไม่ใช่ส่วนควบของที่ดินที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมตาม ป.พ.พ. มาตรา 144
โจทก์จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านที่จำเลยสร้างขึ้นใหม่
บ้านดังกล่าวยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย
จำเลยปลูกสร้างบ้านหรือโรงเรือนบนที่ดินที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมย่อมเป็นการก่อนให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินเป็นคุณแก่จำเลย
แต่สิทธิเหนือพื้นดินดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่
จึงเป็นเพียงบุคคลสิทธิระหว่างโจทก์เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลย
และสิทธิเหนือพื้นดินดังกล่าวไม่มีกำหนดเวลา โจทก์บอกเลิกได้เมื่อบอกกล่าวล่วงหน้าแก่จำเลยตามสมควรตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1413
โจทก์ได้บอกกล่าวล่วงหน้าโดยนำคำสั่งไปปิดไว้หน้าโรงเรือนที่จำเลยสร้างขึ้นใหม่แล้ว
มีข้อความระบุให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านเลขที่ 51 ออกไป บ้านเลขที่ 51 นั้น
เป็นบ้านเก่าปลูกสร้างมาประมาณ 40 ปี ทำด้วยไม้ชั้นเดียวแต่ใต้ถุนสูง
ส่วนบ้านของจำเลยเป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น และสร้างบ้านใหม่
บ้านดังกล่าวของจำเลยแม้ไม่มีเลขที่ บ้านใช้บันไดร่วมกันเป็นโรงเรือนคนละหลังกัน
ไม่ใช่โรงเรือนที่เป็นบ้านเลขที่ 51
ซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินที่โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกเลิกเพื่อให้จำเลยออกจากบ้านคอนกรีต
2 ชั้น ทั้งการบอกเลิกนั้นก็ใช้วิธีปิดที่ประตูบ้าน ไม่ได้ส่งให้แก่จำเลย
โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุขัดข้องอย่างไรจึงต้องปิดคำสั่งเช่นนั้น
กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้บอกเลิกเพื่อมิให้จำเลยมีสิทธิเหนือพื้นดินอันเป็นคุณแก่บ้านที่จำเลยปลูกสร้างขึ้น
การบอกเลิกของโจทก์จึงไม่ชอบ
โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ให้จำเลยขนย้ายบริวารออกไปจากบ้านหรือโรงเรือนที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยปลูกสร้างบนที่ดินที่โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมและส่งมอบบ้านหรือโรงเรือนคืนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2124/2551
ที่ดินพิพาทมีชื่อจำเลยและผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน
แต่ผู้ร้องและจำเลยได้ตกลงแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทก่อนมีการบังคับคดี แล้ว
ข้อตกลงดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยและผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สามัญมีสิทธิบังคับคดีได้เท่าที่จำเลยมีสิทธิในที่ดิน
พิพาทเท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเอาที่ดินส่วนของผู้ร้องมาขายทอดตลาดได้
ผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอให้กันที่ดินพิพาทส่วนที่ผู้ร้องครอบครองก่อนนำที่ดิน
ทั้งแปลงออกขายทอดตลาดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115/2551
โฉนดที่ดินและสารบัญจดทะเบียนโฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชนที่รัฐออกให้แก่ผู้ถือ
กรรมสิทธิ์ ย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าได้ออกมาโดยถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127
เมื่อโฉนดที่ดินดังกล่าวมีชื่อจำเลยกับพี่น้องเป็นเจ้าของผู้ถือกรรมสิทธิ์
ร่วมกันย่อมสันนิษฐานได้ว่าจำเลยกับพี่น้องมีส่วนเป็นเจ้าของเท่ากัน ตาม ป.พ.พ.
มาตรา 1357 การที่จำเลยอ้างว่าจำเลยได้รับส่วนแบ่งมากกว่าพี่น้องคนอื่น
จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
79/2551
การจัดการทรัพย์สินตามธรรมดาเพื่อรักษาทรัพย์สินตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1358 วรรคสอง
เจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งมีสิทธิจัดการได้เสมอโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่นก่อน
แต่การที่ ส.
เจ้าของรวมคนหนึ่งให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทโดยทำสัญญาเช่าหลังจากโจทก์เจ้าของรวมอีกคนกำลังฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกไปจากที่เช่า
ย่อมเป็นการก่อให้เกิดภาระติดพันตึกแถวพิพาทซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์เจ้าของรวมด้วยตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง
เมื่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าของรวมในตึกแถวพิพาทมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย
สัญญาเช่าจึงไม่สมบูรณ์และถือว่าเป็นการใช้สิทธิขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่นตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1360 วรรคหนึ่ง สัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับ ส.
เจ้าของรวมจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
6437/2550
การฟ้องขอแบ่งทรัพย์ที่มีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วยตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1363 ไม่มีอายุความ ตามมาตรา 1363 วรรคสอง
เป็นเรื่องผู้มีกรรมสิทธิ์รวมจะทำนิติกรรมห้ามแบ่งกรรมสิทธิ์รวมได้คราวละ
ไม่เกินสิบปี มิใช่เป็นอายุความ
โจทก์ ฮ. และจำเลยที่ 1
ได้ตกลงรังวัดที่ดินมือเปล่ายังไม่มีหลักฐานหนังสือสำคัญเพื่อแบ่ง
กรรมสิทธิ์รวมไว้ โจทก์ได้ที่ดินเป็นที่พิพาท
โจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเป็นสัดส่วนตลอดมา
การแบ่งแยกเจ้าของรวมจึงไม่อาจจดทะเบียนแบ่งแยกต่อเจ้าพนักงานที่ดินได้
ถือว่าโจทก์ยึดถือที่ดินส่วนที่เข้าครอบครองเพื่อตน โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1367 แม้ต่อมาทางราชการจะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)
และโฉนดที่ดินมีชื่อโจทก์ จำเลยที่ 1 และ ฮ. ถือกรรมสิทธิ์รวม
โดยไม่ได้ระบุว่ามีส่วนคนละเท่าใดและตาม ป.พ.พ. มาตรา 1357
ให้สันนิษฐานว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากันก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐาน
ของกฎหมายในกรณีที่ไม่ปรากฏชัดว่าเจ้าของรวมแต่ละคนมีส่วนเท่าใด
โจทก์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ตามสัดส่วนที่ครอบครอง จำเลยที่ 1
จะอ้างว่าเจ้าของรวมยังคงมีส่วนเท่ากันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
4259/2550
เมื่อได้ความว่าโจทก์จำเลยร่วมกันซื้อที่ดินเพื่อขายเอากำไรมาแบ่งกัน
มิได้มีการครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัด
วิธีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจึงต้องเป็นไปตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1364 กำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
5880/2548
โจทก์จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกันในบ้านพิพาท
คดีนี้โจทก์จำเลยต่างฟ้องขอให้ขับไล่ซึ่งกันและกัน ทั้งจำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชดใช้เงินค่าบ้านพิพาทมาด้วย
ถือได้ว่าเป็นกรณีที่เจ้าของรวมเรียกให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวม
แต่การให้รื้อถอนบ้านพิพาทย่อมทำให้สภาพบ้านเสียหาย
ไม่เป็นผลดีแก่ทั้งสองฝ่ายแต่อย่างใด
ทั้งการให้นำเฉพาะบ้านพิพาทออกประมูลขายทอดตลาดย่อมจะทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เสียประโยชน์โดยไม่เป็นธรรม
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในที่ดินที่ปลูกบ้านพิพาทตาม
สัญญาเช่าที่โจทก์ทำไว้กับบุคคลภายนอก บ้านพิพาทจึงควรตกเป็นของโจทก์
โดยให้จำเลยได้รับแต่ส่วนแบ่งกึ่งหนึ่งของราคาบ้านพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
5492/2548
ที่ดินมีโฉนดซึ่ง ด.
มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ล. บิดาจำเลยทั้งสอง
เมื่อที่ดินดังกล่าวมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดว่าส่วนของใคร
อยู่ตอนไหนและมีเนื้อที่เท่าใด ด. และ ล.
ผู้มีชื่อในโฉนดซึ่งถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันจึงยังเป็นเจ้าของรวมอยู่ตามส่วน
ที่ตนถือกรรมสิทธิ์ การที่โจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับ ด. โดยระบุเนื้อที่ 6
ไร่ 1 งาน 52 ตารางวา ซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือของที่ดินดังกล่าว
จึงเป็นการซื้อขายตัวทรัพย์ ซึ่งมิใช่เป็นการขายกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของ ด.
จะกระทำได้ก็แต่ความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน การที่ ด. เอาตัวทรัพย์มาทำสัญญาจะขายแก่โจทก์โดย
ล. เจ้าของรวมมิได้ยินยอมด้วย จึงไม่มีผลผูกพัน ล.
เมื่อจำเลยทั้งสองเป็นผู้รับโอนมรดกจาก ล.
จึงถือว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันทุกส่วนและ
มีส่วนในที่ดินพิพาททั้งแปลงเท่ากัน โจทก์จึงฟ้องขอให้แบ่งแยกที่ดินโดยให้โจทก์ได้ที่ดินทางด้านทิศเหนือและ
จำเลยทั้งสองได้ที่ดินด้านทิศใต้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2355/2548
ผู้ร้องเป็นภรรยา ส.
เจ้าของรวมกรรมสิทธิ์รวมรถยนต์กระบะของกลาง เมื่อ ส. ถึงแก่ความตาย
ทรัพย์มรดกส่วนของ ส. ย่อมตกแก่ทายาทซึ่งรวมถึงผู้ร้องด้วย
รถยนต์กระบะของกลางเก็บอยู่ที่บ้านผู้ร้องซึ่งพักอยู่กับพี่สาว
กุญแจรถแขวนเก็บไว้ใต้หิ้งพระภายในบ้าน ญาติพี่น้องและบุตรของผู้ร้อง
รวมทั้งจำเลยซึ่งเป็นบุตรเขยของผู้ร้องสามารถนำรถยนต์กระบะของกลางไปใช้ได้
จำเลยเคยนำไปใช้หลายครั้ง วันเกิดเหตุจำเลยเอากุญแจรถกระบะของกลางไปใช้กระทำความผิดโดยไม่ได้บอกกล่าว
ผู้ร้อง และผู้ร้องไม่ทราบว่าจำเลยนำรถยนต์กระบะของกลางไปใช้ในการกระทำความผิด
แสดงว่าผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยหยิบเอากุญแจรถยนต์กระบะของกลางไปใช้ได้
ตลอดเวลาที่จำเลยต้องการใช้ โดยไม่คำนึงว่าจำเลยจะนำรถไปใช้ในกิจการใด
เมื่อจำเลยนำรถยนต์กระบะของกลางไปใช้บรรทุกถ่านไม้โกงกางโดยไม่ได้รับอนุญาต
จากเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดของจำเลยแล้ว
ส่วนบุคคลอื่นซึ่งเป็นทายาทและเจ้าของรวมจะมีสิทธิร้องขอคืนรถยนต์กระบะของ
กลางหรือไม่ เพียงใด
เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันตามสิทธิของตนต่างหากจากคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2451/2548
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนด
เมื่อผู้ร้องและจำเลยได้ตกลงแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็น
กรรมสิทธิ์รวมของจำเลยกับผู้ร้องก่อนจะมีการบังคับคดีแล้ว ข้อตกลงดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยและผู้ร้องตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1364
โจทก์ซึ่งเป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญจึงมีสิทธิบังคับคดีได้เท่าที่จำเลยมีสิทธิ
ในที่ดินพิพาทเท่านั้น ไม่มีสิทธิเอาที่ดินของผู้ร้องมาขายทอดตลาดได้
ถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิอื่น ๆ อันอาจร้องขอให้บังคับเหนือที่ดินนั้นได้ตามกฎหมายซึ่งการบังคับคดีแก่
ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้อง
ผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอให้กันที่ดินส่วนที่ผู้ร้องครอบครองก่อนนำที่ดินพิพาท
ทั้งแปลงออกขายทอดตลาดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
3819/2547
ทรัพย์สินส่วนที่เป็นสินสมรสอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์และจำเลยมีเพียงตึกแถว
2 หลัง การจะให้ขายทอดตลาดที่ดินทั้งแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด
ซึ่งมีบ้านพักอันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยอยู่อีก 1 หลังย่อมเป็นการไม่ชอบ
เพราะทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นสินส่วนตัวของจำเลย ไม่ใช่กรรมสิทธิ์รวม
แต่หากจะให้ขายทอดตลาดเฉพาะตึกแถว 2 หลัง
ที่เป็นสินสมรสแล้วนำเงินมาแบ่งกันก็คาดหมายได้ว่าจะไม่มีผู้ซื้อ
หรือถึงจะขายได้ก็จะได้ราคาที่ไม่เหมาะสม เพราะผู้ซื้อไม่มีสิทธิในที่ดิน
จึงเห็นควรแบ่งทรัพย์โดยให้ตึกแถว 2 หลังที่เป็นสินสมรส
เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน
และนำค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นถือเป็นสินสมรสอันจะต้องนำมาแบ่งให้แก่โจทก์
ตามส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1310 ประกอบมาตรา 1364
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1171 - 1172/2547
ที่ดินแปลงพิพาทจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้อื่น
เมื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมยังไม่ได้ตกลงแบ่งกันเป็นส่วนสัดว่าที่ดินส่วนไหน
เป็นของใครให้เป็นที่แน่นอน
จึงต้องถือว่าผู้เป็นเจ้าของรวมมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท
ร่วมกันทุกส่วน การที่จำเลยปลูกบ้านและครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท
จึงเป็นการจัดการทรัพย์สินแทนเจ้าของรวมคนอื่นด้วย
ถือว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทแทนเจ้าของรวมคนอื่นอยู่
จำเลยไม่อาจอ้างว่าเป็นการครอบครองโดยปรปักษ์ ดังนั้น
ถึงแม้จำเลยจะครอบครองที่พิพาทนานเกิน 10 ปีแล้ว จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
676/2546
การที่โจทก์ทั้งสามขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาท
เพื่อนำออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินที่ได้มาแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสามและจำเลยตาม
ส่วนมิใช่เป็นการร้องขอให้บังคับคดีตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง
หากแต่เป็นการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้มี
สิทธิร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1364 วรรคสอง
ผู้ร้องทั้งห้าจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
6781/2545
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1363 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้
แต่จะเรียกให้แบ่งในเวลาไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้
การแบ่งทรัพย์สินในเวลานั้นจะทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของรวมคนอื่น
การที่โจทก์และจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินพิพาท โดย หจก. อ.
ที่มีโจทก์และจำเลยเป็นหุ้นส่วนและได้เลิกกิจการไปแล้วเปิดดำเนินกิจการอยู่
ในอาคารบนที่ดินทั้งโจทก์และจำเลยมีปัญหากันถึงขนาดจำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดี อาญา
โจทก์จึงมิได้เข้าไปในที่ดินและอาคารพิพาทอีก
แม้จะปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินและอาคารพิพาท
แต่ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยฝ่ายเดียว
มิใช่เพื่อผลประโยชน์ของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนอื่นด้วย ดังนั้น
การที่โจทก์ฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมดังกล่าวจะฟังว่าโจทก์ฟ้องขอแบ่งในเวลาที่
ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้
การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยเอาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาท
ออกขายทอดตลาดเอาเงินที่ขายได้แบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่งในทันทีนั้นไม่ถูกต้อง
เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364
ได้บัญญัติกำหนดวิธีการแบ่งทรัพย์สินของเจ้าของรวมไว้เป็นขั้นตอนแล้ว
ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโดยให้จำเลยแบ่งที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์
ครึ่งหนึ่ง โดยให้โจทก์จำเลยแบ่งทรัพย์สินกันเองก่อน
เมื่อไม่สามารถแบ่งได้ให้ประมูลราคาระหว่างกันเอง
ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้นำทรัพย์สินดังกล่าวออกขายทอดตลาด ได้เงินสุทธิเท่าใดให้แบ่งกันคนละครึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
692/2545
การทำประโยชน์กับการแบ่งแยกการครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมของ
จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษากับผู้ร้องนั้น
การครอบครองอาจยังไม่มีการทำประโยชน์ก็ได้
ดังนี้เมื่อจำเลยกับผู้ร้องได้ตกลงแบ่งแยกที่ดินกันก่อนที่โจทก์จะรับจำนอง
ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยและก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีข้อตกลงดังกล่าวย่อม
ผูกพันจำเลยกับผู้ร้อง
โจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีได้เพียงเท่าที่จำเลยมีสิทธิในที่ดินพิพาทเท่านั้น
ผู้ร้องชอบที่จะขอกันส่วนที่ดินพิพาทด้านทิศตะวันออกตามข้อตกลงดังกล่าวของ
ผู้ร้องออกก่อนขายทอดตลาดได้แม้ยังไม่มีการทำประโยชน์ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
7063/2544
ขณะที่ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทจำเลยกับผู้ร้องยังอยู่กินด้วยกันฉัน
สามีภริยา
ร่วมกันประกอบกิจการค้าขายเสื้อผ้าจนกระทั่งจดทะเบียนตั้งเป็นห้างหุ้นส่วน
จำกัดในเวลาต่อมา
ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทจึงเป็นทรัพย์ที่ได้มาระหว่างอยู่กินด้วยกัน
แม้จะมีชื่อผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว
ก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยและผู้ร้องทำมาหาได้ร่วมกันและมีเจตนาเป็น
เจ้าของในทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน จำเลยและผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน
เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมไม่มีสิทธิ์ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินพิพาทคงมีสิทธิเฉพาะที่จะร้องขอกันส่วนในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม